340 likes | 536 Views
เหลียวหลังแลหน้าการบริหารงานอุดมศึกษาไทย. โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา. โครงการประชุมวิชาการ ปขมท. ประจำปี 2555 17 พฤษภาคม 2555 โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ พัทยา จ.ชลบุรี. ประเด็นหลัก. พัฒนาการอุดมศึกษาไทยจากอดีต จนถึงปัจจุบัน
E N D
เหลียวหลังแลหน้าการบริหารงานอุดมศึกษาไทยเหลียวหลังแลหน้าการบริหารงานอุดมศึกษาไทย โดย ดร.สุเมธ แย้มนุ่น อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา โครงการประชุมวิชาการ ปขมท. ประจำปี 2555 17 พฤษภาคม 2555 โรงแรมแอมบาสเดอร์ ซิตี้ พัทยา จ.ชลบุรี
ประเด็นหลัก • พัฒนาการอุดมศึกษาไทยจากอดีต • จนถึงปัจจุบัน การบริหารอุดมศึกษาจากปัจจุบันสู่อนาคต การเตรียมบุคลากรสู่ประชาคม ASEAN 1 2 3
1. พัฒนาการอุดมศึกษาไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน • สกอ.กับการพัฒนาอุดมศึกษาในอดีต พัฒนาการอุดมศึกษาไทย 1.1 1.2
ประวัติความเป็นมาของ สกอ. รัฐบาลสมัยจอมพลสฤษดิ์ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ตรา พรบ. ให้มหาวิทยาลัยทุกแห่งไปสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งสภาการศึกษาแห่งชาติขึ้นในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 216 ลงวันที่ 29 ก.ย. 2515 จัดตั้งหน่วยงานที่กำกับดูแลอุดมศึกษาของรัฐ ภายใต้ชื่อ “ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ ” ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี และถือเอาวันที่ 29 ก.ย.2515 เป็นวันสถาปนาทบวงมหาวิทยาลัย 2502 2514
ประวัติความเป็นมาของ สกอ. (ต่อ) • รัฐบาลสมัยนายธานินทร์กรัยวิเชียร ได้ตรา พรบ. เปลี่ยนชื่อ ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เป็น “ทบวงมหาวิทยาลัย” และยกฐานะเป็นทบวงอิสระมีฐานะเทียบเท่ากระทรวง • รัฐบาลสมัย พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศใช้ • พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 • มีผลทำให้ทบวงมหาวิทยาลัย ต้องปรับเปลี่ยนเป็น “สำนักงานคณะกรรมการ • การอุดมศึกษา”โดยหลอมรวมสำนักงานสภาสถาบันราชภัฎ และสำนักงาน • ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เข้าด้วยกัน เพื่อความเป็นเอกภาพในการบริหาร • จัดการอุดมศึกษาของประเทศ 2520 2546
บทบาทหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (2515) กำหนดนโยบายและแผนการจัดการศึกษา กำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับหลักสูตรการศึกษา และการบริหารงานบุคคล พิจารณาการเสนอการจัดตั้ง ยุบ รวม และเลิกมหาวิทยาลัย อนุมัติการจัดตั้งคณะ และภาควิชา ติดตามประเมินผลการจัดการศึกษา เป็นศูนย์ประสานงานด้านการจัดการศึกษา
อำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ (2520) กำหนดนโยบายและแผน กำหนดมาตรฐานให้ความเห็นชอบหลักสูตร เสนอแนะการจัดตั้งมหาวิทยาลัย อนุมัติ จัดตั้ง คณะ ภาควิชา วินิจฉัยสั่งการเพื่อยับยั้ง หรือยุติการดำเนินกิจการของมหาวิทยาลัยที่ขัดต่อกฎหมาย อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ
พัฒนาการอุดมศึกษาไทย ยุคจุฬาฯ – ธรรมศาสตร์ (2459 – 2475) ยุคมหาวิทยาลัยเฉพาะทางในกระทรวงต่างๆ ยุคขยายมหาวิทยาลัยสู่ภูมิภาค ยุคการแตกตัวของ มศว. ยุคการแตกตัวของสถาบันเฉพาะทาง ยุคมหาวิทยาลัยเปิด และไม่จำกัดรับยุคขยายตัวของมหาวิทยาลัยเอกชน ยุคมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ยุคหลอมรวม ยุคปฏิรูปการศึกษาในปัจจุบัน
บทบาท สกอ. กับการพัฒนาอุดมศึกษา ยุคควบคุมและส่งเสริม ยุคประสาน สนับสนุน ยุคกำกับ 1 2 3
1. ยุคควบคุมและส่งเสริม รัฐออกกฎหมายให้อำนาจรัฐมนตรี ในการควบคุมการบริหารงานของมหาวิทยาลัย อนุมัติหลักสูตร อนุมัติการจัดตั้งคณะ – ภาควิชา วางระเบียบปฏิบัติในกิจการต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
2. ยุคประสาน สนับสนุน รัฐเห็นความสำคัญของความอิสระของมหาวิทยาลัย ได้มีการกระจาย และมอบอำนาจของรัฐมนตรี – ปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ไปสู่มหาวิทยาลัยทั้งหมด ประสานให้เกิดการดำเนินงานเชิงนโยบาย และมาตรฐานอุดมศึกษา ส่งเสริมงบประมาณผ่านสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย เพิ่มมากขึ้น
