310 likes | 627 Views
128730 นโยบายสาธารณะ. การประเมินผลนโยบายสาธารณะ. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธันยวัฒน์ รัตนสัค. ความหมายของการประเมินผลนโยบายสาธารณะ.
E N D
128730 นโยบายสาธารณะ การประเมินผลนโยบายสาธารณะ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธันยวัฒน์ รัตนสัค
ความหมายของการประเมินผลนโยบายสาธารณะความหมายของการประเมินผลนโยบายสาธารณะ การประเมินผล หมายถึง การใช้วิธีการหรือเทคนิคเชิงวิเคราะห์เพื่อวัดผลการปฏิบัติงานว่าควรจะดำเนินงานต่อไปหรือไม่ หรือเปลี่ยนแปลงกิจกรรมบางกิจกรรมในอันที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน โดยเฉพาะผลกระทบจากเลื่อนไขที่จะถูกเปลี่ยนแปลง (Fox and Meyer, 1995: 45)
Anderson ให้ความหมายว่า การประเมินผลนโยบาย เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการ การเปรียบเทียบผลของการแปลงนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่กระทำอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลาทุกขั้นตอนของกระบวนการนโยบาย
การประเมินผลเกี่ยวข้องกับกระบวนการวัดคุณค่าของผลการดำเนินการตามนโยบาย เพื่อที่จะนำมาเปรียบเทียบกับเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ และข้อควรสังเกตอีกประเด็นหนึ่งคือ การประเมินผลนั้นไม่ได้แยกเป็นเอกเทศจากขั้นตอนอื่นของกระบวนการนโยบาย แต่เกี่ยวข้องกันตลอดเวลา
การติดตามผล (monitoring) คือ การทบทวนอย่างต่อเนื่อง หรืออย่างเป็นระยะ และการดูแลตรวจตรา โดยฝ่ายบริหารทุกระดับ เกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่ง เพื่อให้แน่ใจว่ากิจกรรมเหล่านั้นดำเนินไปตามแผนงาน ทั้งในแง่ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยนำออก และกิจกรรมอื่นๆ ที่วางแผนไว้
ลักษณะการประเมินผลนโยบาย (Joseph D. Comtois) ๑.การประเมินผลต้องมีลักษณะเป็นสหวิชา คือ เอาความรู้จากหลายๆ ศาสตร์มาใช้ ๒.การประเมินผลต้องเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ประเมินเองและผู้มีอำนาจตัดสินใจ ๓.การประเมินผลต้องนำยุทธวิธีต่างๆ มาผสมผสานกันอย่างเหมาะสม เพื่อให้เข้าใจผลของนโยบายอย่างชัดเจนขึ้น
๔.การประเมินผลต้องกระทำอย่างเป็นกลางให้มากที่สุด๔.การประเมินผลต้องกระทำอย่างเป็นกลางให้มากที่สุด ๕.การรวบรวมข้อมูลต่างๆ ควรเน้นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในหน่วยงานมากกว่าระหว่างหน่วยงานด้วยกันเอง ๖.การประเมินผลต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะยอมรับระเบียบวิธีการศึกษาวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
Carol Weiss เห็นว่า ธรรมชาติของการประเมินผลนโยบายนั้น หลีกเลี่ยงการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือถูกแทรกแซงจากการเมืองไปไม่ได้ เนื่องจากการประเมินผลนโยบายนั้นมีเป้าหมายที่จะหาข้อสรุปเกี่ยวกับคุณค่าของการดำเนินการตามนโยบาย การหาข้อสรุปดังกล่าว จึงเกี่ยวพันไปถึงการแบ่งปันสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ซึ่งก็คือกิจกรรมที่ Harold Lasswell เรียกว่า การเมือง การประเมินผลในที่สุดจะนำมาซึ่งข้อสรุปว่าควรจะมีการคงไว้ รักษา หรือเปลี่ยนแปลงนโยบายต่างๆ หรือไม่ อย่างไร
