310 likes | 469 Views
แถลงสรุปผลการวิจัย เรื่อง. การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ค่ากำลังอัดที่ได้จากการเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟ. ผู้วิจัย. นนอ.บรรพต ลัทธคุณ. นนอ.นิธิพล พลจันทร์. อาจารย์ที่ปรึกษา. น.ต.ธนากร พีระพันธุ์. ที่มาและความสำคัญของปัญหา.
E N D
แถลงสรุปผลการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต โดยใช้ค่ากำลังอัดที่ได้จากการเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟ
ผู้วิจัย นนอ.บรรพต ลัทธคุณ นนอ.นิธิพล พลจันทร์ อาจารย์ที่ปรึกษา น.ต.ธนากร พีระพันธุ์
ที่มาและความสำคัญของปัญหาที่มาและความสำคัญของปัญหา - เนื่องจากการทดลองของ น.ต.ธนากร และคณะ(2544) ได้สูตรการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่ 28 วัน แต่ยังไม่ได้ตรวจสอบกับคอนกรีตผสมเสร็จ และยังไม่ได้ตรวจสอบสูตรการทำนายค่ากำลังอัดนี้ เมื่อใช้เตาอบไมโครเวฟยี่ห้ออี่น จึงต้องมีการตรวจสอบความสัมพันธ์ และพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วันเมื่อใช้เตาอบต่างกัน ดังนี้ 1.ตรวจสอบความสัมพันธ์จากสูตรดังกล่าวกับคอนกรีตผสมเสร็จ และ คอนกรีตในห้องปฏิบัติการ 2.พัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัด เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการ แข็งตัวไม่เท่ากัน เมื่อใช้เตาอบไมโครเวฟต่างกัน
วัตถุประสงค์ของการวิจัยวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตที่อายุ 28 วัน ให้สามารถใช้ได้ กับไมโครเวฟต่างรุ่นกัน 2.เพื่อตรวจสอบความแม่นยำของสูตรที่ใช้ในการทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วัน ที่พัฒนา จากห้องปฏิบัติการ โดยใช้ทำนายค่ากำลังอัดที่ 28 วัน ของคอนกรีตผสมเสร็จทั่วไป
ขอบเขตของการวิจัย 1.ปูนซีเมนต์ที่ใช้เป็นปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ประเภทธรรมดา 2.เตาอบไมโครเวฟที่ใช้เป็นเตาอบไมโครเวฟยี่ห้อเวิร์ลพูล รุ่น VIP 347, ยี่ห้อโกล์ดสตาร์ รุ่น MS-4025 และยี่ห้อฮิตาชิ รุ่น MR-30 A 3.ศึกษาเฉพาะคุณสมบัติการรับแรงอัดของคอนกรีตเท่านั้น 4.ขนาดของหินปูนที่ใช้มีขนาดโตสุดไม่เกิน 12.5 มม. 5.ทรายที่ใช้เป็นทรายก่อสร้างทั่วไป 6.สารเคมีผสมเพิ่มที่ใช้ประกอบด้วย สารลดน้ำ สารเร่งการก่อตัว และสารหน่วงการก่อตัว 7.ขนาดของตัวอย่างคอนกรีต รูปทรงกระบอก เท่ากับ 76.2 x 152.4 มม. 8.คำนวณส่วนผสมคอนกรีตตามมาตรฐานของอเมริกา
ประโยชน์ที่ได้รับ 1.สามารถกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาเทคนิคการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต ที่ 28 วัน ให้สามรถใช้ได้กับเตาอบไมโครเวฟต่างรุ่นกัน 2.สามารถทราบความแม่นยำของสูตรที่ใช้ในการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต ที่ 28 วัน เมื่อใช้ทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตผสมเสร็จ
สมมุติฐานการทดลอง 1.เมื่อจำนวนแท่งที่ใช้ทดสอบเท่ากัน คอนกรีตที่ถูกเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟรวมใกล้เคียงกัน ควรจะได้ค่ากำลังอัดที่ระยะแรกใกล้เคียงกัน และสามารถทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตได้ใกล้เคียงกัน โดยใช้สูตรในการทำนายเดียวกันได้ 2.เมื่อจำนวนแท่งที่ใช้ทดสอบไม่เท่ากัน คอนกรีตที่ถูกเร่งการแข็งตัวด้วยพลังงานไมโครเวฟต่อหนึ่งหน่วยแท่งทดสอบใกล้เคียงกัน ควรจะได้ค่ากำลังอัดที่ระยะแรกใกล้เคียงกัน และสามารถทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีตได้ใกล้เคียงกัน โดยใช้สูตรในการทำนายเดียวกันได้
ขั้นตอนการทดลอง 1.หาคุณสมบัติของวัสดุ และคำนวณหาส่วนผสมของคอนกรีต 2.ตรวจสอบความสัมพันธ์ของการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต เมื่อใช้จำนวน แท่งทดสอบที่ใช้เร่งการแข็งตัวของคอนกรีตในเตาอบไมโครเวฟเท่ากัน เมื่อใช้ เตาอบ ไมโครเวฟต่างกัน 3.ตรวจสอบความสัมพันธ์ของการทำนายค่ากำลังอัดของคอนกรีต เมื่อใช้จำนวนแท่ง ทดสอบที่ใช้ในการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีตในเตาอบไมโครเวฟไม่เท่ากัน เมื่อใช้ เตาอบไมโครเวฟต่างกัน
