500 likes | 890 Views
แนะนำแหล่งทุนวิจัย. โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. สสส. แหล่งทุนวิจัย. สสวท. วช. ในไทย. สกว. ส.อ.ท. สวทช. สนพ. จุฬาฯ- ทุน 90 ปี. ภายนอก. สกอ. สวก. ต่างประเทศ. Asialink.
E N D
แนะนำแหล่งทุนวิจัย โดย รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. ฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
สสส. แหล่งทุนวิจัย สสวท. วช. ในไทย สกว. ส.อ.ท. สวทช. สนพ. จุฬาฯ- ทุน 90ปี ภายนอก สกอ. สวก. ต่างประเทศ Asialink เงินวิจัย Euro-Thai WHO APT
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) • ฝ่าย 1 นโยบายชาติและความสัมพันธ์ข้ามชาติ • ฝ่าย 2 เกษตร • ฝ่าย 3 สวัสดิภาพสาธารณะ • ฝ่าย 4 ชุมชนและสังคม • ฝ่าย 5 อุตสาหกรรม เช่น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม (www.trfsme.org) ทุน TRF-MAG ( www.trfmag.org) • งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น • ฝ่ายวิชาการ • โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.) • กลุ่มงานมนุษยศาสตร์
ทุนพัฒนานักวิจัยของ สกว. ปี 2552 จะประกาศ มีนาคม http://academic.trf.or.th • ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ 15 ก.ค.- 15 ต.ค. 2550 • ทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ 15 ส.ค – 15 ต.ค. 2550 • ทุนเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของอาจารย์รุ่นกลาง 15 ก.ค.- 15 ต.ค. 2550 • ทุนพัฒนานักวิจัย (เมธีวิจัย สกว.) 15 ส.ค. – 15 ต.ค. 2550 • ทุนองค์ความรู้ใหม่ที่เป็นพื้นฐานต่อการพัฒนา (วุฒิเมธีวิจัย สกว.) 15 ส.ค. – 15 ต.ค. 2550 • ทุนส่งเสริมกลุ่มวิจัย (เมธีวิจัยอาวุโส สกว.)
ตัวอย่างแหล่งทุน • ทุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช) http://www.nrct.net • ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (5 ฝ่าย) http://www.trf.or.th เช่น • - ทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • http://www.trfmag.org • - ทุน สกว.-บริษัท ปูนซีเมนต์ นครหลวง จำกัด (มหาชน): ทุนวิจัยสาขา • วิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อมhttp://www.trfmag.org • - ทุนจากโครงการวิจัยแห่งชาติ : ยางพารา
ตัวอย่างแหล่งทุน (ต่อ) • 3. ทุนจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา www.mua.go.th • 4. ทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) http//:www.onesqa.or.th • 5. ทุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ www.nstda.or.th • (5 national research centers) เช่น • - โครงการลงทุนวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียกเว้นภาษีรายได้ 200% ร่วมกับ • กรมสรรพากร www.rd.go.th มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา • เทคโนโลยี • - โครงการ ITAP ภายใต้ MTEC www.nstda.or.th/itap • 6. ทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)www.thaihealth.or.th
ตัวอย่างแหล่งทุน (ต่อ) • 7. ทุนจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) www.kmi.or.th • 8. ทุนจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) www.nia.or.th • 9. ทุนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว) http://www.tistr.or.th • 10. ทุนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน www.eppo.go.th คุณนุจรีย์ เพชรรัตน์ • โทรศัพท์ 0-2612-1373, 0-2612-1555 ต่อ 371 Email: nootjaree@eppo.go.th • 11. ทุนจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย htpp://www.fti.or.th • 12. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)http://www.arda.or.th
สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ระหว่างปี 2551-2553 ของวช. ให้ความสำคัญในการวิเคราะห์ข้อเสนอการวิจัยของหน่วยงานภาครัฐโดย 1. มุ่งสะท้อนและตอบสนองความต้องการของพื้นที่ 2. มีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับ - ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ - นโยบายรัฐบาลที่อยู่บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) - ยุทธศาสตร์การวิจัยระดับภูมิภาค - ปัญหาและสถานการณ์ของประเทศ http://www.nrct.net/index.php
