750 likes | 907 Views
ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่ง ทางวิชาการระดับสูง. โดย ดร. อำนวย ถิฐาพันธ์ ศาสตราจารย์ งานบริการวิชาการและวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. Bernard B. Brodie. J. Axelrod. T. Amnuay. การก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ. เตรียมใจ เตรียมตัว เตรียมงาน. บรรจง มไหสวริยะ. เตรียมใจ.
E N D
ปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับสูงปัญหาการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการระดับสูง โดย ดร. อำนวย ถิฐาพันธ์ ศาสตราจารย์ งานบริการวิชาการและวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
Bernard B. Brodie J. Axelrod T. Amnuay
การก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการการก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ • เตรียมใจ • เตรียมตัว • เตรียมงาน บรรจง มไหสวริยะ
เตรียมใจ • เข้าใจความหมาย • เห็นด้วยกับวิธีการ • ลดอคติ • ให้ความสำคัญ • กำหนดจุดหมาย • สร้างความมุ่งมั่น
เตรียมตัว • จัดลำดับความสำคัญ • แบ่งสรรเวลา • ศึกษากฎระเบียบ • เปรียบเทียบพวกพ้อง • ลองถามผู้รู้ • สู้ไม่รู้ถอย
เตรียมงาน • งาน: สื่อการสอน, งานวิจัย, สิ่งประดิษฐ์ • ปริมาณ • คุณภาพ
หลักเกณฑ์และวิธีการการพิจารณกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการการพิจารณกำหนดตำแหน่งทางวิชาการสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
วิธีการขอ ศาสตราจารย์ วิธีที่ 1 ดีมาก 1. เสนอ ตำรา และ 2. งานวิจัย หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น วิธีที่ 2 ดีเด่น 1. เสนอ ตำรา หรือ 2. งานวิจัย หรือ 3. ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น
คำจำกัดความผลงานทางวิชาการตำราหมายถึง เอกสารทางวิชาการที่เรียบเรียงอย่างเป็นระบบ อาจเขียนเพื่อตอบสนองเนื้อหาทั้งหมดของรายวิชา หรือส่วนหนึ่งของวิชา หรือหลักสูตรก็ได้ โดยมีการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง และสะท้อนให้เห็นความสามารถในการถ่ายทอดวิชาในระดับอุดมศึกษา ในบางกรณีผู้เขียนอาจเสนอตำรามาในรูปของสื่ออื่นๆ เช่น ซีดีรอม หรือ อาจใช้ทั้งเอกสารและสื่ออื่นๆ ประกอบกันตามความเหมาะสม
คำจัดกัดความผลงานทางวิชาการหนังสือหมายถึงเอกสารทางวิชาการที่เขียนขึ้นเพื่อเผยแพร่ความรู้ไปสู่วงวิชาการและ/หรือผู้อ่านทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหลักสูตร หรือต้องนำมาประกอบการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ทั้งนี้ จะต้องเป็นเอกสารที่เรียบเรียงขึ้นอย่างมีเอกภาพ มีรากฐานทางวิชาการที่มั่นคงและให้ทัศนะของผู้เขียนที่สร้างเสริมปัญญาความคิด และสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการให้แก่สาขาวิชานั้นๆ และ/หรือ สาขาวิชาที่เกี่ยวเนื่อง
การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานทางวิชาการตำรา หรือหนังสือ จะต้องได้รับการตีพิมพ์เป็นรูปเล่มจากโรงพิมพ์หรือสำนักพิมพ์ หรือถ่ายสำเนาเย็บเล่ม หรือจัดทำในรูปของสื่ออื่นๆที่เหมาะสมซึ่งได้นำไปใช้ในการเรียนการสอน และได้รับการเผยแพร่มาแล้ว อย่างน้อย 1 ภาคการศึกษา ก่อนนำเสนอ ก.ม.
