1 / 35

บทที่ 6 การนำไปใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมการศึกษา

บทที่ 6 การนำไปใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมการศึกษา. "สื่อสิ่งพิมพ์" คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก. การใช้นวัตกรรมสื่อสิ่งพิมพ์.

veda-miles
Download Presentation

บทที่ 6 การนำไปใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมการศึกษา

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 การนำไปใช้ ประเมิน และปรับปรุงนวัตกรรมการศึกษา

  2. "สื่อสิ่งพิมพ์" คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก การใช้นวัตกรรมสื่อสิ่งพิมพ์

  3. สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่างๆ ของสังคมบ้านเมือง หรือของประเทศนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาท ในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่างๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ ก็คือ การกระทำ หรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผล หรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม ความสำคัญของสื่อสิ่งพิมพ์

  4. หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ 1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ 2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อ ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม3. ให้สาระและความบันเทิง4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

  5. แนะนำโปรแกรมสร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์แนะนำโปรแกรมสร้างงานสื่อสิ่งพิมพ์ 1. Adobe Indesign2. MicroSoft Word 4. MicroSoft Publisher3. Adobe PageMaker

  6. การใช้นวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการใช้นวัตกรรมสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือที่รู้จักในชื่อของ CAI (Computer Assisted Instruction) เป็น นวัตกรรมที่อยู่ในรูปของระบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง และอยู่ในลักษณะสื่อการเรียนการสอนด้วยเช่นกัน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจัดเป็นนวัตกรรมที่เกิดขึ้นมานาน มากกว่า 20 ปี ที่ครั้งหนึ่งถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมที่เฟื่องฟูมากๆ ในวงการศึกษาโดยเฉพาะครู รวมถึงวงการธุรกิจเพื่อการพัฒนาบุคลากรภายในองค์กร ในยุคนั้นถือได้ว่า CAI เป็นสื่อที่อยู่ในรูปของ CD-Rom Based System การสร้างชุดคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระยะแรก เป็นการพัฒนาจากโปรแกรมทางภาษา และจากโปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ (โปรแกรม Authorware, Director, ToolBookหรือแม้กระทั่งโปรแกรม Flash) แม้ว่า CAI เต็มระบบจริงๆ จะดูเหมือนตายไปจากวงการศึกษา แต่ CAI ที่อยู่ในลักษณะสื่อเรียนรู้เฉพาะเนื้อหาสั้นๆขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า หน่วยความรู้เฉพาะเรื่อง(learning object) ยังคงมีผู้สร้างนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ซึ่งสามารถศึกษาเรียนรู้เรื่อง learning object

  7. ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นรูปแบบการเรียนการสอนแบบรายบุคคล ที่นำเอาหลักการของบทเรียนโปรแกรมและ เครื่องช่วยสอนมาผสมผสานกัน รูปแบบของสื่อ ถูกออกแบบให้ทำงานภายใต้ทรัพยากร ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยตรง ข้อมูลการเรียนรู้ จะอยู่ในรูปของไฟล์ข้อมูลที่นำมาลง หรือติดตั้ง ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ อาจจะเล่นบนแผ่น CD-Rom/DVD โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะตอบสนอง ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล ของผู้เรียนเป็นหลัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางการศึกษาเป็นรายบุคคลโดยมีคุณลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ แบ่งเป็น+ การนำเข้าสู่บทเรียน+ การนำเสนอสาระเนื้อหา+ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมกับผู้เรียนรู้ + การทดสอบประเมินผล

  8. การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลางในการนำเสนอเนื้อหาสาระ ที่เสมือนเป็น ตัวแทนของครู ดังนั้นในการออกแบบเพื่อสร้างสื่อ ครูผู้สอน หรือผู้มีประสบการณ์ในเนื้อหาวิชานั้นๆ เป็นผู้มีส่วนร่วม หรือผู้ดำเนินการ ซึ่งควรมีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้1. การนำเสนอเนื้อหา ต้องมีปริมาณพอดีกับหน้าจอแสดงผล2. โครงสร้างสภาพแวดล้อม(ปุ่มควบคุม ขนาด สีสันและรูปแบบตัวอักษร) ต้องมีความคงที่ ลักษณะคงเดิมไม่เคลื่อนย้ายไปมา3. สื่อที่สร้างต้องมีความเป็นมัลติมีเดีย เพื่อเร้าในการเรียนรู้ ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว4. มีการประเมินผลการเรียนรู้ผู้เรียนโดยทันที ได้แก่ การตัดสิน คำตอบ5. ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัลหรือคะแนน6. ผู้เรียนสามารถเข้าถึง เลือกทบทวนบทเรียน ได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา องค์ประกอบและการพัฒนาคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

