360 likes | 540 Views
4. คำชี้แจง ประกอบคำขอ ปรับ โครงสร้างของ กองวิศวกรรม การแพทย์. 1. ความเป็นมา.
E N D
4. คำชี้แจงประกอบคำขอปรับโครงสร้างของกองวิศวกรรมการแพทย์
1. ความเป็นมา กองวิศวกรรมการแพทย์เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตามภารกิจและนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานระบบบริการสุขภาพและสาธารณสุข ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ โดยมีวิวัฒนาการจากการพัฒนางานเพื่อรองรับและสนองภารกิจงานสาธารณสุขอย่างต่อเนื่อง ดังนี้ • ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2496-2508) กองวิศวกรรมการแพทย์เกิดขึ้นจากแผนกยานพาหนะ กรมอนามัย เมื่อปี พ.ศ. 2496 เรียกชื่อว่า “แผนกยานพาหนะ” สังกัดกรมอนามัย มีหน้าที่ตรวจสอบและซ่อมบำรุงยานพาหนะของกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ • ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2509 – 2513) ปรับโครงสร้าง ยกฐานะแผนกยานพาหนะ เป็นหน่วยงานระดับกอง ใช้ชื่อว่า “กองยานพาหนะ” สังกัดกรมอนามัย มีหน่วยซ่อมบำรุงยานพาหนะเคลื่อนที่ ให้การสนับสนุนการซ่อมบำรุงยานพาหนะในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในปี 2510 ได้จัดตั้งหน่วยยานพาหนะขึ้นในภูมิภาค รวม 3 แห่ง คือ : หน่วยยานพาหนะ นครราชสีมา, ราชบุรี และ อุบลราชธานี • ระยะที่ 3 (2514 – 2518) กระทรวงสาธารณสุขได้ปรับปรุงโครงสร้างส่วนราชการ เพื่อรองรับภารกิจที่เปลี่ยนไปและเพิ่มมากขึ้น ในปี 2518 กองยานพาหนะได้ปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจ โดยเปลี่ยนชื่อเป็น “กองช่างบำรุง” และย้ายมาสังกัด สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมทั้งได้รับมอบหมายบทบาทและภารกิจเพิ่มขึ้นในด้านเทคนิคในโครงการรักษาพยาบาลทางวิทยุสื่อสาร กิจกรรมการซ่อมบำรุงเครื่องทำความเย็นในการเก็บรักษาเวชภัณฑ์วัคซีน จัดทำข่ายติดตั้งและซ่อมบำรุงรักษาวิทยุสื่อสารของโครงการฯ และเริ่มจัดทำโครงการนำร่องการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือทางการแพทย์
1. ความเป็นมา • ระยะที่ 4 (2519 – 2544) กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายขยายสถานบริการสุขภาพ ลงสู่ภูมิภาค กองช่างบำรุง ได้มีการปรับโครงสร้างภายในเพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจ พร้อมขยายหน่วยงานในภูมิภาค ศูนย์ช่างบำรุง 9 ศูนย์ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ประกอบด้วย ศูนย์ช่างบำรุงที่ 1 (ราชบุรี), ที่ 2 (ขอนแก่น), ที่ 3 (นครสวรรค์), ที่ 4 (นครราชสีมา), ที่ 5 (อุบลราชธานี), ที่ 6 (เชียงใหม่), ที่ 7 (สงขลา), ที่ 8 (ชลบุรี) และที่ 9 (สุราษฎร์ธานี) • ระยะที่ 5 (2545 – ปัจจุบัน) ได้มีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และ ”กองช่างบำรุง” ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “กองวิศวกรรมการแพทย์” เพื่อให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจที่เปลี่ยนไป โดยกองวิศวกรรมการแพทย์ย้ายสังกัดจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข มาสังกัด “กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ” ซึ่งเป็น กรมฯจัดตั้งใหม่ ตาม พ.ร.บ. ปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 โดยมีหน้าที่ ที่สำคัญทางด้านการดูแลความเป็นมาตรฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับสถานบริการสุขภาพ ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเป็นหน่วยงานภาครัฐเพียงแห่งเดียวที่เป็นวิชาชีพเฉพาะในการเข้าไปให้บริการ ทางด้านวิศวกรรมการแพทย์และสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุมทุกพื้นที่ และในปี พ.