ตำรา ดี เป็นตำราที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา
ตำรา ดีมาก ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ2. มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือผลงานวิจัยที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน3. สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้
ตำรา ดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือระดับนานาชาติ
หนังสือ ดี เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้องสมบูรณ์ และทันสมัย มีแนวคิดและการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ
ดีมาก หนังสือ ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดี โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. มีการสังเคราะห์และเสนอความรู้หรือวิธีการที่ทันต่อ ความก้าวหน้าทางวิชาการและเป็นประโยชน์ต่อวง วิชาการ2. มีการสอดแทรกความคิดริเริ่มและประสบการณ์หรือ ผลงานวิจัย ที่เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรู้ใหม่ที่เป็น ประโยชน์ต่อวงวิชาการ3. สามารถนำไปใช้เป็นแหล่งอ้างอิงหรือนำไปปฏิบัติได้
หนังสือ ดีเด่น ใช้เกณฑ์เดียวกับระดับดีมาก โดยมีข้อกำหนดด้านคุณภาพเพิ่มเติม ดังต่อไปนี้1. มีลักษณะเป็นงานบุกเบิกทางวิชาการในเรื่องใด เรื่องหนึ่ง2. มีการกระตุ้นให้เกิดความคิดและค้นคว้าต่อเนื่อง3. เป็นที่เชื่อถือและยอมรับในวงวิชาการหรือ วิชาชีพที่เกี่ยวข้องในระดับชาติและ/หรือระดับนานาชาติ
ลักษณะของตำราหรือหนังสือลักษณะของตำราหรือหนังสือ 1.มีครบทุกหัวข้อของตำราหรือหนังสือที่ดี - ชื่อตำรา/หนังสือ (พิมพ์ครั้งที่?) - ผู้นิพนธ์/ บรรณาธิการ(พร้อมทั้งคุณวุฒิ) - บริษัทที่พิมพ์(พร้อมทั้งที่อยู่/ และปีที่พิมพ์) - ISBN และการสงวนลิขสิทธิ์ - คำนำคำนิยม(ถ้ามี)
- สารบัญ - ดัชนี(ทั้งไทยและอังกฤษ) 2. เนื้อหามีความทันสมัยมากสามารถนำไปอ้างอิงได้โดยพิจารณาได้จากตำราหรือเอกสารอ้างอิง ......ไม่ควรจะล้าหลังเกิน 3-5 ปี 3. มีความคงเส้นคงวา(Consistency)ในการใช้ภาษาไทย
- Fluid = สารน้ำ, ของไหล(ไม่ใช่ของเหลว) - ร้อยละ 50 ( ไม่ใช่ 50%) - แผนภาพ= Diagram - แผนภูมิ = Chart - อาเจียน(ไม่ใช่อาเจียร) - เอนไซม์(ไม่ใช่เอ็นซัยม์)
- ปวดศีรษะปวดหัว • ความดันเลือดความดันโลหิตแรงดันโลหิต • ท้องเสียท้องร่วง(ถูกทั้ง2 คำ) • 4. ใช้คำศัพท์ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2542เช่น: • - คลินิก(ไม่ใช่คลีนิค) • - หลอดเลือดฝอย(ไม่ใช่เส้นเลือดฝอย)
5. อ่านง่ายเข้าใจง่ายรูปภาพสวยงามและมีคำอธิบายรูปภาพชัดเจน 6. มีการสอดแทรกผลงานและการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ขอไว้ในตำราด้วย 7. รูปเล่มเย็บสวยงาม
สิ่งที่ไม่ควรทำ1. คัดลอกผลงานของคนอื่นโดยไม่บอกแหล่งที่มาของข้อมูลโดยเฉพาะในรูปภาพตารางหรือแผนภูมิเช่นควรบอกว่า.... คัดลอกมาจากNana B. Finnerup, Soren H. Sirvdrup and Troels S. Jensen: Anticonvulsant analgesics in peripheral and central neuropathic pain. Int J Pain Med&Pall Care, vol 3, No2, p.43,2004
