170 likes | 419 Views
กราบขอบพระคุณที่ปรึกษางานวิจัย อาจารย์ เสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย อาจารย์ พรรณมหา วุฒิวโรภาส อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย อาจารย์ กุสุมา ทองช่วง ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ / ผู้ประสานงานวิชาการ. งานวิจัย
E N D
กราบขอบพระคุณที่ปรึกษางานวิจัยกราบขอบพระคุณที่ปรึกษางานวิจัย อาจารย์ เสริมศรี ไชยเศรษฐ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย อาจารย์ พรรณมหา วุฒิวโรภาส อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย อาจารย์ กุสุมา ทองช่วง ผู้ช่วยผู้บริหารฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ / ผู้ประสานงานวิชาการ
งานวิจัย ระดับประถมศึกษา ปีการศึกษา 2546 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เรื่อง เจตคติต่อการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2546
ความเป็นมาของปัญหา สืบเนื่องจากในภาคเรียนที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ได้ทำวิจัยเพื่อสอบถามความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจในระดับ มากที่สุดทุกด้าน จึงมีความสนใจที่จะนำเอาแบบสอบถามดังกล่าว มาปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น แล้วนำมาวัดเจตคติของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 ที่มีต่อการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ทำให้ทราบข้อมูล ที่ได้ในแต่ละด้านจากแบบสอบถาม เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุง การจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
จุดประสงค์ เพื่อศึกษาเจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบสอบถาม
สมมติฐาน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติที่ดี ในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับมาก
ผลที่คาดว่าจะได้รับ • เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนาเทคนิคการสอน • ทำให้ทราบข้อมูลที่ได้ในแต่ละด้านจากแบบสอบถามเพื่อ • นำมาพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น
ขอบเขตการวิจัย ประชากร นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 269 คน กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 130 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ตัวแปรอิสระ พฤติกรรมการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ตัวแปรตาม ความพึงพอใจในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ระยะเวลา 3 สัปดาห์ ( 26 มกราคม – 13 กุมภาพันธ์ 2547 )
เจตคติต่อการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ ในด้านต่างๆมีดังนี้ * เนื้อหา * สื่อการเรียนการ สอน/แหล่งการเรียนรู้ * กระบวนการจัดกิจกรรม * การวัดผลประเมินผล
ผลการวิเคราะห์เจตคติในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2546 ด้านเนื้อหามีดังนี้ 52.31 46.15 46.15 44.61 นักเรียนนำความรู้ ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน เนื้อหาสาระในหน่วยการเรียนเพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน เนื้อหาเหมาะสม กับวัยของผู้เรียน ภาษาในการสื่อความหมาย ของเนื้อหา อ่านแล้ว เข้าใจง่าย
ผลการวิเคราะห์เจตคติในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5 ปีการศึกษา 2546ด้านสื่อการเรียนการสอน/แหล่งการเรียนรู้มีดังนี้ 49.23 45.38 46.15 43.08 สื่อการเรียนการสอน สอดคล้องกับเนื้อหาและกระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่รู้ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการผลิตและใช้สื่อในการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียน แหล่งการเรียนรู้ มีหลากหลาย
ผลการวิเคราะห์เจตคติในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5ปีการศึกษา 2546ด้านการจัดกิจกรรมของครูผู้สอนมีดังนี้ 42.31 43.08 47.69 47.69 บรรยากาศ เอื้อต่อการเรียนรู้ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมที่จัดให้ผู้เรียน ส่งเสริมทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ วิธีการจัดกิจกรรมการเรียน การสอนมีความหลากหลาย
ผลการวิเคราะห์เจตคติในการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้านการวัดผลประเมินผล มีดังนี้ 43.84 42.30 47.69 47.69 รูปแบบการวัด - ประเมินผลมีความหลากหลาย ชี้แจงรายละเอียดในการวัดประเมินผลทุกครั้ง เครื่องมือ/ วิธีการวัด – ประเมินผล มีความเหมาะสมกับนักเรียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดประเมินผล
แสดงผลคะแนนและค่าร้อยละที่จำนวนนักเรียนประเมินมากที่สุด ในด้านต่างๆ ดังนี้ 45.58 44.81 42.50 42.11 สื่อการเรียนการสอน / แหล่งการเรียนรู้ กระบวนการ จัดกิจกรรม การวัดผลประเมินผล เนื้อหา
สรุปผลวิจัย จากผลการวิจัย พบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีเจตคติที่ดี ต่อการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมาก ในด้านเนื้อหามีความเหมาะสม ภาษาที่ใช้ เข้าใจง่าย สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เนื้อหาในหน่วยการเรียนนั้น เพียงพอกับความต้องการของผู้เรียน สื่อการเรียนการสอน/ แหล่งการเรียนรู้พบว่า สื่อการเรียนกระตุ้นให้นักเรียนสนใจใฝ่รู้ นักเรียนยังมีส่วนร่วมในการผลิตสื่อกับครูอย่างมาก สื่อการสอนนั้นเพียงพอต่อจำนวนนักเรียนในโรงเรียน แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมีหลากหลาย ส่วนกระบวนการจัดกิจกรรมของครูผู้สอนนั้นมีความเหมาะสมมาก โดยคุณครูให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม และส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แก่นักเรียน จัดกิจกรรมการเรียนที่หลากหลายสู่เด็กนักเรียน และสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้น่าเรียนยิ่งขึ้น ส่วนด้านการวัดผลประเมินผล ครูใช้เครื่องมือและวิธีการวัดนั้นมีความเหมาะสม มากที่สุด โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวัดผลประเมินผล ชี้แจงรายละเอียดทุกครั้ง ในการวัดผลประเมินผล และการประเมินผลที่มีความหลากหลายเหมาะสมกับนักเรียน เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
ข้อเสนอแนะ 1. ควรนำผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนา การจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะในด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง ก็พัฒนาให้มาอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 2. พัฒนาการวิจัยไปสู่นักเรียนเป็นรายบุคลให้มากยิ่งขึ้น
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณ 1. อาจารย์สมคิด อาจมังกร 2. อาจารย์สุมาลี อัศวเรืองมรกต 3. คุณครูกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ 4. นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2546