340 likes | 1.26k Views
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนแผนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับแกนนำนักเรียนนายร้อยตำรวจเสริมสร้างสุขภาพ SMART HERO for SMART PROJECT. วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗ . ๐๐ น. ณ ห้องเรียนรวม ๕๑๑๒ อาคาร ๕๑ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. การเขียนโครงการ. พ.ต.ท.หญิง ดร. อโน มา โรจนา พงษ์
E N D
โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การเขียนแผนโครงการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับแกนนำนักเรียนนายร้อยตำรวจเสริมสร้างสุขภาพ SMART HERO for SMART PROJECT วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ เวลา ๑๗.๐๐ น. ณ ห้องเรียนรวม ๕๑๑๒ อาคาร ๕๑ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
การเขียนโครงการ พ.ต.ท.หญิง ดร.อโนมา โรจนาพงษ์ (ค.ด.วิธีวิทยาการวิจัยทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
การเขียนโครงการ • ความหมายของโครงการ • ประเภทของโครงการ • ประโยชน์ของโครงการ • ส่วนประกอบของโครงการ • รูปแบบการเขียนโครงการ • วิธีเขียนโครงการ
โครงการ (project) คืออะไร ? • โครงการ (PROJECT)คือ การวางแผนล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ ที่กำหนดรายละเอียดของการดำเนินกิจกรรม (ย่อยๆ) ที่ระบุระยะเวลาเริ่มต้น-สิ้นสุดและการใช้ทรัพยากรไว้ชัดเจน โดยคาดหวังว่าผลลัพธ์ที่ได้จะบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับแผนงานหลัก (PROGRAM) และนโยบาย (POLICY) ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหา ปรับปรุง และเพิ่มศักยภาพของ • องค์กร/หน่วยงานได้
Policy นโยบาย Strategy แผนกลยุทธ์ แผนกลยุทธ์ Program แผนงาน 2 แผนงาน 1 Project โครงการ 1 โครงการ 2 กิจกรรม 1 กิจกรรม 2 Activity
ประเภทของโครงการ • แบ่งตามเนื้อเรื่อง -โครงการกิจกรรม -โครงการวิจัย -โครงการทางธุรกิจ - โครงการวิชาการ • แบ่งตามระยะเวลา -โครงการระยะสั้น - โครงการระยะกลาง -โครงการระยะยาว • แบ่งตามผู้นำเสนอ -โครงการที่เสนอโดยบุคคลคนเดียว -โครงการที่เสนอโดยกลุ่ม -โครงการที่เสนอโดยหน่วยงาน
ประโยชน์ของโครงการ • ทำให้เห็นถึงสภาพปัญหาและภูมิหลังของการทำงาน • ทำให้การปฏิบัติงานตามแผนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ • ทำให้การวางแผนงานมีความชัดเจน ผู้เกี่ยวข้องเข้าใจและปฎิบัติงานได้ • การใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม • งบประมาณถูกนำไปใช้อย่างเหมาะสมและเกิดประโยชน์ • การควบคุมและติดตามการทำงานเป็นไปอย่างมีระบบ
การเขียน(ข้อเสนอ)โครงการการเขียน(ข้อเสนอ)โครงการ Project Proposal
รูปแบบการเขียนโครงการรูปแบบการเขียนโครงการ
วิธีเขียนโครงการ แก้ปัญหาได้ สนองความต้องการ โครงการที่ดี ภาษา / รายละเอียดโครงการ วัตถุประสงค์ / เป้าหมายชัดเจน กิจกรรม สอดคล้อง & สัมพันธ์ ทรัพยากรที่ใช้ สอดคล้อง เหมาะสม การติดตาม & ประเมินผล ชัดเจน
ทำไมต้องทำ? ใช้เงินเท่าไหร่? เพื่อใคร? การวางแผนโครงการ ทำอย่างไร? ทำอะไร? Wh6H2 ทำที่ไหน? ใครทำ? ทำเมื่อไหร่?