การอ้างอิงสามารถทำได้เป็น 2 แบบคือ:“ เภสัชจลนศาสตร์คือวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับผลของร่างกายที่มีต่อยา” (10)หรือ“ มีความรู้ความสามารถและความชำนาญพิเศษในการสอน....…” 10
ถึงแม้ว่าจะนำเอาข้อมูลของผู้อื่นมาใช้ แล้วนำมาดัดแปลงเป็นรูปภาพ หรือ ตาราง ในตำราของตนเองก็ตาม ก็ยังจำเป็นต้องบอกแหล่งที่มาเช่นกันเช่น ดัดแปลงมาจาก รจนา ศิริศรีโร: โรคกระดูกพรุน และการวินิจฉัยโดยวิธีทางรังสีวิทยาใน สมบุญ เหลืองวัฒนากิจ (บรรณาธิการ): สุขภาพเพศชาย รูปที่ 1 หน้าที่ 103 บริษัท บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด กรุงเทพมหานคร 2546
2. ถ่ายสำเนารูปภาพหรือตารางมาจากแหล่งอื่นซึ่งมีขนาดเล็กเกินไปรูปภาพไม่ชัดเจนอ่านเข้าใจยากและขาดการอธิบายในtext3. รูปภาพหรือตารางมีชื่อและคำอธิบายไม่ชัดเจน
4. ใช้ภาพขาว–ดำแทนที่จะเป็นภาพสีโดยเฉพาะถ้าภาพสีจะสื่อความหมายและความเข้าใจได้ดีมากกว่าเช่น- รูปPie- รูปโรคต่างๆของผิวหนัง(skin diseases )
Non-P450 enzymes CYP3A4 CYP1A1/2 CYP1B1 CYP2A6 CYP2B6 CYP2C8 CYP2C9 CYP2C19 CYP2E1 CYP2D6
5. การเขียนรูปแบบของ “ เอกสารอ้างอิง” ไม่ครบสมบูรณ์ เช่น ขาดชื่อเรื่อง ขาดรายชื่อของผู้นิพนธ์ (คือบอกไม่ครบ) ควรใช้ “vancouver style ”ในการเขียนเอกสารอ้างอิงทุกอัน เช่นCassell, E.J. : Ann Intern Med 1999; 131: 531-534 (ไม่มีชื่อบทความ)ควรเขียนCassell, E.J : Diagnosis suffering ---- a perspective. Ann Intern Med 1999; 131: 531-534
ตำราดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ตำราดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ • เนื้อหา สาระครอบคลุมสิ่งที่จะต้องรู้ อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสมัย • เรียบเรียงลำดับเนื้อหาอย่างมีระบบและเป็นระเบียบ • ภาษาที่ใช้เรียบเรียงเป็นภาษาที่ดี คำย่อต่างๆ ถูกต้อง วรรคตอนเหมาะสมไม่สับสน • มีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน อ้างอิงตามระบบสากลที่ถูกต้อง เหมาะสมกับสาขาวิชานั้นๆ ติดตามค้นหาได้ ประเสริฐ ทองเจริญ 2548
ตำราดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ตำราดีจะต้องมีลักษณะดังนี้ • รูปแบบและการพิมพ์ถูกต้อง อ่านง่ายชัดเจน การวางรูปภาพ ตาราง เหมาะสม • หาซื้อไม่ยาก ราคาไม่แพงเกินกว่าที่สามัญชนหรือนักศึกษา จะซื้อหามาอ่านได้ มีแหล่งพิมพ์ โรงพิมพ์ สำนักพิมพ์ ผู้พิมพ์ผู้โฆษณา ตามพระราชบัญญัติ บอกปี พ.ศ. ที่พิมพ์เผยแพร่ มีระหัสสากล ISBNรหัสห้องสมุด • มีบรรณาธิการตรวจสอบความถูกต้องด้านวิชาการและอักขระ ประเสริฐ ทองเจริญ 2548
ปัญหาของตำราที่ทำให้ขาดคุณภาพปัญหาของตำราที่ทำให้ขาดคุณภาพ • ไม่ทันสมัย ไม่ตรงหลักสูตร ไม่มีนวัตกรรม • แปลมาเกือบทั้งหมด ไม่ได้แสดงความเป็นเลิศทางวิชาการ • เรียบเรียงไม่ชัดเจน ขาดความต่อเนื่อง นำไปประยุกต์ใช้ไม่ได้ • เนื้อหาคลาดเคลื่อน ไม่ตรงตามวิชาการ อ้างอิงเอกสารเก่ามาก • ใช้ภาษาพูด • ตำราภาษาไทยแต่ใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษมากเกินจำเป็น • ลอกเลียนผลงานผู้อื่น ประเสริฐ ทองเจริญ 2548
