340 likes | 1.01k Views
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DECISION SUPPORT SYSTEMS. ชื่อผู้จัดทำ. นางสาวนารีรัตน์ รักดีแข 5544091100 นายอัครวิทย์ ขนอม 554409110029-9 นางสาวอรัญญา ชูเขียว 554409110034-9. ระบบสาระสนเทศทางธุรกิจ. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคืออะไร.
E N D
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจระบบสนับสนุนการตัดสินใจ DECISION SUPPORT SYSTEMS
ชื่อผู้จัดทำ นางสาวนารีรัตน์ รักดีแข 5544091100นายอัครวิทย์ ขนอม 554409110029-9 นางสาวอรัญญา ชูเขียว 554409110034-9 ระบบสาระสนเทศทางธุรกิจ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคืออะไร ระบบสนับสนุนการตัดสินใจคืออะไร ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือ DSS เป็นซอฟต์แวร์หรือตัว โปรแกรมที่ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างตัวแบบที่ซับซ้อนภายใต้ซอฟต์แวร์เดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาที่มีความยุ่งยากซับซ้อน DSS ยังเป็นการประสานการทางานระหว่างบุคลากรกับเทคโนโลยีทางด้านซอฟต์แวร์ โดยเป็นการกระทำโต้ตอบกันเพื่อแก้ปัญหาแบบไม่มีโครงสร้าง และอยู่ภายใต้การควบคุมของผู้ใช้ตั้งแต่เริ่มต้นถึงสิ้นสุดขั้นตอน
หน้าที่ของการจัดการประกอบการตัดสินใจ หน้าที่ของการจัดการประกอบการตัดสินใจ
ระดับการตัดสินใจในองค์กร ระดับการตัดสินใจในองค์กร • การตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูงในองค์การ ซึ่งสนใจต่อสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น/อนาคต • เกี่ยวข้องกับความไม่แน่นอนของสถานการณ์ • การตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการจัดการเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของผู้บริหาร • การตัดสินใจของหัวหน้าระดับต้น ซึ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเฉพาะด้านที่มีขั้นตอนซ้ำๆ กัน เพื่อให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
กระบวนการในการตัดสินใจ กระบวนการในการตัดสินใจ • รับรู้ปัญหา • รวบรวมข้อมูลของปัญหาและสิ่งแวดล้อม • ประมวลผล วิเคราะห์ ตรวจสอบ เพื่อกำหนดรายละเอียดของปัญหา • วิเคราะห์และพัฒนาแนวทางในการแก้ปัญหา • เลือกแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่สุด
ประเภทของการตัดสินใจ ประเภทของการตัดสินใจ • การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำเป็นกิจวัตร (Routine) • มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ถูกกำหนดไว้แน่นอน • การตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ไม่ได้เกิดประจำ/ไม่สามารถวางแผนล่วงหน้า • การตัดสินใจต้องวิเคราะห์จากสิ่งแวดล้อมประกอบต้องอาศัยผู้บริหารที่เก่งและมีประสบการณ์สูง • ส่วนหนึ่งใช้หลักเกณฑ์และขั้นตอนมาประยุกต์แก้ปัญหาได้ • ส่วนที่เหลืออาศัยประสบการณ์ผู้ทำการตัดสินใจ
DSS ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ • ประมวลและเสนอข้อมูลการตัดสินใจแก่ผู้บริหาร • ประเมินทางเลือกที่เหมาะสม ภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์ • DSS ระบบสานสนเทศที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ เพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินปัญหาแบบกึ่งโครงสร้าง และไม่มีโครงสร้าง • DSS ช่วยผู้บริหารทดสอบทางเลือกในการตัดสินใจ โดยตั้งคำถาม “ถ้า... แล้ว…. (What … If…) อย่างมีประสิทธิภาพ
