1 / 51

ภาพที่ 1

ภาพที่ 1 . ภาพที่ 2 . อารย ธรรม เมโส โปเตเมีย. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์.

waneta
Download Presentation

ภาพที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ภาพที่ 1 ภาพที่ 2

  2. อารยธรรมเมโสโปเตเมีย

  3. ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ คำว่า Mesopotamiaมาจากคำว่า meso=ระหว่าง กับคำว่า potamus=แม่น้ำ รวมกันแล้วมีความหมายว่า ดินแดนระหว่างแม่น้ำ คือ แม่น้ำไทกริส (Tigris) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาซากรอสในอิหร่าน และยูเฟรติส (Euphrates) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากเทือเขาสูงบริเวณที่ราบสูงอาร์เมเนียในตุรกี

  4. บริเวณที่เป็นรูปวงโค้งที่อยู่ระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียน กับอ่าวเปอรเซีย นักประวัติศาสตร์ บางคนได้เรียกบริเวณนี้ว่า ที่ราบพระจันทร์เสี้ยวอันอุดม

  5. บริเวณตอนล่างของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติส เรียกว่า บาบิโลเนีย (Babylonia) เป็นเขตติดต่อกับอ่าวเปอร์เซีย เป็นดินแดนที่เกิดจากการทับถมของดินที่น้ำพามาทับถมบริเวณปากแม่น้ำทั้งสอง ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ดินบริเวณปากแม่น้ำงอกไปทุกปี

  6. เทือกเขาคอเคซัส ทิศเหนือ ทะเลดำ ทะเลแคสเปียน คาบสมุทรอนาโตเลีย

  7. ทิศตะวันออก เทือกเขาซากรอส ที่ราบสูงอิหร่าน

  8. ทิศตะวันตกเฉียงใต้ คาบสมุทรอาหรับ ทะเลอาหรับ ทะเลแดง

  9. ที่ราบซีเรีย ทิศตะวันตก

  10. การตั้งถิ่นฐานของชนเผ่าต่างๆ ในเมโสโปเตเมีย • 1. ชาวสุเมเรียน (Sumerians) เป็นชนเผ่าแรกที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมโสโปเตเมียโดยเปลี่ยนจากหมู่บ้านโล่งมาเป็นเมืองมีกำแพง บริเวณทางตอนใต้ของบาบิโลเนียติดต่อกับอ่าวเปอร์เซีย เรียกว่า ซูเมอร์ (Sumer)ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ ซาร์กอนมหาราช (Sargon the Great) 2. ชาวแอคคัด (Akkad) เป็นพวกเร่ร่อนเผ่าเซมิติกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณซีเรียและทะเลทรายอาหรับ ได้เข้ามารุกรานยึดครองพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมโสโปเตเมีย 3. ชาวอมอไรต์ (Amorite) เป็นชนเผ่าเซเมติก อพยพจากทะเลทรายอาระเบีย เข้ามายึดครองนครรัฐของชาวสุเมเรียนและสถาปนาจักรวรรดิบาบิโลเนียขึ้น โดยมีนครบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง มีกษัตริย์ที่สำคัญ คือ พระเจ้าฮัมมูราบี (Hammurabi)

  11. 4. ชาวฮิตไทต์ (Hittite)เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซีย ได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรตีส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนีย พวกฮิตไทต์มีความสามารถในการรบมาก เป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ ในการทำอาวุธ รู้จักใช้ม้า รถเทียมม้า ทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว 4. ชาวฮิตไทต์ (Hittite)เป็นชนเผ่าอินโดยูโรเปียนที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนใต้รัสเซีย ได้อพยพขยายตัวมาตามแม่น้ำยูเฟรตีส และเข้าโจมตีทางเหนือของซีเรียและปล้นสะดมกรุงบาบิโลเนีย พวกฮิตไทต์มีความสามารถในการรบมาก เป็นชนเผ่าแรกที่นำเหล็กมาใช้ ในการทำอาวุธ รู้จักใช้ม้า รถเทียมม้า ทำให้กองทัพเข้มแข็งและเคลื่อนที่ได้รวดเร็ว 5. ชาวอัสซีเรียน (Assyrian) เป็นชนเผ่าเซเมติกอยู่ทางตอนเหนือของบริเวณ เมโสโปเตเมีย มีความสามารถในการรบ สามารถรวบรวมดินแดนทั้งหมดของเมโสโปเตเมีย เรียกได้ว่ายึดครองดินแดนในบริเวณพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์ มีศูนย์กลางการปกครองที่เมืองนิเนเวห์ (Nineveh) ซึ่งรุ่งเรืองที่สุดในสมัยกษัตริย์อัสซูร์บานิปาล

  12. 6. ชาวคาลเดียน (Chaldean) เป็นชนเผ่าเซเมติกที่อพยพมาจากเขตทะเลทรายเข้ามา ตั้งถิ่นฐานทางตะวันออกเฉียงใต้ของลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟรตีส สามารถโค่นล้มจักรวรรดิอัสซีเรียสำเร็จและสถาปนาจักรวรรดิแคลเดียนหรือบาบิโลเนียใหม่ (New Babylonia) โดยมีกรุงบาบิโลนเป็นศูนย์กลางการปกครอง อาณาจักรบาบิโลเนียใหม่เป็นอาณาจักรที่เจริญรุ่งเรืองในสมัยพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ (Nebuchadnezzar) 7. ชาวเปอร์เซีย (Persia) เป็นชนเผ่าอินโด – ยูโรเปียน อพยพมาจากทางเหนือของเทือกเขาคอเคซัส และตั้งถิ่นฐานยอยู่ในประเทศอิหร่านในปัจจุบัน 8.ชาวฟินีเซียน เป็นชื่อที่ชาวกรีกใช้เรียกพวกแคนาไนต์ (Cananite) ที่อาศัยอยู่ชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในซีเรียน (ปัจจุบันคือ เลบานอน) มีความสามารถทางการค้า การเดินเรือ สร้างเรือเดินสมุทร อาณาจักรคาร์เทจ 9. ชาวฮิบรู (Hebrew) หรือยิว (Jew) เป็นชนเผ่าเซมิติกที่เร่ร่อนอยู่ในดินแดนต่างๆ ก่อนที่จะเข้ามาตั้งดินแดนที่คานาอัน หรือปาเลสไตน์ในปัจจุบัน มีกษัตริย์ที่ยิ่งใหญ่คือ กษัตริย์เดวิด และกษัตริย์โซโลมอน

  13. ด้านการเมืองปกครอง

  14. ด้านการเมืองปกครอง (ต่อ) ภายใต้พวกสุเมเรียน ปกครองแบบนครรัฐโดยปาเตซี (patesis) คือหัวหน้ารัฐ รวมตัวเอง มีหน้าที่ทางศาสนา กองทัพ และเศรษฐกิจ พระองค์เป็นหัวหน้าพระ เป็นแม่ทัพของทัพ และเป็นผู้สั่งการในด้านการ ควบคุมน้ำ ประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล ดันจิ (Dungi) ได้รวมดินแดนและสถาปนาตนเองเป็นผู้ปกครองแต่ผู้เดียว ชาวบาบิโลเนียนได้เลิกการปกครองตนเองของท้องถิ่น กษัตริย์กลายมาเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด กษัตริย์จัดการเรื่องเก็บภาษี เลือกคนเพื่อมารับใช้กองทัพ และลงโทษผู้ฝ่าฝืน การลงโทษรุนแรง

  15. ประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมบูราบีประมวลกฎหมายพระเจ้าฮัมบูราบี ที่ส่วนยอดของจารึกเป็นภาพสลักนูนต่ำ แสดงภาพว่าพระเจ้าฮัมมูราบี ได้รับกฎหมายนี้จากเทพเจ้า มีลักษณะเด่น คือ