3. ยุคกำกับ หลักการของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ มีความชัดเจน มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้รับการจัดตั้งเพิ่มมากขึ้น แก้ไข พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการให้มีอิสระมากขึ้น บทบาทของ สกอ. จึงต้องมุ่งมา กำกับมากขึ้น
2. การบริหารอุดมศึกษาจากปัจจุบันสู่อนาคต • การบริหารมหาวิทยาลัย การบริหารงานการเงิน การบริหารงานบุคคล การบริหารงานวิชาการ การกำกับระบบอุดมศึกษาของประเทศ 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5
2.1 การบริหารมหาวิทยาลัย การบริหารมหาวิทยาลัย ในที่นี้หมายถึง การบริหารจัดการมหาวิทยาลัยในฐานะองค์การที่ต้องดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความเป็นเลิศ ความเสมอภาค และประสิทธิภาพสูงสุด ภารกิจหลักของมหาวิทยาลัย คือ การสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเป็นสถานศึกษาขั้นสูงสุดและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของโลกาภิวัฒน์ ซึ่งต้องดำเนินการภายใต้สภาวะความกดดัน และความเปลี่ยนแปลง ทั้งในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม วัฒนธรรม และปัญญา การก้าวเข้าสู่ เศรษฐกิจฐานความรู้ และการปรับตัว ของ ASEAN Community ทำให้บทบาทของอุดมศึกษาทวีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ มากยิ่งขึ้น
การบริหารมหาวิทยาลัย คือ กระบวนการเชิงบูรณาการซึ่งองค์กรวิชาการที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน จะต้องมาปฏิบัติการร่วมกันโดยไม่ให้เกิดความขัดแย้ง ความสำเร็จทางวิชาการ กับ ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ การปรับปรุงให้อาคารสถานที่มีความสวยงาม กับ การยกระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ
ประเด็นปัญหาการบริหารมหาวิทยาลัยประเด็นปัญหาการบริหารมหาวิทยาลัย การกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจ ของมหาวิทยาลัย การจัดสรรงบประมาณภายในสถาบัน การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล ธรรมาภิบาล บทบาทของสภามหาวิทยาลัย
แนวโน้มในอนาคต ความขัดแย้งภายในมหาวิทยาลัยจะเป็นอุปสรรคในการบริหารงานมากยิ่งขึ้น การปรับ Core Business ให้สอดคล้องกับโอกาสใหม่ในประเทศ ASEAN การยกระดับคุณภาพการผลิตบัณฑิต การวิจัย และบริการวิชาการเข้าสู่ระดับสากล และ World Class University University Branding
2.2 การบริหารงานการเงิน ในช่วงที่ผ่านมางบประมาณของมหาวิทยาลัยจะได้รับผลกระทบ ตามสภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ ความมั่นคงทางการเงิน คือ ปัจจัยสำคัญของการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพของหน่วยวิชาการ การเสริมความมั่นคงทางการเงินจึงเป็นปัญหาสำคัญของการบริหารมหาวิทยาลัย เช่น การแข่งขันเพื่อเข้าร่วมโครงการของรัฐ หมายถึง โครงการเชิงนโยบายที่รัฐจัดสรรเงินผ่านองค์กรอื่นๆ การเพิ่มภาระกับผู้รับประโยชน์โดยตรง หมายถึง การบริหารค่าเล่าเรียนใหม่ การใช้ประโยชน์จากการวิจัย ความร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรม และชุมชน ท้องถิ่น การสร้างรายได้ด้วยวิธีอื่น จากทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
ความได้เปรียบในการเจรจากับสำนักงบประมาณ ความได้เปรียบในการเจรจากับสำนักงบประมาณ เงินทุนและเงินกู้ยืมของรัฐ กรอ./กยศ. ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายเงินของมหาวิทยาลัย การสอบบัญชี และการตรวจสอบทางการเงิน ของมหาวิทยาลัย
แนวโน้มในอนาคต งบประมาณจากรัฐจะลดลงอย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของอุดมศึกษา ซึ่งผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทางการเงินมากยิ่งขึ้น และการจัดสรรงบประมาณจะมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การหารายได้จากนักศึกษาต่างชาติจะมีมากขึ้น การเพิ่มบทบาทด้านการวิจัย จะทำให้การเงิน ของสถาบันมีความมั่นคงสูงขึ้น
2.3 การบริหารงานบุคคล ปัจจุบันการบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยมีความหลากหลาย โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการ แต่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐแต่ละแห่งยังมีระบบการบริหารงานบุคคลที่สร้างแรงจูงใจ ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน การบริหารงานบุคคลในมหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการยังคง ยึดหลักการกระจายอำนาจ และการส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยสามารถพัฒนาระบบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการ ของแต่ละสถาบัน
