500 likes | 1k Views
การใช้โปรแกรม กราฟิกส์. รหัส 2201-2419. หน่วยที่ 1 ทฤษีคอมพิวเตอร์กราฟิก. กราฟิก หมายถึง.
E N D
การใช้โปรแกรมกราฟิกส์การใช้โปรแกรมกราฟิกส์ รหัส 2201-2419
หน่วยที่ 1 ทฤษีคอมพิวเตอร์กราฟิก
กราฟิก หมายถึง รูปกราฟต่าง ๆ เช่นกราฟแท่ง หรือกราฟเส้น เป็นต้น แต่คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ (Computer Graphic) มิได้หมายถึงเพียงแต่การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อแสดงกราฟเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานเกี่ยวกับรูปภาพทุกรูปแบบ จากเทคนิคการสร้างภาพหลากหลายวิธี แม้กระทั่งการนำตัวอักษรหลาย ๆ แบบมาประกอบกันเป็นรูปภาพ ก็ถือว่าเป็นงานด้านกราฟิกส์ด้วยเช่นกัน
ที่มาของคำว่า กราฟิก • กราฟิกส์มาจากภาษากรีก คือ Graphikos หมายถึง การวาดเขียนและการเขียนภาพ Graphein หมายถึง การเขียน
ความหมายของคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) หมายถึง การสร้างและการจัดการกับภาพกราฟิกส์โดยใช้คอมพิวเตอร์ (ซึ่งโดยมากจะเป็นการแสดงออกทางจอภาพ และเครื่องพิมพ์ชนิดต่างๆ)
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์กับการประยุกต์ใช้ในงานด้านต่าง ๆ • คอมพิวเตอร์กราฟิกส์กับการออกแบบ • กราฟและแผนภาพ • ภาพศิลป์ • ภาพเคลื่อนไหว • อิมเมจโปรเซสซิงค์
ประเภทของระบบกราฟิกส์ประเภทของระบบกราฟิกส์ • เท็กซ์โหมด (Text Mode) • กราฟิกส์โหมด (Graphic Mode)
เท็กซ์โหมด (Text Mode) คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะแสดงผลในโหมดนี้ได้ โดยการนำตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ ที่มีอยู่ในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์มาแสดงที่จอภาพตามคำสั่ง แต่เนื่องจากตัวอักษร ตัวเลขและเครื่องหมายที่มีอยู่ ถูกกำหนดรูปร่างไว้แน่นอนแล้ว และมีจำนวนจำกัด จึงไม่สามารถนำมาประกอบกันให้เกิดเป็นภาพต่างๆ ที่ถูกต้องสวยงามได้เท่าที่ควร โดยผลลัพธ์ที่แสดงออกมาทางจอภาพนั้น จะมีลักษณะเป็นแถวของตัวอักษรจำนวน 25 แถว แต่ละแถวมีข้อความไม่เกิน 80 ตัวอักษร
กราฟิกส์โหมด (Graphic Mode) เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถแสดงผลเป็นพิกเซลได้จำนวนมาก จึงได้มีการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้สำหรับควบคุมการแสดงผลที่จอภาพ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า ระบบกราฟิกส์ ระบบกราฟิกส์มีหลายชนิด เช่น ซีจีเอ (CGA) อีจีเอ (EGA) วีจีเอ (VGA) เฮอร์คิวลีส (Hercules) ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการแสดงพิกเซลได้แตกต่างกันคือ ตั้งแต่ขนาด 320 x 200 พิกเซล ถึง 1024 x 786
รูปแบบของภาพ รูปภาพกราฟิกส์โดยทั่วไปในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ 1. ภาพกราฟิกส์แบบราสเตอร์ (Raster) 2. ภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์ (Vector)
หลักการทำงานของภาพกราฟิกส์แบบเรสเตอร์หลักการทำงานของภาพกราฟิกส์แบบเรสเตอร์ คือ การสร้างภาพโดยใช้จุดสีเล็ก ๆ จำนวนมากซึ่งเรียกว่าพิกเซล(Pixcel) ภายในแต่ละพิกเซลจะมีองค์ประกอบที่ใช้ในการแสดงสี รูปทรง รูปแบบไฟล์ เราเรียกองค์ประกอบของพิกเซลเหล่านี้ว่า บิต (Bit) ข้อดีคือภาพที่ได้มีความละเอียดสวยงามกว่าภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์ ทำให้เทคนิคการสร้างภาพแบบราสเตอร์นิยมนำมาใช้กับงานภาพที่ต้องการความละเอียดมาก ๆ เช่น ภาพถ่าย แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นตามมาก็คือเมื่อภาพมีความละเอียดมาก ๆ ขนาดของภาพจะใหญ่ตามไปด้วย ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกส์ประเภทราสเตอร์ เช่น Adobe Photoshop, Fractal Design Painter, Paint Shop Pro, L-View เป็นต้น
หลักการทำงานของภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์หลักการทำงานของภาพกราฟิกส์แบบเวกเตอร์ คือ การสร้างภาพโดยอาศัยการวาดเส้น และสร้างรูปทรงของภาพโดยการคำนวณจากจุด และสมการทางคณิตศาสตร์ ข้อดีคือ ภาพเวกเตอร์จะมีความละเอียดในการแสดงสูงมาก ไม่ว่าจะย่อหรือขยายจะไม่ทำให้รูปภาพเพี้ยนไปจากเดิม แต่การแสดงผลจะช้ามากเมื่อเทียบกับภาพแบบราสเตอร์ ตัวอย่างโปรแกรมกราฟิกส์ประเภทเวกเตอร์ เช่น Adobe Illustrator, Macromedia Freehand, Corel Draw, Light Wave, Text3D, Maya, Macromedia Flash เป็นต้น
ความแตกต่างระหว่างกราฟิกส์แบบ 2 มิติและ 3 มิติ งานคอมพิวเเตอร์กราฟิกส์โดยทั่วไป สามารถสร้างภาพกราฟิกส์ได้ทั้งแบบ 2 มิติ และ 3 มิติ กล่าวคือ ภาพกราฟิกส์ที่เป็น 2 มิติ นั้นจะสามารถแสดงผลได้เพียงมิติด้านกว้างและยาวเท่านั้น ซึ่งเหมือนกับการวาดภาพบนกระดาษโดยทั่วไป ในขณะที่ภาพกราฟิกส์แบบ 3 มิติ นั้น จะสามารถแสดงผลงานได้ทั้งด้านกว้าง ด้านยาว และด้านลึก ทำให้ภาพมีความน่าสนใจ และมีรายละเอียดของชิ้นงานเป็นอย่างดี แต่เนื่องด้วยความละเอียดที่มีมากจึงส่งผลให้ขนาดของไฟล์ภาพประเภท 3 มิติ มีขนาดใหญ่ตามไปด้วย จึงจำเป็นต้องใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพควบคู่ไปกับขีดความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ๆ
ประเภทและคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิกส์ประเภทและคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิกส์ • แบบเวกเตอร์ • .SVG • .DXF • แบบเรสเตอร์ • .PSD • .BMP • .TIF • .JPG • .PNG • .PCX Z • .RAW
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานกราฟิกส์คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานกราฟิกส์
คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานกราฟิกส์คุณสมบัติพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานกราฟิกส์
พิกเซล (Pixel) เป็นคำย่อมาจาก Picture Element หรือองค์ประกอบของรูปภาพคือ หน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของ Bitmap Graphic รูปร่างของพิกเซลมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจตุรัส และขนาดของพิกเซลขึ้นอยู่กับจำนวนพิกเซลที่ประกอบกันเป็นภาพนั้นขึ้นมา
ความละเอียดของภาพ (Image Resolution) โดยปกติจะมีการวัดค่าความละเอียดของภาพ (Resolution) เป็นจำนวนพิกเซลต่อนิ้วค่าตัวเลขของ Resolution นี้หมายถึงใน 1 นิ้ว จะมีจำนวนพิเซลทั้งหมดเท่าไรถ้าทราบขนาดความกว้างและความยาวของภาพแล้ว ก็จะสามารถระบุได้ว่ามีจำนวนพิกเซลในภาพทั้งหมดเท่าไรเช่นถ้าภาพรูปหนึ่งมีขนาด 1 x 1 นิ้ว และมีค่า Resolution 8 พิกเซลต่อนิ้ว แสดงว่าภาพรูปนี้มีจำนวนพิกเซลทั้งหมด 64 พิกเซล เป็นต้น
ความจุของสี (Color Capability) ความจุของสีหมายถึง จำนวนบิตข้อมูลที่เก็บรายละเอียดเกี่ยวกับสีของพิกเซลหนึ่ง ๆ โดยเป็นค่าจำนวนบิตที่มากที่สุดที่พิกเซลอันนั้นเก็บได้ใน Photoshop เรียกว่า Color Mode ซึ่งหมายถึง จำนวนบิตที่มากที่สุดที่สามารถบันทึกลงในไฟล์ได้
บิต (Bit) ย่อมาจาก Binary Digit หมายถึง หน่วยความจำที่มีขนาดเล็กที่สุดของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยตัวเลข 2 จำนวน คือ 0 และ 1 โดยจำนวนบิตที่ใช้ในแต่ละพิกเซล เรียกว่า ความลึกของบิต (Bit Depth)
ระบบสี (Color Model) ระบบสีของคอมพิวเตอร์ จะเกี่ยวข้องกับการแสดงผลแสงที่แสดงบนจอคอมพิวเตอร์ โดยมีลักษณะการแสดงผล คือ ถ้าไม่มีแสดงผลสีใดเลย บนจอภาพจะแสดงเป็น "สีดำ" หากสีทุกสีแสดงผลพร้อมกัน จะเห็นสีบนจอภาพเป็น "สีขาว" ส่วนสีอื่นๆ เกิดจากการแสดงสีหลายๆ สี แต่มีค่าแตกต่างกัน การแสดงผลลักษณะนี้ เรียกว่า การแสดงสี
การผสมกันของแม่สีทั้งสามการผสมกันของแม่สีทั้งสาม • ถ้าแม่สีมีค่าเท่ากัน มาผสมกันเป็นคู่ จะได้ผลดังนี้ 2. ถ้าแม่สีมีค่าเท่ากัน มาผสมทั้ง 3 สี จะได้ผลดังนี้ 3. ถ้าแม่สีมีค่าไม่เท่ากัน ผสมกัน จะได้สีต่างๆ กันไป เช่น