ศ. 2552 ราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 ซึ่งอำนาจหน้าที่กองวิศวกรรมการแพทย์ ได้มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบทบาท และภารกิจที่ปรับเปลี่ยนไปทางด้านการดูแลความเป็นมาตรฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ให้กับสถานบริการสุขภาพในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ • กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2545 • มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้ • ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบการจัดหา การมี การใช้ การบำรุงรักษา ครุภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข • ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบการรับรองและดำเนินการสอบเทียบมาตรฐานของครุภัณฑ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการสุขภาพ • กำหนดมาตรฐานและคุณลักษณะของครุภัณฑ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขรวมถึงครุภัณฑ์อื่นตามที่ ได้รับมอบหมาย • พัฒนาและจัดระบบวิศวกรรมการสื่อสารสำหรับระบบบริการสุขภาพของกรมฯ • ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
กฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 ฉ แห่งพราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2543 รัฐมนตรีว่ากระทรวงสาธารณสุขออกกฏกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ (เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกองวิศวกรรมการแพทย์) ข้อ 2 ให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ มีภารกิจเกี่ยวกับการสนับสนุนหน่วยบริการสุขภาพทุกระดับให้มีประสิทธิภาพในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาระบบบริหารจัดการ ระบบบริการสุขภาพ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ และระบบคุ้มครองประชาชนด้านบริการสุขภาพ รวมทั้งการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนและองค์กรภาคเอกชนเพื่อการบริหารสุขภาพ อันจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี สามารถพิทักษ์สิทธิและเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน โดยมีอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง (2) ส่งเสริม สนับสนุน และประสานการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (8) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนามาตรฐานครุภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข
กฏกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2552 ข้อ 9 กองวิศวกรรมการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1)ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนางานด้านวิศวกรรมการแพทย์ วิศวกรรมความปลอดภัย และ วิศวกรรมสื่อสารให้กับสถานบริการสุขภาพตามมาตรฐานวิชาชีพและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (2) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบการรับรองและดำเนินการสอบเทียบมาตรฐานของ ครุภัณฑ์ทางการแพทย์และการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการสุขภาพ (3) พัฒนา ส่งเสริม จัดระบบวิศวกรรมสื่อสาร สำหรับระบบบริการสุขภาพของประเทศ (4) พัฒนาบุคลากรของสถานบริการสุขภาพด้านวิศวกรรมการแพทย์ให้ได้มาตรฐาน (5) ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ผลิตและประเมินเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการแพทย์และ สาธารณสุข (6) ปฏิบัติงานร่วมหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
2. เหตุผลและความจำเป็น • การกระจายอำนาจทางการบริหาร รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ประสงค์ที่จะจัดให้หน่วยงานในสังกัดส่วนกลางที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาคขึ้นกับจังหวัดตามยุทธศาสตร์ของการบริหารราชการแบบบูรณาการ (CEO) โดยแบ่งเขตการบริหารราชการออกเป็น 19 กลุ่ม จังหวัด กระทรวงสาธารณสุขมีหน่วยงานกระจายอยู่ทั่วประเทศ มีทั้งราชการส่วนภูมิภาคและราชการบริหารส่วนกลางที่มีสำนักงานตั้งในส่วนภูมิภาค และในปัจจุบันด้านข้อมูลข่าวสารสนเทศมีความรวดเร็ว ช่วยในการตัดสินใจเลือกใช้บริการก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ พัฒนางาน พัฒนาวิชาการ พัฒนาคน เพิ่มประสิทธิภาพความเป็นธรรมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคไปพร้อม ๆ กัน
