350 likes | 639 Views
ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. โครงสร้างการกำกับดูแล การใช้บังคับกฎหมาย และกรณีศึกษา สฤณี อาชวานันทกุล 9 ธันวาคม 2549. หัวข้อนำเสนอ. ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ บริบทของประเทศไทย โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย
E N D
ธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โครงสร้างการกำกับดูแล การใช้บังคับกฎหมาย และกรณีศึกษา สฤณี อาชวานันทกุล 9 ธันวาคม2549
หัวข้อนำเสนอ • ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ • บริบทของประเทศไทย • โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย • การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์ • กรณีศึกษา: การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว • ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ความสำคัญและหลักธรรมาภิบาลในการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์
“ปริมาณ” + “คุณภาพ” = ตลาดทุนที่เติบโตอย่างมีเสถียรภาพ • มูลค่าตลาด (market capitalization) • มูลค่า/ปริมาณการซื้อขาย (trading value/volume) • จำนวนบริษัทจดทะเบียน • จำนวนนักลงทุน ปริมาณ คุณภาพ • ความถี่ของการสร้างราคาหุ้น (“ปั่นหุ้น”) และการลงโทษผู้กระทำผิด • สัดส่วนหุ้นบลูชิพ/หุ้นทั้งหมด • ความถูกต้องและความโปร่งใสของงบการเงินของบริษัทจดทะเบียน • กฎเกณฑ์คุ้มครองนักลงทุนรายย่อย • สัดส่วนนักลงทุนเพื่อคุณค่า (value investors) / นักลงทุนสถาบัน • “วัฒนธรรมการเปิดเผยสารสนเทศ”
ความล้มเหลวของตลาด ส่งผลให้ตลาดทุนขาดเสถียรภาพ • ความล้มเหลวของตลาด (market failure) • ภาวะการแข่งขันไม่เป็นธรรม (anti-competitive behavior) • พฤติกรรมไม่เหมาะสมของผู้เล่นในตลาด (market misconduct) • ความไม่เท่าเทียมกันในการรับทราบสารสนเทศ (information asymmetry) • ภาวะไร้เสถียรภาพของระบบ (systemic instability) • ผลกระทบจากความล้มเหลวของตลาด • เงินไหลเข้าประเทศเพื่อเก็งกำไรระยะสั้น (hot money) เป็นหลัก เพิ่มความเสี่ยงของระบบ • พฤติกรรมทุจริตต่างๆ เช่น ปั่นหุ้น และปัญหา moral hazard ของนักลงทุน (เลือกเล่นแต่ “หุ้นปั่น” เป็นหลัก ไม่สนใจปัจจัยพื้นฐาน) • ความล้มเหลวของตลาดเกิดขึ้นทั่วโลก แม้ในตลาดทุนของประเทศพัฒนาแล้ว • รายงาน Measuring Market Cleanliness ของอังกฤษ – นักลงทุนทำ “insider trading” ก่อนการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญ 28.9% - 38.9% ของสารสนเทศทั้งหมด
หลักธรรมาภิบาลสากลขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุนหลักธรรมาภิบาลสากลขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุน • แนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของภาครัฐ ตามรายงานของ IMF / Brookings / World Bank • ต้องมีความเป็นอิสระและมีความรับผิดชอบต่อผู้เกี่ยวข้อง (independence with accountability) • มีความโปร่งใสในการปฏิบัติงานและการตัดสินใจดำเนินการต่าง ๆ (transparency) • มีมาตรการที่จะช่วยสร้างความมั่นใจได้ว่ามีการดำเนินงานอย่างซื่อตรงและเป็นธรรม (integrity) • เป้าหมายขององค์กรกำกับดูแลตลาดทุน ภายใต้ชุดหลักการขององค์กรกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์นานาชาติ (International Organization of Securities Commissions หรือ IOSCO) • ปกป้องคุ้มครองนักลงทุน • ดำเนินงานให้ตลาดหลักทรัพย์มีความเป็นธรรม มีประสิทธิภาพ และมีความโปร่งใส • ลดความเสี่ยงของระบบ (systemic risk)
ความสมดุล : ความท้าทายของธรรมาภิบาลตลาดทุน • ความท้าทายของการกำกับดูแลตลาดทุน อยู่ที่การหา “จุดสมดุล” ที่เหมาะสม ระหว่างประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสียฝ่ายต่างๆ โดยเฉพาะระหว่างบริษัทจดทะเบียนและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ กับนักลงทุนรายอื่นๆ • ปกป้องบริษัทจดทะเบียน/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่มากเกินไป = การกำกับดูแลอ่อนเกินไป (lax regulation) ความล้มเหลวของตลาด โดยเฉพาะการทุจริต • ปกป้องนักลงทุนมากเกินไป = การกำกับดูแลเข้มงวดเกินไป (over-regulation) บริษัทจดทะเบียนเผชิญต้นทุนสูงไป / “หนี” ไปจดทะเบียนที่ตลาดอื่น (ปัญหาของ Sarbanes-Oxley Act ในอเมริกา) ต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนหรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ประโยชน์ของนักลงทุน องค์กร กำกับ
รัฐและองค์กรกึ่งรัฐถือหุ้นอย่างน้อย 22.1% ในตลาดหุ้น ยังไม่รวมหุ้นที่ถือใน อสมท., ธนาคารต่างๆ ฯลฯ
สัดส่วนของนักลงทุนรายย่อย (free float) ยังต่ำมาก...
