180 likes | 411 Views
เมนูหลัก. เนื้อหา. อาจารย์ที่ ปรึกษา. ประวัติ ผู้จัดทำ. เศรษฐกิจพอเพียง. ( Sufficiency Economy ). เศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy ).
E N D
เมนูหลัก เนื้อหา อาจารย์ที่ปรึกษา ประวัติผู้จัดทำ
เศรษฐกิจพอเพียง ( Sufficiency Economy )
เศรษฐกิจพอเพียง (Sufficiency Economy) “เศรษฐกิจพอเพียง”(Sufficiency Economy) เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดรวมถึงการพัฒนาและบริหารประเทศ ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ ทางสายกลาง คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยจนเกินไปและไม่มากจนเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียง จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
คุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความภาคเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เกษตรทฤษฎีใหม่ : พอดีและพอเพียง พระบาทสมเด็จพระจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวคิดทฤษฎีใหม่และเศรษฐกิจพอเพียงให้กับสังคมไทยในภาวะวิกฤต ถ้าทำได้พอเพียงส่วนหนึ่ง สังคมไทยจะสามารถพ้นภาวะวิกฤตนี้ไปได้ ซึ้งอาจอาศัยเวลาและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องบนพื้นฐานคุณค่าและความจริงที่เรามีอยู่สู่การแก้ไขปัญหาและการพึ่งตนเอง
เกษตร “ทฤษฎีใหม่” คือ การบริหารจัดการที่ดินและแหล่งน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้จัดแบ่งการใช้ประโยชน์พื้นที่ออกเป็นสัดส่วนหรือเป็นสูตรได้ดังนี้คือ ร้อยละ 30: 30 : 30 : 10
ส่วนแรก ร้อยละ 30 ขุดบ่อเก็บน้ำฝน เพื่ออุปโภค ใช้รดพืชเมื่อฝนแล้ง ใช้ปลูกพืชอายุสั้นราคาดี อย่างเช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่งลิสง และผักต่างๆ เป็นต้น
ส่วนที่สอง ร้อยละ 30 ใช้ปลูกข้าว เนื่องจากทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า “ข้าวเป็นอาหารหลัก” ของคนไทยเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอันดับแรกของชีวิต จึงควรปลูกให้ครอบครัวนั้นกินตลอดปี
ส่วนที่สาม ร้อยละ 30 ปลูกพืชสวน ไม้ยืนต้น พืชผักและพืชไร่อื่นๆ แบบผสมผสานเพื่อกินเองและจำหน่ายส่วนที่เหลือ
ส่วนที่สี่ ร้อยละ 10 ส่วนสุดท้าย คือ พื้นที่สำหรับอยู่อาศัย ทำถนน คันดิน ยุ้งข้าว เพาะเลี้ยงพันธุ์ปลาและโรงเลี้ยงสัตว์ต่างๆ
“พอเพียงนี้อาจจะมีมาก อาจจะมีของหรูหราก็ได้ แต่ว่าต้องไม่เบียดเบียนคนอื่น ต้องให้พอประมาณตามอัตภาพ พูดจาก็พอเพียง ทำอะไรก็พอเพียง ปฏิบัติตนก็พอเพียง” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2541 กลับสู่เมนูหลัก
เด็กหญิงนันทิดา ลังประเสริฐ เกิดวันพฤหัสบดี ที่ 1 กรกฎาคม 2536 ปัจจุบัน อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ 15 ซอยเสรีไทย 83 แยก 3 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230 โทร 0-2518-0941-7
เด็กหญิงพุ่มพวง มาสมาน เกิดวันเสาร์ ที่ 5 มิถุนายน 2536 ปัจจุบัน อยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 สถานที่ติดต่อ บ้านเลขที่ 17 ซอยเสรีไทย 83 แยก 9 แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพมหานคร 10230 โทร 0-2540-3092 กลับสู่เมนูหลัก
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ อัษฎายุทธ ศักดิ์สิทธิ์ อาจารย์ ศุภกานต์ โคตรทุม กลับสู่เมนูหลัก