2. เหตุผลและความจำเป็น 2. นโยบายรัฐบาลด้านการคุ้มครองผู้บริโภค รัฐจัดให้มีระบบการพัฒนาและรับรองคุณภาพในโรงพยาบาล/สถานบริการสุขภาพทุกระดับอันเป็นการสนับสนุนแนวทางประกันสุขภาพดีถ้วนหน้า จึงกำหนดให้สถานบริการสาธารณสุขมีมาตรฐานในการให้บริการ สร้างความมั่นใจแก่ประชาชนและเกิดความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการ ดังนั้น สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานและผ่านการรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอก สถานบริการสุขภาพทุกแห่งจะต้องได้รับการตรวจสอบมาตรฐานและผ่านการรับรองคุณภาพจากองค์กรภายนอก โดยมีระบบงานที่เป็นมาตรฐานและมีระบบตรวจสอบตนเองที่น่าไว้วางใจ ตามแผนการพัฒนาและรับรองคุณภาพในโรงพยาบาล (Hospital Accreditation : HA) โดยเฉพาะมาตรฐานใน GEN 6.7 ได้ กำหนดให้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต้องมีมาตรฐานและพร้อมที่จะใช้งานได้ตลอดเวลา มีการกำหนดประเภทเครื่องมือ มีการตรวจสอบที่ถูกวิธี ตลอดจนจะต้องมีการสอบเทียบค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (Calibration) เพื่อป้องกันการผิดพลาดในการนำไปใช้กับคนไข้ (อาจเกิดวินิจฉัยโรคผิดพลาดได้) นอกจากนี้จะต้องตรวจความพร้อมของสถานบริการสุขภาพเพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งห้องทำงานและบริเวณพื้นที่โดยรวม ตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟท์ ระบบแก๊สทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันมีกองวิศวกรรมการแพทย์เข้าไปดูแลความเป็นมาตรฐานในการใช้เครื่องมือให้กับสถานบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขทั่วประเทศ และเป็นหน่วยงานวิชาชีพเฉพาะทาง ที่ไม่มีหน่วยงานภาครัฐแห่งใดเข้าไปให้บริการ แม้แต่เอกชนก็ไม่สามารถเข้าไปให้บริการได้ทั่วถึงครอบคลุมทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกล พื้นที่ภูเขา หรือ เกาะ
2. เหตุผลและความจำเป็น 3. การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มาในรูปแบบของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้อยู่ตามสถานบริการสุขภาพ ทำให้ระบบการพึ่งพาตนเองของสถานบริการสุขภาพในส่วนของการใช้ การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงไม่สามารถกระทำได้โดยลำพัง จนทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในแต่ละปี ทางด้านการดูแลเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และที่สำคัญงานด้านวิศวกรรมการแพทย์และสาธารณสุขเป็นวิชาชีพหนึ่งที่มีบทบาทอย่างมากในระบบต่าง ๆ ของสถานบริการสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันต้องใช้ทักษะและองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ครอบคลุมไปถึงกลไกทางด้านไฟฟ้าอิเลคทรอนิกส์ เครื่องกลและสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยผลักดันงานต่าง ๆ ของสถานบริการสุขภาพให้บริการถูกต้องตามมาตรฐานได้อย่างต่อเนื่อง โดยมีการบริหารจัดการเครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐาน โดยวิศวกรและช่างผู้ชำนาญการที่มีความรู้ ประสบการณ์และความสามารถเฉพาะด้าน เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้ แพทย์ พยาบาล ผู้ปฏิบัติ ตลอดจนประชาชนทั่วไป
2. เหตุผลและความจำเป็น 4. การปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่จากการสนับสนุนทางด้านปฏิบัติการเพียงอย่างเดียวมาเป็นการให้บริการวิชาการทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข อันได้แก่ การให้คำปรึกษา แนะนำ การสอน การฝึกอบรม ตลอดจนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในสาขาต่าง ๆ ที่ต้องผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ปรับปรุง ประยุกต์ เครื่องมือและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรมการแพทย์ เพื่อให้ได้มาตรฐาน วิธีการ กฎเกณฑ์ นำมาซึ่งประโยชน์และความปลอดภัยต่อผู้ป่วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติและประชาชน
3. กรอบการวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ ในปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายในการปฏิรูประบบราชการที่มุ่งเน้นการปรับบทบาทหน่วยงานภาครัฐจากผู้ปฏิบัติการบริการเป็นผู้ควบคุมกำกับ ตรวจสอบ ส่งเสริมสนับสนุน การปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานภาครัฐและการจัดสรรงบประมาณ และกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายในการปฏิรูประบบบริการสุขภาพที่มุ่งเน้นการให้บริการสุขภาพที่มีคุณภาพและมีมาตรฐาน รวมทั้งความต้องการของสังคมในงานบริการคือคุณภาพมาตรฐานและความพึงพอใจ และการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่รวดเร็วและทันสมัย โดยสามารถแยกเป็นประเด็นของปัจจัยแวดล้อมที่ต้องนำมาวิเคราะห์เพื่อประยุกต์ระบบงาน ประกอบด้วย ปัจจัยแวดล้อมภายนอก • ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานภาครัฐ • การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี • กระแสโลกาภิวัฒน์ ที่ปรับเปลี่ยน • การลดขนาดกำลังคนของภาครัฐ • การกระจายอำนาจทางการบริหาร • บทบาทของภาคเอกชน (เพิ่มขึ้น) • เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น
3. กรอบการวิเคราะห์ทิศทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ ปัจจัยแวดล้อมภายใน • นโยบาย/แผน/คำรับรองการปฏิบัติราชการ ของกระทรวงสาธารณสุขและของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ • การเพิ่มและขยายงานตามนโยบาย • บทบาทและความรับผิดชอบในปัจจุบัน • ปัญหาสาธารณสุขด้านต่าง ๆ
3. กรอบในการวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ นโยบายรัฐบาล -แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ -แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ -พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สธ กำลังคนภาครัฐ ปัจจัยแวดล้อมภายใน ปัจจัยแวดล้อมภายนอก วิสัยทัศน์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นโยบาย/แผน./คำรับรองการปฏิบัติราชการ กสธ.และกรม ส.บ.ส. ประสิทธิประสิทธิภาพและผลการบริหารงานภาครัฐ เป็นองค์กรหลักในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพและพัฒนาศักยภาพประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้ • การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี การเพิ่มและขยาย งานตามนโยบาย การลดขนาดกำลังคนภาครัฐ กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ปรับเปลี่ยน บทบาทและความ รับผิดชอบปัจจุบัน Mission/พันธกิจ เพื่อให้สอดคล้อง การกระจายอำนาจทางการบริหาร ประชาชนมีศักยภาพดูแลตนเอง ปัญหาสาธารณสุข ด้านต่างๆ การบริการมีประสิทธิภาพและ คุณภาพ สถานบริการ มีมาตรฐาน เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น สถานบริการสุขภาพมีมาตรฐาน ครุภัณฑ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข บทบาทของภาคเอกชน ภารกิจหลัก/ภารกิจรอง ที่สอดคล้องกับ Vision/Mission • - จัดทำมาตรฐาน / คู่มือ / แนวทางการปฏิบัติ • - รับรองและสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ • สำนักวิศวกรรมการแพทย์ • - จัดระบบด้านวิศวกรรม (บำรุงรักษาเครื่องมือแพทย์ / ความปลอดภัย / สื่อสาร) • ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 1-9 • - ตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล- ตรวจสอบบำรุงรักษาเครื่องมือทางการแพทย์และ • สาธารณสุข • - พัฒนาศักยภาพบุคลากร (อบรม / ถ่ายทอด) • - ติดตาม / กำกับ / ตรวจสอบ / ประเมินผล ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 1-9 สำนักวิศวกรรมการแพทย์
ข้อมูลกฎหมาย คำสั่ง ที่มีความจำเป็นและที่เกี่ยวข้องกับกองวิศวกรรมการแพทย์
ข้อมูลกฎหมาย คำสั่ง ที่มีความจำเป็นและที่เกี่ยวข้องกับกองวิศวกรรมการแพทย์
ข้อมูลกฎหมาย คำสั่ง ที่มีความจำเป็นและที่เกี่ยวข้องกับกองวิศวกรรมการแพทย์
ข้อมูลกฎหมาย คำสั่ง ที่มีความจำเป็นและที่เกี่ยวข้องกับกองวิศวกรรมการแพทย์