...แต่มีสัดส่วนการซื้อขายสูงสุด สะท้อนพฤติกรรมเก็งกำไร 5,322 พันล้านบาท 3,596 พันล้านบาท (10 เดือน) นักลงทุนรายย่อย 34% เจ้าของ/ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 44% 11% นักลงทุนต่างประเทศ 29% 55% นักลงทุนสถาบันในประเทศ 4% 23% มูลค่าตลาด มูลค่าซื้อขาย
โครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทยโครงสร้างการกำกับดูแลตลาดหลักทรัพย์ไทย
โครงสร้างของ ก.ล.ต. • ตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ คณะกรรมการ ก.ล.ต. ประกอบด้วยสมาชิกดังต่อไปนี้ • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน • ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย • ปลัดกระทรวงการคลัง • ปลัดกระทรวงพาณิชย์ • ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จำนวนไม่น้อยกว่า 4 คน แต่ไม่เกิน 6 คน โดยในจำนวนนี้อย่างน้อยต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย การบัญชี และการเงินด้านละ 1 คน และไม่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือเป็นข้าราชการ • เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เป็นกรรมการและเลขานุการ • ผู้บริหารสูงสุดของสำนักงาน ก.ล.ต. คือเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของรัฐมนตรีคลัง เลขาธิการมีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี และอาจได้รับการแต่งตั้งใหม่อีกได้ แต่จะอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันเกิน 2 วาระไม่ได้
“หมวกหลายใบ” ขององค์กรรัฐและเจ้าหน้าที่รัฐในตลาดทุน • ปลัดกระทรวงการคลัง เป็นทั้งกรรมการคณะกรรมการ ก.ล.ต. และกรรมการบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่รัฐมีอำนาจควบคุม • องค์กรรัฐและองค์กรกึ่งรัฐอื่นๆ เป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญในบริษัทเหล่านั้นด้วย เช่นในกรณี บมจ. การบินไทย: กระทรวงการคลัง กำกับดูแล ก.ล.ต. ถือหุ้น 30% คณะกรรมการ กองทุนรวมวายุภักษ์ สำนักงานประกันสังคม ถือหุ้น 54% กำกับดูแล ถือหุ้น 0.50% ถือหุ้น 17% บมจ. การบินไทย
ก.ล.ต. ไทย มีสัดส่วนกรรมการจากภาคการเมืองสูงมาก...
...และมีสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐสูงสุดในกลุ่มประเทศตัวอย่าง...และมีสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐสูงสุดในกลุ่มประเทศตัวอย่าง
โครงสร้างของ ตลท. • คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ประกอบด้วย • บุคคลซึ่งคณะกรรมการ ก.ล.ต. แต่งตั้ง จำนวนไม่เกิน 5 คน ซึ่งต้องเป็น “ผู้มีความรู้และประสบการณ์ในกิจการตลาดหลักทรัพย์ ธุรกิจหลักทรัพย์ หรือธุรกิจการเงินเป็นอย่างดี” อย่างน้อย 1 คนในจำนวนนี้ต้องเป็นผู้บริหารระดับสูงของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ • บุคคลซึ่งสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ (หมายถึงบริษัทหลักทรัพย์) แต่งตั้งจำนวนไม่เกิน 5 คน • ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแต่งตั้งโดยกรรมการตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมด เป็นกรรมการตลาดหลักทรัพย์โดยตำแหน่ง • กรรมการตลาดหลักทรัพย์ทุกคนจะต้อง “ไม่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ ข้าราชการการเมือง หรือพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ซึ่งได้รับเลือกตั้ง” • ปัจจุบันมีการลดจำนวนกรรมการที่เป็นตัวแทนของบริษัทสมาชิกจาก 5 คน เหลือ 3 คน และเพิ่มกรรมการที่เป็นตัวแทนจากบริษัทจดทะเบียนอีก 2 คน
ธรรมาภิบาลที่ดีของตลาด ใช้รูปแบบองค์กรแสวงหากำไรได้ • ตลท. เป็นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์จำนวนน้อยในโลก ที่ยังไม่แปรรูปเป็นบริษัท (demutualization) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขัน • ตลาดหลักทรัพย์ที่แปรรูปเป็นบริษัทแล้ว ใช้ข้อจำกัดด้านการถือหุ้นและโครงสร้างคณะกรรมการ เป็นเครื่องมือในการหาจุดสมดุลระหว่างหน้าที่ในฐานะองค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) และการแสวงหาผลกำไรในฐานะบริษัทเอกชน • จำกัดไม่ให้ผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งถือหุ้นเกิน 5% ในบริษัทตลาดหลักทรัพย์ (ฮ่องกง มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์) • กรรมการทุกคนต้องเป็นกรรมการอิสระ (NYSE ของอเมริกา) / กรรมการส่วนใหญ่ต้องไม่ใช่ตัวแทนของบริษัทหลักทรัพย์ (ฟิลิปปินส์) / กรรมการส่วนใหญ่ต้องเป็นกรรมการผู้ดูแลประโยชน์สาธารณะ (Public Interest Directors – ฮ่องกง) • ชี้ให้เห็นว่า ธรรมาภิบาลที่ดีของตลาดหลักทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ในรูป “องค์กรไม่แสวงหากำไร” เสมอไป • โครงสร้างกรรมการของ ตลท. ยังไม่มีตัวแทนนักลงทุน
การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์การใช้บังคับกฎหมายหลักทรัพย์
การปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลภายในยังมีการปรับและกล่าวโทษน้อยการปั่นหุ้นและใช้ข้อมูลภายในยังมีการปรับและกล่าวโทษน้อย
กระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิผลในการลงโทษผู้ผิดกระบวนการยุติธรรมขาดประสิทธิผลในการลงโทษผู้ผิด • ความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ เป็นความผิดทางอาญา ก.ล.ต. ไม่มีอำนาจในการตัดสินความผิดได้เอง ก.ล.ต. จึงต้องรวบรวมพยานหลักฐานอย่างละเอียด • กระบวนการดำเนินคดีอาญาใช้เวลานานมาก และโจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดให้ชัดเจนจนศาล “สิ้นสงสัย” ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้เลยในกรณีทุจริตในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะการปั่นหุ้น เพราะพยานหลักฐานมีลักษณะเป็นพยานหลักฐานแวดล้อม (circumstantial evidence) มากกว่า • ในเดือนสิงหาคม 2549 ศาลมีคำสั่งพิพากษาจำคุก 2 ผู้ต้องหา กรณีร่วมกันปั่นหุ้น บริษัท กฤษดามหานคร จำกัด (มหาชน) (“KMC”) ซึ่ง ก.ล.ต. ส่งผลการตรวจสอบให้ศาลไปตั้งแต่ปี 2536 ความล่าช้าครั้งนี้ทำให้ผู้ผิดจำนวน 6 คน รวมทั้ง “เสี่ยสอง” นายสอง วัชรศรีโรจน์ สามารถหลบหนีการจับกุมจนคดีหมดอายุความ • อำนาจของ ก.ล.ต. ไทยมีข้อจำกัดกว่า ก.ล.ต. ในหลายๆ ประเทศ เช่น ไม่มีอำนาจในการสอบสวนเอง หรืออำนาจในการเปรียบเทียบปรับทางแพ่ง
บทลงโทษของไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศในภูมิภาคบทลงโทษของไทยต่ำกว่าแทบทุกประเทศในภูมิภาค
สิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอสิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอ ที่มา: “ตลาดทุนไทยหลัง CG-ROSC: ทิศทางในอนาคต” โดย ชาลี จันทนยิ่งยง, 26 ตุลาคม 2548
สิทธิของนักลงทุนรายย่อยไทยยังไม่เพียงพอ (ต่อ) ที่มา: “ตลาดทุนไทยหลัง CG-ROSC: ทิศทางในอนาคต” โดย ชาลี จันทนยิ่งยง, 26 ตุลาคม 2548
กรณีศึกษา: การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว
หลักการสากล IOSCO ในการเปิดเผย “สารสนเทศสำคัญ” • บริษัทจดทะเบียนต้องมีหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจลงทุนของนักลงทุน • บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยสารสนเทศทันทีที่เกิดเหตุการณ์สำคัญขึ้น • บริษัทจดทะเบียนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มากกว่าหนึ่งแห่ง ต้องเปิดเผยสารสนเทศสำคัญพร้อมๆ กัน และมีใจความเหมือนกันในทุกตลาดหลักทรัพย์ที่ตนจดทะเบียนอยู่ • บริษัทจดทะเบียนต้องเผยแพร่สารสนเทศสำคัญอย่างทันท่วงทีด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ • การเปิดเผยชนิดต่อเนื่องต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด หลอกลวงนักลงทุน หรือละเว้นข้อมูลสำคัญ • บริษัทจดทะเบียนต้องเปิดเผยสารสนเทศสำคัญอย่างเท่าเทียมกัน ไม่เปิดเผยต่อบุคคลกลุ่มในกลุ่มหนึ่งก่อนที่จะเปิดเผยต่อสาธารณะ อย่างไรก็ตาม ข้อนี้อาจยกเว้นได้ในกรณีการสื่อสารระหว่างบริษัทกับที่ปรึกษาทางการเงินหรือสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ หรือการติดต่อเจรจากับคู่ค้า พนักงาน สหภาพแรงงาน หรือบุคคลอื่นๆ ในการดำเนินธุรกิจปกติของบริษัท ซึ่งในกรณีนี้บุคคลต่างๆ ที่ได้รับข้อมูลต้องมีหน้าที่เก็บข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นความลับ • บริษัทจดทะเบียนต้องมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศ
การสั่งพักการซื้อขายชั่วคราว (ขึ้นเครื่องหมาย H หรือ SP) • ข่าวลือที่ ตลท. จะพิจารณาสั่งพักการซื้อขายให้บริษัทชี้แจง : “สารสนเทศที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงราคาและ/หรือปริมาณการซื้อขายของบริษัท ที่ยังไม่ได้แจ้งต่อ ตลท.” • การพิจารณาความมีนัยสำคัญของข่าวลือ • แหล่งข่าวชัดเจน (ผู้บริหาร / ผู้ถือหุ้นใหญ่ / ทางการ) หรือไม่ระบุแหล่งข่าวหรือผู้ให้ข่าว • ผลกระทบต่อราคาหลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขาย • แพร่กระจายในวงกว้างหรือไม่ (widespread) • เมื่อข่าวลือนั้นเข้าข่าย “สารสนเทศสำคัญ” ตลท. จะพิจารณาขึ้นเครื่องหมาย • H / SP (Halt / Suspend)- มีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่เห็นได้ชัดว่าอาจกระทบต่อภาวะการซื้อขาย หรือข้อมูลที่มีลักษณะเป็น Inside Information • NP (Notice Pending) – มีข่าวหรือข้อมูลสำคัญที่อาจมีผลกระทบต่อการซื้อขาย แต่ไม่ถึงระดับต้องหยุดพักการซื้อขาย
กระบวนการขึ้นเครื่องหมาย NP, H, SP สารสนเทศที่ยังไม่เปิดเผยผ่านระบบ ติดต่อให้ บจ. ชี้แจง ทันเวลาเปิดการซื้อขาย ไม่ทันเวลาเปิดการซื้อขาย พิจารณาขึ้นเครื่องหมายNP, H, SP ซื้อขายตามปกติ ภายหลังการชี้แจง ปลดเครื่องหมาย
ตลท. ขึ้นเครื่องหมาย H/SP ในระดับใกล้เคียงกับต่างชาติ...