ความสำคัญของการประเมินผลนโยบายความสำคัญของการประเมินผลนโยบาย William Dunn กล่าวว่าการประเมินผลนโยบายมีความสำคัญมากต่อกระบวนการนโยบายและต่อผู้กำหนดนโยบายและวิเคราะห์นโยบาย ๑.ทำให้นักวิเคราะห์นโยบายและผู้กำหนดนโยบายมีข้อมูลที่ถูกต้อง เที่ยงตรง และเชื่อถือได้เกี่ยวกับผลการดำเนินการตามนโยบาย
๒.ช่วยให้นักวิเคราะห์นโยบายและผู้กำหนดนโยบายทราบถึงความถูกต้องเหมาะสม และความชัดเจนของวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของนโยบายที่กำหนดไว้ ๓.ช่วยให้การนิยามปัญหานโยบาย และการเสนอทางเลือกในการแก้ปัญหาในโอกาสต่อไปกระทำได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน รอบคอบ และรัดกุมขึ้น
Carl Weiss เห็นว่าการประเมินผลนโยบายทำให้ทราบถึงระดับความสำเร็จของการดำเนินการตามนโยบาย ซึ่งจะช่วยให้การตัดสินใจที่สำคัญ 6 ประการ เป็นไปได้ง่ายขึ้น ๑.การตัดสินใจว่าจะดำเนินการต่อไปหรือยกเลิกนโยบายนั้น ๒.การตัดสินใจปรับปรุงกระบวนการ และขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงาน ๓.การตัดสินใจเพิ่มหรือยกเลิกวิธีการบางประการ
๔.การตัดสินใจที่จะนำนโยบายนั้นไปใช้ในสถานที่อื่น๔.การตัดสินใจที่จะนำนโยบายนั้นไปใช้ในสถานที่อื่น ๕.การตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณให้กับนโยบายต่างๆ ว่าควรจะแบ่งอย่างไร ๖.การตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธแนวทางของนโยบายนั้นๆ
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย ๑.พิจารณาจากวิธีการประเมิน ๑.๑ วิธีการตามแนวปริมาณ (quantitative approach) คือการนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์กายภาพมาใช้ในการประเมินผล เน้นการให้ค่าทางตัวเลขกับปรากฎการณ์ต่างๆ ทางนโยบาย
“...4 ปี 6 เดือน ของสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ 8.178 ครั้ง มีผู้เสียชีวิตรวม 3,071 ราย บาดเจ็บ 4,986 ราย กล่าวโดยรวม ในรอบ 54 เดือนที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรวมกันสูงถึง 8,057 ราย...”
๑.๒ การประเมินผลตามแนวคุณภาพ (Qualitative Approach) เน้นเอาวิธีการของนักมานุษยวิทยา นักสังคมวิทยามาใช้ในการประเมินผล
๒.พิจารณาจากผู้ประเมิน๒.พิจารณาจากผู้ประเมิน ๒.๑ การประเมินผลโดยหน่วยงานของรัฐบาล ได้แก่ หน่วยงานราชการ หรือคณะกรรมาธิการของรัฐสภาก็ได้ ๒.๒ การประเมินผลโดยองค์การอิสระ เช่น หนังสือพิมพ์ พรรคการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ๒.๓ การประเมินผลโดยนักวิชาการ
กำหนด เป้าหมาย วิเคราะห์ ปัญหา อุปสรรค กำหนด วิธีการ ประเมิน จัดความ เปลี่ยนแปลง แยกแยะ ผล วิเคราะห์ ผล
๓.พิจารณาจากเป้าหมายการประเมิน๓.พิจารณาจากเป้าหมายการประเมิน ๓.๑ การประเมินผลแบบเทียม มุ่งหาคำตอบให้ได้ว่าผลของนโยบายคืออะไร โดยไม่สนใจนำผลไปเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของนโยบายที่กำหนดไว้ ๓.๒ การประเมินผลแบบเป็นทางการ มุ่งประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการหรือไม่ เพียงใด