ตารางที่ 1 แสดงบทบาทหน้าที่เดิมและบทบาทหน้าที่ที่เปลี่ยนแปลงไป (เริ่มดำเนินการปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548)
ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดภารกิจและลักษณะงานของกองวิศวกรรมการแพทย์ในปัจจุบัน
จำนวนอัตรากำลัง (ปัจจุบัน) ของกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพณ วันที่ 1 ตุลาคม 2552 จำนวนอัตรากำลัง ข้าราชการ
4. ขอบเขตพื้นที่จังหวัดในความรับผิดชอบ ของกองวิศวกรรมการแพทย์และศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ 9 แห่ง
4. ผลที่ได้จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ 1. เกิดความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของสถานการณ์ กองวิศวกรรมการแพทย์ มีความจำเป็นที่จะต้อง ปรับเปลี่ยนเป็นสำนักวิศวกรรมการแพทย์ให้มีความชัดเจนในการปฏิบัติงาน เนื่องจากการปฏิบัติงานจะต้องปรับเปลี่ยนระบบ วิธีการทำงานใหม่ทั้งหมดเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ได้ออกพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และได้เพิ่มขีดสมรรถนะในการปฏิบัติงาน ลักษณะงานจึงมีความยากเพิ่มขึ้น และเป็นงานวิชาการที่ต้องใช้ทักษะที่ค่อนข้างยากและใช้ความชำนาญในการปฏิบัติงานเป็นพิเศษ ซึ่งแตกต่างจากบทบาทและภารกิจที่ปรากฏตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2545 เดิม 2. ความเป็นมาตรฐานของเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ กองวิศวกรรมการแพทย์ จำเป็นต้องดูแลความเป็นมาตรฐานในการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของสถานบริการสุขภาพ เพื่อให้สถานบริการสุขภาพมีระบบบริหารจัดการและระบบบริการสุขภาพได้คุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด เนื่องจากระบบการพึ่งพาตนเองของสถานบริการสุขภาพ ในส่วนของการใช้ การดูแลรักษาและการซ่อมบำรุงไม่สามารถกระทำได้ จนทำให้รัฐต้องสูญเสียงบประมาณในการดูแลเป็นจำนวนมากในแต่ละปี และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นทุกปีฉะนั้น หากกองวิศวกรรมการแพทย์ไม่เข้าไปช่วยดำเนินการในสถานบริการสุขภาพจะไม่มีเครื่องมือแพทย์ที่มีมาตรฐานสำหรับให้บริการ ซึ่งจะทำให้ประชาชนที่มารับบริการไม่ได้รับการคุ้มครองทางด้านสุขภาพตามเกณฑ์คุณภาพได้
ผลที่ได้จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ผลที่ได้จากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ 3. ความเป็นมาตรฐานทางด้านวิศวกรรมความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในโรงพยาบาล กองวิศวกรรมการแพทย์ ดำเนินการตรวจสอบวิศวกรรมความปลอดภัยและสภาพแวดล้อม ด้านระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบก๊าซทางการแพทย์ ระบบสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ระบบเคลื่อนย้ายและขนส่ง ระบบไอน้ำ ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ รวมทั้งส่งบุคลากร เข้าไปให้ความรู้ ความเข้าใจในการดำเนินการวิศวกรรมความปลอดภัยให้กับโรงพยาบาล ตามหลักวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในทรัพย์สิน และชีวิตของเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ผู้ป่วย ญาติผู้ป่วย ประชาชนและชุมชนที่อยู่รอบบริเวณหน่วยงานจากการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ซึ่งไม่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใดเข้าไปให้บริการ 4.ความเป็นมาตรฐาน ด้านวิศวกรรมสื่อสาร กองวิศวกรรมการแพทย์ เป็นหน่วยงานแรกของกระทรวงสาธารณสุขที่ริเริ่มโครงการสื่อสารของกระทรวงสาธารณสุข ให้สามารถสื่อสารครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ ทั้งในยามภาวะปกติและเมื่อเกิดภาวะวิกฤติ ต่าง ๆ ซึ่งเครื่องมือสื่อสารแบบ High Technology ไม่สามารถใช้งานได้เมื่อเกิดภัยพิบัติรุนแรง ซึ่งปัจจุบันมีเครื่องมือและอุปกรณ์สื่อสารพื้นฐานอยู่ในพื้นที่ทั่วประเทศ ประมาณ 4,000 กว่าสถานี และมีโรงพยาบาลจัดหาเองมากกว่า 5,000 สถานี โดยดำเนินการพัฒนาระบบเครือข่ายสื่อสารทางวิทยุโทรคมนาคมเพื่อสนับสนุนกิจกรรม