1.36k likes | 2.01k Views
ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน. อาหารและการย่อยอาหาร การย่อยอาหารของจุลินทรีย์. 1. การย่อยอาหาร ของแบคทีเรียและรา( Mold ). - เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ ( Extracellular - digestion)
E N D
ระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงานระบบย่อยอาหารและการสลายสารอาหารเพื่อให้ได้พลังงาน อาหารและการย่อยอาหาร การย่อยอาหารของจุลินทรีย์
1. การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา(Mold) - เป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular - digestion) - แบคทีเรียและรา ไม่สามารถนำสารโมเลกุลใหญ่เข้าสู่เซลล์ ต้องส่งน้ำย่อยหรือเอนไซม์ ออกมาย่อยสารโมเลกุลใหญ่
1. การย่อยอาหารของแบคทีเรียและรา(Mold)(ต่อ) - การย่อยสลายโดยแบคทีเรียและรา จะขึ้นอยู่กับเอนไซม์ของจุลินทรีย์ชนิดนั้นๆ ว่าสามารถย่อยสารใดได้บ้าง - เช่น ยีสต์ มีเอนไซม์ในการย่อยสลายน้ำตาล แต่ไม่มีเอนไซม์ย่อยแป้ง
2. การย่อยอาหารของโพรโทซัว - โพรโทซัวจัดเป็นโพรทิสต์ที่มีลักษณะคล้ายสัตว์เพราะสร้างอาหารเองไม่ได้ - ไม่มีผนังเซลล์ แต่สามารถเคลื่อนที่ได้ - ไม่มีระบบทางเดินอาหารและระบบย่อยอาหาร
2. การย่อยอาหารของโพรโทซัว(ต่อ) - อาศัยส่วนต่างๆของเซลล์ในการนำน้ำและอาหารเข้าสู่เซลล์ - และเริ่มมีการย่อยภายในเซลล์ เรียกว่า การย่อยภายในเซลล์ (Intracellular- digestion) เช่น อะมีบา และพารามีเซียม
2.1 การย่อยอาหารของอะมีบา - อะมีบานำอาหารเข้าสู่เซลล์ด้วยวิธีฟาโก-ไซโทซิส(Phagocytosis) - อาหารจะถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในไลโซโซม ซึ่งน้ำย่อยของอะมีบาส่วนใหญ่ เป็น กรดเกลือ (HCl)
2.2 การย่อยอาหารของพารามีเซียม - พารามีเซียมใช้ cilia ที่อยู่บริเวณร่องปาก (Oral groove) ทำหน้าที่ในการโบกพัดให้อาหารตกลงสู่ร่องปาก - ซึ่งเว้าเข้าไปภายในเซลล์เรียกว่า พิโนไซโทซิส (Pinocytosis)
2.2 การย่อยอาหารของพารามีเซียม(ต่อ) - เมื่ออาหารเข้าไปอยู่ในฟูดแวคิวโอลแล้ว ฟูดแวคิวโอลจะไปรวมกับ ไลโซโซม (Lysosome) - ซึ่งฟูดแวคิวโอลนี้จะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซม และเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ เซลล์โดยการไหลเวียนของไซโทพลาซึม
2.2 การย่อยอาหารของพารามีเซียม(ต่อ) - ในขณะที่ฟูดแวคิวโอลเคลื่อนที่ไปก็จะมีการย่อยอาหารเกิดขึ้นด้วย ทำให้ ฟูดแวคิวโอลมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ - และสารอาหารที่ได้จากการย่อยก็จะกระจายและแพร่ไปได้ทั่วทุกส่วนของเซลล์
2.2 การย่อยอาหารของพารามีเซียม(ต่อ) - ส่วนที่เหลือจากการย่อยก็จะถูกขับออกจากเซลล์ในรูปของกากอาหารต่อไป
3. การย่อยอาหารของสัตว์ การย่อยอาหารของสัตว์ที่ไม่มีทางเดินอาหาร - ฟองน้ำ (Sponge) จัดเป็นสัตว์กลุ่มแรก ซึ่งโครงสร้างที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกินและแปรสภาพอาหารยังไม่พัฒนาให้เห็นชัดเจน
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - การกินและการย่อยอาหารจึงต้องอาศัยเซลล์ที่มีลักษณะพิเศษ ซึ่งมีอยู่ 2 ชนิด คือ 1.คอลลาร์เซลล์ (Collar Cell) คือ โคแอนโน-ไซต์ (Choanocyte) เป็นเซลล์ขนาดเล็กคล้ายปลอกคอ มีแฟลเจลลัม (Flagellum) 1 เส้น ยื่นออกมาจากคอลลาร์เซลล์
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) 2. อะมิโบไซต์ (Amoebocyte) - พบทั่วไปบริเวณผนังลำตัวของฟองน้ำ ย่อยอาหารจำพวกแบคทีเรียและอินทรียสารขนาดเล็กไม่เกิน 1 ไมครอน
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - ไซโทพลาซึมจะรับอาหารเข้าสู่เซลล์แบบฟาโกไซโทซิส สร้างเป็น Food- Vacuole แล้วอาหารจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซม
ฟองน้ำ (Sponge)(ต่อ) - ส่วนอาหารขนาดใหญ่ประมาณ 5-50 ไมครอน อะมิโบไซต์ (Amoebocyte) สามารถจับแล้วสร้าง Food Vacuole และจะถูกย่อยโดยเอนไซม์จากไลโซโซมเช่นเดียวกัน
การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารไม่สมบูรณ์ ไฮดรา (Hydra) - ไฮดราจะมีเข็มพิษ (Nematocyst) อยู่บริเวณหนวด (Tentacle) ซึ่งจะปล่อยพิษออกมาทำร้ายเหยื่อ(ไรน้ำ)
