1 / 14

การวิเคราะห์ภาระงานบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

การวิเคราะห์ภาระงานบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. หลักการ. วิเคราะห์ คำนวณภาระงาน และคำนวณ FTE ของบุคลากรแต่ละกลุ่ม ข้อมูลที่ใช้ จากระบบรายงานที่มี ไม่เป็นภาระ โดยเก็บใหม่น้อยที่สุด บุคลากร จำแนกเป็น 2 กลุ่ม : บริการ และอำนวยการ, สนับสนุน

vea
Download Presentation

การวิเคราะห์ภาระงานบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การวิเคราะห์ภาระงานบุคลากรการวิเคราะห์ภาระงานบุคลากร ด้านการแพทย์และสาธารณสุขในสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

  2. หลักการ • วิเคราะห์ คำนวณภาระงาน และคำนวณ FTE ของบุคลากรแต่ละกลุ่ม • ข้อมูลที่ใช้ จากระบบรายงานที่มี ไม่เป็นภาระ โดยเก็บใหม่น้อยที่สุด • บุคลากร จำแนกเป็น 2 กลุ่ม : บริการ และอำนวยการ, สนับสนุน • กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำ • กำหนดเพิ่มเติมสำหรับงานอื่น ๆ ที่จำเป็น (Allowance) • งานปฐมภูมิ วิเคราะห์ตามเกณฑ์

  3. วัตถุประสงค์ 1. เพื่อวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากรสายวิชาชีพและสายสนับสนุนการจัดบริการ เพื่อจัดทำกรอบอัตรากำลัง ประกอบการพิจารณาจัดทำข้อเสนอการขอกำหนดตำแหน่งใหม่ในปีงบประมาณ 2557 และ 2558 2. เพื่อวิเคราะห์ภาระงานของบุคลากรสายอำนวยการและสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน เพื่อจัดทำกรอบอัตรากำลังในการบริหารพนักงานกระทรวงสาธารณสุข

  4. คำจำกัดความ 1. บุคลากรสายวิชาชีพ ประกอบด้วย 1.1 กลุ่มงานบริการหลัก : แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด นักรังสีการแพทย์ นักกิจกรรมบำบัด แพทย์แผนไทย นักวิชาการสาธารณสุข (ในงานบริการปฐมภูมิ) 1.2 กลุ่มบุคลากรในงานบริการเฉพาะด้าน : นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย นักจิตวิทยาคลินิก นักกายอุปกรณ์ นักสังคมสงเคราะห์นักโภชนาการ/นักกำหนดอาหาร 1.3 กลุ่มสนับสนุนบริการหลัก : จพ.สาธารณสุข จพ.ทันตสาธารณสุข จพ.เภสัชกรรม จพ.รังสีการแพทย์ จพ.วิทยาศาสตร์การแพทย์ จพ.เวชสถิติ จพ.โสตทัศนศึกษา เวชกิจฉุกเฉิน และผู้ช่วยพยาบาล

  5. คำจำกัดความ 2. สายสนับสนุนการจัดบริการ ประกอบด้วย 2.1 กลุ่มอำนวยการ 2.2 กลุ่มสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงาน

  6. ภาระงาน (workload) ภาระงาน : ปริมาณงาน เช่น บริการผู้ป่วยนอก มีหน่วยนับเป็นครั้ง (Case Visit) คูณด้วยเวลาที่ใช้ในการให้บริการแต่ละครั้ง เช่น พยาบาลใช้เวลาดูแลผู้ป่วยนอก 12 นาที (0.2 ชั่วโมง) ต่อครั้ง มีปริมาณงานผู้ป่วยนอก จำนวน 57,000 ครั้งต่อปี ดังนั้น ภาระงาน มีค่าเท่ากับ 57,000 x0.2 =11,400 ชั่วโมงต่อปี

  7. หน่วยนับปริมาณการให้บริการ(Unit of Services) และแหล่งข้อมูล

  8. หน่วยนับปริมาณการให้บริการ(Unit of Services) และแหล่งข้อมูล

  9. หน่วยนับปริมาณการให้บริการ(Unit of Services) และแหล่งข้อมูล

  10. หน่วยนับปริมาณการให้บริการ(Unit of Services) และแหล่งข้อมูล

  11. FTE : Full Time Equivalent อัตราชั่วโมงเทียบเท่าพนักงานประจำ ตามเวลามาตรฐานการทำงานของข้าราชการ 1 คน โดยกำหนดให้ทำงาน 7 ชั่วโมงต่อวัน 240 วันต่อปี 1FTE มีค่าเท่ากับ 1,680 ชั่วโมงต่อปี FTE คำนวณจากภาระงาน (Workload) หารด้วย เวลามาตรการทำงาน เช่นตามตัวอย่าง ภาระงานของพยาบาล 11,400 ชั่วโมงต่อปี ดังนั้น พยาบาลจะมี FTE เท่ากับ 11,400/1,680=6.78FTE

  12. FTE : Full Time Equivalent 3. ภาระงาน จากการทำงานอื่น ๆ เช่น การบริหาร วิชาการ งานพัฒนาคุณภาพ นอกเหนือจากภารกิจหลัก จะกำหนดให้เพิ่มเป็น FTE Allowance (เพิ่มเติมให้ตามภาระงานอื่น ๆ นอกเหนืองานบริการ) ได้อีกประมาณร้อยละ 10-20 ของ FTE ทั้งหมด 4. บุคลากรสายงานที่จำเป็นสำหรับหน่วยบริการ หรือหน่วยบริการ ที่คำนวณภาระงาน แล้วได้น้อย แต่ เป็นงานที่จำเป็นต้องจัดให้มีบริการ จะกำหนดจำนวนบุคลากรขั้นต่ำ เพื่อเป็นหลักประกันการบริการ

  13. การคำนวณภาระงาน และ FTE 1. การหาค่าภาระงาน : ปริมาณงาน คูณกับ % สัดส่วนงาน และคูณด้วยเวลาการทำงาน แต่ละกิจกรรม ตามเวลามาตรฐานวิชาชีพ หรือการหาค่าเฉลี่ย 2. การหา FTE: นำภาระงานที่ได้ หารด้วย 1680 ชั่วโมง 3. การกำหนดค่าขั้นต่ำ กรณีคำนวณ FTE ได้ต่ำ เช่น แพทย์ FTE ไม่ถึง 2 ให้ขั้นต่ำ 2 พยาบาล FTE ไม่ถึง 20 ให้ขั้นต่ำ 15 เป็นต้น

  14. การคำนวณภาระงาน และ FTE 4. ใช้ FTE ในบางสาย : แพทย์ ทันตแพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีการแพทย์ กิจกรรมบำบัด เวชกิจฉุกเฉิน 5. ใช้อัตราส่วนต่อประชากร รายเขต เพื่อวางความต้องการระดับเขต : จิตวิทยาคลินิก เวชศาสตร์การสื่อความหมาย เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ฯลฯ 6. บุคลากรบริการปฐมภูมิ : พยาบาลวิชาชีพ นว./จพ.สช. จพ.ทันต และ การฟื้นฟู

More Related