310 likes | 611 Views
สำนักงาน คุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส กระทรวง ยุติธรรม 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000 นายฮา ซัน สะ แลแม รหัส 5220710096 นาย ฮัม ดี หะยี ซำซู ดิน รหัส 5220710193. ประวัติความเป็นมา
E N D
สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสกระทรวงยุติธรรมสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสกระทรวงยุติธรรม 156 ถนนสุริยะประดิษฐ์ ตำบลบางนาค อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส 96000 นายฮาซัน สะแลแม รหัส 5220710096 นายฮัมดี หะยีซำซูดิน รหัส 5220710193
ประวัติความเป็นมา ประเทศไทยเริ่มมีการนำระบบคุมประพฤติมาใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2495 โดยมาใช้กับผู้กระทำผิดที่เป็นเด็กและเยาวชนก่อน ส่วนผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ใหญ่นั้น แม้ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2499 มาตรา 56, 57 และ58 จะได้บัญญัติถึงวิธีการเกี่ยวกับการคุมประพฤติไว้ แต่อย่างไรก็ตามศาลคงใช้มาตรการรอการกำหนดโทษ หรือรอการลงโทษเพียงอย่างเดียวโดยไม่ใช้วิธีการคุมความประพฤติ เนื่องจากยังไม่มีหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่จะรับผิดชอบ ดำเนินการตามคำพิพากษาของศาลได้ จนกระทั่งรัฐบาลได้ผ่านพระราชบัญญัติวิธีดำเนินการคุมความประพฤติตาม ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2522 และได้มีการจัดตั้งสำนักงานคุมประพฤติกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับกอง สังกัดสำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรม และได้เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2522 โดยดำเนินการในกรุงเทพมหานครก่อน จนปรากฏผลเป็นที่น่าพอใจ และเพื่อเป็นการให้โอกาสแก่ประชาชนในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ ให้ได้รับประโยชน์จากวิธีการคุมความประพฤติ จึงได้มีการเปิดดำเนินการสำนักงานคุมความประพฤติในส่วนภูมิภาคทั่วประเทศ
ต่อ เนื่องจากมีการขยายงานออกสู่ส่วนภูมิภาคมากขึ้น จึงให้สำนักงานคุมประพฤติกลางมีปริมาณงาน ขอบเขต อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อประสิทธิภาพและความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน สำนักงานคุมประพฤติกลางจึงได้รับการ ยกฐานะให้เป็น "กรมคุมประพฤติ" เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2535 และพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่ และกิจการบริหารบางส่วนของ สำนักงานส่งเสริมงานตุลาการ กระทรวงยุติธรรมไปเป็นของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม พ.ศ. 2535 ดัง นั้น วันที่ 15 มีนาคม ของทุกปี จึงถือเป็น "วันก่อตั้งกรมคุมประพฤติ"
วิสัยทัศน์ เป็นเลิศในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดในชุมชน เพื่อคืนคนดีสู่สังคม
พันธกิจ 1.ดำเนินการตามมาตรการคุมประพฤติและมาตรการอื่นๆในการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด ในชุมชน 2.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัด 3.สงเคราะห์ผู้กระทำผิดภายหลังพ้นการคุมประพฤติ พ้นการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด และภายหลังปล่อย 4.พัฒนาการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม และนำทรัพยากรชุมชนมาร่วนดำเนินการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิด
ต่อ 5.ส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ 6.ศึกษาวิจัย และพัฒนาระบบงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งกฎหมายและ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 7.พัฒนาโครงสร้าง การบริหารจัดการ และทรัพยากรบุคคล
กลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการคุมความประพฤติผู้กระทำผิดกลุ่มงานที่เกี่ยวข้องกับการคุมความประพฤติผู้กระทำผิด 1.การสืบเสาะและพินิจ การสืบเสาะและพินิจ หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริง ประวัติภูมิหลังทางสังคม และรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ของจำเลย ก่อนศาลพิจารณาพิพากษาคดี โดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้ดำเนินการตามคำสั่งศาล แล้วนำข้อเท็จจริงมาวิเคราะห์ ประเมินและทำรายงานพร้อมทั้งความเห็นเสนอต่อศาล เพื่อใช้ประกอบดุลยพินิจในการพิจารณาพิพากษาคดีว่าจะใช้มาตรการใดจึงจะเหมาะสมต่อจำเลย
วัตถุประสงค์ของการสืบเสาะและพินิจผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติวัตถุประสงค์ของการสืบเสาะและพินิจผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติ 1.เพื่อเสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเกี่ยวกับประวัติและภูมิหลังทางสังคมของจำเลยว่า จะ ใช้มาตรการใดจึงจะเหมาะสมต่อจำเลยเป็นรายบุคคล 2. เพื่อกลั่นกรองผู้กระทำความผิดที่เหมาะสมเข้าสู่กระบวนการคุมความประพฤติ โดยคำนึงถึงความปลอดภัยของสังคมและแนวโน้มในการแก้ไขปรับปรุงตนเองในชุมชนของผู้กระทำความผิดเป็นหลัก 3.เพื่อประโยชน์ในการวางแผนแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดในชุมชน
การสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุกการสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้กระทำความผิดในงานคุมประพฤติผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก การสืบเสาะข้อเท็จจริงผู้ได้รับการพักการลงโทษและลดวันต้องโทษจำคุก หมายถึง การแสวงหาข้อเท็จจริง ประวัติภูมิหลัง และรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ของนักโทษเด็ดขาดก่อนที่จะปล่อยคุมประพฤติตลอดจนความเหมาะสมของผู้อุปการะเกี่ยวกับความยินดีอุปการะนักโทษฯ รวมทั้งถิ่นที่อยู่ สภาพแวดล้อมบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยพนักงานคุมประพฤติเป็นผู้นำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์ และจัดทำรายงานพร้อมความเห็นส่งเรือนจำหรือทัณฑสถานตามที่ขอความร่วมมือ เพื่อเสนอคณะกรรมการพิจารณาการพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุก พิจารณาก่อนที่จะมีการอนุมัตินักโทษเด็ดขาดให้ได้รับพักการลงโทษหรือลดวันต้องโทษจำคุกออกไปก่อนครบกำหนดโทษ โดยวิธีการคุมประพฤติ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำและทำให้สังคมมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
2.งานควบคุมและสอดส่อง งานควบคุมและสอดส่อง หมายถึง กระบวนการติดตาม ควบคุม ดูแล และช่วยเหลือผู้กระทำผิดที่อยู่ระหว่างการแก้ไขฟื้นฟูในชุมชนภายใต้เงื่อนไขการคุมความประพฤติ เพื่อช่วยให้ผู้กระทำผิดสามารถปรับตัวอยู่ในชุมชนได้อย่างปกติ ตลอดจนไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ
วัตถุประสงค์ของการควบคุมและสอดส่องวัตถุประสงค์ของการควบคุมและสอดส่อง 1.เพื่อแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำผิดตามสภาพปัญหาและความต้องการ 2.เพื่อช่วยเหลือผู้กระทำผิดให้สามารถดำเนินชีวิตและปรับตัวเข้ากับสังคมได้ โดยไม่หวนกลับไปกระทำผิดซ้ำ 3.เพื่อส่งเสริมสวัสดิภาพและความปลอดภัยของชุมชน