EMS และอุบัติเหตุ อุบัติภัยและภัยพิบัติทางธรรมชาติ ระบบศูนย์ข้อมูลด้านวิศวกรรมสื่อสาร ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมสื่อสาร และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสื่อสารให้กับสถานบริการสุขภาพสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สนับสนุนการตรวจสอบ ซ่อมบำรุงรักษา สถานีวิทยุทวนสัญญาณ สถานีแม่ข่าย และ ลูกข่ายทุกสถานีทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดความพร้อมด้านสื่อสารที่ต้องใช้ในการสนับสนุนช่วยเหลือประชาชน โดยการพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการติดต่อสื่อสารทางเครื่องวิทยุคมนาคมและให้บริการข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากกองวิศวกรรมการแพทย์มิได้ดำเนินการ กระทรวงสาธารณสุข จะมีผลกระทบทางตรงโดยเมื่อเกิดเหตุการณ์หรืออุบัติภัย จะไม่สามารถติดต่อสื่อสารได้ เนื่องจากไม่มีหน่วยงานใดในกระทรวงสาธารณสุขที่รับผิดชอบในระบบสื่อสาร
5. ความพร้อมของกองวิศวกรรมการแพทย์ในการปรับบทบาทใหม่/เพิ่มเติม 1. การปรับเปลี่ยนโครงสร้างเป็นไปเพื่อการพัฒนาและขยายงานทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ให้กว้างขึ้นและมีความพร้อมในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ให้กับสถานบริการสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เป็นองค์กรที่มีหน่วยงานตั้งอยู่ในส่วนกลาง และมีหน่วยงานในสังกัดที่เป็นราชการบริหารส่วนกลาง ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค 9 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่สำหรับการให้บริการด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขทั่วประเทศ ประกอบด้วย ศูนย์วิศวกรรมการแพทย์ที่ 1 (ราชบุรี), ที่ 2 (ขอนแก่น), ที่ 3 (นครสวรรค์), ที่ 4 (นครราชสีมา), ที่ 5 (อุบลราชธานี), ที่ 6 (เชียงใหม่), ที่ 7 (สงขลา), ที่ 8 (ชลบุรี) และที่ 9 (สุราษฎร์ธานี) ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงาน กำกับดูแล และให้คำปรึกษาทางเทคนิค หรือวิชาการ ด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขให้กับสถานบริการสุขภาพที่อยู่ในส่วนภูมิภาค ประกอบกับยังไม่มีหน่วยงานใดทั้งในส่วนกลาง/ส่วนท้องถิ่น หรือภาคเอกชนดำเนินการในภารกิจด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขดังกล่าว อีกทั้งโรงพยาบาลในพื้นที่ห่างไกล โดยเฉพาะโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ จำเป็นอย่างยิ่งต่อการได้รับการสนับสนุนในส่วนนี้ ภายใต้ข้อจำกัดของการใช้เงินงบประมาณ
5. ความพร้อมของกองวิศวกรรมการแพทย์ในการปรับบทบาทใหม่/เพิ่มเติม 3. ด้านบุคลากร เป็นหน่วยงานที่ได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมการแพทย์มาเป็นระยะเวลามากกว่า 30 ปี บุคลากรจึงมีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์มากโดยมีขีดความสามารถและศักยภาพในการทำงานทางวิชาการเกี่ยวกับงานพัฒนาคุณภาพและควบคุมมาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุขได้เป็นอย่างดีเพื่อสร้างหลักประกันให้ความมั่นใจกับประชาชนในการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐานและปลอดภัย ซึ่งประกอบด้วย -วิศวกร ระดับ ผู้เชี่ยวชาญ (ทางไฟฟ้า ไฟฟ้าสื่อสาร และเครื่องกล) -นายช่างทางเทคนิคต่างๆ (ทางอิเลคทรอนิกส์ ไฟฟ้า เครื่องกล) ซึ่งเป็นบุคลากรเฉพาะทาง การสอบเทียบเครื่องมือแพทย์/วิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล/ การถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมการแพทย์ ซึ่งปัจจุบันไม่มีเอกชนดำเนินการได้ 4. ด้านเครื่องมือมีเครื่องมือที่ใช้ในการสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมืออุปกรณ์การแพทย์/เครื่องมือใช้ในการปรับเทียบค่า(Calibration)และเครื่องมือในการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อสนับสนุนสถานบริการสุขภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการหนึ่งในการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล HA (Hospital Accreditation)
6. โครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วิสัยทัศน์ : เป็นหน่วยงานที่มีมาตรฐานและเทคโนโลยีทางวิศวกรรมการแพทย์ เพื่อสนับสนุน สถานบริการสุขภาพอย่างมีคุณภาพ พันธกิจ 1. ศึกษา วิเคราะห์ วิจัย พัฒนา ผลิต และประเมินเทคโนโลยีระบบบริการสุขภาพด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 2. ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบบริการสุขภาพด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข ตามมาตรฐานทางวิชาชีพ และข้อบังคับของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้กับสถานบริการสุขภาพ และสถานประกอบการธุรกิจบริการสุขภาพ 3. เสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องให้เป็นองค์กรเครือข่ายวิชาชีพแห่งการเรียนรู้ 4. ส่งเสริม สนับสนุน และสร้างเครือข่ายพันธมิตร
6. โครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วัตถุประสงค์/เป้าหมาย 1. เพื่อให้สถานบริการสุขภาพมีเครื่องและอุปกรณ์ทางการแพทย์และสาธารณสุข ที่มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่า ปลอดภัย และต่อเนื่อง 2. เพื่อให้สถานบริการสุขภาพมีระบบบริการสุขภาพด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด 3. เพื่อให้บุคลากรของสถานบริการสุขภาพทุกระดับมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะทางด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข 4. เพื่อให้บุคลากรของของกองวิศวกรรมการแพทย์มีการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ และมีจรรยาบรรณ 5. เพื่อให้เกิดความร่วมมือจากองค์กรและสถาบันที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานและยกระดับการาบริการด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข
กรอบโครงสร้างกองวิศวกรรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองวิศวกรรมการแพทย์ 2. กลุ่มพัฒนาระบบวิศวกรรม 3. กลุ่มควบคุม กำกับมาตรฐานวิศวกรรม 4. กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิศวกรรม มีอำนาจหน้าที่ -กำกับ ส่งเสริมด้านวิศวกรรมทางการแพทย์ และสาธารณสุข -สอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ -บำรุงรักษาเครื่องมือทางการแพทย์และสาธารณสุข -วิศวกรรมความปลอดภัยในโรงพยาบาล -วิศวกรรมสื่อสารในโรงพยาบาล -สนับสนุนการเกิดภาวะฉุกเฉินด้านวิศวกรรมการแพทย์ระบบบริการสุขภาพ -ให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรมการแพทย์ระบบบริการสุขภาพ มีอำนาจหน้าที่ -พัฒนาการจัดระบบเครือข่ายสื่อสารทั่ว ประเทศ -พัฒนาการจัดระบบวิศวกรรมใน รพ -พัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลอิเลคทรอนิกส์ด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข -พัฒนาระบบบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ -พัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ -ศูนย์ข้อมูลทางวิชาการและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุข -ศูนย์การรับรองและสอบเทียบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ -ควบคุม กำกับระบบเครือข่ายสื่อสารบริการสุขภาพ -กำกับการจ้างเอกชนในการติดตั้ง ซ่อม บำรุงรักษาด้านวิศวกรรมการแพทย์ -สร้างและพัฒนาเครือข่ายด้านวิศวกรรมการแพทย์ -ควบคุม กำกับการให้คำปรึกษางานด้านมาตรฐานวิศวกรรม -จัดทำระบบประกันคุณภาพด้านวิศวกรรมการแพทย์ -ประเมินคุณภาพการให้บริการด้านวิศวกรรมการแพทย์ -ติดตาม กำกับการนำมาตรฐานวิศวกรรมการแพทย์ไปสู่การปฏิบัติ 1. กลุ่มมาตรฐานและประเมินเทคโนโลยีวิศวกรรม มีอำนาจหน้าที่ -ศึกษา วิเคราะห์ วิจัยองค์ความรู้/นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข -ออกแบบ คำนวณ กำหนดมาตรฐานด้านวิศวกรรม -กำหนดมาตรฐานการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ -จัดทำคู่มือ แนวทางองค์ความรู้/นวัตกรรมด้านวิศวกรรม-ประเมินเทคโนโลยีวิศวกรรม 5. กลุ่มอำนวยการ • กลุ่มงานบริหารทั่วไป