1 / 63

สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

GEL 1103. สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า. Information and Education. 4.1. บทที่. ระบบจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ ของห้องสมุด. ฉัตรกมล อนน ตะชัย. chatkamon.a@gmail.com. วัตถุประสงค์. บอกความหมายของการจัดหมู่หนังสือได้ อธิบายประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือได้

varsha
Download Presentation

สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. GEL1103 สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า Information and Education 4.1 บทที่ ระบบจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด ฉัตรกมล อนนตะชัย chatkamon.a@gmail.com

  2. วัตถุประสงค์ • บอกความหมายของการจัดหมู่หนังสือได้ • อธิบายประโยชน์ของการจัดหมู่หนังสือได้ • อธิบายระบบการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ และระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันได้ • อธิบายเลขเรียกหนังสือได้ • อธิบายการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศได้

  3. หัวข้อนำเสนอ 4 ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 1 2 เลขเรียกหนังสือ 2 การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3

  4. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การจัดหมู่หนังสือ การจัดหมู่หนังสือ หมายถึง การจัดหนังสือที่มีเนื้อหาหรือประเภท หรือแบบการประพันธ์อย่างเดียวกันไว้ด้วยกัน และใช้สัญลักษณ์แทนเนื้อหา หรือประเภท หรือแบบการประพันธ์ของหนังสือ (รัถพร ซังธาดา : 2544)

  5. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 วัตถุประสงค์ของการจัดหมู่หนังสือ • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการจัดหนังสือให้เป็นระเบียบเรียบร้อย หยิบง่าย หายรู้ • เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการค้นห้าหนังสือที่ต้องการ

  6. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ • ผู้ใช้และเจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถค้นหาหนังสือที่ต้องการได้โดยสะดวกและรวดเร็ว • เจ้าหน้าที่ห้องสมุดสามารถนำหนังสือเข้าไปจัดเรียงบนชั้นหนังสือให้ถูกที่โดยสะดวกและรวดเร็ว • หนังสือที่มีเนื้อหาอย่างเดียวกัน หรือคล้ายคลึงกัน หรือมีลักษณะการประพันธ์อย่างเดียวกันจะรวมอยู่ด้วยกันทั้งหมด ทำให้ผู้ใช้มีโอกาสที่จะพิจารณาเลือกใช้หนังสือที่ตรงกับความต้องการ จากหนังสือประเภทเดียวกันหลายๆ เล่ม

  7. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ประโยชน์ของการจัดหมวดหมู่หนังสือ (ต่อ) • ทำให้ทราบจำนวนหนังสือในแต่หมวดหมู่ว่ามีมากน้อยเพียงใด เพียงพอแก่การให้บริการหรือไม่ อันเป็นข้อมูลสำคัญประการหนึ่งในการดำเนินงานจัดหาทรัพยากรของห้องสมุด • เมื่อได้หนังสือใหม่เข้ามาในห้องสมุด ก็สามารถนำมาจัดหมวดหมู่และไปวางรวมกับหนังสือเดิมเพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง กระทบกระเทือนหรือมีปัญหากับหนังสือที่มีอยู่เดิม

  8. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 แนวคิดในการจัดหมวดหมู่วัสดุ • การจัดหมวดหมู่วัสดุโดยทั่วๆ ไป มีแนวคิดในการจัดอยู่ 2 แบบ คือ • การจัดหมวดหมู่ตามลักษณะที่ปรากฏอยู่ภายนอก (Artificial Classification) • หมายถึง การจัดหมวดหมู่จัดโดยยึดลักษณะภายนอกเป็นเกณฑ์ในการจัด เช่น จัดหนังสือแยกตามสีปกของหนังสือ จัดตามขนาด หรือการแยกหนังสือ วารสารหรือโสตทัศนวัสดุไว้คนละที่ • การจัดหมวดหมู่ตามคุณลักษณะเนื้อหาภายในตัววัสดุ (Natural Classification)หมายถึง การจัดหมวดหมู่โดยพิจารณาคุณลักษณะเนื้อหาของวัสดุนั้นๆ เช่น การจัดหนังสือตามเนื้อหาวชาของหนังสือ เช่น แยกเป็น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย เป็นต้น

