510 likes | 666 Views
เครื่องชี้วัดและแบบสอบถาม ข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบท แผนฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) จังหวัดเชียงใหม่ วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ. การปรับปรุงเครื่องชี้วัดแบบสอบถาม จปฐ. / กชช. 2 ค. 1. Introduction. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ – ๒๕๕๙)
E N D
เครื่องชี้วัดและแบบสอบถามข้อมูลเพื่อการพัฒนาชนบทแผนฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) จังหวัดเชียงใหม่วันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๔ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ
การปรับปรุงเครื่องชี้วัดแบบสอบถามจปฐ./ กชช.2ค. 1. Introduction แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ – ๒๕๕๙) -ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ๕ หมวด ๓๐ ตัวชี้วัด -ข้อมูลพื้นฐานระดับหมู่บ้าน (กชช.๒ค.) ๗ ด้าน ๓๓ ตัวชี้วัด 2. Strategy 3. Challenges Forward 4. Conclusion
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๕๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๑ สุขภาพดี หมวดที่ ๑ คนไทยมีสุขภาพกายและจิตดี ตัดออก ๕ ยุบรวม ๑ เพิ่ม ๑เหลือ ๘ ตัวชี้วัด ๑๓ ตัวชี้วัด
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๑ หญิงตั้งครรภ์ได้รับการดูแลก่อนคลอดและวัคซีน ครบตามเกณฑ์ ตัวชี้วัดที่ ๒ แม่ที่คลอดลูกได้รับการทำคลอดและดูแลหลังคลอด เหตุผล -เป็นรายละเอียดของกิจกรรมบริการที่มีมาตรฐาน ที่ สธ. กำหนดไว้ มีระบบจัดเก็บและรายงานผลประจำปี -เป็นตัวชี้วัดในกลุ่ม Input และ Process
ตัวชี้วัดที่ ๑ เด็กแรกเกิดมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓ ) เหตุผล-Output indicator สามารถสะท้อนคุณภาพชีวิตได้ดี /อธิบาย Input และ Process indicator ตัวชี้วัดที่ ๑ และ ๒ ที่ตัดไป -สำหรับ เกณฑ์เท่าเดิมจากสถิติ เด็กแรกเกิดมีชีพย้อนหลัง ๕ ปี พบว่า ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย และมีเด็ก มีน้ำหนักต่ำกว่า ๒,๕๐๐ กรัม ร้อยละ ๙
ตัวชี้วัดที่ ๒ เด็กแรกเกิดถึง ๑๒ ปี ได้รับ วัคซีนป้องกันโรค ครบตาม ตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๔ ) เหตุผลรวมตัวชี้วัดที่ ๔ และ ๘ เข้าด้วยกัน เนื่องจากการ ให้วัคซีนตามตารางสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ในช่วงอายุต่างๆ จึงไม่จำเป็นต้องแยกเป็น ๒ ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ ๓ เด็กแรกเกิดได้กินนมแม่ อย่างเดียวอย่างน้อย ๖ เดือนแรกติดต่อกัน (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๕) เหตุผลสธ. ปรับเกณฑ์ระยะเวลา จาก ๔ เดือน เป็น ๖ เดือน ตาม WHO ซึ่งเน้น ประโยชน์ในการสร้างภูมิ ต้านทานโรค
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๖ เด็กแรกเกิดถึง ๕ ปี เจริญเติบโต ตามเกณฑ์มาตรฐาน ตัวชี้วัดที่ ๗ เด็กอายุ ๖-๑๕ ปี เจริญเติบโต ตามเกณฑ์มาตรฐาน เหตุผล -ตัวชี้วัดที่ ๖ และ ๗ ไม่มีความจำเป็น เนื่องจากค่าเฉลี่ยน้ำหนัก เด็กไทยเกิน มาตรฐาน
ตัวชี้วัดที่ ๔ ทุกคนในครัวเรือนกินอาหารถูกสุขลักษณะ ปลอดภัย และได้มาตรฐาน (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๙ ) เหตุผล-คงไว้เนื่องจากพฤติกรรมบริโภคของคนไทยเป็นสาเหตุของความเจ็บป่วย -แนวโน้มการบริโภคอาหารบรรจุสำเร็จและอาหารเสริมมีมากขึ้น อย. ควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง -พืชผักในตลาดส่วนใหญ่ยังปนเปื้อนเคมีและสารพิษ
ตัวชี้วัดที่ ๕ คนในครัวเรือนมีการใช้ยาเพื่อบำบัด บรรเทา อาการเจ็บป่วยเบื้องต้นอย่างเหมาะสม (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๑๐) เหตุผล-คงไว้ มีการกินยาชุดในกลุ่มเกษตรกร มากขึ้น -ส่งเสริมให้คนไทยใช้ยาสามัญประจำบ้าน -แพทย์ทางเลือก และ แพทย์แผนไทย การใช้ยา จะมีกว้างขวาง
ตัวชี้วัดที่ ๖ คนอายุ ๓๕ ปี ขึ้นไป ได้รับการตรวจสุขภาพ ประจำปี เพื่อคัดกรอง ความเสี่ยงต่อ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๑๑ ) เหตุผลที่ผ่านมาคนไทยไปใช้บริการเมื่อเจ็บป่วยมากขึ้น แต่ยังให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อการ ป้องกันและส่งเสริมสุขภาพเพียง ๔๘.๘%
ตัวชี้วัดที่ ๗ คนอายุ ๖ ปีขึ้นไป ออกกำลังกายอย่างน้อย สัปดาห์ละ ๓ วัน วันละ ๓๐ นาที (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๑๒) เหตุผล ค่ารักษาพยาบาลต่อหัวของคนไทยสูง และมีอัตราส่วนเพิ่มขึ้น อย่างมาก ประกอบกับการออกกำลังกายของคนไทยยังต่ำ ๕๙.๘ %
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๑๓ ทุกคนในครัวเรือนที่มีสิทธิ ในระบบประกัน สุขภาพถ้วนหน้า มีหลักประกันสุขภาพ เหตุผล -ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายประกันสุขภาพอย่างครอบคลุมถ้วนหน้า และมีผู้ใช้บริการอย่างกว้างขวาง
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๔๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๒ คนไทยมีบ้านอาศัยและสภาพแวดล้อมเหมาะสม หมวดที่ ๒ มีบ้านอาศัย ๘ ตัวชี้วัด ๘ ตัวชี้วัด เท่าเดิม
ตัวชี้วัดที่ ๘ ครัวเรือนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย และมีสภาพคงทนถาวร ตัวชี้วัดที่ ๙ ครัวเรือนมีน้ำสะอาดสำหรับดื่มและ บริโภคเพียงพอตลอดปี ตัวชี้วัดที่ ๑๐ ครัวเรือนมีน้ำใช้เพียงพอตลอดปี ตัวชี้วัดที่ ๑๑ ครัวเรือนมีการจัดบ้านเรือนเป็น ระเบียบ สะอาด ถูกสุขลักษณะ ตัวชี้วัดที่ ๑๒ ครัวเรือนไม่ถูกรบกวนจากมลพิษ ตัวชี้วัดที่ ๑๓ ครัวเรือนมีการป้องกันอุบัติภัยอย่าง ถูกวิธี ตัวชี้วัดที่ ๑๔ ครัวเรือนมีความปลอดภัยในชีวิตและ ทรัพย์สิน ตัวชี้วัดที่ ๑๕ ครอบครัวมีความอบอุ่น
ตัวชี้วัดที่ ๘-๑๕ เหตุผลซึ่งเกี่ยวกับที่พักอาศัยและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมยังคงเดิมไม่มีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นต้องมีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดคุณภาพนี้ต่อไป
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๔๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๓ ฝักใฝ่การศึกษา หมวดที่ ๒ คนไทยมีการศึกษาเหมาะสม ๕ ตัวชี้วัด ตัด ๒ ตัวชี้วัด ๗ ตัวชี้วัด
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๒๒ เด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี ได้รับการกระตุ้นการ เรียนรู้จากการทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ ในบ้าน เหตุผล-เป็นตัวชี้วัดในกลุ่ม Input และ Process ซึ่งหากนำเสนอใน จปฐ. จะมีตัวชี้วัดจำนวนมาก เกินความจำเป็น
ตัวชี้วัดที่ ๑๖ เด็กอายุ ๓-๕ ปีเต็ม ได้รับ บริการเลี้ยงดูเตรียม ความพร้อมก่อนวัยเรียน (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๓) เหตุผล เนื่องจากเด็กแรกเกิดถึง ๕ ปี ต้องได้รับการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จากผู้ใหญ่ในบ้าน และการ เตรียมพร้อมก่อนวัยเรียน
ตัวชี้วัดที่ ๑๗ เด็กอายุ ๖-๑๔ ปี ได้รับ การศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๔) เหตุผล เดิมใช้อายุ ๖-๑๕ ปี ปรับเกณฑ์ อายุให้สอดคล้องกับโครงสร้าง อายุการศึกษาที่กำหนด ช่วงการศึกษาภาคบังคับ (ป.๑-ม.๓) ไว้ที่อายุระหว่าง ๖-๑๔ ปี
ตัวชี้วัดที่ ๑๘ เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ได้เรียนต่อมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่า (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๕) เหตุผล เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายที่ กศน.จัดการศึกษา และในช่วงแผน๑๑ คาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๑๙ เด็กที่จบการศึกษาภาคบังคับ ๙ ปี ที่ไม่ได้ เรียนต่อ และยังไม่มีงานทำได้รับการฝึกอาชีพ (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๖) เหตุผล รัฐมีนโยบายที่เน้นการฝึกอบรมอาชีพให้กับ ประชาชนเป็นอย่างมาก และมีหน่วยงานทั้งรัฐ และเอกชนดำเนินการ ในช่วงแผน ๑๑ คาดว่า จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น
ตัวชี้วัดที่ ๒๐ คนอายุ ๑๕-๖๐ ปีเต็ม อ่าน เขียนภาษาไทย และคิดเลขอย่างง่ายได้ (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๗) เหตุผล กลุ่มประชากรอายุ ๖๑ ปีขึ้นไป ซึ่งอยู่ในกลุ่มผู้สูงอายุ มีการจัด กิจกรรมให้เป็นการเฉพาะ และเหมาะสมอยู่แล้ว
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๒๘ คนในครัวเรือน ได้รับรู้ ข่าวสาร ที่เป็นประโยชน์ อย่างน้อย สัปดาห์ละ ๕ ครั้ง เหตุผล-ปัจจุบันสื่อต่างๆมีเทคโนโลยีสมัยใหม่ ช่วยให้คนไทย สามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวก ปัญหาจึง ไม่ได้อยู่ที่ขาดข้อมูลข่าวสาร แต่อยู่ที่การรับเลือกข่าวสาร และการไม่มีภูมิคุ้มกันจากพิษภัยของข่าวสารมากกว่า
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๔๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๔ รายได้ก้าวหน้า หมวดที่ ๔ คนไทยมีงานทำและรายได้ มั่นคง ๓ ตัวชี้วัด ๔ ตัวชี้วัด (เพิ่ม ๑ ตัวชี้วัด)
ตัวชี้วัดที่ ๒๑ คนอายุ ๑๕-๖๐ ปีเต็ม มีอาชีพและรายได้ (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๒๙) เหตุผล คนในช่วงอายุนี้ต้องมี งานและรายได้ทำ เพื่อเลี้ยงชีพ
ตัวชี้วัดที่ ๒๒ คนอายุ ๖๐ ปีขึ้นไป มีอาชีพและรายได้ (เพิ่มใหม่) เหตุผล -ในช่วงแผน ๑๑ สังคมไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุมากขึ้น รัฐอาจมีการปรับช่วงอายุการเกษียณอายุราชการให้สูงขึ้นเช่นเดียวกับประเทศที่เป็นสังคมผู้สูงอายุอื่น -ในชนบทผู้ประกอบอาชีพการเกษตรส่วนใหญ่เป็นคน อายุ ๖๑ ปีขึ้นไป
