721 likes | 1.23k Views
กลุ่มที่ 3. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware). 1. ความหมายของฮาร์ดแวร์. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware). หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่เห็นได้หรือจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด จอภาพ เมาส์ เครื่องพิมพ์ฯลฯ. 2. องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์. หน่วยรับข้อมูล ( Input Unit)
E N D
กลุ่มที่ 3 ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
1. ความหมายของฮาร์ดแวร์ ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องที่เห็นได้หรือจับต้องได้ เช่น คีย์บอร์ด จอภาพ เมาส์ เครื่องพิมพ์ฯลฯ
2. องค์ประกอบของฮาร์ดแวร์ • หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) • หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) • หน่วยแสดงผล (Output Unit)
หน่วยรับข้อมูล(Input Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูล (Data) และชุดคำสั่ง (Program) ซึ่งคอมพิวเตอร์เข้าใจได้เข้าสู่หน่วยประมวลผลกลาง เพื่อทำการปฏิบัติตามคำสั่ง
อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล • อุปกรณ์กด คีย์บอร์ด ทำหน้าที่แปลงสัญญาตัวเลข อักขระและเครื่องหมายพิเศษต่าง ๆ ให้เป็นสัญญาอิเล็กทรอนิกส์และส่งไปยังหน่วยประมวลผลเพื่อทำการประมวลผล
2. อุปกรณ์ชี้ เมาส์ (Mouse) เมาส์แบบใช้แสง เมาส์แบบกลไก เมาส์แบบไร้สาย
แทร์คบอล (trackball) แผ่นรองสัมผัส (touch surface)
แท่งชี้ (Pointing Stick) ก้านควบคุม (Joystick)
จอสัมผัส (Touch screen) ปากกาแสง (light pen)
3. อุปกรณ์สแกนภาพ สแกนเนอร์ (Scanner) แบบแท่นนอน แบบพกพา
เครื่องอ่านบาร์โค้ต (Bar cods reader)
เครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมายเครื่องอ่านอักขระและเครื่องหมาย เครื่องอ่านอักขระที่บันทึกด้วยหมึกแม่เหล็ก (MICR)
เครื่องอ่านอักขระด้วยแสง (OCR)
4. อุปกรณ์จับภาพ กล้องวิดีโอดิจิทัล กล้องถ่ายภาพดิจิทัล
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลาง เรียกว่า “ซีพียู” คือ ชิปอันหนึ่งเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor) ที่เป็นวัตถุที่ทำด้วยสารซิลิคอน (Silicon) ซึ่งประกอบด้วยวงจรรวม ที่เรียกว่า ชิป (Chip) มี่หน่วยวัดการทำงานเป็น เมกะเฮิร์ซ (MHz) = 1 ล้านรอบต่อวินาที และมีรีจิสเตอร์ (Register) ซึ่งเป็นแหล่งเก็บข้อมูลชั่วคราวที่ช่วยให้ซีพียูสามารถดึงข้อมูลไปประมวลผล
ซีพียู มี 3 ส่วน คือ • หน่วยควบคุม (Control) • หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit : ALU) • หน่วยความจำ (Memory Unit)
หน่วยควบคุม (Control) ทำหน้าที่ประสานการทำงานของส่วนต่าง ๆ ในระบบคอมพิวเตอร์เปรียบเสมือนเป็นศูนย์ระบบประสาทคือควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยคำนวณและตรรก หน่วยแสดงผล โดยอ่านคำสั่งที่เก็บไว้ในหน่วยความจำมาถอดรหัสแล้วปฏิบัติตามคำสั่งจนกว่าจะจบโปรแกรม