ผสมคอนกรีตตามmix design เมื่อผสมครบ30นาที ทำการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีต หลังผสม5.5 ชั่วโมงทดสอบกำลังอัดระยะแรก ทำนายกำลังอัดที่ 28 วันโดยใช้สูตร S28d- Ncc = (8.5459) * (Ss.sh-mcc)0.6003 ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่บ่มปกติที่ 28 วัน และ เปรียบเทียบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขั้นตอนย่อยในการเร่งการแข็งตัวและทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่ไม่มีสารผสมเพิ่ม
ผสมคอนกรีตตามmix design เมื่อค่าต้านทานการจมเข็มในมอร์ต้าร์=500-600psi ทำการเร่งการแข็งตัวของคอนกรีต พักคอนกรีต3.5ชั่วโมงหลังการเร่งการแข็งตัว ทดสอบกำลังอัดระยะแรก ทำนายกำลังอัดที่ 28 วันโดยใช้สูตร S28d - NCC = (12.078) x (Searly - MCC)0.437 ทดสอบกำลังอัดของคอนกรีตที่บ่มปกติที่ 28 วัน และ เปรียบเทียบความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ขั้นตอนย่อยในการเร่งการแข็งตัวและทดสอบกำลังอัดคอนกรีตที่มีสารผสมเพิ่ม
ผลการทดลอง ผลการหาคุณสมบัติของวัสดุ วัสดุผสมหยาบ ความถ่วงจำเพาะ = 2.67 หน่วยน้ำหนัก = 1564 กก./ลบ.ม. ส่วนขนาดคละของวัสดุหยาบขนาด 67 ตามมาตรฐาน ASTM C 33-93 วัสดุผสมละเอียด ความถ่วงจำเพาะ = 2.62 โมดูลัสความละเอียด = 2.84
ส่วนผสมของคอนกรีตต่อ 1 ลบ.ซม. ตามมาตรฐานของอเมริกา หมายเหตุ 1.สารลดน้ำ 1.5% ของน้ำหนักปูนซีเมนต์ 2.สารหน่วงการก่อตัว 300 cc/ปูน 100kg 3.สารเร่งการก่อตัว 300 cc/ปูน 100kg
ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ โกล์ดสตาร์ รุ่นMS-4025 ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 284 วัตต์ 30 นาที และ 212 วัตต์ 15 นาที -พลังงานรวม = 702 .0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 4 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 175.5 กิโลจูล
ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ เวิร์ลพูล รุ่นVIP 347 ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 291 วัตต์ 35 นาที และ 131.5 วัตต์ 10 นาที -พลังงานรวม = 690.0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 4 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 172.5 กิโลจูล
ผลการเทียบค่าระดับพลังงานของเตาอบไมโครเวฟ ฮิตาชิ รุ่นMR-30 A ระดับพลังงานที่ใช้ ใช้ระดับพลังงานที่ 225.9 วัตต์ 23 นาที และ 157.8 วัตต์ 22 นาที -พลังงานรวม = 520.0 กิโลจูล (ใช้แท่งทดสอบ 3 แท่ง) -พลังงานต่อหนึ่งแท่งทดสอบ = 173.3 กิโลจูล
กราฟแสดงการใช้ระดับพลังงานในการเร่งการแข็งตัวในเตาอบไมโครเวฟกราฟแสดงการใช้ระดับพลังงานในการเร่งการแข็งตัวในเตาอบไมโครเวฟ
ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่มีสารเคมีผสมเพิ่มผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่ไม่มีสารเคมีผสมเพิ่ม เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวเท่ากัน
ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่ม เมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวเท่ากัน
หมายเหตุ กำลังอัดที่แสดงใน mix design เป็นของทรงลูกบาศก์
ผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มเมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวไม่เท่ากันผลการทดสอบกำลังอัดกับคอนกรีตที่มีสารเคมีผสมเพิ่มเมื่อใช้แท่งทดสอบในการเร่งการแข็งตัวไม่เท่ากัน
ปัญหา และแนวทางแก้ไข ปัญหา 1.การบดอัดคอนกรีตระหว่างเข้าแบบไม่ดีทำให้มีฟองอากาศมาก ทำให้ผลการทดลอง ผิดพลาด 2.คอนกรีตผสมเสร็จที่นำมาทดลองผสมกันไม่ดี ทำให้ส่วนผสมของคอนกรีตที่ผสม ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน ทำให้ผลการทดลองผิดพลาด แนวทางแก้ไข 1.ขณะนำคอนกรีตเข้าแบบต้องไม่ให้คอนกรีตมีฟองอากาศมากเกินไป เพื่อให้ ผลการทดลองถูกต้อง 2.ต้องทำการผสมคอนกรีตผสมเสร็จด้วยมืออีกครั้ง เพื่อให้คอนกรีตผสมเป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อให้ได้ผลการทดลองที่ถูกต้อง
ข้อเสนอแนะ 1.เนื่องจากการทดลองใช้เตาอบไมโครเวฟ 3 ยี่ห้อ ในการเร่งการแข็งตัว จึงควรทำ การทดลองอีก 1 ยี่ห้อ เพิ่มขึ้นเพื่อยืนยันว่าความสัมพันธ์นี้สามารถใช้กับเตาอบ ไมโครเวฟยี่ห้ออื่นได้ 2.เนื่องจากการใช้เถ้าลอยจากถ่านหินลิกไนต์เป็นที่นิยมมากขึ้น จึงควรนำความสัมพันธ์นี้ ไปประยุกต์ใช้ทำนายค่ากำลังอัดสำหรับคอนกรีตผสมเถ้าลอย 3.ควรศึกษาหาปัจจัยในการใช้ปูนซีเมนต์และส่วนผสมอื่นๆ จากต่างแหล่งผลิต ว่ามีผล ต่อการพัฒนากำลังอัดและมีผลต่อการทำนายกำลังอัดด้วยวิธีนี้อย่างไร
? ? ? ? ? ? ? ? ตอบข้อซักถาม ? ? ? ? ? ? ? ?