  9. วิธีการเรียนรู้ แม้ว่า CAI เป็นวิธีการเรียนการสอน ในรูปของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยครูสอน แต่ไม่ได้หมายความว่า CAI นี้ จะสามารถทำหน้าที่แทนครูได้ทั้งหมด ครูยังจำเป็นที่ต้องคอยแนะนำ สรุปผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่สำคัญ ครูต้องมีส่วนในการพัฒนา จัดสร้างสื่อ CAI ทั้งในขั้นการออกแบบ การเตรียมเนื้อหา เพี่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของการเรียนรู้ในเนื้อหานั้นๆ

  10. การใช้นวัตกรรมแบบสื่อมัลติมีเดียการใช้นวัตกรรมแบบสื่อมัลติมีเดีย • สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน • ในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาบทเรียนรูปแบบใด จะเริ่มต้นด้วยการกำหนดหัวหัวเรื่อง, เป้าหมาย, วัตถุประสงค์ และกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ จากนั้นก็ทำการ วิเคราะห์ (Analysis), ออกแบบ (Design),พัฒน(Development),สร้าง (Implementation), ประเมินผล (Evaluation) และนำออกเผยแพร่ (Publication) ซึ่งการสร้างสื่อมัลติมีเดีย ที่กล่าวมานี้ จะเห็นได้ว่า การจัดทำสื่อมัลติมีเดีย นี้เป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ ซึ่งหมายความว่าใครๆ ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์ก็สามารถจะสร้างสื่อมัลติมีเดียได้ ในที่นี้จะกำหนดขั้นตอนการสร้างสื่อมัลติมีเดียโดยละเอียด ทั้งหมด 7 ขั้นตอน เพื่อสะดวกกับผู้เริ่มต้นที่สนใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดีย (สุกรี รอดโพธ์) ดังนี้

  11. 1. ขั้นการเตรียม (Preparation)

  12. 2. ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน (Design Instruction) • ขั้นตอนการออกแบบบทเรียนเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นหนึ่งในการกำหนดว่าบทเรียนจะออกมามีลักษณะใด • - ทอนความคิด (Elimination of Ideas) • - วิเคราะห์งานและแนวความคิด (Task and Concept Analysis) • - ออกแบบบทเรียนขั้นแรก (Preliminary Lesson Description) • - ประเมินและแก้ไขการออกแบบ (Evaluation and Revision of the Design)

  13. 3. ขั้นตอนการเขียนผังงาน (Flowchart Lesson) • เป็นการนำเสนอลำดับขั้นโครงสร้างขอคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผังงานทำหน้าที่เสนอข้อมูลเกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนตอบคำถามผิด หรือเมื่อไหร่จะมีการจบบทเรียน และการเขียนผังงานขึ้นอยู่กับประเภทของบทเรียนด้วย

  14. 4. ขั้นตอนการสร้างสตอรี่บอร์ด (Create Storyboard) • เป็นขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบมัลติมีเดียต่างๆ ลงบนกระดาษเพื่อให้การนำเสนอข้อความและรูปแบบต่างๆ เหล่านี้เป็นไปอย่างเหมาะสมบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ต่อไป

  15. 5. ขั้นตอนการสร้างและการเขียนโปรแกรม (Program Lesson) • เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลสตอรีบอร์ดให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ส่วนนี้จะต้องคำนึงถึงฮาร์ดแวร์ ลักษณะและประเภทของบทเรียนที่ต้องการสร้าง โปรแกรมเมอร์และงบประมาณ

  16. 6. ขั้นตอนการประกอบเอกสารประกอบบทเรียน (Produce Supporting Materials) • เอกสารประกอบบทเรียนอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหาเทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ผู้เรียนและผู้สอนย่อมมีความต้องการแตกต่างกัน คู่มือจึงไม่เหมือนกัน คู่มือการแก้ปัญหาก็จำเป็นหากการติตตั้งมีความสลับซับซ้อนมาก

  17. 7. ขั้นตอนการประเมินผลและแก้ไขบทเรียน (Evaluate and Revise) • บทเรียนและเอกสารประกอบทั้งหมดควรที่จะได้รับการประเมิน โดยเฉพาะการประเมินการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้นควรจะทำการประเมินก็คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ในการออกแบบมาก่อนในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้นผู้ออกแบบควรที่จะสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนหลังจากที่ได้ทำการเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว โดยผู้ที่เรียนจะต้องมาจากผู้เรียนในกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนนี้อาจจะครอบคลุมถึงการทดสอบนำร่องการประเมินผลจากผู้เชี่ยวชาญได้

  18. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการเรียนการสอน มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้ • - เป้าหมายคือ การสอน อาจใช้ช่วยในการสอนหรือสอนเสริมก็ได้ • - ผู้เรียนใช้เรียนด้วยตนเอง หรือเรียนเป็นกลุ่มย่อย 2-3 คน • - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุเฉพาะ โดยครอบคลุมทักษะความรู้ ความจำ ความเข้าใจ และเจตคติ ส่วนจะเน้นอย่างใดมากน้อย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และโครงสร้างของเนื้อหา • - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบสองทาง • - ใช้เพื่อการเรียนการสอน แต่ไม่จำกัดว่าต้องอยู่ในระบบโรงเรียนเท่านั้น • - ระบบคอมพิวเตอร์สื่อมัลติมีเดียเป็นชุดของฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในการส่งและรับข้อมูล • - รูปแบบการสอนจะเน้นการออกแบบการสอน การมีปฏิสัมพันธ์ การตรวจสอบความรู้โดยประยุกต์ทฤษฎีจิตวิทยา และทฤษฎีการเรียนรู้เป็นหลัก • - โปรแกรมได้รับการออกแบบให้ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมกิจกรรมการเรียนทั้งหมด • - การตรวจสอบประสิทธิภาพของสื่อ นับเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องกระทำ • สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอข้อมูล มีจุดประสงค์หลักๆ ดังนี้ • - เป้าหมาย คือ การนำเสนอข้อมูลเพื่อประกอบการคิด การตัดสินใจ ใช้ได้กับทุกสาขาอาชีพ • - ผู้รับข้อมูลอาจเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อย จนถึงกลุ่มใหญ่ • - มีวัตถุประสงค์ทั่วไปเพื่อเน้นความรู้และทัศนคติ • - เป็นลักษณะการสื่อสารแบบทางเดียว • - ใช้มากในการโฆษณา ประชาสัมพันธ์งานด้านธุรกิจ • - อาจต้องใช้อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เพื่อเสนอข้อมูลที่มีความซับซ้อน หรือเพื่อต้องการให้ผู้ชมได้ชื่นชม และคล้อยตาม • - เน้นโครงสร้างและรูปแบบการให้ข้อมูลเป็นต้น ไม่ตรวจสอบความรู้ของผู้รับข้อมูล • - โปรแกรมส่วนมากจะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ หรือผู้นำเสนอ

  19. สื่อมัลติมีเดียเพื่อการนำเสนอการนำเสนอ หรือเรียกตามศัพท์ภาษาอังกฤษว่าการพรีเซ้นท์ (Presentation) เป็นการบรรยาย หรือนำเสนอข้อมูลให้แก่ผู้ฟังโดยอาจมีอุปกรณ์ประกอบการบรรยายหรือไม่ก็ได้ อดีตการเตรียมงานนำเสนอแต่สักชิ้นต้องเตรียมตัวกันมากพอสมควร ตัวอย่างง่ายๆ ได้แก่ การบรรยายหน้าชั้นเรียนของอาจารย์ผู้สอน การเตรียมอุปกรณ์สำหรับการนำเสนอค่อนข้างยุ่งยาก เริ่มจากการเตรียมเนื้อหา นำภาพมาประกอบ นำข้อมูลที่มีเขียนลงบนแผ่นสไลด์ (หรือเขียนบนแผ่นใส) และบางครั้งอาจมีการอัดเสียงประกอบการบรรยายร่วมด้วย

  20. การใช้นวัตกรรมแบบห้องเรียนทางไกลการใช้นวัตกรรมแบบห้องเรียนทางไกล • ในการจัดการศึกษาพื้นฐานทั่วไป ก็คือการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่เป็นห้องเรียน ของโรงเรียน หรือสถานศึกษาต่างๆ แต่สภาพการจัดการศึกษาในบางพื้นที่ ไม่สามารถที่จะจัดตั้งสถานศึกษากระจายไปทั่วทุกพื้นที่ได้ ทำให้มีผู้ที่พลาดโอกาสทางการศึกษาเกิดขึ้น หน่วยงานทางการศึกษาหน่วยหนึ่ง(กศน.) ได้ถูกจัดตั้งขึ้น เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการศึกษาให้กับบุคลผู้พลาดโอกาสเหล่านี้ ด้วยระบบการศึกษาที่เอื้อต่อสภาพความเป็นอยู่ของผู้เรียนมากที่สุด หนึ่งในวิธีการจัดการเรียนรู้ ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในสมัยนั้นก็คือ การเรียนทางไปรษณีย์ ซึ่งเป็นช่องทางสำคัญสำหรับผู้ที่อยู่ไกลสถานที่เรียน หรือไม่สามารถเข้าเรียนในชั้นเรียนได้ และนี่ก็คืออีกรูปแบบหนึ่งของการศึกษาที่เราเรียกว่า การศึกษาทางไกล(Distance Learning)

  21. ความหมายของการศึกษาทางไกลมีผู้ให้คำนิยามของการเรียนทางไกล (Distance learning) หรือการศึกษาทางไกล (distance education) ไว้หลายท่านด้วยกันดังนี้เบิร์ก และฟรีวิน (E.R.Burge and CC Frewin ,1985 : 4515) ได้ให้ความหมายของการ เรียนการสอนทางไกลว่า หมายถึงกิจกรรมการเรียนที่สถาบันการศึกษาได้จัดทำเพื่อให้ผู้เรียนซึ่งไม่ได้เลือกเข้าเรียน หรือไม่สามารถจะเข้าเรียนในชั้นเรียนที่มีการสอนตามปกติได้กิจกรรมการเรียนที่จัด ให้มีนี้จะมีการผสมผสานวิธีการที่สัมพันธ์กับทรัพยากร การกำหนดให้มีระบบการจัดส่งสื่อการสอน และมีการวางแผนการดำเนินการ รูปแบบของทรัพยากรประกอบด้วย เอกสาร สิ่งพิมพ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้เรียนอาจเลือกใช้สื่อเฉพาะตนหรือเฉพาะกลุ่มได้ ส่วนระบบการจัด ส่งสื่อนั้นก็มีการใช้เทคโนโลยีนานาชนิด สำหรับระบบบริหารก็มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางไกล ขึ้น เพื่อรับผิดชอบจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

  22. ต่อ โฮล์มเบิร์ก (BorjeHolmber, 1989: 127 อ้างถึงใน ทิพย์เกสร บุญอำไพ. 2540 : 38) ได้ ให้ความหมายของการศึกษาทางไกล ว่าหมายถึงการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนไม่ได้มาเรียนหรือ สอนกันซึ่ง ๆ หน้า แต่เป็นการจัดโดยใช้ระบบการสื่อสารแบบสองทาง ถึงแม้ว่าผู้เรียนและผู้สอนจะไม่อยู่ในห้องเดียวกันก็ตาม การเรียนการสอนทางไกลเป็นวิธีการสอนอันเนื่องมาจากการแยกอยู่ห่างกันของผู้เรียนและผู้สอน การปฏิสัมพันธ์ดำเนินการผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ

  23. ลักษณะเฉพาะที่สำคัญ • การเรียนรู้แบบทางไกล เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสื่อต่างๆ ด้วยวิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นรูปแบบการจัดการศึกษาที่ลดข้อจำกัดทางการศึกษา โดยเฉพาะมุ่งเน้นความเท่าเทียมกันของการศึกษาในทุกสภาพพื้นที่ ทุกชุมชน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากผู้สอนที่มีทักษะความรู้ในหลักสูตร ซึ่งในบางพื้นที่ ที่ห่างไกลจากสังคมเมืองจะขาดบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ

  24. การใช้นวัตกรรมแบบ e-Learning • ความหมายของ E-Learning โดยทั่วไป คำว่า E-Learning จะครอบคลุมความหมายที่กว้างมาก กล่าวคือ จะหมายถึง การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือสัญญาณดาวเทียม (Satellite) ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศ อาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) การสอนบนเว็บ (Web Based Instruction) การเรียนออนไลน์ (On-line Learning) การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรืออาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจาก วีดิทัศน์ตามอัธยาศัย (Video On-Demand) เป็นต้น