หน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU) ทำหน้าที่ในการคำนวณทางคณิตศาสตร์ (บวก ลบ คูณ หาร) และเปรียบเทียบข้อมูลตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ได้กำหนดไว้(มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากับ)
หน่วยความจำ (Memory Unit) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและชุดคำสั่งที่รับมาจากอุปกรณ์นำเข้า พร้อมทั้งเก็บผลลัพธ์จากการคำนวณ และเปรียบเทียบก่อนส่งไปยังหน่วยแสดงผล แบ่งออกเป็น 2 ประเภท • หน่วยความจำหลัก/หน่วยความจำภายใน /สื่อเก็บข้อมูลแบบลบเลือน (Volatile storage) • หน่วยความจำสำรอง/หน่วยความจำภายนอก/สื่อข้อมูลแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile storage)
หน่วยความจำหลักหน่วยความจำภายใน /สื่อเก็บข้อมูลแบบลบเลือน แบ่งเป็น 3 ประเภท 1.1 ความจำแรม (Random Access Memory : RAM) เรียกว่าหน่วยความจำแบบชั่วคราวหรือสื่อเก็บข้อมูลแบบลบเลือน เพราะข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะสูญหายไปเมื่อปิดเครื่องคอม ได้แก่ แฟลซแรม (Flash RAM) หน่วยความจำเสมือน (Virtual memory) หน่วยความจำแคซ (Cache memory)
แรม แบ่งออกเป็น 2 ชนิด 1. DRAM (Dynamic RAM) เป็นหน่วยความจำที่นิยมใช้ เป็นหน่วยความจำหลักในเครื่อพีซี มีความจุดสูง ราคาไม่แพง 2. SRAM (Static RAM) เป็นหน่วยความจำเร็วที่สุด ราคาแพง มักนำไปใชในหน่วยควาจำแบบแคซ
1.2 หน่วยความจำถาวร (ROM) เรียกว่า หน่วยความจำไม่ลบเลือน ถูกติดตั้งภายในคอมพิวเตอร์จากโรงงานผลิต เป็นหน่วยความจำที่ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโปรแกรมที่อยู่ภายในได้ โปรแกรมจะถูกฝังเข้าไปในตัวชิปจึงเรียกซอฟต์แวร์นี้ว่า เฟิร์มแวร์ (Firmware)ผู้ใช้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขสิ่งที่บันทึกไว้นใ ROM ได้ สามารถอ่านมาใช้ได้อย่างเดียวไม่สามารถเข้าไปเขียนได้
ROM แบ่งได้ 4 ชนิด 1. PROM : Programmable Rom เป็นหน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลหรือชุดคำสั่งลงไปได้อีก 1 ครั้ง หลังจากนี้จะแก้ไข บันทึก ลบข้อมูลหรือชุดคำสั่งไม่ได้อีก โดยบริษัทผู้ผลิตจะสร้างมาเพื่อบันทึกโปรแกรมตามที่ผู้ใช้ต้องการ 2. PROM :Erasable Programmable Rom เป็นหน่วยความจำที่สามารถเขียนข้อมูลหรือชุดคำสั่งลงไปใหม่ได้ หลังจากลบข้อมูลหรือชุดคำสั่งนั้นโดยการใช้แสงอุตราไวโอเลต (UV)
3. EEPROM : Electronically Erasable Programmable Read-Only Memory เป็นหน่วยความจำคล้าย EPROM แต่จะสามารถลบโปรแกรมออกได้ด้วยกระแสไฟฟ้า 4. EAPROM : Electronically Alterable Programmable Read-Only Memory เป็นหน่วยความจำที่สามารถเขียนโปรแกรมเข้าไปเก็บได้ด้วยกระแสไฟฟ้า
1.3 หน่วยความจำซีมอส (Complementary Metal-Oxide Semiconductor : CMOS) เป็นหน่วยความจำที่สามารปรับเปลี่ยนค่าต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับระบบคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งจำเป็นต้องใช้ในงานทุกครั้งเมื่อเปิดเครื่อง เช่น ขนาดของหน่วยความจำแรม ชนิดของคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพและตัวขับดิสก์
หน่วยของข้อมูลที่จัดเก็บในหน่วยความจำ 8 Bits = 1 byte 1024 byte= 1 kilobyte (KB) 1204 KB = 1 megabyte (MB) 1 MB = 1 gigabyte (GB) 1024 GB = 1 terabyte (TB)
2. หน่วยความจำสำรอง/หน่วยความจำภายนอก/สื่อข้อมูลแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile storage) เพราะหน่วยความจำหลักไม่สามารถเก็บข้อมูลได้หมดหรือเกิดไฟฟ้าเกิดขัดข้องทำให้ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำรอมสูญหายไปหมด จึงบันทึกข้อมูลเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลแบบถาวร ที่เรียกว่า สื่อเก็บข้อมูลแบบไม่ลบเลือน
หน่วยความจำสำรองแบ่งออกได้ 2 ประเภท • หน่วยความจำสำรองที่สามารถเข้าถึงข้อมูลโดยตรง (Direct Access) คือสื่อที่สามารถเก็บและเรียกใช้ข้อมูลได้โดยตรงโดยไม่ต้องอ่านเรียงลำดับ เช่น จานแม่เหล็ก ซีดีรอม 2. หน่วยความจำสำรองที่เข้าถึงข้อมูลเรียงลำดับ (Sequential Access) คือ สื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลที่ต้องการเก็บและเรียกใช้ข้อมูลโดยการเรียงตามลำดับ เช่น เทปแม่เหล็ก
สื่อบันทึกข้อมูล • เป็นหน่วยความจำสำรองที่ใช้เก็บบันทึกข้อมูลเพื่อความสะดวกในการพกพา การเก็บรักษาและเป็นการถ่ายโอนข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งด้วย ประเภทของสื่อบันทึกข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ • สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก • สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแสง • สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีหน่วยความจำแฟลต
1. สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแม่เหล็ก ลักษณะของสื่อวัสดุของจะฉาบด้วยสารจำพวกออกไซต์ของโลหะ แล้วการอาศัยการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าก่อให้เกิดสนามแม่เหล็ก ทำให้เกิดการเรียงตัวของโลหะในทิศทางที่แตกต่างกัน ซึ่งจะแทนความหมายตัวเลข 0 หรือ 1
1.1 เทปแม่เหล็ก มีลักษณะคล้ายกับเทปเสียงของ วิทยุเทป เทปแม่เหล็กจะบันทึกข้อมูลเป็นแบบดิจิดอล คือ เลข 0 หรือ 1 เนื้อเทปจะทำจากพลาสติกเคลือบด้วยสารแม่เหล็กออกไซต์ของโลหะ บันทึกข้อมูลโดยให้กระแสไฟฟ้าผ่านเพื่อให้เกิดการเหนี่ยวนำทางไฟฟ้าทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก เหนี่ยวนำให้โลหะออกไซต์บนผิวของเนื้อเทป เกิดการเรียงตัวเป็นรหัส 0 หรือ 1
เทปแม่เหล็กที่ใช้กันอยู่มี 2 ประเภท เทปแม่เหล็กแบบม้วน (Magnetic Reel Tape) เทปแม่เหล็กแบบตลับ (Magnetic Cassette Tape)
1.2 ดิสก์เก็ต มีลักษณะเป็นจานแม่เหล็กชนิดอ่อนทำจากพลาสติกไมลาร์ มีลักษณะเป็นวงกลมหมุนได้อยู่ภายในปลอกพลาสติก การบันทึกข้อมูลจะผ่านประจุแม่เหล็กไฟฟ้าบนออกไซต์ที่พลาสติกไมลาร์ โดยผ่านอุปกรณ์บันทึกข้อมูลที่เรียกว่า ดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive) ขนาด 8 นิ้ว 5.25 นิ้ว 3 นิ้ว