...แต่หุ้นเก็งกำไรส่วนใหญ่ไม่เคยถูก H/SP : นักลงทุนไม่สนใจ?
เหตุผลส่วนใหญ่ในการขึ้นเครื่องหมาย H/SP ยังไม่ใช่ข่าวลือ
ข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างองค์กรข้อเสนอแนะด้านโครงสร้างองค์กร • โครงสร้างองค์กรของ ก.ล.ต. ควรปรับเปลี่ยนให้ลดความเสี่ยงจากการแทรกแซงทางการเมืองและผลประโยชน์ทับซ้อนให้เหลือน้อยที่สุด ด้วยการเปลี่ยนจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ เป็นกรรมการอิสระผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ได้รับการแต่งตั้งหรือเลือกตั้งจากคณะกรรมการสรรหาอิสระ หรือวุฒิสภา • ปัจจุบัน ก.ล.ต. อยู่ระหว่างการเสนอร่างแก้ไข พ.ร.บ. หลักทรัพย์ ตามแนวทางดังกล่าว • โครงสร้างองค์กรของ ตลท. ควรปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบบริษัท (demutualization) ในระยะยาว โดยควรมีระดับธรรมาภิบาลที่เข้มข้นกว่าบริษัทเอกชนทั่วไป • มีมาตรการขจัดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างตัวแทน (บริษัทสมาชิก) กับนักลงทุน โดยใช้กฎหมายจำกัดขอบเขตการทำธุรกิจหลักทรัพย์และการถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ • กำหนดให้ตัวแทนนักลงทุนรายย่อยร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ • แยกส่วนขององค์กรที่ทำหน้าที่องค์กรกำกับดูแลตนเอง (SRO) ออกจากส่วนที่ทำหน้าที่ดูแลการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ข้อเสนอแนะด้านกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับข้อเสนอแนะด้านกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับ • ปรับปรุงกระบวนการทางกฎหมายให้มีประสิทธิผลมากขึ้น โดยเพิ่มอำนาจให้ ก.ล.ต. • มีอำนาจเปรียบเทียบปรับทางแพ่งในคดีอาญา • เพิ่มอำนาจในการสอบสวนคดีอาญา • เพิ่มบทลงโทษ (ค่าปรับและโทษจำคุก) ให้สูงกว่าเดิม ตามมาตรฐานที่ใช้ในต่างประเทศ • ควรมีการขยายขอบเขตหน้าที่ในการปฏิบัติตามกฎข้อบังคับต่างๆ โดยเฉพาะการเปิดเผยสารสนเทศสำคัญ ไปยังผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆ นอกเหนือจากบริษัทจดทะเบียน เช่น ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และสถาบันการเงินตัวกลาง • ก.ล.ต. และ ตลท. ควรมีมาตรการลงโทษผู้เปิดเผยสารสนเทศซึ่งปรากฏภายหลังว่าเป็นเท็จ และผู้เปิดเผยสารสนเทศดังกล่าวมีเจตนาหลอกลวงนักลงทุนรายอื่น ที่ชัดเจนและสูงพอที่จะช่วยป้องปรามการกระทำผิดได้ • บริษัทจดทะเบียนที่ทำผิดกฎการรายงานสารสนเทศ 3 ครั้งภายใน 2 ปี หรือผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นว่างบการเงินมีปัญหา ควรถูกเพิกถอนออกจากการเป็นบริษัทจดทะเบียน (กฎของเกาหลีใต้) • เพิ่มกลไกทางกฎหมายให้นักลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียรายอื่นๆ สามารถปกป้องดูแลสิทธิของตนเอง เช่น กฎหมายดำเนินคดีแบบรวมกลุ่ม (class action law) และกฎหมายคุ้มครองผู้ให้เบาะแสการทุจริต (whistleblower protection law) – อยู่ระหว่างการดำเนินการของ ก.ล.ต.