120 likes | 200 Views
http: // www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย. ปัญหา เกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท.พ.ศ.2551.
E N D
http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยhttp://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com ปัญหาเกี่ยวกับระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท.พ.ศ.2551
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์ และวิธีการนำเงินรายได้ไปจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายของสถานศึกษาของ อปท. พ.ศ.2551 • ประเด็นที่ 1 ระเบียบฯ ข้อ 6(7) “เงินที่ได้จาก อปท.” ตั้งงบประมาณให้สถานศึกษาเป็นค่าอาหารกลางวัน ค่าเงินรายหัวนักเรียน และค่าพัฒนาการจัดการศึกษา • ค่าใช้จ่ายทั้ง 3 ประเภท ไม่สมควรเป็นรายได้ของสถานศึกษา เนื่องจากสถานศึกษาสังกัด อปท. มิได้เป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย แต่เป็นหน่วยงานหนึ่งของ อปท.เท่านั้น และรายได้ดังกล่าวรัฐได้จัดสรรให้กับ อปท.ไปจัดการด้านการศึกษา จำนวนเงินดังกล่าวที่ใช้ไปในการจัดการศึกษาอาจมาจาก • เงินอุดหนุนจากรัฐบาล • เงินที่ อปท. ตั้งสมทบให้จากเงินรายได้ของท้องถิ่นเอง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • ท้องถิ่นอาจไม่สนับสนุนเงินสมทบให้กับสถานศึกษาในสังกัด จะตั้งงบประมาณให้ในส่วนที่รัฐได้จัดสรรให้เท่านั้น ในความเป็นจริงอาจไม่เพียงพอตามภารกิจแต่ อปท.ได้ให้เงินสนับสนุนเพิ่มให้โดยจ่ายจากเงินรายได้ของท้องถิ่นที่ได้จัดเก็บเอง อาจทำให้เยาวชนในท้องถิ่น ขาดโอกาสทางการศึกษาให้ทัดเทียมกับสถานศึกษาอื่น • ตามระเบียบและแนวทางปฏิบัติดังกล่าว สถานศึกษาจะใช้เงินไม่ทัน เนื่องจากปีการศึกษาเริ่มเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดเดือนเมษายนของปีถัดไป แต่ปีงบประมาณเริ่มเดือนตุลาคมและสิ้นสุดเดือนกันยายนของปีถัดไป ซึ่งการใช้จ่ายเงินจะมีอยู่เพียง 5 เดือนเท่านั้นสำหรับปีงบประมาณ ทำให้เงินดังกล่าวจะตกเป็นเงินรายได้สะสมของสถานศึกษามากมาย ซึ่ง อปท.ไม่สามารถนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านอื่นๆของประชาชนในท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้ เพราะเงินตกเป็นของสถานศึกษา http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • สถานศึกษา ต้องเพิ่มบุคลากรด้านการเงินการคลัง หรือต้องใช้ครูที่ทำหน้าที่สอนหนังสือไปทำงานด้านการเงินเพิ่มขึ้น อาจทำให้การสอนหนังสือขาดประสิทธิภาพ ถึงแม้สถานศึกษาจะมีเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี สถานศึกษาละ 1 คน แต่เจ้าหน้าที่เหล่านี้ไม่มีความรู้ความเข้าใจถึงกระบวนการของระเบียบฯ พัสดุ อาจส่งผลเสียหายต่อหน่วยงานได้ • สถานศึกษามีหน้าที่จัดการศึกษา เพื่อพัฒนาผู้เรียนในทุกด้านอย่างมีประสิทธิภาพ แต่สถานศึกษาต้องกังวลใจกับการบริหารจัดการ หรือสั่งซื้อ สั่งจ้าง อาจไม่มีเวลาหรือให้ความสำคัญเรื่องที่เป็นหัวใจของสถานศึกษา คือ เรื่องการจัดการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ของผู้เรียน อาจทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเปลี่ยนแปลงในทางลบได้ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 1 (ต่อ) • อาจทำให้เกิดช่องทางทุจริตได้ง่ายขึ้น เนื่องจากขบวนการ ขั้นตอนการดำเนินงานเกี่ยวกับการเงินเป็นเรื่องที่ต้องมีความรู้ ความเข้าใจ ความละเอียดรอบคอบ และมีการควบคุมภายในที่ดี http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 2 ระเบียบฯ ข้อ 10 “ในกรณีที่สถานศึกษามีรายได้ ตามข้อ 6(7) ให้ถือว่าผู้บริหารท้องถิ่นมอบอำนาจในการอนุมัติจ่ายเงินรายได้ของสถานศึกษาและอำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง โดยไม่ต้องออกคำสั่งมอบอำนาจดังกล่าว ” โดยให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของ อปท.