Tracks แทร็ก (Tracks) วงกลมแต่ละวงบนแผ่นดิสก์ ที่เรียงซ้อนกันอยู่โดยที่จำนวนของแทร็กจะขึ้นอยู่กับประเภทความจุของแผ่นดิสก์ แทร็กวงนอกสุดคือ 0 และแทร็กที่อยู่วงในสุดถือเป็นแทร็กสุดท้าย Sectors เซกเตอร์ (Sectors) การแบ่งแทร็กออกเป็นส่วน ๆ เหมือนชิ้นของพิซซ่าโดยที่เซกเตอร์อยู่นอกสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าเซกเตอร์ที่อยู่ในสุดเซกเตอร์แรกจะนับจากเซกเตอร์ศูนย์และนับต่อไปเรื่อย ๆ 1 เซกเตอร์จะจุตัวอักขระได้ 512 ไบต์ต่อ 1 เซกเตอร์
1.3 ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) ฮาร์ดดิสก์เรียกว่า Fixed Disk ตัวแผ่น จานของฮาร์ดิสก์จะเป็นแผ่นโลหะแข็งที่เรียกว่า “แพลตเตอร์ “ (Platters) มีแผ่นจานเรียงซ้อนกันอยู่หลาย ๆ แผ่นอยู่บนแกนเดียวกันที่เรียกว่า Spindle ทำให้แผ่นจานของฮาร์ดดิสก์หมุนไปพร้อม ๆ กัน โดยทุกด้านของจานจะมีหัวอ่านประจำที่เชื่อมต่ออยู่บนแกนเดียวกัน ความเร็วในการหมุนประมาณ 4600 – 10000 รอบต่อวินาที
ฮาร์ดดิสก์แบ่งได้ 3 ประเภท 1. ฮาร์ดดิสก์แบบภายในหรือแบบยึดติด จะถูกติดตั้งอยู่ในหน่วยระบบใช้เก็บโปรแกรมและไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ 2. ฮาร์ดดิสก์แบบกล่อง เป็นอุปกรณ์ที่สามารถถอดเคลื่อนย้ายได้ สำหรับใช้กับคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก เรียกว่า พีซีการ์ดฮาร์ดดิสก์ 3. ฮาร์ดดิสก์แพ็ต เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่สามารถถอดเคลื่อนย้ายได้และใช้เก็บข้อมูลปริมาณมาก ฮาร์ดดิสก์ชนิดนี้มีความจุมากที่สุด มักใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่ติดต่อกับอินเตอร์เน็ต มินืคอมพิวเตอร์ เมนเฟรม
2. สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีแสง (Optical Storage) 2.1 จานแสง (Optical Disk) เป็นสื่อข้อมูลที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ในการเปลี่ยนพื้นผิวของพลาสติกจานแสงที่เรียกว่า “แลนด์ (Land) และพื้นผิวที่ถูกกดให้ต่ำกว่าบริเวณแลนด์เรียกว่า “ฟิท” (Pit) ให้เป็นข้อมูล จานแสงที่นิยมใช้มีขนาด 4 1/2 นิ้ว
ประเภทของจานแสง 2.1.1 คอมแพ็คดิสก์ (Compact Disc : CD) สื่อบันทึกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ซีดีไดวฟ์หรือเครื่องขับซีดีสามารถบันทึกได้เพียงชั้นเดี่ยวและหน้าเดี่ยวลงในซีดี ข้อมูลที่เก็บมีทั้งเสียง กราฟ ภาพ หรือที่เรียกว่า สื่อประสบ มีความจุตั้งแต่ 650 เมกะไบต์ ถึง 1 กิกะไบต์
ประเภทของซีดี • ซีดีรอม (CD-ROM : Compact Disc-Read Only Memory) • ซีดีอาร์ (CD-R : Compact Disc Recordable) • ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW : Compact Disc Rewritable)
2.1.2 ดีวีดีรอม (Digital Video Disc) สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึกข้อมูลได้มากเพราะมีการบีบอัดข้อมูลได้มากว่าแผ่นซีดี เก็บข้อมูลได้ตั้ง 4.7 – 17 กิกะไบต์ มีราคาแพง นิยมใช้ในการบันทึกภาพยนต์