ตัวอย่างข้อเสนอการวิจัยปี 2550สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 1. ด้านการศึกษาวิจัยปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2. แผนพลังงานทดแทน 3. โครงการวิจัยสานเกลียวคู่นวัตกรรมด้านพลาสติกชีวภาพ 4. ด้านการพยากรณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติเกี่ยวกับน้ำ 5. ด้านมลพิษทางอากาศของประเทศภายใต้ปรากฏการณ์โลกร้อน 6. ด้านเศรษฐกิจพอเพียง 7. ด้านการพัฒนาสังคมไทยสู่สังคมการเรียนรู้และแก้ปัญหาทางเพศและยาเสพติด 8. ด้านการศึกษาปัญหาทางสาธารณสุขที่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญสูงสุดระดับประเทศ
ยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ (พ.ศ. 2551-2553) ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 1 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 2 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาสังคม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 3 การสร้างศักยภาพและความสามารถเพื่อการพัฒนาทางวิทยาการและทรัพยากรบุคคล ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 4 การเสริมสร้างและพัฒนาทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยุทธศาสตร์การวิจัยที่ 5 การบริหารจัดการความรู้ ผลงานวิจัยทรัพยากรและภูมิปัญญาของประเทศสู่การใช้ประโยชน์ด้วยยุทธวิธีที่เหมาะสม
งบประมาณที่คาดว่าจะใช้ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติงบประมาณที่คาดว่าจะใช้ตามนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ
เรื่องที่ควรวิจัยเร่งด่วนจากยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ 1. การประยุกต์ใช้เศรษฐกิจพอเพียง 2. ความมั่นคงของรัฐและการเสริมสร้างธรรมาภิบาล 3. การปฏิรูปการศึกษา 4. การจัดการน้ำ 5. การพัฒนาพลังงานทดแทน 6. การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกและลดการนำเข้า 7. การป้องกันโรคและการรักษา 8. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาคุณค่าความหลากหลายทางชีวภาพ 9. เทคโนโลยีใหม่และเทคโนโลยีที่สำคัญเพื่ออุตสาหกรรม 10. การบริหารจัดการการท่องเที่ยว
โครงการทุนสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย (Thailand Graduate Institute of Science and Technology, TGIST) โครงการทุน TGIST ภายใต้สวทช. จากทั้ง 5 ส่วนงาน 1. ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) 2. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC) 3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) 4. ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) 5. ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) **รับสมัครข้อเสนอโครงการวิจัยเพื่องานวิทยานิพนธ์ โดยนักวิจัยของ สวทช. เป็นผู้เสนอชื่อโครงการวิจัย อาจารย์ที่มีความร่วมมือ (พร้อมประวัติส่วนตัวและผลงาน) และชื่อนิสิต/นักศึกษาปริญญาโทผู้เข้าร่วมโครงการ แนบใบสมัครของนิสิต/นักศึกษาที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะรับทุน (ถ้ามี)** ที่มา: http://www.nstda.or.th/tgist
ทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว.สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (TRF Master Research Grants: TRF-MAG) 1. โครงการเชื่อมโยงภาคการผลิตกับงานวิจัย (MAG Window I) 2. ทุน สกว. ร่วมกับสถาบันการศึกษา (MAG co-funding Window II) 3. ทุน สกว. ร่วมกับบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) http://www.trfmag.org
โครงการเชื่อมโยงภาคการผลิตกับงานวิจัยโครงการเชื่อมโยงภาคการผลิตกับงานวิจัย (MAG Window I)
เงื่อนไขทุน MAG Window I 1. โจทย์วิจัยได้จากอุตสาหกรรม ต้องปรากฏตัวตนของผู้ต้องการความรู้ชัดเจน และแสดงให้เห็นว่าความรู้นั้นสำคัญสำหรับกิจการอุตสาหกรรมนั้น ผู้ประกอบการต้องสนับสนุนเงินสดไม่ต่ำกว่า 20,000 บาท และ in kindเทียบเท่าเงินสดไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท 2. การทำโครงงานหรือวิจัยจะต้องมีส่วนทำที่สถานประกอบการ เพื่อบุคลากรอุตสาหกรรมมีส่วนร่วม หรือบุคลากรของอุตสาหกรรมเป็นผู้ทำวิจัยเอง เช่น เป็นนักศึกษาบัณฑิตศึกษา
เงื่อนไขทุน MAG Window I (ต่อ) 3. อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก 1 ท่าน ดูแลได้ ไม่เกิน 2 โครงการ ในระหว่างที่โครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้ไม่นับรวมโครงการอื่นภายใต้การสนับสนุนของ สกว. 4. สกว. จะทำสัญญาการรับทุนกับอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เสนอโครงการ • เมื่อสิ้นสุดโครงการจะต้องมีงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการภายใต้ประกาศของโครงการนี้ หรือสิทธิบัตรสำหรับผลงานตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการจะต้องเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า • ระยะเวลาการสนับสนุนค่าจ้างนักศึกษาผู้วิจัยไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ทำสัญญาการรับทุน ภายในวงเงิน 300,000 บาท
เงื่อนไขทุน MAG Window I (ต่อ) 7. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจะคัดเลือกโครงการดีเด่นเพื่อให้นำเสนอในงานนิทรรศการเพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. สู่สาธารณชน • ในกรณีที่มีเงินสนับสนุนการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย และ/หรือ คณะต้นสังกัดของผู้เสนอโครงการ และ/หรือ ผู้ร่วมสนับสนุน เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนจะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วมสนับสนุนก่อน สกว. จะไม่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไขทุน MAG Window I (ต่อ) 9. สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษานั้นๆ หากไม่มีข้อกำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิของสถาบันการศึกษานั้น ในกรณีที่ผลงานที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาต่อยอดได้สกว. มีสิทธิที่จะเข้าเจรจาก่อน (right of first refusal) และถ้า สกว. ให้ทุนสนับสนุนต่อโดยอาจร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่นภาคอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ สกว. ตามสัญญาของทุนใหม่นั้น ๆ ในกรณีที่เป็นโครงการซึ่งทำร่วมกับผู้ร่วมสนับสนุน การรักษาความลับของผลงาน ผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี) และกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์ที่จะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ ให้เป็นการตกลงร่วมกันก่อนเริ่มโครงการระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ร่วมสนับสนุนที่ร่วมโครงการ ทั้งนี้ สกว. จะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ยหากมีกรณีพิพาท และหากผู้ร่วมสนับสนุนที่เข้าร่วมโครงการได้กรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์นั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการและต้องการปิดผลงานเป็นความลับ ผู้ร่วมสนับสนุนจะต้องจ่ายเงินคืนเฉพาะส่วนค่าวัสดุและค่าใช้สอยที่ใช้ในโครงการให้ สกว.
กำหนดเวลากิจกรรมของ MAG Window I ปี 2552
ทุน สกว. ร่วมกับสถาบันการศึกษา (MAG co-funding Window II)
เงื่อนไขทุน MAG co-funding Window II • สนับสนุนงานวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี • สกว.และต้นสังกัดของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการร่วมสนับสนุนงบประมาณ 50 : 50 และอาจมีหน่วยงานอื่นหรือมีภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการ เป็น“ผู้ร่วมสนับสนุน” หรือไม่ก็ได้ • นักศึกษาเป็นผู้เสนอโครงการภายใต้การรับรองของอาจารย์ที่ปรึกษาผ่านบัณฑิตวิทยาลัยหรือคณะต้นสังกัด