3. งานฟื้นฟู งานฟื้นฟู หมายถึง นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเจตคติและ/หรือพฤติกรรมของผู้กระทำผิดให้อยู่ในบรรทัดฐานของสังคมโดยพนักงานคุมประพฤติจะคอยดูแล สอดส่อง ช่วยเหลือด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งทางด้านจิตวิทยาและสังคมสงเคราะห์เป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน
4. งานกิจรรมชุมชน การทำงานบริการสังคม หรือการทำงานสาธารณประโยชน์ในความรับผิดชอบของกรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม หมายถึง การที่ศาลหรือพนักงานคุมประพฤติกำหนดให้ผู้กระทำผิดในคดีอาญาต้องทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือผู้เสียหายโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนภายใต้ความยินยอมหรือคำร้องขอทำงานบริการสังคมของผู้กระทำผิด นอกจากนี้ คณะอนุกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดยังสามารถกำหนดให้การทำงานบริการสังคมเป็นวิธีการหนึ่งในระหว่างฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
วัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคมวัตถุประสงค์ของการทำงานบริการสังคม - เพื่อกระตุ้นให้ผู้กระทำผิดตระหนักถึงความรับผิดชอบ และมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่นและสังคมมากยิ่งขึ้น เกิดความภาคภูมิใจว่ายังมีคุณค่าและสังคมยอมรับว่าผู้กระทำผิดมีความสำนึกตัวและยังทำคุณประโยชน์ต่อสังคมผู้กระทำผิดได้พัฒนาตนเองในด้านความรู้ ทักษะ ความสนใจ ความมีวินัย ตลอดจนรู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ - เพื่อให้ผู้กระทำผิด ได้ชดเชยความเสียหายที่ก่อขึ้นด้วยการทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและสังคม -เป็นการนำมาตรการทางเลือกอื่นมาใช้แทนวิธีการลงโทษ จำคุก หรือโทษปรับโดยการจำกัดเสรีภาพ จำกัดเวลาพักผ่อนส่วนตัว และให้ทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ซึ่งถือเป็นวิธีตอบแทนการละเมิดกฎหมายวิธีหนึ่ง
ผู้ต้องหา/ผู้ถูกกล่าวหาผู้ต้องหา/ผู้ถูกกล่าวหา ตำรวจ อัยการ ศาล พิพากษา จำคุก จำคุก รอการลงโทษ คุมความประพฤติ กระบวนการยุติธรรม
เงื่อนไข/ระยะเวลาของการคุมความประพฤติเงื่อนไข/ระยะเวลาของการคุมความประพฤติ ขึ้นอยู่กับคำสั่งของศาล
หัวข้อวิจัย:สถิติผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดหัวข้อวิจัย:สถิติผู้เข้ารับการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2550-2555 และแนวโน้มในปี พ.ศ.2556
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้คนในจังหวัดนราธิวาสเข้าไปเกี่ยวกับยาเสพติดสาเหตุและปัจจัยที่ทำให้คนในจังหวัดนราธิวาสเข้าไปเกี่ยวกับยาเสพติด -การละเลยต่อหลักการศาสนา -สภาพปัญหาทางเศรษฐกิจ -สภาพปัญหาเกี่ยวกับการศึกษา -สภาพความเป็นชายแดน -อื่นๆ
แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ครอบครัว -การอบรมสั่งสอน -การปลูกจิตสำนึก -การให้กำลังใจและเป็นที่ปรึกษา ชุมชน -การสร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี -ช่วยกันดูแลสอดส่อง
จำนวนผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในปี พ.ศ.2556? ผู้เข้ารับการฟื้นฟูฯในปี พ.ศ.2556จะมีจำนวนเพิ่มขึ้น -สภาพปัญหาเดิมๆที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้ -นโยบายของรัฐในการปราบปรามยาเสพติด
ภาคผนวก การสอบประวัติผู้ถูกคุมความประพฤติในงานสืบเสาะ
งานบริการสังคมของผู้ถูกคุมความประพฤติงานบริการสังคมของผู้ถูกคุมความประพฤติ
ค่ายภูมิปุตรา[งานกิจกรรม]ค่ายภูมิปุตรา[งานกิจกรรม]
กิจกรรมปฐมนิเทศผู้ถูกคุมความประพฤติกิจกรรมปฐมนิเทศผู้ถูกคุมความประพฤติ
พี่ๆเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาสพี่ๆเจ้าหน้าที่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนราธิวาส