370 likes | 652 Views
สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา ยินดีต้อนรับ เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน “นครชัยบุรินทร์”. นครชัยบุรินทร์. สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา. ที่ตั้ง ถ.ราชสีมา-โชคชัย ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
E N D
สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมายินดีต้อนรับเครือข่ายสุขภาพภาคประชาชน“นครชัยบุรินทร์”
สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา • ที่ตั้ง ถ.ราชสีมา-โชคชัย ต.หนองบัวศาลา อ.เมือง จ.นครราชสีมา รหัสไปรณีย์ ๓๐๐๐๐ โทร.๐๔๔ ๒๑๒๑๗๙ โทรสาร.๐๔๔ ๒๑๒๖๙๒ เวบไซต์. http:// medi.moph.go.th/center4/ ประวัติการก่อตั้ง • พ.ศ. ๒๕๑๐ หน่วยยานพาหนะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข • พ.ศ. ๒๕๑๘ ศูนย์ช่างบำรุงเขต นครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • พ.ศ. ๒๕๓๒ ศูนย์ช่างบำรุงที่ ๕ นครราชสีมา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข • พ.ศ. ๒๕๔๕ ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ ๔ (นครราชสีมา) กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ • พ.ศ. ๒๕๕๖ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต ๙ นครราชสีมา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรหลักด้านบริการสุขภาพ และระบบสุขภาพภาคประชาชน
อำนาจหน้าที่ ๑. ควบคุม กำกับ รับรอง มาตรฐาน และการบังคับใช้กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ ๒. ส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถของภาคีเครือข่ายสุขภาพและประชาชน ๓. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ประเมิน และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพ ๔. สนับสนุนเครือข่ายบริการสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ
พื้นที่รับผิดชอบ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา มีพื้นที่รับผิดชอบ ๔ จังหวัด ได้แก่ นคร จังหวัดนครราชสีมา ชัย จังหวัดชัยภูมิ บุ จังหวัดบุรีรัมย์ รินทร์ จังหวัดสุรินทร์
โครงสร้างสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา ผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านบริหาร ๒.กลุ่ยุทธศาสตร์ 1.ขับเคลื่อนนโยบายยุทธศาสตร์การดำเนินงานของกรมและประสานกับเขตบริการสุขภาพ 2.จัดทำแผนปฏิบัติราชการและคำของบประมาณประจำปี 3.ควบคุม กำกับและประเมินผลการปฏิบัติงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน 4.นิเทศงานการคุ้มครองผู้บริโภคด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน 5.ศึกษา พัฒนาองค์ความรู้และวิจัยด้านระบบบริการสุขภาพและระบบสุขภาพภาคประชาชน 6.สนับสนุนนโยบายพิเศษ เช่น โครงการพัฒนาสุขศาลาพระราชทานฯ ๗. ควบคุม กำกับ ตรวจสอบ การดำเนินการจัดทำตัวชี้วัดระดับสำนักงานฯ ระดับรายบุคคล ตรวจสอบการรายงานผลการปฏิบัติราชการประจำเดือน ประจำไตรมาสและประจำปี ตรวจสอบการจัดเก็บข้อมูลสถิติ ในระบบ I-dbase และระบบ Smart ในกิจกรรมที่รับมอบหมายให้แล้วเสร็จตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ ๘. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ๓.กลุ่มสุขภาพภาคประชาชน 1.พัฒนาศักยภาพและส่งเสริมบทบาท อสม.ตามหลักการสาธารณสุขมูลฐาน 2.