คุณสมบัติของ DSS ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน คุณ สมบัติ โต้ตอบกับผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็ว ยืดหยุ่นกับความต้องการผู้ใช้ สนับสนุนการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและแบบไม่มีโครงสร้าง มีข้อมูลและแบบจำลองสำหรับสนับสนุน
ความแตกต่างระหว่าง DSS กับระบบสารสนเทศอื่น DSS ให้ความสำคัญกับการนำสารสนเทศไปประกอบการตัดสินใจของผู้ใช้ ไม่ใช่ระบบการรวบรวม และการเรียกใช้ข้อมูลประจำวัน DSS สนับสนุนปัญหาการตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้างของผู้จัดการระดับกลางและระดับสูง DSS พัฒนาให้เหมาะกับการแก้ปัญหาของผู้ใช้ DSS มีแนวโน้มในการพัฒนาสำหรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ผู้ใช้มีส่วนสำคัญในการออกแบบระบบ ส่วนใหญ่นิยมใช้การออกแบบระบบด้วยการทำต้นแบบ (Prototyping Approach)
ประเภทของ DSS • ให้ความสำคัญกับเครื่องมือในการจัดการ วิเคราะห์ข้อมูล และการทดสอบทางสถิติ • ให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศและตัดสินใจได้มีประสิทธิภาพ • ให้ความสำคัญกับแบบจำลองในการแก้ปัญหา โดยเฉพาะแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (mathematical model) และแบบจำลองการวิจัยขั้นการดำเนินการ (Operational Research Model) • ให้ผู้ใช้วิเคราะห์ปัญหาและปรับตัวแปรที่เกี่ยวข้อ เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด
การพัฒนา DSS • DSS เป็นระบบที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยๆ • SA อออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูงสามารถปรับได้ตามความต้องการของผู้ใช้ • ปัญหาแบบกึงโครงสร้าง/ไม่มีโครงสร้างพัฒนาด้วยการพัฒนาจากต้นแบบ(Evolutionary Prototyping) • กำหนดปัญหาร่วมกับผู้ใช้ • วิเคราะห์หาขั้นตอนในการตัดสินใจแก้ปัญหาร่วมกับผู้ใช้ • SA ศึกษาความเหมาะสมและพอเพียงของข้อมูล • SA เก็บรายละ เอียดในการพัฒนาระบบเพื่ออ้างอิงในอนาคต • ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลระบบเพื่อปรับปรุงแก้ไข
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบกลุ่ม (Group decision Support System) • เหมาะสมกับการวบรวมและนำเสนอข้อมูล • ส่งเสริมการแสดงความคิดเห็นเพื่อหาข้อสรุปปัญหา • Groupware ประกอบด้วย • Electronic Questionnaire • Idea Organizer • Electronic Brainstorm Tool • Policy Formation Tool • Group Dictionary • อุปกรณ์สอดคล้องกับการยศาสตร์ (Ergonomics) • สมาชิกกลุ่มและผู้สนับสนุนต้องเข้าใจระบบ DSS
ประเภทของ GDSS • แบบห้องการตัดสินใจ (Decision room) ห้องการตัดสินใจจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่ผู้ตัดสินใจอยู่ในห้องเดียวกัน หรืออยู่ในบริเวณเดี่ยวกัน และจัดให้คนเหล่านี้มาอยู่รวมกันในห้องเดียวกัน โดยห้องจะมีลักษณะเป็นห้องประชุมซึ่งมีเครื่องมือที่ช่วยในการตัดสินใจ เช่น จอภาพใหญ่ที่ใช้แสดงสารสนเทศต่างๆ และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ประจำที่นั่งของผู้เข้าร่วม ประชมโดยโต๊ะอาจทำเป็นรูปตัวยู (U-shaped)
ประเภทของ GDSS • การตัดสินใจโดยใช้เครือข่ายวงแลน (Local Area Decision Network) เครือข่ายการตัดสินใจแบบนี้ใช้เมื่อกลุ่มผู้ตัดสินใจอาศัยอยู่ในกลุ่มเดียวกัน หรือบริเวณใกล้เคียงกัน และต้องทำการตัดสินใจบ่อยๆ ส่วนประกอบเหมือนแบบแรก แต่จะมีกล้องวีดีโอเพื่อจะถ่ายภาพการอภิปรายของห้องหนึ่งและถ่ายทอดไปยังอีกห้องหนึ่ง รวมทั้งมีเครือข่าย ในการเชื่อมโยงข้อมูลกันโดยอาจใช้วงแลน (Local Area Network) ถ้าห้องไม่อยู่ห่างไกลกันมาก เพื่อที่จะทำให้ผู้ตัดสินใจในแต่ละห้องสามารถใช้สารสนเทศพร้อมๆ กันได้