การบริหารงานบุคคลในสถาบันอุดมศึกษายังคงยึดโยงอยู่กับงบประมาณ โดยเฉพาะงบประมาณในหมวดเงินเดือน และค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรมักจะประสบปัญหาการสนับสนุน จากรัฐ การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สภามหาวิทยาลัยสามารถกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขได้ แต่ต้องไม่ขัดหรือแย้ง กับหลักเกณฑ์ที่ กพอ.กำหนด จึงก่อให้เกิดปัญหาในทางปฏิบัติ
มหาวิทยาลัยที่เป็นส่วนราชการยังไม่สามารถพัฒนาระบบพนักงานมหาวิทยาลัย และระบบการจ้างแบบอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพดีกว่าหรือเทียบเท่าระบบราชการ จึงก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำ มหาวิทยาลัยของรัฐแห่งใหม่ (52 แห่ง) กำลังประสบปัญหาการลดลงของอัตราราชการ และการเพิ่มขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัย โดยที่ยังไม่สามารถจะเปลี่ยนสถานภาพ เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้ในระยะเวลาอันสั้น รัฐให้ความสำคัญกับการผลิตและพัฒนาอาจารย์น้อยลง และมอบให้เป็นภาระของมหาวิทยาลัย
แนวโน้มในอนาคต มหาวิทยาลัยมีอิสระและความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคลมากยิ่งขึ้น ในขณะที่การกำกับของรัฐจะลดลง การจัดสรรงบประมาณและการจัดตั้งกองทุนให้กู้ยืม เพื่อการศึกษา (กรอ./กยศ.) จะรวมค่าใช้จ่ายบุคลากร ตามภาระงานด้านการผลิตบัณฑิต และ Unit Cost มหาวิทยาลัยต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอาจารย์ ในอนาคตด้วยต้นทุนของมหาวิทยาลัย ความร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อการใช้ประโยชน์ จากนักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญจะมีมากขึ้น
2.4 การบริหารงานวิชาการ การบริหารวิชาการที่สำคัญในมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย การจัดตั้งหน่วยวิชาการ หรือการแบ่งส่วนงาน การบริหารจัดการหลักสูตร การบริหารจัดการงานวิจัย การประกันคุณภาพ ระบบบริหารวิชาการถือเป็นเสรีภาพและอิสระทางวิชาการสูงสุด ที่มหาวิทยาลัยจะต้องรับผิดชอบ
การจัดตั้งหน่วยงานวิชาการ หรือการแบ่งส่วนงาน จะเกิดขึ้นโดยง่ายด้วยอำนาจของสภามหาวิทยาลัย ถ้าการจัดตั้งหน่วยงานดังกล่าว มิได้วิเคราะห์อย่างเป็นระบบและรอบคอบ อาจก่อให้เกิดภาระอย่างหนักของมหาวิทยาลัยในอนาคต การเปิดหลักสูตรใหม่ ยังไม่ตอบสนองความต้องการ เพื่อการพัฒนาประเทศ แต่ตอบสนองความต้องการ ของมหาวิทยาลัย การกำหนด TQF เป็นเพียงกลไกชี้แนะให้มหาวิทยาลัย มีวิธีการบริหารหลักสูตรให้มีคุณภาพ แต่หลักสูตรจะมีคุณภาพได้ มหาวิทยาลัยต้องมีอาจารย์ที่มีคุณภาพ
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาหลักสูตร และการสอนมากกว่าการวิจัย มหาวิทยาลัยส่วนน้อยมีการบริหารจัดการงานวิจัย ที่มีประสิทธิภาพ ขาดทิศทางการวิจัย ขาดทุนวิจัย ขาดนักวิจัย และ ขาดการบริหารจัดการงานวิจัยที่ดี
แนวโน้มในอนาคต ความสำเร็จของมหาวิทยาลัยยังคงขึ้นอยู่กับการวิจัย การสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ และการผลิตบัณฑิต การบริหารจัดการงานวิจัย จะเป็นภารกิจใหม่ ที่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังไม่มีประสบการณ์ การประกันคุณภาพจากองค์กรภายนอก จะยังคง มีความสำคัญและปรับตัวตลอดเวลา
2.5 การกำกับระบบอุดมศึกษาของประเทศ ความต้องการ ประชาชน รัฐบาล นโยบาย สกอ. ความต้องการ ความเสมอภาค มาตรฐานทรัพยากร นโยบาย QA ทรัพยากร ทุนการศึกษา วิทยาลัย สถาบัน มหาวิทยาลัย • ACADEMIC FREEDOM • อิสระทางวิชาการ • ความคล่องตัว • AUTONOMY • EXCELLENCE • ความเป็นเลิศ ตรงตามความต้องการ คุณภาพ ประสิทธิภาพเป็นสากล บัณฑิตสาขาต่างๆ สถานประกอบการ ภาคเอกชน ระบบ/ กระบวนการพัฒนาประเทศ สถานประกอบการ ภาครัฐ แข่งขันได้ แข่งขันได้ Globalization Technologies
หลักการในการกำกับของ สกอ. การกำกับด้วยนโยบาย การกำกับด้วยเกณฑ์มาตรฐาน การกำกับด้วยงบประมาณ การกำกับด้วยความเห็นร่วมกัน