  25. ความหมายของ E-Learning เฉพาะเจาะจง ส่วนใหญ่เมื่อกล่าวถึง E-Learning ในปัจจุบันจะหมายเฉพาะถึง การเรียนเนื้อหาหรือสารสนเทศสำหรับการสอนหรือการอบรม ซึ่งใช้นำเสนอด้วยตัวอักษร ภาพนิ่ง ผสมผสานกับการใช้ภาพเคลื่อนไหววีดิทัศน์และเสียง โดยอาศัยเทคโนโลยีของเว็บ (Web Technology) ในการถ่ายทอดเนื้อหา รวมทั้งการใช้เทคโนโลยีระบบการจัดการคอร์ส (Course Management System) ในการบริหารจัดการงานสอนด้านต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีเครื่องมือการสื่อสารต่าง ๆ เช่น e-mail, web board สำหรับตั้งคำถาม หรือแลกเปลี่ยนแนวคิดระหว่างผู้เรียนด้วยกัน หรือกับวิทยากร การจัดให้มีแบบทดสอบ หลังจากเรียนจบ เพื่อวัดผลการเรียน รวมทั้งการจัดให้มีระบบบันทึก ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการเรียน โดยผู้เรียนที่เรียนจาก E-Learning นี้ ส่วนใหญ่แล้วจะศึกษาเนื้อหาในลักษณะออนไลน์ ซึ่งหมายถึงจากเครื่องที่มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

  26. ลักษณะสำคัญของ E-Learning ที่ดีประกอบไปด้วยลักษณะสำคัญ • 1. Anywhere, Anytime คือ ผู้เรียนสามารถจะเป็นใครก็ได้ไม่จำกัดเฉพาะนักศึกษาหรือบุคลากร สามารถเรียนจากสถานที่ใดก็ได้ และสามารถเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียน2. Multimedia เป็นการนำเสนอในรูปแบบสื่อประสม บนเทคโนโลยีเว็บ ประกอบด้วยข้อความ รูปภาพภาพเคลื่อนไหว และเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์ เพื่อให้กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ได้ดีขึ้น3. Non-linear ผู้เรียนมีอิสระในการเรียน สามารถเข้าถึงเนื้อหาตามความต้องการโดย E-Learning จะต้องจัดหาการเชื่อมโยงที่ยืดหยุ่นแก่ผู้เรียน4. Interaction มีการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนโต้ตอบ (มีปฏิสัมพันธ์) กับเนื้อหาหรือกับผู้อื่นได้5. Immediate Response มีการออกแบบให้มีการทดสอบ การวัดผลและการประเมินผล ซึ่งให้ผลป้อนกลับโดยทันทีแก่ผู้เรียนไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะของแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) หรือแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest)

  27. การใช้ E-Learning ในการจัดการศึกษา • สถาบันการศึกษาทุกระดับทั่วโลกพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และให้ความสำคัญกับการเรียนแบบ E-Learning มากขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทย สถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการใช้ E-Learning รวมทั้งมีแนวทางในการจัดตั้ง มหาวิทยาลัยออนไลน์ (Online University) หรือการเรียนการสอนแบบทางไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และมหาวิทยาลัยบางแห่งได้เปิดรับสมัครนักศึกษา หลักสูตร E-Learning ในหลายๆ สาขาวิชา และมีแนวโน้มที่นักศึกษาให้ความสนใจสมัครเรียนมากขึ้นเท่ากับว่าเป็นการเพิ่มขนาดของมหาวิทลัยได้เป็นเท่าตัวโดยที่ทางมหาวิทยาลัยไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มในส่วนของอาคารเรียน ห้องเรียน ซึ่งค่าใช้จ่ายที่สำคัญจะเป็นค่าใช้จ่ายในด้านคอมพิวเตอร์และเครือข่าย เท่านั้น

  28. สรุป การเรียนการสอนแบบ E-Learning เป็นนวัตกรรมใหม่ ที่สถานศึกษา หน่วยงาน องค์กรทุกระดับ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอน พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต ทำให้ระบบศึกษาเปลี่ยนจากเดิม โดยเปิดโอกาสให้เรียนรู้ผ่านมัลติมีเดียบนเว็บ ผู้เรียนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทั่วโลก ทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ ทุกเวลา ทั้งที่บ้าน ที่ทำงาน ผู้เรียนอิสระในการเรียน สามารถเป็นผู้ควบคุมการเรียนของตนเอง ช่วยส่งเสริมการเรียนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธภาพ

  29. การประเมินนวัตกรรม • การประเมินนวัตกรรม • การประเมินนวัตกรรมสามารถปฏิบัติได้ใน 2 ลักษณะคือ ทั้งก่อนการเผยแพร่นวัตกรรมไปสู่ผู้ใช้ และหลังการเผยแพร่ที่มีผู้ใช้ไปแล้วระยะหนึ่งในการประเมินก่อนการเผยแพร่นั้น สำลี ทองธิว (2526) ได้ให้ข้อคิดว่าควรดำเนินการในรูปโครงการนำร่อง เพื่อศึกษาว่านวัตกรรมนั้นจะนำไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการได้หรือไม่ ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร มีแนวโน้มอย่างไร จะทำให้เกิดความคุ้มค่าหรือเสียหายหรือไม่ ส่วนการประเมินหลังจากการนำไปใช้แล้ว ก็สามารถตรวจสอบผลในเชิงปฏิบัติว่าเป็นไปตามที่คาดหวังหรือไม่ การประเมินทั้งสองลักษณะมีเกณฑ์ที่ใช้พิจารณา 2 เกณฑ์ คือ

  30. 1. เกณฑ์ของผลที่ได้รับ เพื่อพิจารณาว่า นวัตกรรมนั้นสามารถแก้ปัญหาได้เพียงใดโดยมีข้อพิจาณา คือ1.1 ประชากรได้รับผลนั้นมีจำนวนเท่าใด1.2 จะแก้ปัญหานั้นได้นานเพียงใด1.3 จะแก้ปัญหานั้นได้มากเท่าใด1.4 จะก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบหรือไม่เพียงใด อย่างไร2. เกณฑ์ของความเป็นไปได้ เพื่อประเมินว่านวัตกรรมนั้น สามารถใช้ได้จริง และมีผู้สามารถนำไปใช้ได้ มีข้อพิจารณา ดังนี้2.1 กลุ่มนี้จะนำนวัตกรรมไปใช้มีผู้เชี่ยวชาญ กำลังคน ความรู้ ความชำนาญประสบการณ์ที่จำเป็นและความเต็มใจที่จะรับผิดชอบแค่ไหน2.2 ความคุ้มค่ากับการลงทุน โดยเปรียบเทียบผลกับต้นทุน2.3 การยอมรับของประชากรส่วนใหญ่ ดูว่ามีประชากรมากน้อย เท่าใดที่ให้การยอมรับ2.4 นวัตกรรมนั้นมีความกลมกลืนกับค่านิยม ความเป็นอยู่ ความเชื่อของประชากรผู้ใช้เพียงใด2.5 กลุ่มผู้รับเห็นคุณประโยชน์ของการใช้นวัตกรรมนั้น มากน้อยเพียงใด และนานเท่าใดจึงจะเห็นผล

  31. การปรับปรุงนวัตกรรม • นวัตกรรมความหมายและขอบข่าย • นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม:2549) • นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง แนวคิด ทฤษฎี ระบบ กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวปฏิบัติ และสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม:2549)

  32. เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษาเป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา • 1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น • 2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้ • 3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น (รศ.ดร.สำลี ทองทิว คำบรรยายการประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน เอเชียแอร์พอร์ท เซียรังสิต ปทุมธานี)

  33. แนวทางการจัดทำนวัตกรรมการศึกษาแนวทางการจัดทำนวัตกรรมการศึกษา • นวัตกรรม คือสิ่งที่เพิ่มพูนคุณภาพ อาทิ • - เพิ่มคุณภาพผลการเรียน • - ลดช่องว่างระหว่างเด็กเก่งและเด็กอ่อน • - เด็กทุกคนได้การเรียนดีที่สุด (ดร.โกวิท ประวาลพฤกษ์ คำบรรยายการประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน เอเชีย แอร์พอร์ท เซียรังสิต ปทุมธานี)

  34. ข้อสังเกตในการใช้นวัตกรรมข้อสังเกตในการใช้นวัตกรรม • 1.ไม่มีการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน • 2. ใช้นวัตกรรมที่นำเข้ามาจากภายนอกโรงเรียนโดยไม่มีการปรับให้เข้ากับบริบทของเรา • 3.ไม่เข้าใจเป้าหมาย ลักษณะธรรมชาติของนวัตกรรม • 4.เข้าไม่ถึงการดำเนินงานที่เป็นหัวใจของนวัตกรรม (รศ.ดร.สำลี ทองธิว คำบรรยายการประชุมสัมมนาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมในโรงเรียน เอเชีย แอร์พอร์ท เซียรังสิต ปทุมธานี)

More Related