ประเภทของ GDSS • การประชุมทางไกล (Teleconferencing) เป็นการจัดประชุมทางไกล ในกรณีที่ไม่ได้มีการตัดสินใจบ่อยครั้ง และผู้ตัดสินใจอยู่ไกลกัน การประชุมจะมีการเชื่อมโยง กับห้องการตัดสินใจแบบ GDSS หลายห้องซึ่งอาจจะ อยู่คนละประเทศหรือคนละมุมโลกก็ได้ วิธีการแบบนี้ค่อนข้างมีความยืดหยุ่นสูง
ประเภทของ GDSS • เครือข่ายการตัดสินใจ WAN (Wide Area Decision Network)เป็นเครือข่ายการตัดสินใจในกรณีที่การตัดสินใจเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และผู้ตัดสินใจอยู่ห่างไกลสถานการณ์ดังกล่าวจึงทำให้มีการใช้ GDSS โดยเชื่อมโยงกับเครือข่ายแบบ WAN
ประโยชน์ของ GDSS ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม การเตรียมข้อมูลและสารสนเทศในการประชุม สร้างบรรยากาศในความร่วมมือกันระหว่างสมาชิก สนับสนุนการมีส่วนร่วมและกระตุ้นการแสดงความคิดเห็นของสมาชิก มีการจัดลำดับความสำคัญก่อนหลังของปัญหา ช่วยให้การประชุมบรรลุผลในระยะเวลาที่สมควร มีหลักฐานการประชุมแน่ชัด
ตัวอย่าง การนำเอา DSS มาใช้ใน ประเทศไทย
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม อุทกภัยทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน นำมาซึ่งความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมหาศาลมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยจึงสร้างระบบการเฝ้าระวัง การเตือนภัยน้ำท่วม และการอพยพหลบภัยในลักษณะโครงการนำร่อง โดยเผยแพร่ข้อมูลระยะเวลาว่าเมื่อไรน้ำถึงจะล้นตลิ่ง น้ำจะท่วมนานเท่าใด บริเวณไหนบ้าง และมีระดับน้ำท่วมสูงเท่าไร ให้แก่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยได้ทราบ และแจ้งภัยต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานเหล่านั้นสามารถดำเนินการบรรเทาความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้อย่างเหมาะสม
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทยยังได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมแก่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล สำนักเฝ้าระวังและเตือนสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งจะมีการดำเนินการเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนที่หนึ่งประดิษฐ์และติดตั้งสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัย ได้แก่ บริเวณเทศบาลตำบลช่อแฮ ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ บริเวณโรงเรียนบ้านห้วยใต้ ต.แม่พูล อ.ลับแล จ.อุตรดิตถ์ บริเวณโรงเรียนบ้านแม่คุ ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย บริเวณหน้าโรงเรียนบ้านคลองลอย ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ บริเวณแขวงลุมพินี เขตปทุมวัน จ.กรุงเทพฯ บริเวณ อบต. น้ำก้อ อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ บริเวณ อบต.นาซำ อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ และบริเวณ อบต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ และส่วนที่สองได้จัดทำโปรแกรมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม (Decision-supporting System for Flood Warning)
