60 likes | 355 Views
จดหมายข่าว KM. สำนักวิชาการ. สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน. ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 เดือนธันวาคม 2550.
E N D
จดหมายข่าว KM สำนักวิชาการ สว. รวมใจ สานสายใย เรียนรู้ร่วมกัน ปีที่ 2 ฉบับที่ 11 เดือนธันวาคม 2550 "ของขวัญอันล้ำค่า เหล่านี้ไม่ต้องรอมอบให้กันในช่วงเทศกาล เราสามารถมอบให้ผู้อื่นได้ตลอดปี และเมื่อเรามอบของขวัญนี้แก่ผู้ให้แล้ว ผลที่ได้รับ มีคุณค่ามากมายมหาศาล ทั้ง ๆ ที่มันเป็นของขวัญที่ไม่ต้องลงทุนสักแดงเดียว..." โดยฉบับนี้ขอมอบของขวัญกล่องแรก คือ ของขวัญ อันล้ำค่า ของขวัญจากการฟังจงตั้งใจฟังผู้อื่นให้มาก อย่าขัดจังหวะการพูดหรือขัดคอคนอื่น พูดให้น้อย ฟังให้มาก ข้อมูลจากhttp://www.ku.ac.th/e-magazine/january45/know/gift.html โดยผู้แทน KM สำนักงานเลขานุการ นางดวงแก้ว เทพศิริ การประเมินคุณภาพการศึกษา ประจำปี 2550 ผ่านไปอีกครั้งหนึ่งแล้ว สำหรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในหน่วยงานสนับสนุนประจำปี 2550 ของสำนักวิชาการ เมื่อวันที่ 12 - 13 ธันวาคม 2550 โดยคณะผู้ประเมินในครั้งนี้จำนวน 3 ท่าน คือ รศ.ดร.กัญจนา ลินทรัตนศิริกุล รศ.สัจจา บรรจงศิริ และคุณสุชาติ ใจสุภาพ สำหรับการประเมินคุณภาพฯ ประจำปีนี้ใช้เกณฑ์มาตรฐานจำนวน 3 มาตรฐาน และมีตัวบ่งชี้จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ จากผลการดำเนินงานจากสำนักงานเลขานุการและฝ่ายต่างๆ โดยคณะผู้ประเมินได้ทำการประเมินการดำเนินงาน จากการศึกษารายงานการประเมินตนเองของสำนักวิชาการ ศึกษาเอกสารหลักฐานประกอบ การสัมภาษณ์ผู้บริหาร คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาของสำนักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ ฯลฯ จึงเป็นที่มาของผลการประเมิน 4.56 อันเป็นของขวัญอันล้ำค่าที่ทำให้บุคลากรสำนักวิชาการมีกำลังใจและเอาใจใส่ในการทำงานมากยิ่งขึ้น จริงไหมคะ หากท่านใดสนใจรายละเอียดการประเมินคุณภาพการศึกษา สามารถหาอ่านได้จาก web site ของสำนักวิชาการ หรือที่ http://www.stou.ac.th/Offices/Oaa/OaaOldpage/QA/QA.htm (ข้อมูลโดยผู้แทน KM สำนักงานเลขานุการ น.ส. รัตนา เที่ยงธีระธรรม…)
สุขภาพกาย อาหารทำร้ายดวงตา เรื่อง อาหารที่รับประทานกันอยู่ทุกวัน บางครั้งอาจจะเป็นอันตรายต่อดวงตาก็ได้ จึงขอนำเกร็ดความรู้จากนักวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยฮิโรซากิ ประเทศญี่ปุ่น ได้ทำการทดลองกับหนูพบว่าหนูที่กินอาหารที่มีปริมาณสารโซเดียมกลูตาเมทซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกับผงชูรส มีความสามารถในการมองเห็นลดลง เนื่องจากชั้นเรตินาในดวงตาถูกทำลาย และกิจกรรมการส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าในเซลล์ประสาทตาลดลง ซึ่งอาจส่งผลเช่นเดียวกันนี้กับมนุษย์ นอกจากนี้ฮิโรชิ โฮกุโร หัวหน้าคณะวิจัยสังเกตว่า สาเหตุที่จำนวนผู้ป่วยโรคต้อหินในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ อาจมาจากการนิยมรับประทานอาหารที่ปรุงรสด้วยสารโมโนโซเดียมกลูตาเมทรู้อย่างนี้แล้วก็อย่ารับประทานผงชูรสมากจนเกินไป จะได้ไม่เสียสุขภาพ. ข้อมูลจากhttp://www.bloggang.com/mainblog.php?id=amatavaja&month=27-12-2007&group=1&gblog=2โดยผู้แทน KM สำนักงานเลขานุการ น.