กำกับติดตามและประเมินผลการพัฒนาศักยภาพ อสม. 3.ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามระเบียบ อสม. 4.ส่งเสริมสนับสนุนองค์กร อสม.และภาคีเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน 5.พัฒนารูปแบบและขยายผลการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน 6.สนับสนุนและติดตามกำกับการดำเนินงานขององค์กรภาคเอกชนสาธารณประโยชน์ (NGO) ในการจัดการระบบสุขภาพภาคประชาชน 7.เสริมสร้างแรงจูงใจ อสม. 8.สนับสนุนและติดตามนิเทศงานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ๙. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ๔.กลุ่มวิศวกรรม การแพทย์ 1.ตรวจสอบและควบคุมกำกับการให้บริการเครื่องมือแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงให้เป็นไปตามมาตรฐาน 2.ส่งเสริมการจัดระบบด้านวิศวกรรมการแพทย์ 3.ตรวจสอบการสอบเทียบและบำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ 4.ส่งเสริมการตรวจระบบวิศวกรรมความปลอดภัยในสถานบริการสุขภาพ 5.ตรวจสอบและควบคุมการมีการใช้ระบบการสื่อสารในสถานบริการสุขภาพ ๖. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ๕.กลุ่มอาคาร และสิ่งแวดล้อม 1.วางแผนและพัฒนาแผนแม่บทด้านอาคารและสภาพแวดล้อม 2.ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านอาคารและสภาพแวดล้อมสาธารณสุข 3.ควบคุมกำกับมาตรฐานด้านอาคารและสภาพแวดล้อม 4.ตรวจสอบรับรองมาตรฐานด้านอาคารและสภาพแวดล้อมสาธารณสุข 5.ส่งเสริมมาตรฐานด้านอาคารและสภาพแวดล้อม ๖. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย ๖.กลุ่มคุณภาพ มาตรฐานการบริการ 1.ควบคุม กำกับและพัฒนาศักยภาพการรับรองคุณภาพมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ สถานพยาบาล และสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ 2.ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายตามพรบ.การประกอบโรคศิลปะ และ พรบ.สถานพยาบาล 3.ส่งเสริม ควบคุม กำกับ มาตรฐาน และการบังคับใช้กฎ ระเบียบ มาตรการด้านสุขศึกษา ๔. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย 1.กลุ่มบริหาร (งานธุรการ งานสารบรรณ งานพัสดุ ครุภัณฑ์และอาคารสถานที่) ๒.ดำเนินงานด้านการเงิน งบประมาณและการบัญชี ๓.บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4.ให้บริการข้อมูลและประชาสัมพันธ์ 5.บริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล 6.ดำเนินงานด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และการบริหารจัดการข้อร้องเรียน ๗. งานอื่นๆตามที่ผู้บังคับบัญชามอบหมาย
โครงสร้างอัตรากำลัง สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา • ผู้อำนวยการ • นายนัตถะวุฒิ ภิรมย์ไทย อัตรากำลัง ๔๕ อัตรา ๑. ข้าราชการ ๓๐อัตรา ๒. พนักงานราชการ - อัตรา ๓. ลูกจ้างประจำ ๑๓ อัตรา ๔. จ้างเหมาบริการ ๒ อัตรา • ผช.ผอ. ด้านบริหาร • นายสมมารถ ชัยวงษ์ • กลุ่มบริหาร • (หัวหน้ากลุ่ม) • นางสุพิชญ์ชา แสงโชติ • กลุ่มยุทธศาสตร์ • (หัวหน้ากลุ่ม) • นายสมมารถ ชัยวงษ์ • กลุ่มสุขภาพภาคประชาชน • (หัวหน้ากลุ่ม) • ดร.สมภพ อาจชนะศึก • กลุ่มวิศวกรรมการแพทย์ • (หัวหน้ากลุ่ม) • นายสมนึก ขมิ้นเขียว • กลุ่มอาคารและสิ่งแวดล้อม • (หัวหน้ากลุ่ม) • นายสมนึก โลหณุต • กลุ่มคุณภาพมาตรฐานการบริการ • (หัวหน้ากลุ่ม) • นางสาวบุษกร คชวงษ์ • ๑. นางนภัสรัตม์ สินปรุ • ๒. นายนิวัติ ปลื้มใจ • ๓. นางศศิธร สุขมาก • ๔. นางคัทริญา วงษ์จิ • ๕. นายสำราญ โกบโคกกรวด • ๖. นายสมัคร ขอนโพธิ์ • ๗. นายบุญเหลือ มาสี • ๘. นส.