  9. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบจัดหมู่หนังสือห้องสมุด • ห้องสมุดจัดเก็บหนังสือไว้บนชั้นโดยจัดเรียงตามเลขเรียกหนังสือ (Call Number) • หนังสือแต่ละเล่มจะมีเลขเรียกที่ไม่ซ้ำกัน ผู้ใช้ต้องค้นจากบัตรรายการ หรือฐานข้อมูล OPAC แล้วจดเลขเรียกหนังสือ เพื่อนำมาหยิบตัวเล่มที่ชั้นเก็บหนังสือ • ระบบจัดหมวดหมู่หนังสือที่เป็นที่นิยมใช่อย่างแพร่หลายทั่วโลกมีหลายระบบ แต่ที่นิยมใช้ในประเทศไทย คือ • - ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • - ระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of CongressClassificationSystem)

  10. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • ระบบทศนิยมของดิวอี้ เรียกย่อๆ ว่า D.C หรือ D.D.C เป็นระบบการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุดที่นิยมระบบหนึ่ง คิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน ชื่อ เมลวิล ดิวอี้ (Melvil Dewey) ในขณะที่เขากำลังเป็นผู้ช่วยบรรณารักษ์อยู่ที่วิทยาลัยแอมเฮอร์ส (AmherstCollege)รัฐแมสซาชูเซตต์ประเทศสหรัฐอเมริกา • การจัดหมวดหมู่หนังสือตามระบบทศนิยมของดิวอี้ แบ่งหนังสือออกเป็นหมวดหมู่ต่างๆ จากหมวดหมู่ใหญ่ไปหาหมวดหมู่ย่อย ต่างๆ

  11. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • ระบบทศนิยมของดิวอี้ มีการแบ่งหมวดหมู่หนังสือเป็นหมวดใหญ่ 10 หมวดใหญ่ (Classes) และจากหมวดใหญ่แต่ละหมวดแบ่งย่อยลงไปอีก 10 หมวดย่อย (Division) และแต่ละหมู่ก็แบ่งย่อยลงไปอีก 10 หมู่ย่อย (Section) และย่อยลงไปอีกเรื่อยๆ ทำให้เข้าใจและจำง่าย ไม่สับสน

  12. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • การแบ่งหมวดหมู่ระดับที่ 1มีการแบ่งหมวดหมู่หนังสือเป็นหมวดใหญ่ 10 หมวดใหญ่ ได้แก่ • 000 เบ็ตเตล็ด (Generalities) • 100 ปรัชญา (Philosophy) • 200 ศาสนา (Religion) • 300 สังคมศาสตร์ (Socialsciences) • 400 ภาษาศาสตร์ (Language) • 500 วิทยาศาสตร์ (Science) • 600 วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือเทคโนโลยี (Technology) • 700 ศิลปกรรมและการบันเทิง (Artsandrecreation) • 800 วรรณคดี (Literature) • 900 ประวัติศาสตร์และภูมิศาสตร์ (Historyandgeography)

  13. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • การแบ่งหมวดหมู่ระดับที่ 2มีการแบ่งออกเป็นอีก 10 หมวดย่อย โดยใช้ตัวเลขหลักสิบเป็นตัวบ่งชี้ รวมเป็น 100 หมวดย่อย เช่น หมวด 000 เบ็ดเตล็ด สามารถแบ่งหมวดย่อยได้อีก 10 หมวด ได้แก่ • 000 วิทยาการคอมพิวเตอร์และความรู้ทั่วไป • 010 บรรณานุกรม แคตตาล็อก • 020 บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ • 030 หนังสือรวบรวมความรู้ทั่วไป สารานุกรม • 040 ยังไม่กำหนดใช้ • 050 สิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง วารสาร และดรรชนี • 060 องค์การและพิพิธภัณฑวิทยา • 070 สื่อใหม่ วารสารศาสตร์ การพิมพ์ • 080 ชุมนุมนิพนธ์ • 090 ต้นฉบับตัวเขียน หนังสือหายาก

  14. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • หมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 คือการแบ่งหมวดย่อยแต่ละหมวดออกเป็น 10 หมู่ย่อย รวมเป็น 1,000 หมู่ย่อย โดยใช้เลขหลักหน่วยแทนสาขาวิชา • ตัวอย่างหมวดย่อย 010 บรรณานุกรม แคตตาล็อกแบ่งออกเป็นหมู่ย่อยดังนี้ • 011 บรรณานุกรมชนิดต่างๆ • 012 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกของเฉพาะบุคคล • 013 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกของงานของผู้แต่งประเภทต่างๆ • 014 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกของงานที่ไม่ปรากฏผู้แต่งหรือผู้แต่งใช้นามแฝง • 015 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกของงานที่มาจากที่เฉพาะแห่ง • 016 บรรณานุกรมและแค็ตตาล็อกของงานที่มีเนื้อหาเฉพาะ • 017แค็ตตาล็อคทั่วไป • 018 แค็ตตาล็อคที่จัดเรียงโดยชื่อผู้แต่ง รายการหลัก ปีที่พิมพ์ หรือเลขทะเบียน • 019แค็ตตาล็อคที่จัดเรียงตามแบบพจนานุกรม