ประเภทของดีวีดี • ดีวีดีรอม (DVD-ROM) • ดีวีดีอาร์ (DVD-R) • ดีวีอาร์ดับเบิลยู (DVD-RW) และ ดีวีดีแรม (DVD-RAM)
2.1.3 ดาต้าเพลย์ (Data Play) เป็นจานแสงประเภทเขียนได้เพียงครั้งเดียวคล้ายซีดีอาร์แต่มีชนาดเล็กเท่างินเหรียญสหรัฐ 25 เซ็นต์ มีความจุ 500 เมกะไบต์ นิยมใช้เก็บภาพดิจิตอลหรือไฟล์เพลงสำหรับเครื่องเล่นแบบพกพา
3. สื่อบันทึกข้อมูลที่ใช้เทคโนโลยีหน่วยความจำแฟลซ (Flash Memory) เติมเป็นหน่วยความจำที่ใช้กับไบออส (BIOS Chip) เพื่อเก็บค่า BIOS ของคอมพิวเตอร์ โดยติดอยู่บนเมนบอร์ดของเครื่องไม่สามารถถอดเข้าออกได้โดยง่าย แต่ปัจจุบันความจำแฟลตเน้นที่ความสะดวกสบายในการพกพา ความรวดเร็วในการใช้งาน และความหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
หน่วยความจำแฟลต / หน่วยความจำกล้อง (Camera Memory) / การ์ดหน่วยความจำ (Memory Card) เป็นหน่วยความจำกับกล้องดิจิตอล สามารถถ่ายภาพแล้วดูได้ทันที เรียกว่าเป็นอิเล็กทรอนิกส์ฟิล์ม ที่สามารถโอนข้อมูลโดยผ่านพอร์ต USB เข้าสู่คอมพิวเตอร์เพื่อสั่งพิมพ์เป็นการสะดวกและประหยัด
แผงวงจรหลัก (System Board) หรือ เมนบอร์ด (Main Board) หรือ มาเทอร์บอร์ด (Mother Board) แผงวงจรหลักเป็นสื่อกลางการติดต่อของส่วนประกอบต่าง ๆ ทั้งระบบ ซึ่งเปรียบเสมือนทางเดินของข้อมูล ทำให้ส่วนประกอบแต่ละส่วนสามารถติดต่อกันได้ รวมทั้งอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกแผงวงจรหลัก เช่น เมาส์ ครีย์บอรด์ จอภาพ
1. ช่องเสียบ (Sockets) เป็นส่วนที่ใช้ยืดจับชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เข้ากับแผงวงจรหลัก
2. ชิป (Chips) มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมขนาดประมาณเท่าตราไปรษณียกร อาจเรียกว่า ซิลิกอนชิป (Silicon Chip) เซมิคอนดักเตอร์ (Semicondoctor) หรือวงจรรวม (Integrated Clrcunit) ชิปจะถูกห่อหุ้มด้วยตัวถึงที่มีจุดเชื่อมเพื่อใช้สำหรับเสียบลงบนช่องเสียบบนแผงวงจรหลัก 3. เคเบิล สายที่ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกเข้ากับหน่วยระบบผ่านทางพอร์ตต่าง ๆ
4. การ์ดและสล็อดเพิ่มขยาย ไมโครคอมพิวเตอร์ปัจจุบันนี้ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มอุปกรณ์ได้เอง โดยบนแผงวงจรหลักจะมี สล็อด (Slots) หลายช่อง ที่ผู้ใช้สามารถเลือกเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า การ์ดเพิ่มขยาย หรืออาจเรียกว่า แผงปลั๊กอิน, การ์ดควบคุม, การ์ดอะแด็ปเตอร์, การ์ดเทอร์เฟส รวมทั้งสายเคบิลจากอุปกรณ์ภายนอก เช่น จอภาพ จะเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบผ่านทางพอร์ตที่อยู่บนการ์ด ได้แก่
การ์ดแสดงผลภาพ (Video Card) เป็นการ์ดที่เชื่อมต่อแผงวงจรหลักเข้ากับจอภาพของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าแปลงสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่เข้ามาไปเป็นสัญญาณภาพ ทำให้สามารถแสดงผลบนจอภาพได้