เงื่อนไขทุน MAG co-funding Window II (ต่อ) • อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก 1 ท่าน ดูแลได้ ไม่เกิน 2 โครงการ ในระหว่างที่โครงการยังไม่สำเร็จ ทั้งนี้ไม่นับรวมโครงการอื่นภายใต้การสนับสนุนของ สกว. • สกว. จะทำสัญญาการรับทุนกับอาจารย์ที่ปรึกษาของผู้เสนอโครงการ • เมื่อสิ้นสุดโครงการจะต้องมีงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการภายใต้ประกาศของโครงการนี้ หรือสิทธิบัตรสำหรับผลงานตีพิมพ์ในการประชุมวิชาการจะต้องเป็นการนำเสนอแบบปากเปล่า • ระยะเวลาการสนับสนุนค่าจ้างนักศึกษาผู้วิจัยไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ทำสัญญาการรับทุน ภายในวงเงิน 200,000 บาท
เงื่อนไขทุน MAG co-funding Window II (ต่อ) • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจะคัดเลือกโครงการดีเด่นเพื่อให้นำเสนอในงานนิทรรศการเพื่อประกาศเกียรติคุณและเผยแพร่โครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. สู่สาธารณชน • ในกรณีที่มีเงินสนับสนุนการวิจัยจากบัณฑิตวิทยาลัย และ/หรือ คณะต้นสังกัดของผู้เสนอโครงการ และ/หรือ ผู้ร่วมสนับสนุน เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนจะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วมสนับสนุนก่อน สกว. จะไม่เกี่ยวข้อง
เงื่อนไขทุน MAG co-funding Window II (ต่อ) • สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาให้เป็นตามข้อกำหนดของสถาบันการศึกษานั้นๆ หากไม่มีข้อกำหนดให้ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิของสถาบันการศึกษานั้น ในกรณีที่ผลงานที่มีศักยภาพและสามารถพัฒนาต่อยอดได้สกว. มีสิทธิที่จะเข้าเจรจาก่อน (right of first refusal) และถ้า สกว. ให้ทุนสนับสนุนต่อโดยอาจร่วมกับหน่วยงานอื่น เช่นภาคอุตสาหกรรม ผลประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาและการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาจะเป็นไปตามเกณฑ์ของ สกว. ตามสัญญาของทุนใหม่นั้น ๆ ในกรณีที่เป็นโครงการซึ่งทำร่วมกับผู้ร่วมสนับสนุน การรักษาความลับของผลงาน ผลประโยชน์ทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา (ถ้ามี) และกรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์ที่จะเป็นผลลัพธ์ที่ได้จากโครงการ ให้เป็นการตกลงร่วมกันก่อนเริ่มโครงการระหว่างอาจารย์ที่ปรึกษาและผู้ร่วมสนับสนุนที่ร่วมโครงการ ทั้งนี้ สกว. จะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ยหากมีกรณีพิพาท และหากผู้ร่วมสนับสนุนที่เข้าร่วมโครงการได้กรรมสิทธิ์ในอุปกรณ์นั้นเมื่อสิ้นสุดโครงการและต้องการปิดผลงานเป็นความลับ ผู้ร่วมสนับสนุนจะต้องจ่ายเงินคืนเฉพาะส่วนค่าวัสดุและค่าใช้สอยที่ใช้ในโครงการให้ สกว.
งบประมาณสนับสนุนจาก สกว. และต้นสังกัด 50 : 50 งบประมาณสนับสนุนต่อโครงการภายใน 18 เดือน ไม่เกิน 200,000 บาท : • ค่าสมนาคุณอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) 20,000 บาท (จ่ายหลังจากการตีพิมพ์บทความ) • ค่าจ้างนักศึกษาผู้วิจัย 60,000 บาท (แยกจ่าย 3,000 บาท/เดือน ไม่เกิน 18 เดือน) • ค่าวัสดุ และค่าใช้สอยในการวิจัยไม่เกิน 120,000 บาท ***ต้องเขียนรายละเอียดงบประมาณโดยสังเขป*** งบประมาณระหว่างหมวดค่าวัสดุและหมวดค่าใช้สอยสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณในแต่ละหมวด
สกว. สนับสนุนการเดินทางไปเสนอผลงานในต่างประเทศของนักศึกษาที่ได้รับทุนตั้งแต่ปี 2548 ไม่เกิน 30,000 บาท/โครงการ จำนวนทุนดูประกาศ • ต้องได้รับการตอบรับการนำเสนอแบบปากเปล่า • ส่งเรื่องและเอกสารเพื่อขอรับการอนุมัติก่อน • การพิจารณาทุนใช้ระบบ first-come-first-served ปีการศึกษา 2551 จำนวน 100 ทุน สนับสนุนแบบ co-funding (สกว. : ต้นสังกัดของผู้ยื่นข้อเสนอโครงการ = 50 : 50)
กำหนดเวลากิจกรรมของ MAG co-funding Window II ปี 2552