การเตรียมตัวก่อนทำตำราการเตรียมตัวก่อนทำตำรา • เขียนเรื่องอะไร • เขียนเพื่อใคร ระดับความรู้ของผู้อ่าน • เขียนเชิงกว้าง หรือเชิงลึก • เขียนคนเดียว หรือหลายคน • แก่น สาระ ของตำรา เป็นอย่างไร • เค้าโครงของตำรา เป็นอย่างไร • จะเสร็จเมื่อใด • จัดสรรเวลา
Title (ชื่อเรื่อง) Dedication (คำอุทิศ) Content (สารบัญ) Foreword (2nd, 1st) คำนิยม Preface(2nd, 1st) (คำนำ) Acknowledgement (กิตติกรรมประกาศ) Contributors (ผู้ร่วมนิพนธ์) Introduction Content Appendix (ภาคผนวก) Glossary(อภิธาน) Bibliography การเรียงลำดับในตำรา
ชื่อ • กระชับ • มีความเฉพาะเจาะจง • สื่อความหมายได้ • Subtitle ใช้ขยายความ
หน้าปกใน • เป็นส่วนที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือ • บรรณารักษ์ใช้ทำบัตรรายการ • สำนักพิมพ์, โรงพิมพ์ • ระหัสสากล ISBN • ลิขสิทธิ์
คำนิยม • ผู้อื่นเขียนให้ • เป็นผู้ที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักของคนในวงการนั้น ๆ • แนะนำ ยกย่องหนังสือ • แนะนำผู้เขียน • ชวนให้สนใจ
คำนำ • เขียนแสดงวัตถุประสงค์ แรงจูงใจให้ทำตำรา • กล่าวขอบคุณผู้มีส่วนช่วยเหลือในการทำตำรา
เนื้อหา • วางโครงร่าง วัตถุประสงค์ • เขียนให้อ่านเข้าใจ ตามกลุ่มเป้าหมาย • ลองให้คนอื่นอ่านดู • อย่าเขียนแล้วหยุดเป็นช่วงๆ หากบทยาวแบ่งออกเป็นบทย่อย • ลำดับในแต่ละบทเป็นไปในแนวเดียวกัน • ภาษาที่ใช้ อิงตามราชบัณฑิตยสถาน หรือเป็นศัพท์ที่ใช้กันแพร่หลายเข้าใจและยอมรับกันโดยทั่วไป ไม่กำกวม • การทับศัพท์ ใช้เมื่อจำเป็น
เนื้อหา • แนวทางการเรียบเรียง • แบ่งเป็นตอน • รวมเป็นบท • สาระสำคัญ(Key points) • หัวข้อ (Heading), หัวข้อย่อย(Sub-heading) ทองดี ชัยพานิช 2548
เนื้อหา • ถูกต้อง • ทันสมัย • สมเหตุสมผล • ไม่ขัดแย้งกันเอง
การแบ่งหัวข้อย่อย • ใช้หมายเลข เช่น 1,2 1.1 1.2 1.2.1 • ใช้หัวข้อย่อยเป็นอักษรช่วยหากหัวข้อมากเกินไป เช่น ก.,ข. หรือใช้ bullet
รูปแบบหน้ากระดาษ • หากหนังสือเล่มขนาดมาตรฐาน ควรใช้แบบคอลัมน์ จะน่าอ่าน และวางรูปได้ง่าย • หากหนังสือเล่มเล็ก การทำคอลัมน์จะดูไม่น่าอ่าน • เลือก fontที่อ่านง่าย อย่ามีลวดลาย • มีพื้นที่สีขาวไว้พักสายตา
ใช้รูปภาพ ตาราง กราฟิก ช่วย • สามารถทดแทนเนื้อหาได้ • อย่าลอกคนอื่น • ตารางอย่าให้มีเส้นขวาง • กราฟเลือกให้เหมาะสม • คำย่อ, เครื่องหมาย ต้องอธิบาย
ใช้รูปภาพ ตาราง กราฟิก ช่วย • อย่าลอกคนอื่น • อย่าเอาภาพเล็กมาขยาย • ภาพถ่าย บอกเทคนิคการถ่าย กำลังขยาย • ภาพถ่ายอัดกระดาษ, slide, electronic images, ภาพวาด • ไม่ดัดแปลงหรือแก้ไขโดยตรงในรูปต้นแบบ • ฉลาก หรือคำอธิบายทำในสำเนารูป • ใช้ professional drawing
เอกสารอ้างอิง • อ้างอิงตามแบบสากล Vancouver style • Classical papers • Recent papers • Established texts • Thai author's work • Your own work