ชลธชา พลีสิงห์ ( จม ) • ๙..นส.ธันญา กิ่งพุดซา ( จม ) • ๑. นายศิวเรศวร์ ดลประสิทธิ์ • ๒. นายสรสิน วันทาเขียว • ๑. นายฐณะวัฒน์ ภูมิเจริญวัฒน์ • ๒. นายถวิล เลิกชัยภูมิ • ( หน.งานส่งเสริม ) • ๑.นายสมศักดิ์ ศรีสุวรรณ • ( หน.งานพัฒนาฯ ) • ๒.นายชูชาติ ทองสุข • ๓.นายสุรินทร์ นาคสิทธ์ • ๔. นายศราวุธ สุขมาก • ๕. นายสมาน ตรงด่านกลาง • ๖. นายเฉลิมพงษ์ ยิ่งรุ่งโรจน์ • ๗. นายศรายุทธ สุดใจ • ๘. นายพิชิต นาครินทร์ชาติ • ๙. นายอภิชาต สีดามาตย์ • ๑๐. นายเทียน อินทร์จอหอ • ๑๑. นายอนุชา ถวิลรักษ์ • ๑๒. นายอัมพรศักดิ์ แยกโคกสูง • ๑๓. นายประชุม ยิ้มพุดซา • ๑๔. นายศักดิ์สิทธิ์ สุรินทร์ต๊ะ • ๑๕. นายกฤษณะ วงษ์แก้วฟ้า • ๑. นายวินัย ประดับค่าย • ๒.นายวิชิต สุริยะเอก • ๓. นายเทียนชัย ศรีนุ่น • ๔. นายรัญชา วิริยะกุล • ๕. นายอดิศร ผ่องเกษม • ๖. นายศิริวัฒน์ ขาวผ่อง • ๗. จอ.โสภณ เทียมสอน • ๘. นายนิติพงษ์กัลหะ • ๑. นางสาวณัฐขมธร สำราญจิต • ๒. นางสาวทิวาพร กลมกล่อม
แนวทางพัฒนาระบบสุขภาพ ๒๕๕๗เขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ ๙ นครชัยบุรินทร์ นพ.นิทัศน์ รายยวา ๓ธันวาคม ๒๕๕๖
เป้าหมาย • ประชาชน ๖.๖๕ ล้านคน มีอายุยืนยาวอยู่อย่างมีความสุข WE CAN DO
W. = Working วัยแรงงาน • มีงานทำไม่โดดเดี่ยวในสังคม สนุกกับการออกกำลังกาย • ลด ละ เลิก อบายมุข เหล้าบุหรี่ ยาเสพติด • ลดเครียดอารมณ์ดี • ปัจจัย ๔อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค สมบูรณ์ถ้วนหน้า • Health - Check
E. = Educational วัยรุ่นวัยเรียน • มีสังคมแห่งการเรียนรู้ ช่วยตลอดเวลา • มีโอกาสเรียนตามที่ชอบเพื่อมีงานทำในสังคมที่อบอุ่น • ลด ละ เลิก อบายมุข • ลดอ้วน ลดท้องก่อนวัยอันควร • ออกกำลังกายเป็นชีวิตจิตใจ
C. = Child เด็ก ๐-๕ ปี • มีพลานามัยดี สมองเลิศ จิตใจเยี่ยม • Vaccine ตามวัยเต็มร้อย • พัฒนาการครบถ้วน กระตุ้นอย่างเป็นระบบ • ศูนย์เด็กเล็กคุณภาพกระจายทั่วถึงทุกคนได้เข้าเรียนรู้ • อาหารเสริมครบ ๕ หมู่
A. = ANC & MCH หญิงตั้งครรภ์ • ทุกคนได้รับการดูแลเต็มที่ • อาหารเสริม บริการตรวจเฝ้าระวัง การคลอดที่มีคุณภาพ • อารมณ์ ความเป็นแม่สมบูรณ์แบบ • เด็กได้รับวัคซีน กินนมแม่ ดูแลใกล้ชิด ที่ปรึกษาออนไลน์ อุปกรณ์ • เครื่องใช้เด็กอ่อนครบครัน
N. = NCD โรคเรื้อรัง • ดูแลครบวงจร • เบาหวาน • ความดันโลหิตสูง • โรคตาและสายตา • ผู้ป่วยจิตเวช
D. = Disability ผู้พิการ • ได้รับการพัฒนาเพื่อช่วยตนเองได้ • ผู้ที่ติดเตียง ได้รับการดูแลถึงบ้าน สอนญาติช่วยดูแลแบบประคองอย่างมีความสุข (Palliative Care) ในระยะสุดท้าย • ผู้ที่มีศักยภาพพัฒนาจะได้รับเครื่องช่วยเหลือประจำตัว • สนับสนุนให้ผู้พิการมีกิจกรรมเลี้ยงชีพ ตลอดจนจัดกลุ่มดูแลกันอย่างทั่วถึง
O. = Old ageผู้สูงอายุ • ได้รับการดูแลและอยู่ในสังคมแบบมีเกียรติ มีกิจกรรมเพื่อสังคมที่น่ายกย่อง • กรณีพิการหรือมีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว หรือติดเตียงระยะสุดท้ายจะได้รับการดูแล เช่น ผู้พิการอย่างสมบูรณ์
การเชื่อมโยงเครือข่ายจากบ้าน (แพทย์ นสค. และ อสม.) ครอบครัว/ประชาชน ... 1 อสม ... ... นสค. ... 1,250 20 1 25 2 1 แพทย์ ... 1 ... ... ... ... 25 1,250 20 2 1 ... 1 14 ... ... ... 25 1,250 20 2 1