ส. รัตนา เที่ยงธีระธรรม เรื่อง หัวเราะลดอายุ สุขภาพใจ หัวเราะ "บำบัดอาการเครียดได้" ว่ากันว่าหัวเราะวันละครั้งช่วยให้อายุยืนขึ้น กลไกการหัวเราะเป็นอย่างไร จะมีใครคิดบ้างว่า “การหัวเราะ จะมีกลไกที่สลับสับซ้อนอย่างไรบ้าง ลองหาคำตอบจากบทความนี้ซิว่ามีความเป็นมาอย่างไร อารมณ์ขันเป็นกระบวนการที่สมองเราเรียบเรียงความรู้สึกที่รับจากแหล่งต่างๆ รอบๆ ตัว เช่นการจี้สะเอว การอ่านหนังสือการ์ตูน การดูหนังฟังเพลง และภายในจิตใจ เช่น การคิดเรื่องตลกขำขันเป็นต้น โดยสัญญาณจะเข้ามาที่จุดรับความรู้สึกเบื้องต้นบนผิวสมองใหญ่ และส่งต่อไปยังสมองส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมอารมณ์ การแสดงออกของอารมณ์ ระบบประสาทอัตโนมัติ และการเรียงลำดับอารมณ์ขัน อารมณ์ขันที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปเปรียบเทียบกับประสบการณ์ในอดีต เมื่อผลสรุปว่าขำ สัญญาณจะถูกส่งไปยังก้านสมองอันเป็นจุดสุดท้ายของการรวบรวมอารมณ์ขัน ได้แก่การเปล่งเสียงตามอารมณ์ ให้เป็นจังหวะที่กลมกลืนกับการหายใจและการแสดงออกของหน้าตา รวมเป็นการหัวเราะ เป็นอย่างไรบ้าง เมื่อทราบกลไกของการหัวเราะแล้ว ฉบับหน้ามาติดตามว่า “เพราะอะไรคนเราจึงหัวเราะ” นะคะ ข้อมูลจาก นิตยสาร “กุลสตรี ฉบับเดือนกันยายน 2550 หน้า 88” โดยผู้แทน KM สำนักงานเลขานุการ นางลัดดา ปกป้อง
เกษตรสมัครเล่น สวัสดีครับ คอลัมภ์นี้เป็นคอลัมภ์การเกษตรสมัครเล่น คิดว่าคงจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย เพราะอย่างน้อยที่สุดความเครียดเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับการดำรงชีพในสภาวะปัจจุบัน ประจวบกับช่วงนี้ดอกกล้วยไม้กำลังแตกดอกออกช่อบานสะพรั่งไปทั่ว จดหมายข่าว KM ฉบับนี้จึงขอเสนอความรู้เกี่ยวกับการปลูกกล้วยไม้ กล้วยไม้ที่เป็นที่นิยมของผู้เลี้ยงกล้วยไม้ทั่วไปไม่ว่าจะเป็นผู้เลี้ยงมืออาชีพหรือมือสมัครเล่น คือ กล้วยไม้สกุลช้างนั่นเอง กล้วยไม้สกุลช้างมีหลายชนิด เช่น ช้างกระ ช้างเผือก ช้างแดง ไอยเรศ เขาแกะ เป็นต้น และสำหรับฉบับนี้จะขอแนะนำกล้วยไม้ที่ออกดอกในช่วงนี้ คือ ช้างกระ ช้างพลาย ช้างเผือก และช้างแดง ซึ่งเป็นกล้วยไม้ที่เลี้ยงง่าย สามารถเลี้ยงได้ทุกภาคของประเทศ วิธีการเลี้ยงก็แสนง่าย ถ้าในบริเวณบ้านมีต้นไม้ใหญ่ที่สามารถให้ร่มเงาได้ เช่น ต้นมะม่วง ก็สามารถปลูกด้วยการเกาะกับต้นมะม่วงได้เลย หรือจะปลูกโรงเรือน โดยใช้แสลนพรางแสง 60 - 70% ปลูกในกระเช้ากล้วยไม้ หรือกระถางดินเผา รดน้ำเช้าเย็น ใส่ปุ๋ยสูตรเสมออาทิตย์ละ 1 ครั้ง ฉีดยากันเชื้อราหรือยาฆ่าแมลงถ้าเห็นว่ากล้วยไม้เริ่มมีอาการจากโรคหรือแมลงรบกวน(แต่แนะนำเพื่อนๆ ให้ใช้สารชีวภาพ ถ้าปลูกกล้วยไม้ในบริเวณบ้าน) พอถึงช่วงเดือนธันวาคมก็จะเริ่มแทงตาดอกและเริ่มบานให้ชมจนถึงประมาณปลายเดือนมกราคมซึ่งเป็นช่วงออกดอกของกล้วยไม้ชนิดนี้ หมายเหตุ อยากแนะนำเพื่อนๆ ว่า อย่านำกล้วยไม้ที่นำมาจากป่ามาเลี้ยง เพื่อเป็นการอนุรักษ์กล้วยไม้ป่า ให้เลี้ยงช้างที่เพาะเมล็ดขึ้นมา เพราะว่าตอนนี้กล้วยไม้สกุลช้างได้พัฒนาสายพันธุ์จนสวยกว่า ช้างที่อยู่ในป่ามาก ถ้าหากเพื่อนๆ มีโอกาสไปชมงานประกวด กล้วยไม้ช่วงนี้จะได้เห็นความสวยงามของช้างที่นำมาประกวด แล้วเพื่อนๆ จะเลิกความคิดที่จะนำช้างจากป่ามาเลี้ยง บทความโดยผู้แทน KM ฝ่ายประสบการณ์วิชาชีพ นายบัญชา แทนวันชัย ขอเชิญชาว สว ส่งข่าวสารความรู้เผยแพร่ในจดหมายข่าว KM ได้ที่ผู้แทนสำนักงานเลขานุการ (รัตนา เที่ยงธีระธรรม) โทร 7509 จัดทำจดหมายข่าว โดย น.ส.รัตนา เที่ยงธีระธรรม