๓.๓ การประเมินแบบพิจารณาความเหมาะสม มุ่งประเมินผลลัพธ์ที่เกิดจากการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติว่าบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างเป็นทางการและตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือไม่
เกณฑ์การประเมินผล ๑.ประสิทธิผล (effectiveness) คือขอบเขตของการที่นโยบายได้รับผลประโยชน์ต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ รวมถึงการได้รับผลประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ได้คาดหวังไว้อีกด้วย ๒.ประสิทธิภาพ (efficiency) คือ ขอบเขตของการลดค่าใช้จ่ายซึ่งเป็นตัวเงิน ซึ่งสามารถทราบได้จากต้นทุนรวม หรืออัตราส่วนระหว่างผลประโยชน์และต้นทุน
๓.ความพอเพียง (adequacy) คือ ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ โดยวัดจาก - งบประมาณจำกัด -งบประมาณเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม -ประสิทธิผลแน่นอน -ประสิทธิผลเปลี่ยนแปลงได้
งบประมาณ ไม่จำกัด จำกัด กำหนดชัด ประเภท1 ประเภท2 ประสิทธิผล ประเภท4 ประเภท3 เปลี่ยนแปลงได้
ก.ประสิทธิผลกำหนดไว้แน่นอน และงบประมาณกำหนดไว้แน่นอน วัดความพอเพียงได้จากทรัพยากรที่ต้องใช้ และผลที่ต้องการกำหนดไว้ชัดเจน ข.ประสิทธิผลกำหนดไว้แน่นอน แต่งบประมาณเปลี่ยนแปลงได้ นโยบายที่ดีที่สุดคือนโยบายที่ใช้งบประมาณน้อย
ค.ประสิทธิผลเปลี่ยนแปลงได้ แต่งบประมาณจำกัด นโยบายที่ดีที่สุดคือนโยบายที่บรรลุเป้าหมายมากที่สุดภายใต้งบประมาณที่มีอยู่ ง.นโยบายที่ไม่กำหนดเป้าหมายแน่นอน งบประมาณก็เปลี่ยนแปลงได้ นโยบายที่ดีที่สุด คือ นโยบายที่ใช้งบประมาณน้อย แต่บรรลุเป้าหมายมากที่สุด
๔.ความเป็นธรรม (equity) นโยบายที่เป็นธรรมคือ นโยบายที่คำนึงถึงการจัดสรรผลประโยชน์หรือการให้บริการต่างๆ อย่างเป็นธรรม ๕.ความสามารถในการตอบสนอง (responsiveness) นโยบายนั้นสามารถตอบสนองความต้องการ ความพึงพอใจของกลุ่มต่างๆ ในสังคมหรือไม่ ๖.ความเหมาะสม (appropriation) อาศัยหลายเกณฑ์ประกอบกัน
กระบวนการในการประเมินผลกระบวนการในการประเมินผล ๑.การกำหนดรายละเอียดว่าจะประเมินอะไร ๒.การวัดผล ๓.การวิเคราะห์ข้อมูล
ปัญหาการประเมินผลนโยบายสาธารณะปัญหาการประเมินผลนโยบายสาธารณะ ๑.ความไม่ชัดเจนของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ๒.ปัญหาตัวบุคคลที่ทำการประเมินผลนโยบาย ๓.ปัญหาอื่นๆ ได้แก่ ๓.๑ ปัญหาเรื่องข้อมูลข่าวสาร
๓.๒ ปัญหาการใช้เทคนิคในการประเมินนโยบาย ๓.๒ ปัญหาเกี่ยวกับลักษณะของนโยบาย
จริยธรรมของผู้ประเมินผลจริยธรรมของผู้ประเมินผล ๑.เป็นผู้ไม่มีอคติ ๒.มีความรู้ความสามารถในการใช้ระเบียบวิธีวิจัยในการประเมินผลตามหลักวิชาการ ๓.มีความเที่ยงตรงในการวิเคราะห์ตลอดกระบวนการประเมินผล
๔.มีความมั่นคง ไม่ถูกครอบงำโดยง่ายจากผู้ตัดสินใจนโยบาย หรือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๕.มีความสัมพันธ์ที่เป็นกลางกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ๖.ไม่เข้าร่วมกับผู้ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (non-stakeholders) ที่ทำการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายหรือโครงการที่กำลังทำการประเมินอยู่