  16. 2. กฎหมายได้มีการจำแนกประเภทอาชญากรรมโดยเจตนาและอาชญากรรมโดยไม่เจตนา 1. กฎหมายอยู่บนพื้นฐานของหลักการแก้แค้น 3. กฎหมายยอมรับในความแตกต่างระหว่างชนชั้น และมีบทลงโทษแตกต่างกัน • 4. กฎหมาย ได้นำมาใช้เป็นระเบียบสังคม ภรรยาที่ซื่อสัตย์กฎหมายยอมให้หย่าขาดจากสามีที่ทารุณโหดร้ายได้ และพ่อแม่ของฝ่ายหญิงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้ ภรรยาที่นอกใจ ไม่ซื่อสัตย์ต่อสามีจะถูกถ่วงน้ำ หญิงที่คบชู้จะถูกลงโทษอย่างทารุณ 5. กฎหมายยอมรับการไต่สวนจากการพิสูจน์ ผู้ถูกกล่าวหาจะถูกโยนน้ำในที่น้ำลึก ถ้าเขาจมก็จะเป็นผู้มี ความผิด ถ้าเขาว่ายน้ำเข้าฝั่งได้ ก็จะเป็นผู้บริสุทธิ์

  17. ด้านการเมืองปกครอง (ต่อ) ชาวอัสสิเรียนทั้งหมดเป็นนักรบ และการขยายดินแดนไปยังดินแดนไกล ๆ กองทัพเป็นหน่วยสำคัญที่สุดของรัฐ แม่ทัพเป็นผู้ร่ำรวยที่สุดและมีอำนาจที่สุดในราชอาณาจักร

  18. ด้านเศรษฐกิจ

  19. ด้านเศรษฐกิจ (ต่อ) ชาวสุเมเรียนได้เปลี่ยนแปลงในด้านการเกษตรและการควบคุมน้ำได้ดี ที่ดินเพาะปลูกโดยทาส พืชหลัก คือ ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ หอมหัวใหญ่ ถั่ว และอินผาลัม ชาวสุเมเรียนรู้การใช้ไถพรวนดิน สัตว์เลี้ยงที่เป็นหลัก คือ แกะและวัว การพาณิชย์และการค้าได้ขยายตัวออกไป มีการเชื่อมโยงทางการค้ากับประเทศที่อยู่รอบ ๆ มีการทำสัญญาด้วยการเขียนและมีพยาน ใบส่งของ ใบรับเงิน และตั๋วแลกเงิน (letterofcredits) พ่อค้าที่เดินทางทำการค้า ต้องจ่ายค่านายหน้า สื่อกลางในการแลกเปลี่ยน ไม่ใช่เหรียญ แต่เป็นทองแท่งหรือเงินแท่ง

  20. ชาวบาบิโลเนียทำการค้าอย่างมีกฎการปฏิบัติการค้า ธนาคาร และ อุตสาหกรรม เป็นเรื่องที่อยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐ ถ้าการติดต่อกันโดยไม่มีสัญญาและพยานจะมีการลงโทษ มีกฎหมายลงโทษผู้ละเลยการเพาะปลูก และการอำนวยด้านการควบคุมน้ำ เกษตรกรทั้งหมดต้องจ่าย 2 ใน 3 ของผลผลิตให้กับรัฐ ชาวอัสสิเรียนไม่สนใจเรื่องการค้า เพราะว่ารายได้หลักได้มาจากสงคราม แต่ยอมให้ชาวต่างประเทศเข้ามาทำกิจกรรมด้านพาณิชย์ได้ การเกษตรยังคงเป็นอาชีพหลัก

  21. ด้านสังคม สังคมเมโสโปเตเมียแบ่งช่องกว้างมากระหว่างคนรวยกับคนจน คนรวยเป็นเจ้าของที่ดินและครองตำแหน่งสูงในทางทหารและการบริหารรัฐ ทาสติดที่ดินและทาสเป็นผู้ทำงานให้การค้าและการพาณิชย์ได้พัฒนาขึ้น แต่ไม่ได้สร้างชนชั้นกลางขึ้นมา ตามกฎหมายที่ดินยอมรับอยู่ 3 ชนชั้น คือ ขุนนาง สามัญชน และทาส สถานภาพดังกล่าว มีการประยุกต์ใช้กฎหมายกับคนเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นสิทธิและสิทธิพิเศษอย่างชัดเจน พระเป็นผู้ที่มีสถานภาพสูงในเมโสโปเตเมีย กษัตริย์เองเป็นพระไปในตัว ไม่ใช่เป็นเทพ