แนวทางการพัฒนาระบบปฐมภูมิคุณภาพ เขตบริการสุขภาพที่ ๙ กล้าตัดสินใจ กองทุนสุขภาพ พัฒนา พท.ครบวงจร เจ้าภาพร่วมปัญหาสุขภาพ กล้ารับผิดชอบ สร้างสุขภาพ (จัดการสุขภาพ) SRM หุ้นส่วน กล้าเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำ มิตร อสม. ประสานงาน ที่พัก รักษาเบื้องต้น (NP) ตำแหน่ง กำลังใจ ๕ทักษะ นสค ค่าตอบแทน ๕๕๐๐คน Counseller เปลี่ยนพฤติกรรม ญาติประชาชน ๑:๑,๒๕๐ แนะนำ ๓ตัวช่วย -มอเตอร์ไซค์ -Notebook -โทรศัพท์ ระบาดวิทยา (SRRT) ดูแล แพทย์ที่ปรึกษา ๑๒:๑ รักษา ส่งต่อ
แนวทางการพัฒนางานสุขภาพภาคประชาชนแนวทางการพัฒนางานสุขภาพภาคประชาชน ของ สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพ เขต ๙ จังหวัดนครราชสีมา ปี ๒๕๕๗
พี่เลี้ยง อสม (๘๘ คน) นสค. ๕,๕๐๐คน ชมรม อสม. อสม.นักจัดการ ๕,๐๑๖คน อสม.เชี่ยวชาญ ๒๔,๘๖๑คน หลักสูตรนักจัดการ (SRM) • แผนงาน/โครงการ • ปัญหาสุขภาพ • สร้างสุขภาพ • ดำเนินการ • แก้ปัญหาสุขภาพ - สร้างสุขภาพ ฟื้นความรู้ WE CAN DO WE CAN DO วัยทำงาน 20-60 ปี วัยเรียน 6-14 ปี วัยรุ่น 15-20 ปี เด็ก 0-5 ปี โรคไม่ติดต่อ เรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป
อสม. นักจัดการสุขภาพ การจัดทำแผนแก้ปัญหาสุขภาพในชุมชน หลักการ 1) ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ชาวบ้านเป็นเจ้าของ ทำการพัฒนาให้ เป็นไปตามความต้องการของชุมชนมากกว่าการตอบสนองวัตถุประสงค์ของ หน่วยงานสนับสนุนภายนอก 2) รวมพลังทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชนและ ภาคีการพัฒนาอื่นๆ สนับสนุนกระบวนทัศน์และการบริหารการพัฒนารูปแบบใหม่ 3) การบูรณาการกระบวนการ บุคลากร แผนงาน และงบประมาณของหน่วยงาน สนับสนุน มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาแบบองค์รวม โดยมีกลุ่มคนเป้าหมายและพื้นที่ เป้าหมายที่ชัดเจน
กระบวนการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วม ควรมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้ 1. การเตรียมวิทยากรพี่เลี้ยง 2. การเตรียมชุมชนในการจัดทำแผนชุมชน 3. การประเมินศักยภาพของชุมชน 4. การกำหนดวิสัยทัศน์ แนวทางและจุดมุ่งหมาย ในการพัฒนาชุมชน 5. การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน 6. การกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรมการพัฒนา ชุมชน 7. การเปิดเวทีประชาพิจารณ์แผนชุมชน
1. การเตรียมวิทยากรพี่เลี้ยง วัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมวิทยากร และจัดทำแผนการดำเนินงาน เพื่อให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จ แนวทางดำเนินงาน ค้นหาบุคคลที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมาย ออกแบบการเปิดเวทีในแต่ละขั้นตอน ด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอน กระบวนการและเทคนิคที่ใช้ รวมทั้งวิทยากรหลัก และวิทยากรผู้ช่วย ซักซ้อมแนวคิด กระบวนการ เทคนิค วิธีการ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญ สำหรับวิทยากร เตรียมประเด็นการพูดคุยในเวที เช่น ข้อมูลสภาพของพื้นที่ของชุมชน อาณาเขตของชุมชน ประชากรและครัวเรือน การประกอบอาชีพ รวมทั้ง ประเด็นปัญหาที่สำคัญๆ ของชุมชนนั้นๆ เตรียมพื้นที่