ตัวชี้วัดที่ ๒๓ คนในครัวเรือนมีรายได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า คนละ ๓๐,๐๐๐ บาทต่อปี (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๐) เหตุผล เพิ่มจากเดิม ๓๐%(เดิม ๒๓,๐๐๐ บาท) โดยคำนวณจากรายจ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภค ๑๑ รายการ (ปี ๒๕๕๒) ของกลุ่มผู้ที่มี รายได้ต่ำที่สุด (ประมง,เก็บของป่า,บริการทางการเกษตร)
ตัวชี้วัดที่ ๒๔ ครัวเรือนมีการเก็บ ออมเงิน (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๑) เหตุผล ตัวชี้วัดสะท้อนพฤติกรรมการ นำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปฏิบัติ
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๔๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๕ ปลูกฝังค่านิยมไทย หมวดที่ ๕ คนไทยมีประพฤติดี ๖ ตัวชี้วัด (ตัดออก ๑ ตัวชี้วัด) (เพิ่ม ๑ ตัวชี้วัด) ๖ ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัดที่ ๒๕ คนในครัวเรือนไม่ดื่มสุรา (ยกเว้นเป็นครั้งคราว) (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๒) เหตุผล ปรับปรุงว่า “ติดสุรา” ซึ่งเป็นปัญหา การตีความยากในการจัดเก็บข้อมูล เป็น “ ดื่มสุราเป็นประจำ” ซึ่งวัดได้ง่ายกว่า
ตัวชี้วัดที่ ๒๖ คนในครัวเรือน ไม่สูบบุหรี่ (เดิมตัวชี้วัดที่ ๓๓) เหตุผล เนื่องจากการสูบบุหรี่ ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ของผู้สูบ
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๓๔ คนในครัวเรือน ได้ปฏิบัติตน ตามขนบธรรมเนียม และมารยาทไทย เหตุผล-เป็นตัวชี้วัดที่วัดได้ยาก เนื่องจาก มีขอบข่ายของเรื่องขนบธรรมเนียม และมารยาทกว้างขวาง -ตัวชี้วัดไม่สะท้อนคุณภาพชีวิต โดยตรง
ตัวชี้วัดที่ ๒๗ คนอายุ ๖ ปีขึ้นไป ทุกคนได้ ปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา อย่างน้อย สัปดาห์ละ ๑ ครั้ง (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๕) เหตุผล เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและ มีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด คุณภาพชีวิตตัวนี้ต่อไป
ตัวชี้วัดที่ ๒๘ คนสูงอายุได้รับการดูแลจาก คนในครอบครัว หมู่บ้าน/ ชุมชน หรือภาครัฐ (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๖) เหตุผล เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและ มีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด คุณภาพชีวิตตัวนี้ต่อไป
ตัวชี้วัดที่ ๒๙ คนพิการได้รับการดูแลจาก คนในครอบครัวหมู่บ้าน/ชุมชน หรือภาครัฐ (เดิมเป็นตัวชี้วัดที่ ๓๗) เหตุผล เนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและ มีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัดคุณภาพ ชีวิตตัวนี้ต่อไป
ตัวชี้วัดที่ ๓๐ คนในครัวเรือน มีส่วนรวมทำ กิจกรรมสาธารณะ เพื่อ ประโยชน์ของ หมู่บ้าน/ ชุมชน หรือท้องถิ่น (เพิ่มใหม่ ๑ ตัว) เหตุผลเนื่องจากเป็นเรื่องที่สำคัญและ มีความจำเป็นต้องมีตัวชี้วัด คุณภาพชีวิตตัวนี้ต่อไป
เปรียบเทียบตัวชี้วัด จปฐ.แผน ๑๐ (๒๔๔๐-๒๕๔๔ ) กับ แผน ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) หมวดที่ ๖ ร่วมใจพัฒนา ตัดออก ไม่มีหมวดที่ ๖ ตัดออก ๒ ตัวชี้วัด ยุบรวม ๓ ตัวชี้วัด ๕ ตัวชี้วัด