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม โครงสร้างของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมขั้นตอนที่สำคัญ 3 ขั้นตอนในการพยากรณ์น้ำท่วมฉับพลันได้แก่1. การตรวจอากาศเพื่อให้ทราบสภาวะอากาศปัจจุบัน2. การสื่อสารเพื่อรวบรวมข้อมูลผลการตรวจอากาศ3. การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการคาดหมาย แบ่งย่อยเป็น 5 ขั้นตอน คือ3.1 การบันทึกผลการตรวจอากาศที่ได้รับจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (AWS) 3.2 การวิเคราะห์ผลการตรวจอากาศที่ได้จากขั้นตอนแรก3.3 การคาดหมายการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนที่ของตัวระบบลมฟ้าอากาศที่วิเคราะห์ได้ในขั้นตอนที่สอง3.4 การออกคำพยากรณ์ ณ ช่วงเวลาและบริเวณที่ต้องการ โดยพิจารณาจากตำแหน่งและความรุนแรงของระบบลมฟ้าอากาศที่ได้ดำเนินการไว้แล้วในขั้นตอนที่สาม3.5 การส่งคำพยากรณ์อากาศไปยังสื่อมวลชนเพื่อเผยแพร่ต่อไปสู่ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย และส่งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป ตามความเหมาะสม เช่นการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม • ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติส่งผ่านระบบ GPRS ทุกๆ 5 นาที ไปยังคอมพิวเตอร์หลักซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ ข้อมูลเหล่านี้ได้แสดงให้สาธารณชนเข้าชมทางเว็บไซต์ชื่อ “aws.nakhonthai.net” โดยมีการแสดงผลข้อมูลล่าสุดในรูปของตัวเลข และข้อมูลในช่วงเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมงในรูปของกราฟเส้นข้อมูลซึ่งนำเสนอบนเว็บไซต์ที่กล่าวถึงข้างต้นได้มาจากแหล่งข้อมูลหลัก 3 แห่ง คือ1. ข้อมูลดาวเทียมอุตุนิยมวิทยาจากเว็บไซต์ http://metocph.nmci.navy.mil 2. ผลการตรวจอากาศจากสถานีตรวจอากาศอัตโนมัติ (อยู่ในการดูแลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเลกรมอุตุนิยมวิทยา) และ
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วมระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม • ลักษณะการทำงานของระบบสนับสนุนการตัดสินใจเตือนภัยน้ำท่วม 3. ข้อมูลรีเลทีฟเวอร์ทิซิตี้ที่ระดับ 500 เฮกโตปาสคาล ซึ่งเป็นผลผลิตจากระบบพยากรณ์อากาศเชิงตัวเลข (อยู่ในการดูแลของศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล กรมอุตุนิยมวิทยาเช่นกัน)การดึงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลเหล่านั้น จะใช้โปรแกรม Downloader ซึ่งติดตั้งไว้ในคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล เป็นตัวดึงข้อมูลมารวมไว้ ณ จุดเดียว หลังจากนั้นจะมีโปรแกรม GenDSS เป็นตัวจัดเตรียมฐานข้อมูล (ทุกๆ เช้า) เพื่อใช้ในการป้อนให้กับโปรแกรม DSS สำหรับทำการประมวลผลก่อนจะผลิตผลการพยากรณ์ฝนหนัก (และการตือนภัยน้ำท่วมในกรณีที่จำเป็น) เพื่อนำเสนอบนเว็บไซต์ “aws.nakhonthai.net และ www.marine.tmd.go.th/thai” ต่อไป
อ้างอิง • ทวีศักดิ์ นาคม่วง .2547. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(Decision Support Systems).ค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2556, จากเว็บไซต์ [Online]availableURL;http://www.sirikitdam.egat.com/WEB_MIS/107/index.html • อ.สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจคณะเทคโนโลยีสารสนเทศค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2556 , จากเว็บไซต์ course.eau.ac.th/course/Download/01337216/CH5.ppt,supraneev@eau.ac.th