โดยอนุโลม • การปฏิบัติตามระเบียบพัสดุฯ ข้อ 7 กำหนดให้ผู้มีอำนาจจะต้องมอบอำนาจเป็นหนังสือโดยคำนึงถึงระดับ ตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ และต้องแนบสำเนาหนังสือมอบอำนาจประกอบการเบิกจ่ายทุกครั้ง และต้องส่งสำเนาหลักฐานการมอบอำนาจให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินทราบทุกครั้ง เนื่องจากระเบียบของสถานศึกษาให้ถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 2 (ต่อ) • การสั่งซื้อ/สั่งจ้าง ให้หัวหน้าสถานศึกษา มีอำนาจไม่เกิน 100,000 บาท ผู้บริหารท้องถิ่นเกินกว่า 100,000 บาท การมอบอำนาจดังกล่าว ทำให้การบริหารงานด้านพัสดุฯ ไม่เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการที่ดี คือ โปร่งใส เป็นธรรม เนื่องจาก • เงินถูกกระจายไปตามสถานศึกษาของท้องถิ่น การจัดซื้อ/จัดจ้าง ก็ถูกแยกไปตามสถานศึกษา การจัดซื้อ/จัดจ้าง ก็จะแบ่งย่อยออกไป หากให้ท้องถิ่นจัดซื้อ/จัดจ้าง รวม ก็ทำให้การจัดซื้อ/จัดจ้างได้ราคาที่ถูกลง และมีการแข่งขันในการเสนอราคาได้เต็มที่ • สถานศึกษาจะต้องใช้อำนาจการจัดซื้อ/จัดจ้างภายในอำนาจของตนเอง ซึ่งเป็นการซื้อ/จ้างด้วยวิธีตกลงราคา ทำให้อาจเกิดการผูกขาดของร้านค้า และเกิดการต่อรองระหว่างสถานศึกษา เนื่องจากไม่มีคู่แข่งขันการนำเสนอราคาสินค้า เพราะผู้ซื้อ/ผู้จ้างสามารถระบุจะซื้อ/จ้าง จากผู้ขายรายใดก็ได้ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 3 กรณีงบประมาณประกาศใช้แล้วให้เบิกผลักหักส่งเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของสถานศึกษา เมื่อดำเนินการตามโครงการ/กิจกรรม เสร็จสิ้นแล้วมีเงินคงเหลือจ่าย ไม่ต้องส่งคืนให้ อปท. • เงินดังกล่าว มิได้ถือเป็นรายรับของสถานศึกษา แต่เป็นรายได้ของ อปท.ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ข้อ 17(5) ดังนั้นเงินดังกล่าว หากสถานศึกษาได้ใช้จ่ายตามโครงการ/กิจกรรม เสร็จเรียบร้อยแล้วมีเงินคงเหลือต้องส่งคืนให้ อปท.จึงจะถูกต้อง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 4 การโอนเงินให้สถานศึกษา ก็จะเห็นปัญหาในการปฏิบัติงาน และจะสร้างปัญหาข้อขัดแย้ง ระหว่างสถานศึกษากับ อปท. เนื่องจากการจัดสรรเงินอุดหนุนของรัฐบาลนั้น มิได้จัดสรรเงินให้เป็นคราวเดียวกัน แต่จะจัดสรรให้เป็นงวดๆ แล้วแต่หลักเกณฑ์ที่กำหนดในการจัดสรรก็มิได้ระบุรายละเอียดว่าการจัดสรรในแต่ละงวดเป็นค่าใช้จ่ายใดบ้าง อปท.ก็ต้องใช้เงินบางส่วนในการบริหารจัดการภารกิจ ในเรื่องต่างๆ เช่น การบริการสาธารณะอื่น การบริหารจัดการภารกิจด้านต่างๆ http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
ประเด็นที่ 5 ตามหลักเกณฑ์ หนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 08093.2/ว 1918 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ข้อ 2(2) ให้โอนเงิน ค่าอาหารกลางวันนักเรียน ค่าเงินรายหัวนักเรียน ค่าพัฒนาการจัดการศึกษาและเงินอื่นที่ อปท.สมทบให้ หรือตั้งงบประมาณให้(ถ้ามี) การระบุเงินอื่นๆ นั้น ทำให้ท้องถิ่นเกิดความสับสนในการปฏิบัติ บางแห่งเข้าใจถึงเงินทุกประเภทที่ปรากฏในเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่เกี่ยวกับสถานศึกษา จะต้องโอนเงินดังกล่าวให้กับสถานศึกษาทั้งหมด อาจเกิดข้อผิดพลาดในการดำเนินงาน หากมีความจำเป็นต้องโอนเงินดังกล่าว 3 ประเภท ก็ควรจะไม่กล่าวถึงเงินประเภทอื่นอีก http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
หมวด 14 การปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรา 283 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 อปท.ย่อมมีอำนาจหน้าที่โดยทั่วไปในการดูแลและจัดทำบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น และย่อมมีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายการบริหาร การจัดบริการสาธารณะ การบริหารงานบุคคล การเงินและการคลัง และมีอำนาจหน้าที่ของตนเองโดยเฉพาะ โดยต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับการพัฒนาของจังหวัดและประเทศเป็นส่วนรวมด้วย อปท.ย่อมได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีความเข้มแข็งในการบริหารงานได้โดยอิสระ และตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้จัดบริการสาธารณะได้ โดยครบถ้วนตามอำนาจหน้าที่ จัดตั้งหรือร่วมกันจัดตั้งองค์การเพื่อการจัดทำบริการสาธารณะตามอำนาจหน้าที่ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าเป็นประโยชน์ และให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com
http://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทยhttp://www.nmt.or.th สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย www.themegallery.com Thank You !