280 likes | 630 Views
โลกและการเปลี่ยนแปลง. โดย นางนงนุช ฤทธิ์จีน ครูชำนาญการ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38. ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ของโลก. แผ่นดินไหว ( Earth quake)
E N D
โลกและการเปลี่ยนแปลง โดย นางนงนุช ฤทธิ์จีน ครูชำนาญการ กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ โรงเรียนแม่ปะวิทยาคม อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 38
ความสัมพันธ์ของระบบต่าง ๆ ของโลก
แผ่นดินไหว(Earth quake) เกิดจากการที่แผ่นเปลือกโลกบางแห่งแยกห่างออก บางแห่งเคลื่อนเข้าชนกัน ทำให้เปลือกโลกบางส่วนในบริเวณนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงโดยฉับพลัน เช่น ทรุดตัวหรือยุบตัวลงมา ทำให้เปลือกโลกบริเวณนั้นเกิดการกระทบกระแทกหรือเคลื่อนตัวตามแนวระดับ และจะส่งอิทธิพลไปบริเวณรอบ ๆ ในรูปของคลื่น บริเวณที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวจะเป็นบริเวณรอยต่อของเปลือกโลก (ในภาพเป็นรอยต่อของเปลือกโลก)
บริเวณที่มีโอกาสเกิดภูเขาไฟระเบิด คือ บริเวณแนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลก เพราะแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวลงไป จะถูกหลอมกลายเป็นหินหนืด และ แทรกตัวขึ้นมาได้ง่าย (ในภาพแสดงตำแหน่งของภูเขาไฟที่เคยเกิดขึ้น) บริเวณที่เกิดภูเขาไฟ
ภูเขาไฟ (Volcano) • เกิดจากการปะทุหรือการไหลพุ่งขึ้นมาของหินหนืด (magma) ที่อยู่ภายในโลก ซึ่งเกิดได้ทั้งบนพื้นดินและใต้สมุทร การระเบิดของภูเขาไฟแต่ละครั้งทำให้เกิดแผ่นดินไหว แผ่นดินสะเทือน อาจทำให้เกิดคลื่นยักษ์ ซึนามิ ลาวาหรือหินหลอมเหลวที่ออกมา อาจมีอุณหภูมิสูงกว่า 800 องศาเซลเซียส
ซึนามิ (Tsunami) • มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “คลื่นที่ท่าเรือ” (harbor wave) เป็นคลื่นขนาดใหญ่เกิดกลางมหาสมุทรทักมีสาเหตุมาจากแผ่นดินไหวใต้ทะเล ไม่ได้เกิดจากอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง เมื่อคลื่นเข้าสู่ชายฝั่ง ยอดคลื่นอาจมีความสูงหลายเมตร สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่บริเวณชายฝั่งและอาจลึกเข้าไปถึงพื้นที่ในแผ่นดินได้ด้วย (ในภาพที่มีเครื่องหมาย เป็นบริเวณที่เกิดซึนามิ)
ซึนามิ • ซึนามินั้น เมื่ออยู่กลางมหาสมุทรจะเกิดคลื่นไม่สูงนัก (อาจสูงแค่ 12 นิ้ว) ทำให้การตรวจจับหรือแจ้งเตือนล่วงหน้าทำได้ยาก ครั้นเมื่อคลื่นเข้าใกล้ฝั่ง พลังที่ซ่อนอยู่ใต้น้ำ อาจสร้างคลื่นที่มีขนาดใหญ่ ความสูงกว่า 300 ฟุต แล้วพุ่งเข้าปะทะชายฝั่ง เกิดความเสียหายอย่างรวดเร็วและรุนแรง
แผ่นดินไหว • แผ่นดินไหวอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง อาคารบ้านเรือนพังเสียหาย ผู้คนบาดเจ็บ จนบางครั้งถึงแก่ชีวิต ความรุนแรงของแผ่นดินไหวนี้เราวัดได้ตามมาตราริคเตอร์ เช่น การเกิดแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโก เมื่อปี พ.ศ. 2532 วัดได้ 7.1 ริคเตอร์ ส่วนในภาพเป็นความเสียหายที่ประเทศอเมริกา
ปฏิกิริยาเรือนกระจก (Greenhouse Effect) • เป็นการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศที่เป็นผลมาจากก๊าซต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ลอยตัวไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่าง จนเปรียบเสมือนแผ่นหลังคาที่ปล่อยให้รังสีจากดวงอาทิตย์สามารถผ่านลงมายังโลก แต่กลับปิดกั้นและดูดกลืนรังสีที่สะท้อนจากพื้นโลก ซึ่งปกติจะถ่ายเทออกไปสู่อวกาศได้ทำให้ความร้อนของโลกถูกสะสมเอาไว้ อุณหภูมิทั่วโลกจึงค่อยๆ สูงขึ้น
รูโหว่ที่ชั้นโอโซน • ก๊าซโอโซนที่อยู่ในบรรยากาศชั้น สตราโทสเฟียร์ ซึ่งปกคลุมทั่วโลก ช่วยป้องกันโลกจาดรังสีอัลตร้าไวโอเล็ต แต่ในปี พ.ศ. 2528 พบว่าเกิดมีรูโหว่ที่ชั้นโอโซนเหนือขั้วโลกใต้ และขยายตัวกว้างออกไปทุกปีทางตอนปลายของทวีปอเมริกาใต้ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าส่วนหนึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสารคลอโรฟลูโอโร คาร์บอน (CFC) ซึ่งมักใช้ในผลิตภัณฑ์สเปรย์กระป๋องและน้ำยาเครื่องปรับอากาศ
ลมบก (Land breeze) • ลมที่พัดจากฝั่งไปยังทะเลในเวลากลางคืน เกิดจากการที่เวลากลางคืนพื้นน้ำมีอุณหภูมิสูงแผ่นดิน อากาศเหนือทะเลซึ่งอุ่นและมีความหนาแน่นน้อยกวาจะลอยตัวขึ้นอากาศที่เย็นกว่าในบริเวณแผ่นดินจะพัดเข้าไปแทนที่ เกิดเป็น “ลมบก”
ลมทะเล (Sea breeze) • พัดจากทะเลเข้ามายังฝั่ง ในเวลากลางวัน เกิดจากการที่เวลากลางวันแผ่นดินได้รับแสงอาทิตย์และสะสมเอาไว้มากกว่าจนอุณหภูมิสูงกว่าบริเวณทะเล ทำให้อากาศเหนือพื้นดินลอยตัวสูงขึ้น อากาศเย็นจากบริเวณทะเลจึงพัดเข้ามาแทนที่ เกิดเป็น “ลมทะเล”
ฝน (Rain) • เกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่าง ๆ ในก้อนเมฆมีขนาดใหญ่ขึ้น จนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ ก็จะตกลงมาเป็นฝน บางครั้งฝนจะตกลงมาเป็นบริเวณจำกัด และบางครั้งก็ตกลงมาเป็นบริเวณกว้างนับร้อยกิโลเมตร
พายุไซโคลนเขตร้อน (Tropical Cyclones) • แบ่งตามความรุนแรงได้ 3 ลำดับคือ - ดีเปรสชัน (depression) ความเร็วลมที่ศูนย์กลางไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง - พายุโซนร้อน(tropical storm) ความเร็วลมที่ศูนย์กลางไม่เกิน 64-120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง - พายุไต้ฝุ่น (typhoon) หรือที่มีชื่อเรียกต่างออกไปตามท้องถิ่นว่า ไซโคลนบาเกียว เฮอริเคน วิลลีวิลลี ความเร็วลม 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ฟ้าแลบ-ฟ้าร้อง • ฟ้าแลบ เกิดจากการสะสมและแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าภายในก้อนเมฆ หรือระหว่างก้อนเมฆที่อยู่ติดกัน และมีความต่างศักย์ไฟฟ้ามาก • ฟ้าร้อง เกิดขณะที่ฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า อากาศโดยรอบมีอุณหภูมิสูงมาก เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วจนเกิดเสียงดังมาก
ฟ้าผ่า (Lighting) • เกิดจากการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจากก้อนเมฆและพื้นโลก โดยปกติแล้วขณะที่เกิดฟ้าผ่านั้น ประจุไฟฟ้าบนก้อนเมฆจะเป็นขั้วหนึ่ง และประจุไฟฟ้าที่พื้นดินจะเป็นอีกขั้วหนึ่ง เมื่อประจุไฟฟ้าเกิดการสะสมมากขึ้น ก็จะมีการถ่ายเทแลกเปลี่ยนประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดิน
น้ำท่วม (Flood) • มักมีสาเหตุมาจากฝนตกหนัก หรือหิมะละลาย ดินและพืชไม่สามารถดูดวับน้ำเอาไว้ได้อีกทั้งน้ำนั้นก็ไม่สามารถเทลงลำธาร ลำคลอง แม่น้ำได้ทัน น้ำจึงไหลบ่าท่วมพื้นที่บริเวณนั้นสร้างความเสียหายแก่บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย พืชสวน ไร่นา และสัตว์ป่า
คือน้ำฟ้าที่เป็นของแข็งมีรูปร่าง กลม ๆ เกิดจากเม็ดฝนซึ่งแข็งตัวแล้วลอยขึ้น ๆ ลง ๆ หลายครั้งในเมฆคิวมูโลนิมบัส ซึ่งเป็นเมฆพายุฝนคะนอง และขณะที่ลอยตัวขึ้นลงอยู่นั้นเม็ดน้ำเย็นจัดอุณหภูมิ 0 องศาเซลเซียสจะมาเกาะหุ้มเม็ดฝนเพิ่มหนาขึ้นเป็นชั้น ๆ จนกระทั่งตกลงสู่พื้นดิน ลูกเห็บ (Hail)
คือน้ำค้างหรือไอน้ำที่ได้รับความเย็นมากจนแข็งตัว กลายเป็นผลึกน้ำแข็งเกาะติดอยู่ตามพื้นผิวต่าง ๆ มองเห็นเป็นเกล็ดเล็ก ๆ สีขาวปกคลุมสนามหญ้า ตามพุ่มไม้ หรือบนใบของพืชคลุมดิน มักเกิดในบริเวณที่มีอากาศหนาว หรือเย็นจัด ในประเทศไทยของเรามีโอกาสเกิดได้ตามพื้นที่สูงทางภาคเหนือในฤดูหนาว น้ำค้างแข็ง(Frost)
เป็นเมฆที่บริเวณพื้นผิว ประกอบด้วยหยดน้ำขนาดเล็กที่เกิดขึ้นเนื่องจากชั้นของบรรยากาศที่อยู่ต่ำสุดเย็นลง หมอกที่หนาเป็นอุปสรรคต่อการคมนาคม เพราะมองเห็นได้ระยะไม่ไกลนัก มองเห็นได้ไม่ชัดเจน เรียกว่า ทัศนวิสัยไม่ดี หมอก (Fog)
เกิดจากการที่หยดน้ำเล็ก ๆ ในก้อนเมฆได้รับความเย็นจนแข็งตัวกลายเป็นผลึกน้ำแข็งตกสู่พื้นโลก ขณะที่ตกลงมานั้นก็มีละอองน้ำในอากาศที่แข็งตัวมาเกาะบริเวณรอบ ๆ กลายเป็นเกล็ดหิมะรูปร่างต่าง ๆ หิมะเหล่านี้อาจตกลงมาคราวละ มาก ๆ จนทับถมกันทั่วบริเวณ ดูขาวโพลนไปหมด แล้วก็จะละลายกลายเป็นน้ำเมื่ออากาศอบอุ่นขึ้น หิมะ (Snow)
ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีความสวยงามมาก เกิดในท้องฟ้าในทิศทางตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ หลังฝนตก เนื่องจากการสะท้อนหักเหของแสงอาทิตย์ในเม็ดละอองน้ำ เห็นเป็นแถบโค้งของสี 7 สี คือ ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด และแดง ตามลำดับ รุ้งกินน้ำ (Rainbow)
ปรากฏการณ์ที่เกิดมีวงแสงสว่างล้อมรอบดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน เกิดจากแสงอาทิตย์กระทบหยดน้ำเล็ก ๆ ที่กลายเป็นเกล็ดน้ำแข็งในเมฆซีโรสเตรตัส แล้วหักเหเป็นวงสว่างสีขาวอมเหลืองหรือสีรุ้งอ่อน พระอาทิตย์ทรงกรด
เกิดเฉพาะบริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มีลักษณะคล้ายแผ่นสง หรือม่านแสงสว่าง สีแดง สีเขียว และสีขาวบนท้องฟ้า เกิดจากการประจุไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์แผ่มาชนกับโมเลกุลของออกซิเจนและไนโตรเจนที่บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียร์ ทำให้มีการปลอดปล่อยแสงสีที่สวยงามออกมา แสงเหนือ แสงใต้ (Aurora)
บริเวณฝั่งคลองริมแม่น้ำลำธารบางแห่งถูกกระแสน้ำกัดเซาะให้พังทลายไป โดยเฉพาะเมื่อกระแสน้ำไหลมาปะทะส่วนที่เป็นโค้งน้ำ และขณะเดียวกันกระแสน้ำก็จะพัดพาตะกอนมาสะสมและทับถมที่บริเวณโค้งน้ำอีกฝั่งหนึ่ง นานวันเข้าก็เกิดเป็นแผ่นดินงอกไปในลำน้ำ ซึ่งในบางครั้งหากมีการกัดกร่อนและการงอกของแผ่นดินนี้มาก ๆ สายย้ำที่เคยคดโค้งอาจเปลี่ยนเส้นทางไปอย่างในภาพ การกร่อน
เป็นคำในภาษาสเปนเช่นเดียวกับ เอลนิโน แปลว่า เด็กผู้หญิงตัวเล็ก ๆ ในทางอุตุนิยมวิทยา หมายถึงปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้เส้นศูนย์สูตรเกิดเย็นขึ้น แต่จะไม่เกิดขึ้นบ่อยเหมือนเอลนิโน นอกจากนี้ยังมีผลทำให้อุณหภูมิในฤดูหนาวเขตตะวันออกเฉียงใต้ของอเมริกาอุ่นขึ้นกว่าปกติ และทำให้อุณหภูมิในฤดูหนาวเขตตะวันตกเฉียงเหนือของอเมริกาเย็นกว่าปกติ ลานินา (La Nina)
คำว่า เอลนิโน เป็นภาษาสเปนแปลว่าเด็กผู้ชาย หรือบุตรของพระคริสต์ คำนี้ใช้เป็นชื่อเรียกปรากฏการณ์ที่เหนือกว่าฤดูกาลตามปกติโดยชาวประมงเปรู เมื่อสภาวะน้ำอุ่นไหลเข้ามาแทนที่น้ำเย็นในทะเลบริเวณชายฝั่งทวีปอเมริกาใต้ เกิดในช่วงหลังเทศกาลคริสต์มาสเล็กน้อย ปรากฏการณ์เอลนิโนนี้อาจเกิดขึ้นทุก 4 – 7 ปี และส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก เอลนิโน (EI Nino)
จบการนำเสนอขอให้โชคดีจบการนำเสนอขอให้โชคดี