  15. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • จุดทศนิยม หรือการแบ่งครั้งที่ 4 จากการแบ่งเป็นหมู่ย่อยหรือการแบ่งครั้งที่ 3 ยังสามารถแบ่งให้ละเอียดออกไปได้โดยใช้จุดทศนิยม เพียงระบุเนื้อหาวิชาเฉพาะเจาะจง • ตัวอย่างหมู่ย่อย 011 บรรณานุกรมชนิดต่างๆ แบ่งออกเป็นจุดทศนิยมดังนี้ • 011 บรรณานุกรมชนิดต่างๆ • 011.1 บรรณานุกรมสากล • 011.2 บรรณานุกรมทั่วไปของงานที่พิมพ์สาขาต่างๆ • 011.3 บรรณานุกรมทั่วไปของงานที่พิมพ์เป็นแบบต่างๆ • 011.4 บรรณานุกรมทั่วไปที่เน้นลักษณะเฉพาะมาตรฐานมากกว่ารูปแบบ • 011.5 บรรณานุกรมทั่วไปของงานที่ออกโดยสำนักพิมพ์ชนิดต่างๆ • 011.6 บรรณานุกรมทั่วไปของงานที่ทำสำหรับผู้ใช้หรือห้องสมุดประเภทต่างๆ • 011.7 บรรณานุกรมทั่วไปของงานที่มีเนื้อหาเฉพาะชนิด

  16. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • ตัวอย่างการแบ่งหนังสือในหมวด 300 สังคมศาสตร์ • หมวดใหญ่ 300 สังคมศาสตร์ • หมวดย่อย 301 สังคมวิทยา • หมวดย่อย 302 การกระทำระหว่างกันทางสังคม • หมวดย่อย 310 การรวบรวมสถิติทั่วไป • หมวดย่อย 320 รัฐศาสตร์ • หมู่ย่อย 321 ระบบของรัฐบาลและรัฐ • 322 ความสัมพันธ์ของรัฐต่อกลุ่มองค์กรและสมาชิกกลุ่ม องค์กร • แบ่งเนื้อหาย่อยเป็นทศนิยม 322.1 ความสัมพันธ์ของรัฐกับองค์กร ทางศาสนา เช่นวัด • 322.2 ความสัมพันธ์ของรัฐกับขบวนการ แรงงาน

  17. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบทศนิยมของดิวอี้ (Dewey Decimal Classification System) • ข้อบกพร่องของระบบการจัดหมู่หนังสือระบบทศนิยมของดิวอี้ • 1. มีหมวดใหญ่เพียง 10 หมวด ขยายไม่ได้ • 2. การแบ่งหมวดหมู่หนังสือเกี่ยวกับประเทศในทวีปเอเชียไม่ละเอียดเท่าที่ควร เช่น เลขประวัติศาสตร์ไทยกำหนดเลขหมู่ไว้เพียงเลขเดียว ทำให้ต้องใช้เลขหมู่ซ้ำกันมาก หาหนังสือเล่มที่ต้องการได้ยาก • 3. การพิมพ์ตารางเลขหมู่ใหม่แต่ละครั้งมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้เกิดปัญหาเลขหมู่ของหนังสือที่ได้จัดไว้อยู่ก่อนแล้ว • 4. เลขหมู่ใหม่ ๆ มักค่อนข้างยาว แบ่งละเอียด ทำให้มีตัวเลขจุดทศนิยม จำนวนมาก

  18. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกันนี้เรียกย่อ ๆ ว่าระบบ L.C ผู้คิดคือ ดร.เฮอร์เบิร์ตพุทนัม(Herbert Putnum) คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1899 ขณะที่ทำหน้าที่เป็นบรรณารักษ์หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน ซึ่งปัจจุบันเป็นห้องสมุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