MAG I & II กรอกข้อเสนอโครงการและข้อมูลต่างๆ ทางเว็บไซต์ ได้เสนอโครงการนี้หรือโครงการที่มีส่วนเหมือนกับเรื่องนี้บางส่วนเพื่อขอทุนกับแหล่งอื่นที่ใดบ้าง ไม่ได้เสนอกับแหล่งทุนอื่น เสนอต่อ (ชื่อแหล่งทุน)............................ ชื่อโครงการที่เสนอ........................ กำหนดทราบผล (หรือสถานภาพเท่าที่ทราบ)…………………… เคยได้รับทุนสนับสนุนในโครงการนี้ หรือโครงการที่มีส่วนเหมือนกับเรื่องนี้บางส่วนแล้วจาก……………………………… จำนวนเงิน ……………………. บาท
รายละเอียดโครงการ ความเป็นมาและความสำคัญ (ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4) การพัฒนาโครงการร่วมกับผู้ประกอบการ (ประมาณครึ่งหน้ากระดาษ A4) วัตถุประสงค์ (ระบุให้ชัดเจนใน 1-2 ประโยค)
รายละเอียดโครงการ (ต่อ) วิธีดำเนินการวิจัย(ประมาณ 1 หน้ากระดาษ A4)โครงการที่ขาดรายละเอียดอาจไม่ได้รับการพิจารณา เพราะไม่สามารถประเมินงบประมาณที่เหมาะสมได้
รายละเอียดโครงการ (ต่อ) วิธีดำเนินการวิจัย (Gantt chart)
รายละเอียดโครงการ (ต่อ) การนำไปใช้ (ระบุวิธีการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการกับนักวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้วิจัยสู่ภาคการผลิต ) รายชื่อเอกสารอ้างอิง
แนบส่วนประกอบข้อเสนอโครงการแนบส่วนประกอบข้อเสนอโครงการ • บทสรุปย่อผู้บริหาร 1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง สกว. ให้ความสำคัญตามนี้ • หัวข้อวิจัยโดยสังเขปที่กำหนดโดยผู้ประกอบการ สกว. และ/หรือ สถาบันการศึกษาต้นสังกัด (ถ้ามี) • ความสำคัญและผลกระทบต่อสังคม • การพัฒนาลงสู่ระดับฐานรากของประเทศ • การพัฒนาต่อยอดในเชิงพาณิชย์ • หัวข้อที่เกิดประโยชน์เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และอาจมีโอกาสเกิด เทคโนโลยี ใหม่/ผลิตภัณฑ์ใหม่/การประยุกต์ใช้งานแบบใหม่ 1.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ
แนบส่วนประกอบข้อเสนอโครงการ (ต่อ) 1.3 แนวทางการทำวิจัย สกว. ให้ความสำคัญในประเด็นต่างๆ ดังนี้ • ความสำคัญและความจำเป็นของวิธีวิจัยที่นำเสนอซึ่งต้องแสดงความชัดเจนในการตรวจสอบผลงานวิจัยและสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้อง • วิธีวิจัยที่เสนอเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ และสะท้อนงบประมาณ 1.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในเชิงความรู้พื้นฐานและการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ เช่น เชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ 1.5 แผนการทำงาน แสดงเป็น Gantt chart 1.6 งบประมาณ **(แยกหมวดค่าตอบแทน วัสดุ และใช้สอย แสดงรายละเอียดโดยสังเขป) ** 1.7 เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
แนบส่วนประกอบข้อเสนอโครงการ (ต่อ) 2. หนังสือยืนยันความร่วมมือจากผู้ร่วมสนับสนุนที่เข้าร่วมโครงการ (กรณีสมัครทุน Window I) • ผลการเรียนของนักศึกษา (ถ้ามี) • แบบฟอร์มข้อมูลรายละเอียดนักศึกษา • แบบฟอร์มแจ้งการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา (ถ้ามี)
โครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) สาขาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม www.trfmag.org
เงื่อนไขการให้ทุน 1. สาขาที่สนับสนุนได้แก่ สาขาวิศวกรรมโยธา และสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม 2. การทำวิจัยจะต้องทำร่วมกับการผลิตบัณฑิตระดับปริญญาโท โดยมีผลผลิตที่ นับได้คือ มหาบัณฑิต และผลงานวิชาการเผยแพร่ในที่ประชุมวิชาการ เป็น ผลผลิตขั้นต่ำ 3. ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นสิทธิร่วมกันของ สกว. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) สถาบันการศึกษาต้นสังกัดของอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้ร่วม สนับสนุนอื่น (ถ้ามี)
เงื่อนไขการให้ทุน (ต่อ) • ผู้เสนอขอรับทุนต้องเป็นอาจารย์ในสถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรมหาบัณฑิตสาขา • วิศวกรรมโยธาและสาขาที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม • 5. ทุนที่จัดสรรให้มีระยะการทำวิจัยไม่เกิน 18 เดือน มีมูลค่าไม่เกิน 350,000 บาท โดย • แบ่งเป็นทุนการศึกษาจาก บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) แก่นักศึกษา • 100,000 บาท และทุนทำวิจัยจาก สกว. ไม่เกิน 250,000 บาท • 6. นักศึกษาผู้รับทุนต้องนำเสนอความก้าวหน้าของงานวิจัยทุก 6 เดือน • 7. บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ยินดีสนับสนุนการใช้อุปกรณ์และ • ห้องปฏิบัติการของบริษัทเพื่อ การวิจัย
ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 1. หน้าปก แบบ SCC-TRF1 2. บทสรุปย่อผู้บริหาร แบบ SCC-TRF2 3. หนังสือยืนยันจากผู้ร่วมสนับสนุนอื่น (ถ้ามี) แบบ SCC-TRF3 เป็นหน้าที่ของผู้รับทุนที่จะต้องตกลงเรื่องผลประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญากับผู้ร่วม สนับสนุนก่อน ทั้งนี้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจะไม่มีส่วนเข้าไปร่วมไกล่เกลี่ย หากมีกรณีพิพาท (ทั้งนี้ สกว.และบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ขอสงวน สิทธิ์ในการพิจารณาผู้ร่วมสนับสนุนอื่น) 4. หนังสือรับรองการรักษาจรรยาบรรณในทรัพย์สินทางปัญญา แบบ SCC-TRF5
ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5. ส่วนของข้อเสนอโครงการ แบบ SCC-TRF4 ประกอบด้วย 5.1 ความเป็นมาและความสำคัญของเรื่อง (ควรเขียนให้ชัดเจน หากไม่ใช่หัวข้อที่ กำหนดโดย สกว.) 5.2 วัตถุประสงค์ของโครงการ 5.3 แนวทางการทำวิจัย สกว. ให้ความสำคัญในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ - ความสำคัญและความจำเป็นของวิธีวิจัยที่นำเสนอ ซึ่งต้องแสดงความชัดเจน ในการตรวจสอบผลงานวิจัยและสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องว่าความรู้นั้นเป็นฐานแก่ การวิจัยนี้อย่างไร - วิธีวิจัยที่นำเสนอเป็นวิธีที่มีความเป็นไปได้ในการแก้ปัญหาเพื่อได้ผลลัพธ์ตาม วัตถุประสงค์ และเป็นวิธีที่เหมาะสม
ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5.4 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับในเชิงความรู้พื้นฐานและการใช้ประโยชน์ด้านต่างๆ 5.5 แผนการทำงาน แสดงเป็น Gantt chart รายเดือน 5.6 งบประมาณจากบริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) 100,000 บาท และจาก สกว. ไม่เกิน 250,000 บาท แยกหมวด ค่าตอบแทน ค่าจ้าง ค่าวัสดุ และค่าใช้สอย ให้ ชัดเจน และต้องระบุรายการโดยสังเขป 5.7 เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม
ส่วนประกอบของข้อเสนอโครงการทุนสกว. – บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) (ต่อ) 5.8 ภาคผนวก - ประวัติและผลงานของนักศึกษา การอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์จาก สถาบันการศึกษา ต้นสังกัด (ถ้าผ่านการอนุมัติโครงร่างวิทยานิพนธ์แล้ว) - ประวัติและผลงานของอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาร่วม (ถ้ามี) สกว. ให้ ความสำคัญใน 3 ประเด็นดังนี้ • อาจารย์อยู่ในสาขาที่สอดคล้องกับหัวข้อวิจัยที่ทำ • อาจารย์มีประสบการณ์ในการปฏิบัติเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ • อาจารย์มีผลงานวิชาการเกี่ยวกับหัวข้อวิจัยลักษณะนี้ • อื่นๆ (ถ้ามี)
กำหนดเวลากิจกรรมของโครงการทุนสกว.- บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน) ปี 2552
หัวข้อวิจัยที่กำหนด ปี 2552 • ด้านโยธา 3 โครงการ • ด้านสิ่งแวดล้อม 2 โครงการ • ด้านพลังงาน1โครงการ • ด้านโลจิสติกส์ 2 โครงการ หัวข้อกำหนดจะประกาศทางเว็บไซต์ สนับสนุน 8 โครงการ ให้ความสำคัญจากหัวข้อกำหนด และหัวข้ออื่นที่น่าสนใจ
ผู้จัดการชุดโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ว & ท รศ.ดร.อัญชลีพร วาริทสวัสดิ์ หล่อทองคำ สำนักงานโครงการทุนวิจัยมหาบัณฑิต สกว. ตึกภาควิชาวิศวกรรมเคมี ชั้น 6 ห้อง ChE 605 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม. 10520 โทรศัพท์ติดต่อการเงิน 0-2326-4423 หรือ 086-777-1895หรือ 086-441-7063 หรือ0-2739-2418-9 ต่อ 152 ติดต่อวิศวกรโครงการ 086-448-4026-7 หรือ 0-2326-4424 หรือ 0-2739-2387 หรือ 0-2739-2418-9 ต่อ 167 โทรสาร 0-2739-2387หรือ0-2326-4423 E-mailtrfmag@kmitl.ac.thหรือ trfmag@yahoo.com http://www.trfmag.org