  22. ชาวอัสสิเรียนยังคงรักษาการลงโทษที่รุนแรงโหดร้ายทารุณที่สุดสำหรับอาชญากรรมสังคม เช่น การทำแท้งและพฤติกรรมที่ผิดธรรมชาติ และกดขี่สตรีอย่างสิ้นเชิง ชายอัสสิเรียนคนหนึ่งสามารถแต่งงานได้กับสตรีหลายคน และหย่าได้เมื่อฝ่ายชายต้องการ ภรรยาถูกจำกัดขอบเขตให้อยู่ในบ้าน และห้ามปรากฏตัวต่อสาธารณชนโดยปราศจากผ้าคลุมหน้า

  23. ด้านศาสนา ศาสนาของเมโสโปเตเมีย มีลักษณะเด่นจากองค์ประกอบ 2 ประการ คือ 1. เชื่อในเวทย์มนต์และสิ่งที่เหนือธรรมชาติ 2. ไม่มีทัศนคติเกี่ยวกับชีวิตหลังตาย ชาวสุเมเรียนมีเทพจำนวนหนึ่ง เทพเหล่านี้เป็นตัวแทนของอำนาจธรรมชาติและแสดงลักษณะ เป็นบุคคลจากองค์ประกอบของมนุษย์ ชามาซ (Shamash) คือ สุริยเทพ เอนลิล (Enlil) คือ จ้าวแห่งฝนและลม อิชตาร์ (Ishtar) คือ เทพีของสตรี

  24. ด้านศาสนา (ต่อ) เทพเหล่านี้และเทพอื่น ๆ เป็นทั้งฝ่ายดีและฝ่ายชั่ว ตัวอย่างเช่น สุริยเทพให้ความอบอุ่นและแสงสว่างในด้านหนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่งเผาดินและทำให้พืชเหี่ยวเฉา เทพที่น่ากลัวที่สุดในบรรดาเทพทั้งหมด คือ เนอกัลป์ (Nergal) เชื่อกันว่าผู้ต้นเหตุของโรคระบาด เทพเหล่านี้บางองค์ถูกชาวบาบิโลเนียนมองข้าม แต่เรื่องการนับถือเทพยังไม่เปลี่ยนแปลง โดยมาร์ดุค (Marduk) ถือว่าอยู่ในตำแหน่งสูงสุดของเทพของบาบิโลเนียน ***** การนับถือพระเจ้าหลายองค์ชาวสุเมเรียน และกษัตริย์เป็นผู้ได้รับมอบหมายจากเทพเจ้าให้มาปกคลองโลกมนุษย์ ความเชื่อดังกล่าวถ่ายทอดไปยังชาวกรีกและโรมันในสมัยต่อมา นอกจากนี้ ชาวสุเมเรียนไม่เชื่อเรื่องภพหน้า จึงไม่มีการสร้างสุสานหรือมัมมี่เหมือนอียิปต์โบราณ *****

  25. ด้านภาษาและวรรณกรรม - ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่คิดประดิษฐ์อักษร โดยตัวอักษรดังกล่าวเรียกว่า ตัวอักษรคูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรืออักษรรูปลิ่ม - มหากาพกิลกาเมซ

  26. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และศิลปกรรม ชาวสุเมเรียน - การสร้างวิหารซิกกูแรต (Ziggurat) บนเนินสูง ทำด้วยดินเหนียวตากแห้ง