2. การเตรียมชุมชนในการจัดทำแผนชุมชน วัตถุประสงค์ เป็นการเตรียมความพร้อมให้กับประชาชน กลุ่มแกนนำชุมชน องค์กรชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ ให้มีความเข้าใจในแนวความคิด และกระบวนการจัดทำแผนชุมชน บทบาทความรับผิดชอบของฝ่ายต่างๆ ตลอดจนการสร้างความผูกพันและการค้นหาบุคคลที่อาสามาเป็นกลุ่มแกนในการดำเนินงาน แนวทางดำเนินงาน จัดเวทีชี้แจงให้ประชาชน กลุ่มแกนนำชุมชน องค์กรชุมชน และองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นมีความเข้าใจแนวความคิดที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของทุกฝ่าย และมีการกระทำร่วมกัน ค้นหา กำหนดตัวบุคคล กลุ่มอาสาสมัครที่จะเป็นผู้นำหรือแกนในการผลักดัน ดำเนินการต่าง ๆ ตามกระบวนการจัดทำแผนชุมชนแบบมีส่วนร่วมของภาคี การพัฒนาต่างๆ โดยเน้นความสมัครใจและให้ชุมชนเป็นผู้เสนอแนะ การจัดเวทีทำได้ทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ควรให้เวลากับชุมชนในการทำความเข้าใจ ดังนั้นการจัดเวทีทำความเข้าใจ และกระตุ้นสำนึกของชุมชน จึงมักจะต้องทำหลายครั้ง และหลายรูปแบบตามที่มี โอกาส
3. การประเมินศักยภาพของชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินศักยภาพในการพัฒนาของชุมชน (หมู่บ้าน ตำบล) ในแง่ของ โอกาส ภัยคุกคาม จุดแข็งและข้อจำกัดในการพัฒนาของชุมชน เพื่อที่จะกำหนดปัญหาสำคัญของชุมชนทางเลือกการพัฒนาของชุมชน รวมทั้งทุนทางสังคม วัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมของชุมชน แนวทางดำเนินงาน จัดเวทีชี้แจงให้ประชาชนกลุ่มแกนนำชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่น มีความเข้าใจในการประเมินศักยภาพของชุมชน กำหนดแนวทางและขั้นตอนในการดำเนินงานและทำความเข้าใจร่วมกับผู้ที่ เกี่ยวข้องทุกฝ่าย กำหนดประเด็นของข้อมูลที่จะทำการศึกษา รวบรวมข้อมูลตามประเด็นที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาแยกแยะและหาความสัมพันธ์ในมิติต่างๆ ข้อมูลในเชิงศักยภาพของการพัฒนาและแนวโน้มของสภาพแวดล้อมต่างๆ ประชาชน กลุ่มแกนนำ องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีความเข้าใจสภาพที่แท้จริงของชุมชนทั้งในแง่ปัญหา ข้อจำกัด และศักยภาพ ประชาชน องค์กรชุมชนและกลุ่มแกนนำต่างๆ เกิดความตระหนักและสำนึกร่วม ในการที่จะช่วยแก้ปัญหาของชุมชนและมีความเชื่อมั่นในศักยภาพที่ชุมชนมีอยู่ เป็นการเริ่มกระตุ้นให้ประชาชน กลุ่มองค์กรชุมชน และที่เกี่ยวข้องต่างๆ ได้คิดถึงชุมชน
4. การกำหนดวิสัยทัศน์แนวทางและจุดมุ่งหมายในการพัฒนาชุมชน วัตถุประสงค์ เป็นการระดมพลัง ความผูกพัน ความเอื้ออาทร และความรักที่ประชาชนและครอบครัวมีต่อกันและกัน และต่อพื้นที่ชุมชน หมู่บ้าน ตำบล มาสร้าง กำหนดความมุ่งหวังในการพัฒนาของชุมชน แนวทางดำเนินงาน โดยการจัดเวทีนำผลการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนและปัญหา เพื่อให้ช่วยกันกำหนดเป็น วิสัยทัศน์การพัฒนาชุมชน แนวทางในการพัฒนาของแต่ละชุมชน จุดมุ่งหมายในการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ชุมชนมีวิสัยทัศน์การพัฒนา โดยมีกรอบแนวทาง และจุดมุ่งหมายการ พัฒนาที่ชัดเจนของชุมชน ที่ให้ทุกฝ่ายยึดมั่นร่วมกัน ประชาชน องค์กรชุมชน กลุ่มแกนนำ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มีจุดมุ่งหมายการพัฒนาของชุมชน ร่วมกัน
5. การกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้การพัฒนาของชุมชนเป็นไปตามวิสัยทัศน์ และบรรลุตาม จุดมุ่งหมายของการพัฒนา ชุมชนจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสม กับศักยภาพ ขีดความสามารถ และความพร้อมของชุมชน โดยกลยุทธการพัฒนา จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างวิสัยทัศน์ และจุดมุ่งหมายการพัฒนากับการกำหนดกิจกรรม การพัฒนา ในแง่ของการกำหนดขอบเขตและลักษณะของการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของการพัฒนา แนวทางดำเนินงาน ระดมความคิดเห็นมีแนวทางการดำเนินงานอย่างไรบ้างที่จะนำไปสู่ การบรรลุวิสัยทัศน์ และจุดหมายการพัฒนาชุมชน โดยพิจารณาความเป็นไปได้ของ ทางเลือกต่อไปนี้ มีแนวทางใดบ้างที่ชุมชนสามารถดำเนินการเองได้ตามศักยภาพที่ชุมชนมีอยู่ มีแนวทางใดบ้างที่มีปัจจัยหรือการสนับสนุนจากภายนอกเอื้ออำนวยและสนับสนุน ให้ชุมชนทำได้ตามศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่ มีแนวทางใดบ้างที่ชุมชนจะต้องการดำเนินการ แต่ชุมชนยังไม่พร้อม หรือมีข้อจำกัด จะมีทางเสริมความพร้อมหรือลดข้อจำกัดของชุมชนได้หรือไม่ และต้องทำไร
6. การกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรมการพัฒนาชุมชน วัตถุประสงค์ เป็นการร่วมกันกำหนดแผนงาน โครงการ กิจกรรมที่เหมาะสม เป็นไปได้และสอดคล้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและกลยุทธ์ที่วางไว้ เพื่อสานต่อ เสริมสร้าง สิ่งที่ชุมชนทำได้ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น หรือเพื่อบรรเทาข้อจำกัด และแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ของชุมชน แนวทางดำเนินงาน ตรวจสอบว่ามีกิจกรรม โครงการอะไรบ้างที่คน ครอบครัวและองค์กรชุมชนทำอยู่ และเป็นประโยชน์ พิจารณากิจกรรม โครงการว่ามีเพียงพอที่จะแก้ไขปัญหาของชุมชน จุดมุ่งหมายของ การพัฒนาชุมชนหรือไม่ ยังมีกิจกรรม โครงการใดอีกหรือไม่ที่ควรทำ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยกิจกรรมที่จะทำเพิ่มเติมนั้นควรจะสอดคล้องกับ ศักยภาพของชุมชน หรือเป็นไปเพื่อมุ่งแก้ไขจุดอ่อนและข้อจำกัดในการพัฒนาชุมชน แยกกิจกรรมออกเป็นสามกลุ่ม คือ 1) กิจกรรมที่ครอบครัว กลุ่มองค์กรในชุมชน สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง กำหนดเป็นกิจกรรมที่ชุมชนทำเอง 2) กิจกรรมที่ชุมชนไม่สามารถดำเนินการได้เอง แต่สามารถได้รับการสนับสนุนจาก อบต.กำหนดขอรับการสนับสนุนจาก อบต. 3) กิจกรรมที่ชุมชน และ อบต. ไม่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ทั้งหมด หรือบางส่วน หรือกำหนดเสนอขอรับการสนับสนุนทรัพยากรจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรเอกชน พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของกิจกรรมให้ชัดเจน
7. การจัดเวทีประชาพิจารณ์แผนชุมชน วัตถุประสงค์ เพื่อให้ประชาชนทั้งชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ภาครัฐ ได้มาร่วมกันพิจารณาความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของการ นำไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งให้ความเห็นชอบ และร่วมมือกันส่งเสริมสนับสนุน แผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมในแผนชุมชน แนวทางดำเนินงาน เปิดเวทีเพื่อให้ชุมชน และหน่วยงานสนับสนุนที่ไม่ได้มาร่วมเวทีจัดทำ แผนชุมชนตั้งแต่ต้น ได้มาร่วมในการแสดงความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ หรือเพิ่มเติมข้อมูลต่างๆเพื่อให้แผนชุมชนที่ได้จัดทำขึ้นเป็นแผนชุมชน ที่สมบูรณ์ และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย และนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง
อสม. เชี่ยวชาญ หลักสูตร WE CAN DO