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๓๘ ครัวเรือนมีคนเป็นสมาชิกกลุ่ม ที่ตั้งขึ้นใน หมู่บ้าน/ ตำบล เหตุผล เป็นตัวชี้วัดที่ใช้มานานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ในยุคการพัฒนาที่เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ปัจจุบันการจัดตั้งกลุ่มมีมากขึ้น และประชาชนเป็นสมาชิกกลุ่มมากขึ้น จนบางคนมีหมวกหลายใบ
ยุบรวม ตัวชี้วัดที่ ๓๙ ครัวเรือนมีคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น เพื่อประโยชน์ของชุมชนหรือท้องถิ่น ตัวชี้วัดที่ ๔๐ ครัวเรือนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ของชุมชน หรือท้องถิ่น ตัวชี้วัดที่ ๔๑ คนในครัวเรือนมีส่วนร่วมทำกิจกรรม สาธารณะของหมู่บ้าน ชุมชน
ตัวชี้วัดที่ ๓๙ , ๔๐ , ๔๑ เหตุผล ยังคงไว้แต่นำไปรวม เป็นตัวชี้วัดใหม่ที่ ๓๐ เพียงตัวเดียว เนื่องจาก เป็นกิจกรรมเกี่ยวกับสาธารณะด้วยกัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องแยกเป็น ๓ ตัวชี้วัด
ตัดออก ตัวชี้วัดที่ ๔๒ คนอายุ ๑๘ ปีขึ้นไปที่มีสิทธิ เลือกตั้งไปใช้สิทธิ เลือกตั้งในชุมชนของตนเอง เหตุผล ตัวชี้วัดไม่สะท้อนคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด เนื่องจาก การใช้สิทธิเลือกตั้งในสังคมไทยส่วนใหญ่เป็นระบบหัวคะแนน
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. มี ๗ ด้าน ๓๓ ตัวชี้วัด (เดิมมี ๖ ด้าน ๓๑ ตัวชี้วัด) กำหนดระดับการพัฒนาหมู่บ้าน/ชุมชน ๓ ระดับ ๑.หมู่บ้านพัฒนาก้าวหน้า : ๑ คะแนน ๐-๕ ตัวชี้วัด ๒.หมู่บ้านพัฒนาปานกลาง : ๑ คะแนน ๖-๑๐ ตัวชี้วัด ๓.หมู่บ้านพัฒนาล้าหลัง : ๑ คะแนน ๑๑-๓๓ ตัวชี้วัด
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) ด้านที่ ๑ โครงสร้างพื้นฐาน มี ๗ ตัวชี้วัด ๑.ถนน ๒.น้ำดื่ม ๓.น้ำใช้ ๔.น้ำเพื่อการเกษตร ๕.ไฟฟ้า ๖.การติดต่อสื่อสาร ๗.การมีที่ดินทำกิน
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) ด้านที่ ๒ สภาพพื้นฐานทางเศรษฐกิจ มี ๗ ตัวชี้วัด ๘.การมีงานทำ ๙.การทำงานในสถานประกอบการ ๑๐. ผลผลิตจากการทำนา ๑๑.ผลผลิตจากการทำไร่ ๑๒.ผลผลิตจากการทำเกษตรอื่นๆ ๑๓.การประกอบอุตสาหกรรมในครัวเรือน ๑๔.การได้รับประโยชน์จากการมีสถานที่ท่องเที่ยว
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ข๒๕๕๙) ด้านที่ ๓ สุขภาพและอนามัย มี ๓ ตัวชี้วัด ๑๕.ความปลอดภัยในการทำงาน ๑๖.การป้องกันโรคติดต่อ ๑๗.การกีฬา
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕-๒๕๕๙) ด้านที่ ๔ ความรู้และการศึกษา มี ๓ ตัวชี้วัด ๑๘.การได้รับการศึกษา ๑๙.อัตราการเรียนต่อของประชาชน ๒๐.ระดับการศึกษาของประชาชน
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ข๒๕๕๙) ด้านที่ ๕ การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งของ ชุมชน มี ๕ ตัวชี้วัด ๒๑.การเรียนรู้โดยชุมชน ๒๒.การได้รับความคุ้มครองทางสังคม ๒๓.การมีส่วนร่วมของชุมชน ๒๔.การรวมกลุ่มของชุมชน ๒๕.การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ข๒๕๕๙) ด้านที่ ๖ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี ๕ ตัวชี้วัด ๒๖.คุณภาพของดิน ๒๗.คุณภาพของน้ำ ๒๘.การปลูกป่าหรือไม้ยืนต้น ๒๙.การใช้ประโยชน์ที่ดิน ๓๐.การจัดการสภาพแวดล้อม
ตัวชี้วัด กชช.๒ ค. ใช้ในแผนพัฒนา ฉบับที่ ๑๑ (๒๕๕๕ข๒๕๕๙) ด้านที่ ๗ ความเสี่ยงของชุมชนและภัยพิบัติ มี ๓ ตัวชี้วัด ๓๑.การปลอดภัยจากยาเสพติด ๓๒.ภัยพิบัติ ๓๓.ความเสี่ยงในชุมชน