  27. - การแกะสลักตราประจำตัว สำหรับประทับในจดหมายซึ่งเขียนบนแผ่นดินเหนียวและการใช้โลหะผสมสำริด ประดิษฐ์เครื่องใช้ต่างๆ - การพัฒนางานกสิกรรม เช่น ขุดคลองส่งน้ำ สร้างทำนบกั้นน้ำ ฯลฯ - รู้จักการนำระบบฐานเลข 60 ในการแบ่งเวลาและมุม การคำนวณหาพื้นที่ของวงกลม การหาระยะทาง การคำนวณ การคิดมาตราชั่งตวงวัด - การนับเดือนแบบจันทรคติคือ เดือนหนึ่งมี 29 1/2 วัน ปีหนึ่งมี 12 เดือน แต่ละเดือนแบ่งออกเป็น 4 สัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งมี 7-8 วัน - การบันทึกการโคจรของดวงดาว นำมาซึ่งการคำนวณเพื่อทำนายปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ทำให้เกิดวิชาโหราศาสตร์ - การประดิษฐ์ล้อเพื่อใช้กับเกวียน และรถศึก

  28. การก่อสร้างของชาวสุเมเรียนส่วนใหญ่มักทำด้วยอิฐ ซึ่งทำจากดินเหนียวที่ตากแห้ง เรียกว่า sun-dried brick หรืออิฐตากแห้ง อิฐบางชนิดเป็นอิฐเผาหรืออบให้แห้ง เรียกว่า baked - brick จะทนทานและป้องกันความชื้นได้ดีกว่าอิฐตากแห้ง จึงใช้ในการก่อสร้าง

  29. ชาวแอคคัดหรืออัคคาเดียนชาวแอคคัดหรืออัคคาเดียน เศียรกษัตริย์ชาวอัคคาเดียน เศียรบรอนซ์จากเมืองนิเนเวห์ อายุประมาณจาก 2300 ปีก่อน ค.ศ. แสดงให้เห็นเป็นกษัตริย์อัคคาเดียนเป็นไปได้ว่าเป็น นาราม ซิน (Naram-Sin) สูงประมาณ 20 ซม.ของเดิมมีอัญมณีฝังที่พระเนตร แบบผมและเคราเป็นลักษณะของศิลปะเมโสโปเตเมีย

  30. ชาวอมอไรต์ หรือบาบิโลน • - สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของซูเมอร์ • - เป็นศูนย์กลางของวัฒนธรรมและศาสนา • - บาบิโลนกลายเป็นเมืองใหญ่ที่สุดในโลก • - กำหนดสร้าง ชั่วโมงมี 60 นาที • - กำหนดสร้างปฏิทินปี มี 12 เดือน • - สร้างตารางสูตรคูณ • - ผู้นำผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด กษัตริย์ฮัมมูราบี (Hammurabi) ชาวฮิตไทต์ - มีการใช้รถศึกเทียมม้าแทนรถศึกเทียมลา - ใช้อาวุธทำด้วยเหล็ก และมีโรงงานผลิตเหล็ก

  31. ชาวอัสซีเรียน

  32. **การเริ่มใช้ "ประตูโค้ง" (Arch) ซึ่งมีอิทธิพลต่อชาวโรมันในสมัยต่อมา**

  33. ชาวคาลเดียน หรือบาบิโลนใหม่ ประตูอิชตาร์ หอคอยบาเบล

  34. อิซตาร์ (Ishtar) อิซตาร์ได้รับการบูชาในฐานะเป็นเทพีของบาบิโลเนียนและอัสสิเรียนและเป็นเทพีแห่งความรักและสงคราม แผนที่ของชาวบาบิโลน แสดงให้เห็นถึงความรู้ทางด้านดาราศาสตร์และคณิตศาสตร์ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

  35. ชาวเปอร์เซีย - งานสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของชาวเปอร์เซีย เป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม เช่น เสาคอลัมน์ (Column) และการแกะสลักภาพเหตุการณ์ต่างๆ บนผนังอาคารซึ่งจะมีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ศิลปกรรมสมัยกรีกและโรมันในเวลาต่อมา - สร้างถนนเชื่อมดินแดนต่าง ๆ - การประดิษฐ์อักษร - การใช้ระบบเงินตรา - การสื่อสาร การไปรษณีย์ - มีศาสนาโซโรแอสเตอร์เป็นของตนเอง

  36. ชาวฟินีเซียน ชาวฮิบรูหรือยิว • สร้างอาณาจักรอิสราเอล

  37. กิจกรรม “คุณสมบัติ ฉบับเมโสโปเตเมีย”

More Related