โครงสร้างของโครงการ • ชื่อโครงการ • หลักการและเหตุผล * • วัตถุประสงค์ * • เป้าหมาย * • วิธีดำเนินงาน หรือ แผนงานย่อยหรือกิจกรรมย่อย • ระยะเวลาการดำเนินการ • สถานที่หรือพื้นที่ดำเนินการ • งบประมาณ • ผู้รับผิดชอบโครงการ หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบ • การติดตามและประเมินผล • ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
โครงสร้างของโครงการ 1) ชื่อโครงการ (ผลที่จะเกิด/กลุ่มเป้าหมาย/วิธีการ) ชัดเจน – เข้าใจง่าย – ข้อความสั้น – สะท้อนสาระของโครงการ “โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนโครงการให้กับแกนนำนักเรียนนายร้อยตำรวจสร้างเสริมสุขภาพ(SMART HERO for SMART PROJECT)” “โครงการรู้รัก สามัคคี “โครงการรักการอ่าน” (การแข่งขันกีฬาสี)”
โครงสร้างของโครงการ 2) หลักการและเหตุผล ระบุสภาพปัญหา และความจำเป็นในการทำโครงการเพื่อแก้ปัญหา • แนวทางการเขียน • เชื่อมโยงกับเรื่องที่ใหญ่กว่า เช่น ตอบสนองนโยบาย วิสัยทัศน์ แผนกลยุทธ์ • ระบุสภาพปัญหาให้ชัดเจน ยกหลักฐานอ้างอิง ตัวเลข สถิติ ผลการวิจัย เพื่อให้เห็นความสำคัญของปัญหา • อ้างอิงหลักวิชาการ หลักทฤษฎี (ถ้ามีจะดีมาก) • ย่อหน้าสุดท้าย ต้องสรุปความจำเป็น (มาก) ที่ต้องเกิดโครงการ
โครงสร้างของโครงการ 3) วัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดผลลัพธ์ปลายทางที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้น (Outcome) • แนวทางการเขียนวัตถุประสงค์ “SMART” • S- Sensible (เป็นไปได้) • M- Measurable (วัดได้ ประเมินความสำเร็จได้) • A- Attainable (ระบุสิ่งที่จะได้รับ / สิ่งที่ต้องการ) • R – Reasonable (เป็นเหตุเป็นผล) • T – Time (เวลา)
โครงสร้างของโครงการ 3) วัตถุประสงค์ โครงสร้างการเขียนวัตถุประสงค์ • = เพื่อ + คำกิริยา(พัฒนา/ส่งเสริม/เสริมสร้าง)+ ผลที่ต้องการให้เกิดขึ้น+กลุ่มเป้าหมาย
โครงสร้างของโครงการ • วัตถุประสงค์ (เอกสาร 2 หน้า 5) • เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียนนายร้อยตำรวจแกนนำ ให้สามารถสร้างแกนนำด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะเพื่อการสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะทั้ง 4 มิติ กับโรงเรียนเหล่า/สถาบันอื่น ๆ และชุมชน • เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและทัศนคติที่ส่งผลต่อสุขภาวะของนักเรียนนายร้อยตำรวจ โดยเน้นการปรับทัศนคติและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ลด ละ เลิกการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่
โครงสร้างของโครงการ • วัตถุประสงค์ (เอกสาร 2 หน้า 5) • เพื่อเสริมความเข้มแข็งและบูรณาการระบบ กลไกการสร้างเสริมสุขภาพตามบทบาทของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านสุขภาพทั้งในระดับของสถาบัน และระดับท้องถิ่น/ชุมชน • เพื่อยกระดับการทำงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในรูปแบบของเครือข่าย โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดการความรู้ระหว่างเครือข่าย สามารถเป็นตัวอย่างและแหล่งเรียนรู้แก่สถานศึกษาอื่นได้ ตลอดจนสื่อสารแนวคิด เทคนิคและวิธีการสร้างเสริมสุขภาพของโรงเรียนนายร้อยตำรวจให้เกิดการรับรู้ในวงกว้าง • เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพทั้ง 4 มิติที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในโรงเรียน/สถาบันและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โครงสร้างของโครงการ 4) เป้าหมาย เป็นการกำหนดผลลัพธ์ที่มุ่งหวังให้เกิดขึ้นทันทีหลังกิจกรรมโครงการ (Output) ระบุจำนวนคนที่ได้รับประโยชน์ และสิ่งที่ได้รับที่สามารถวัด/ประเมินได้ @ เป้าหมายเชิงปริมาณ : ระบุจำนวนของสิ่งหรือผู้ที่เราจะกระทำ @ เป้าหมายเชิงคุณภาพ : ระบุคุณลักษณะ/มาตรฐาน/ประสิทธิภาพของสิ่งนั้นๆ
4) เป้าหมาย • ความสัมพันธ์ ระหว่าง เป้าหมาย & วัตถุประสงค์ • วัตถุประสงค์หนึ่ง อาจมีหลายเป้าหมายได้ อย่างน้อย 1 รูปแบบนวัตกรรม ในระดับสูง
โครงสร้างของโครงการ 5) ระยะเวลาดำเนินงาน • ระบุวันที่เริ่มปฏิบัติโครงการจนกระทั่งถึงวันสิ้นสุดโครงการโดยระบุวันที่ เดือน ปี ถึง วันที่ เดือน ปี ให้ชัดเจน ไม่ควรใช้คำว่า “1 สัปดาห์” “3 เดือน” ซึ่งไม่มีความชัดเจนว่าจะดำเนินการเมื่อไร
โครงสร้างของโครงการ 6) วิธีดำเนินการ เขียนตามขั้นตอนของการปฏิบัติงานเรียงตามลำดับว่าจะทำอย่างไร ระบุวันเวลา สถานที่ให้ชัดเจน มักเขียนในรูปปฏิทิน ควรเขียนแนวทางปฏิบัติกิจกรรมตั้งแต่ต้นจนจบ โดยให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คือปฏิบัติกิจกรรมใดบรรลุวัตถุประสงค์ข้อใด กิจกรรมต้องครบถ้วนตามวัตถุประสงค์
โครงสร้างของโครงการ 6) วิธีดำเนินการ
7) สถานที่ดำเนินการ : ระบุพื้นที่บริเวณที่ใช้ในการดำเนินงานโครงการ 8) ผู้รับผิดชอบโครงการ: ระบุชื่อบุคคล ตำแหน่ง หน้าที่ ที่อยู่ เบอร์โทร email แทนการระบุชื่อหน่วยงาน เพื่อประโยชน์ในการติดตาม
9) งบประมาณ: งบประมาณหรือค่าใช้จ่ายของโครงการประกอบด้วย 1. ยอดรวมค่าใช้จ่ายทั้งโครงการ และ 2. ค่าใช้จ่ายของแต่ละกิจกรรมหรือแต่ละช่วงเวลาพร้อมทั้งรายละเอียดค่าใช้จ่าย โดยต้องแยกรายการงบประมาณให้ ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่ - ค่าตอบแทนเช่นค่าตอบแทนวิทยากรค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น - ค่าใช้สอยเช่นค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่างอาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ เช่น เบี้ยเลี้ยงค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น - ค่าวัสดุเช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม เช่น กระดาษ แฟ้มเอกสาร ฯลฯ
10) การประเมินผลโครงการ:ระบุวิธีการประเมินหรือประเด็นที่ควรประเมิน เพื่อจะได้รู้ว่าการดำเนินงานตามโครงการนั้นบรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ เพียงใด เช่น แบบสอบถาม แบบทดสอบ 11) ผลที่คาดว่าจะได้รับ: ระบุว่าเมื่อดำเนินงานตามโครงการจนครบถ้วนแล้วจะได้รับผลอะไรบ้าง โดยเขียนให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
สรุป หัวข้อโครงการ โครงการอะไร ใครทำ ทำเมื่อไร สิ้นสุดเมื่อไร ทำไมจึงทำโครงการนี้ ทำเพื่ออะไร ทำแล้วได้อะไร มีคุณภาพและปริมาณเท่าใด ทำที่ไหน ชื่อโครงการ ผู้รับผิดชอบโครงการ ระยะเวลาดำเนินงาน หลักการและเหตุผล หรือความเป็นมา วัตถุประสงค์ เป้าหมาย สถานที่
“พร้อมจะลงมือเขียนโครงการกันรึยัง”“พร้อมจะลงมือเขียนโครงการกันรึยัง”