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) - แล้วจับเหยื่อส่งเข้าสู่ปากผ่านเข้าสู่ช่องกลางลำตัว (Gastrovascular Cavity) - ที่ผนังลำตัวจะมีเซลล์แกสโทรเดอร์มิส (Gastrodermis) ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร ประกอบด้วยเซลล์ 2 ชนิด คือ
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) 1.เซลล์ต่อม (Gland Cell) เป็นเซลล์ขนาดเล็ก ทำหน้าที่สร้างน้ำย่อยส่งออกไปย่อยอาหารที่อยู่ใน Gastrovascular Cavity ซึ่งเป็นการย่อยภายนอกเซลล์ (Extracellular- Digestion) กากอาหารจะถูกขับถ่ายออกทางช่องปาก
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) 2.เซลล์ย่อยอาหาร (Digestive or Nutritive Cell) เป็นเซลล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า Gland- Cell ส่วนปลายมีแฟลเจลลัมทำหน้าที่จับอาหารที่มีขนาดเล็กเข้าสู่เซลล์
ไฮดรา (Hydra)(ต่อ) - สามารถสร้าง Food Vacuole ได้แบบเดียวกับอะมีบา เกิดการย่อยภายในเซลล์ (Intracellular Digestion)
พลานาเรีย (Planaria) - โครงสร้างที่เกี่ยวกับการกินและการย่อยอาหารของพลานาเรียซับซ้อนกว่าไฮดราเล็กน้อย - เริ่มต้นจากช่องปาก ซึ่งเป็นช่องเปิดรับอาหารและขับถ่ายกากอาหาร
พลานาเรีย (Planaria)(ต่อ) - ต่อจากปากเป็นคอหอย (Pharynx) ซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงยาว - มีเซลล์กล้ามเนื้อแข็งแรงยืดตัวและหดตัวได้ สามารถยื่นออกมาจับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กและอินทรียสารเป็นอาหารได้
พลานาเรีย (Planaria)(ต่อ) - เมื่ออาหารผ่านเข้าสู่ปากจะเข้าสู่ทางเดินอาหารที่มีแขนงแยกออกไปสองข้างของลำตัวและแตกแขนงไปทั่วร่างกาย - ทำหน้าที่ย่อยอาหารโดยเฉพาะ อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมผ่านเข้าสู่เซลล์ไปทั่วร่างกาย
การย่อยอาหารของสัตว์ที่มีทางเดินอาหารสมบูรณ์(Complete Digestive Tract) ได้แก่ ไส้เดือนดิน แมลง ปลา สัตว์ปีก และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นต้น
ไส้เดือนดิน(EarthWorm) โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของไส้เดือนดินประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) อยู่บริเวณปล้องแรกสุด มีริมฝีปาก 3 พู ใช้ขุดดินและช่วยในการเคลื่อนที่
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ) 2. คอหอย (Pharynx) อยู่บริเวณปล้องที่ 4-6 ลักษณะพองออกเล็กน้อย มีกล้ามเนื้อหนาแข็งแรง ช่วยในการกลืนอาหารให้อาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะพักอาหารได้
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ) 3. หลอดอาหาร (Esophagus) อยู่บริเวณปล้องที่ 6-12 ลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กกว่าคอหอย เป็นทางผ่านของอาหาร 4. กระเพาะพักอาหาร (Crop) อยู่บริเวณปล้องที่ 12-16 ลักษณะเป็นถุงผนังบาง
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ) 5. กึ๋น (Gizzard) ประกอบด้วยผนังกล้ามเนื้อที่แข็งแรงมาก ทำหน้าที่บดอาหารให้มีขนาดเล็กลง 6. ลำไส้ (Intestine) เป็นทางเดินอาหารที่ยาวที่สุด เซลล์ที่บุผนังลำไส้จะปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยอาหาร
ไส้เดือนดิน (Earth Worm)(ต่อ) - อาหารที่ย่อยแล้วจะถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์ของร่างกาย 7. ทวารหนัก (Anus) เป็นช่องเปิดปลายสุด ทำหน้าที่ขับถ่ายกากอาหารออกนอกร่างกาย
ลำดับทางเดินอาหารของไส้เดือนดินลำดับทางเดินอาหารของไส้เดือนดิน ปาก คอหอย หลอดอาหาร กระเพาะพัก-อาหาร กึ๋น ลำไส้ ทวารหนัก
แมลง (Insect) โครงสร้างเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของแมลงประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ 1. ปาก (Mouth) แมลงมีปากหลายลักษณะตามความเหมาะสมในการกินอาหารและการใช้งาน เช่น
แมลง (Insect)(ต่อ) - ปากแบบกัดกิน (Chewing Type) มีกราม (Mandible) และฟัน (Maxilla) แข็งแรง เหมาะกับการกัดและเคี้ยว เช่น ตั๊กแตน เป็นต้น