มีอำนาจหน้าที่ • -ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป และงานสนับสนุนอื่นๆ • ดำเนินการเกี่ยวกับงานทะเบียนและฐานข้อมูลบุคลากร • ดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่าย งานพัสดุ ครุภัณฑ์และงบประมาณประจำงวด และรายงานผลการดำเนินงาน • การบริหารจัดการงานอาคารสถานที่ งานบริหารสัญญาและงานบริหารระบบเอกสาร • -ดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำและเผยแพร่เอกสารผลงานต่างๆ • กลุ่มงานแผนและประเมินผล มีอำนาจหน้าที่ • จัดทำแผนยุทธศาสตร์/แผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการ แผนงาน/โครงการ ให้สอดคล้องกันนโยบาย ภารกิจและกิจกรรมของกรม • จัดทำแผนงบประมาณ/คำของบประมาณ ให้เป็นไปตามผลผลิต กิจกรรมที่กำหนดตามแผนปฏิบัติงาน • ติดตาม ควบคุม กำกับ ประเมินแผนงาน/โครงการ ผลผลิตของหน่วยงาน • ประสานงานการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของหน่วยงาน • ประมวลวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทางวิศวกรรมการแพทย์ • จัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องตามภารกิจ
รวม 151 คน กองวิศวกรรมการแพทย์ ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (ต้น/สูง) -1 ขรก..12.... ขรก..12.... 1.กลุ่มพัฒนาระบบวิศวกรรม 2. กลุ่มควบคุม กำกับมาตรฐานวิศวกรรม ลจป..4.... ลจป....4.... มีอัตรากำลังดังนี้ -วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร (ชพ) ด้านวิจัยพัฒนา -1 -วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร (ปก/ชก) -1 (ด้านควยคุมการใช้บำรุงหรือบำรุงรักษา) -วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร (ปก/ชก) -1 (ด้านติดตั้งและบำรุงรักษา) -วิศวกรเครื่องกล (ปก/ชก)ด้านบำรุงรักษา -1 -นายช่างเทคนิค (ปง/ชง) -2 -นายช่างไฟฟ้า (ปง/ชง) -2 -วิศวกรไฟฟ้า (ชก/ชพ)ด้านควบคุมการใช้หรือ -1 บำรุงรักษา -วิศวกรไฟฟ้า (ปก/ชก) ด้านควบคุมการใช้หรือ -1 บำรุงรักษา -นวก.คอมพิวเตอร์ -2 มีอัตรากำลังดังนี้ -วิศวกรไฟฟ้า (ชพ) ด้านควบคุมการใช้หรือ -1 บำรุงรักษา -วิศวกรไฟฟ้า (ปก/ชก) -2 (ด้านควยคุมการใช้บำรุงหรือบำรุงรักษา) -วิศวกรไฟฟ้า (ชก/ชพ) -1 (ด้านติดตั้งและบำรุงรักษา) -วิศวกร (ปก/ชก) -1 -นายช่างเทคนิค (ปง/ชง) -2 -นายช่างไฟฟ้า (ปง/ชง) -2 -วิศวกรเครื่องกล (ชก/ชพ)ด้านควบคุมการใช้หรือ -1 บำรุงรักษา -วิศวกรไฟฟ้า (ปก/ชก) ด้านควบคุมการใช้หรือ -1 บำรุงรักษา -นายช่างเทคนิค (อว) -1 5.กลุ่มอำนวยการ ขรก..18.... ลจป..16.... พรก..2.... ขรก..19.... 4. กลุ่มมาตรฐานและประเมินเทคโนโลยีวิศวกรรม ขรก..12.... 3. กลุ่มส่งเสริมสนับสนุนวิศวกรรม ลจป..4.... ลจป..47 ... มีอัตรากำลังดังนี้ -วิศวกรเครื่องกล (ชพ) ด้านวิจัยพัฒนา -1 -วิศวกรไฟฟ้า (ปก/ชก) -2 (ด้านควยคุมการใช้บำรุงหรือบำรุงรักษา -วิศวกรไฟฟ้า (ชก/ชพ) -1 (ด้านติดตั้งและบำรุงรักษา) -วิศวกร (ปก/ชก) -3 -นายช่างเทคนิค (ปง/ชง) -5 -นายช่างไฟฟ้า (ปง/ชง) -5 -วิศวกรเครื่องกล (ปก/ชก)ด้านควบคุม -1 การใช้หรือบำรุงรักษา -นายช่างเทคนิค (อว) -1 มีอัตรากำลังดังนี้ -วิศวกร (ชช) ด้านวิศวกรรมการแพทย์ -1 -วิศวกรไฟฟ้า (ชพ) -1 (ด้านวิจัยพัฒนา) -วิศวกรไฟฟ้า (ชก/ชพ) -1 (ด้านวัยและพัฒนา) -วิศวกรไฟฟ้า(ปก/ชก) -1 (ด้านควบคุมการใช้หรือบำรุงรักษา) -นายช่างเทคนิค (ปง/ชง) -3 -นายช่างไฟฟ้า (ปง/ชง) -3 -วิศวกรเครื่องกล (ปก/ชก)ด้านควบคุม -1 การใช้หรือบำรุงรักษา -วิศวกรไฟฟ้าสื่อสาร (ปก/ชก) -1 (ด้านติดตั้งบำรุงรักษา) กลุ่มงานบริหารทั่วไป ขรก..12.... 6. กลุ่มงานแผน และประเมินผล ขรก..6.... ลจป..2.... ลจป..14.... พรก..2.... • มีอัตรากำลังดังนี้ • นักจัดการงานทั่วไป (ชพ) -1 • นักจัดการงานทั่วไป (ชก) -1 • -นวก.การเงินและบัญชี (ชก) -1 • -นวก.พัสดุ (ชก) -1 • -จพ.ธุรการ (ชง) -1 • -จพ.ธุรการ (ปง/ชง) -2 • -จพ.การเงินและบัญชี (ปง/ชง) -2 • -จพ.พัสดุ (ปง/ชง) -3 มีอัตรากำลังดังนี้ - นักวิเคราะห์นโยบายและแผน(ชก) -1 - จพ.สถิติ (ชง) -1 -จพ.สถิติ (ปง/ชง) -4 -นักวิเคราะห์นโยบายและแผน -2