  19. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน การจัดแบ่งหมวดหมู่หนังสือมิได้อิงหลักปรัชญาใด ๆ มิได้เรียงลำดับวิทยาการ แต่กำหนดหมวดหมู่ตามหนังสือสาขาต่าง ๆ ที่มีอยู่ในหอสมุดแห่งนั้น โดยแบ่งเป็น 20 หมวดใหญ่ ใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ A – Z ยกเว้น I Q W X Y ผสมกับตัวเลขอารบิค ตั้งแต่เลข 1-9999 และอาจเพิ่มจุทศนิยมกับตัวเลขได้อีกหมวดใหญ่ทั้ง 20 หมวด

  20. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • การแบ่งหมวดใหญ่ (Classes) หรือการแบ่งครั้งที่ 1 แบ่งออกเป็น 20 หมวด โดยใช้ตัวอักษร A – Z เป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาของหนังสือ • หมวด ประเภทเนื้อหาหนังสือA ความรู้ทั่วไป (General Work) B ปรัชญา จิตวิทยา ศาสนา (Philosophy, Psychology, Religion) C ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ (Auxiliary Sciences History)D ประวัติศาสตร์ทั่วไปประวัติศาสตร์โลกเก่า (History : General Old Word)E-F ประวัติศาสตร์ : อเมริกา (History : America) • G ภูมิศาสตร์ทั่วไป โบราณคดี นันทนาการ (Geography, Antropology, Recreation)

  21. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • หมวด ประเภทเนื้อหาหนังสือ (ต่อ) • H สังคมศาสตร์ (Social Sciences)J รัฐศาสตร์ (Political Science)K กฎหมาย (Law) L การศึกษา (Education)M ดนตรี (Music and Books on Music) N ศิลปกรรม (Fine Arts) P ภาษาและวรรณคดี • (Philology and Literatures) Q วิทยาศาสตร์ (Science)R แพทยศาสตร์ (Medicine) S เกษตรศาสตร์ (Agriculture)T เทคโนโลยี (Technology)U ยุทธศาสตร์ (Military Science)V นาวิกศาสตร์ (Naval Science)Z บรรณารักษ์ศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (Bibliography, Library Science)

  22. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • การแบ่ง หมวดย่อย (Division) หรือการแบ่งครั้งที่ 2 โดยใช้ตัวอักษรโรมันสองตัวเป็นสัญลักษณ์แทนเนื้อหาหนังสือ ยกเว้น หมวด E-F และหมวด Z จะใช้อักษรตัวเดียวผสมกับตัวเลข ส่วนหมวด K และ D จะใช้อักษร 3 ตัว ซึ่งแต่ละหมวดจะแบ่งได้มากน้อยต่างกัน ตัวอย่าง การแบ่งหนังสือในหมวด T จะแบ่งได้ 16 หมวดย่อย • TA วิศวกรรมศาสตร์ทั่วไป วิศวกรรมโยธา TC วิศวกรรมศาสตร์ TD เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมสุขาภิบาล TE วิศวกรรมทางหลวง ถนน และผิวการจราจร TF วิศวกรรมรถไฟ และการปฏิบัติการ TG วิศวกรรมสะพาน TH การก่อสร้างอาอาคาร TJ วิศวกรรมเครื่องกลและเครื่องจักร

  23. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • ตัวอย่าง การแบ่งหนังสือในหมวด T จะแบ่งได้ 16 หมวดย่อย (ต่อ)TK วิศวกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมนิวเคลียร์ TL ยานพาหนะ การบิน ยานอวกาศ TN วิศวกรรมเหมืองแร่ โลหะการ TP เคมีเทคนิค TR การถ่ายภาพ TS การผลิต โรงงาน TT หัตถกรรม TX คหกรรมศาสตร์

  24. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • การแบ่งหมู่ย่อย (Section) หรือการแบ่งครั้งที่ 3 โดยการใช้ตัวเลขอารบิคตั้งแต่ 1 – 9999 ดังตัวอย่าง PN1 วารสารสากล • PN2 วารสรอเมริกันและอังกฤษ • PN86 ประวัติการวิจารณ์ • PN101 ผู้แต่งอเมริกันอังกฤษ

  25. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 ระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (Library of Congress Classification) • การแบ่งจุดทศนิยม หรือการแบ่งครั้งที่ 4 จากการแบ่งเป็นหมู่ย่อย • ยังสามารถแบ่งให้ละเอียดโดยการใช้จุดคั่นและตามด้วยอักษรและตัวเลข เพื่อแสดงรายละเอียดหมวดเรื่อง หรือรูปแบบ หรือประเทศ เช่น • PN6100.C7 รวมโคลงกลอนของวิทยาลัย • PN6100.H8 เรื่องขำขัน • PN6519.C5 สุภาษิตจีน

  26. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การเปรียบเทียบการจัดหมวดหมู่หนังสือ D.C และ L.C

  27. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท 1. สัญลักษณ์ที่อยู่บนเลขเรียกหนังสือ ใช้จัดหนังสือที่มีการจัดพิมพ์พิเศษและต้องการแยกเป็นสัดส่วนต่างหาก ได้แก่

  28. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท 1. สัญลักษณ์ที่อยู่บนเลขเรียกหนังสือ ใช้จัดหนังสือที่มีการจัดพิมพ์พิเศษและต้องการแยกเป็นสัดส่วนต่างหาก (ต่อ)

  29. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท 1. สัญลักษณ์ที่อยู่บนเลขเรียกหนังสือ ใช้จัดหนังสือที่มีการจัดพิมพ์พิเศษและต้องการแยกเป็นสัดส่วนต่างหาก (ต่อ) สัญลักษณ์ดังกล่าวระบุไว้เหนือเลขเรียกหนังสือ เช่น

  30. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสือนวนิยาย ภาษาไทย (เลขเรียกหนังสือของนวนิยายเรื่อง ผู้ชนะสิบทิศ โดยยาขอบ (นามแฝง)ช คือ อักษรย่อของผู้แต่ง นามจริงของยาขอบ คือ โชติ แพร่พันธุ์

  31. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสือนวนิยาย ต่างประเทศ (เลขเรียกหนังสือของนวนิยายภาษาต่างประเทศเรื่อง The Good Earth ของ Pearl S. Buck)

  32. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสือรวมเรื่องสั้น ภาษาไทยใช้ ร.ส. ย่อมาจากคำว่า รวมเรื่องสั้น (เลขเรียกหนังสือของหนังสือรวมเรื่องสั้นเรื่อง กว่าจะเป็นความรัก ผู้แต่งคือ สิริมา อภิจาริน)

  33. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสือรวมเรื่องสั้น ภาษาต่างประเทศใช้ S.C. ย่อมาจากคำว่า Short Story Collection (เลขเรียกหนังสือของหนังสือ American Short Story โดย Barry Taylor)

  34. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสืออ้างอิง เพิ่มสัญลักษณ์ “อ” ถ้าเป็นหนังสืออ้างอิงภาษาไทย หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ เพิ่มสัญลักษณ์ “R” หรือ “Ref” (เลขเรียกหนังสือของหนังสือชื่อ 100 รอยอดีต โดยสมบัติ พลายน้อย)

  35. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท ตัวอย่าง หนังสืออ้างอิงภาษาต่างประเทศ เพิ่มสัญลักษณ์ “R” หรือ “Ref”(เลขเรียกหนังสือของหนังสือชื่อ Cancer, diet, and nutrition แต่งโดย peter Greenwall)

  36. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท 2. อักษรย่อ ล. (เล่มที่) สำหรับหนังสือภาษาไทย และ v. (volume) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ใช้ในกรณีหนังสือหลายเล่มในชุดเดียวกัน หรือหนังสือนั้นมีหลายเล่มจบ ใช้เลขลำดับเล่มที่ไว้ใต้เลขเรียกหนังสือ เช่น

  37. ระบบจัดหมู่หนังสือ 1 การกำหนดสัญลักษณ์แทนเลขหมู่หนังสือบางประเภท 3. อักษรย่อ ฉ. (ฉบับที่) สำหรับหนังสือภาษาไทย และใช้ c. (copy) สำหรับหนังสือภาษาต่างประเทศ ใช้ในกรณีหนังสือเรื่องเดียวกัน และผู้แต่งคนเดียวกัน ซ้ำกันหลายเล่ม ใช้เลขลำดับฉบับที่ไว้ใต้เลขเรียกหนังสือ จะใช้ตั้งแต่ ฉ.2 หรือ c.2 ขึ้นไปเท่านั้น เช่น

  38. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เลขเรียกหนังสือ (Call number) คือ สัญลักษณ์ที่ห้องสมุดกำหนดขึ้นสำหรับหนังสือแต่ละเล่มโดยเฉพาะ ซึ่งจะไม่ซ้ำกัน เพื่อบอกตำแหน่งที่อยู่ของหนังสือเล่มนั้นในห้องสมุด ทำให้สะดวกในการจัดเก็บหนังสือขึ้นชั้น และสะดวกในการค้นหา เลขเรียกหนังสือจะปรากฏอยู่ที่สันหนังสือแต่ละเล่ม และปรากฏที่ผลการสืบค้นเมื่อใช้ฐานข้อมูลหนังสือของห้องสมุด

  39. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) • เลขเรียกหนังสือ (Call number) ประกอบด้วย • เลขหมู่หนังสือ • เลขผู้แต่ง คืออักษรแรกของชื่อผู้แต่ง เลขลำดับ และตัวอักษรแรกของชื่อเรื่อง • สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ

  40. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) • เลขเรียกหนังสือ (Call number) ประกอบด้วย • เลขหมู่หนังสือ • เลขผู้แต่ง คือ อักษรแรกของชื่อผู้แต่ง เลขลำดับ และตัวอักษรแรกของชื่อเรื่อง • สัญลักษณ์พิเศษอื่นๆ

  41. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number)

  42. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) เลขผู้แต่ง สำหรับเลขผู้แต่งภาษาไทย ใช้ตารางกำหนดเลขผู้แต่งภาษาไทย สำหรับการกำหนดเลขผู้แต่ง และเลขของชื่อหนังสือโดยมีวิธีใช้ประกอบกับตารางดังนี้

  43. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) วิธีใช้กำหนดเลขผู้แต่ง ตั้งพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งไว้ก่อน จึงพิจารณาลำดับที่สองว่าเป็นรูปพยัญชนะ หรือรูปสระใด เกาะติดพยัญชนะตัวแรกนั้น อยู่ในช่องการใช้เลขใดของตาราง (สามารถใช้กับชื่อหนังสือได้ด้วย) เช่น

  44. เลขเรียกหนังสือ 2 เลขเรียกหนังสือ (Call Number) วิธีใช้กำหนดเลขผู้แต่ง เช่น หนังสือ ชื่อ การทำรายการค้นหนังสือ แต่งโดย รองศาตราจารย์รัถพร ซังธาดา มีเลขผู้แต่ง คือ ร63ก

  45. การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3 การจัดเรียงหนังสือบนชั้น หนังสือที่ได้รับการจัดหมวดหมู่แล้ว จะต้องนำมาเขียนเลขเรียกหนังสือไว้ที่สันของหนังสือ หรือด้านหน้าของปกหนังสือเพื่อสะดวกแก่การเก็บหนังสือเรียงขึ้นชั้น ศูนย์วิทยบริการจัดเรียงตามเลขหมู่หนังสือ โดยเรียงลำดับจากเลขหมู่น้อยไปหามาก จากซ้ายมือ ไปขวามือ เลขหมู่ที่เหมือนกันจะเรียงลำดับตามอักษรย่อชื่อผู้แต่ง หากชื่อผู้แต่งซ้ำกันจะเรียงลำดับตามอักษรย่อของชื่อเรื่อง เรียงจากชั้นบนลงมาชั้นล่างของชั้นหนังสือ หากเลขเรียกหนังสือซ้ำกัน จะเรียงลำดับปีพิมพ์

  46. การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศการจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3 การจัดเรียงหนังสือบนชั้น

  47. 025 พ213ก 030 ธ523จ 080 ข411ร 100 ก151ง 150 น362อ การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3 หลักการเรียงหนังสือบนชั้น 1. ห้องสมุดเรียงหนังสือจากเลขหมู่น้อยไปหาเลขหมู่มาก เรียงจากซ้ายไปขวาเหมือนเข็มนาฬิกาเริ่มตั้งแต่ชั้นบนสุดแล้วถัดลงมาตามลำดับจนถึงชั้นล่างสุด เช่น

  48. 370 ก215น 370 ค327ก 370 จ561ต 370 ณ171ม 370 ด423ช การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3 หลักการเรียงหนังสือบนชั้น 2. หนังสือที่มีเลขหมู่เหมือนกัน ให้เรียงตามลำดับอักษรย่อของชื่อผู้แต่ง เช่น

  49. 510 ก282ก 510 ก291น 510 ก316พ 510 ก347ล 510 ก417บ การจัดเรียงทรัพยากรสารสนเทศ 3 หลักการเรียงหนังสือบนชั้น 3. หนังสือที่มีเลขหมู่เหมือนกัน ผู้แต่งมีอักษรย่อเหมือนกันให้เรียงตามลำดับเลขของผู้แต่ง เช่น

More Related