1 / 60

การสัมมนาเชิงวิชาการบัญชีประชาชาติ

การสัมมนาเชิงวิชาการบัญชีประชาชาติ. โครงการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ระยะที่ 2. 7 กันยายน 2550. โดย บริษัท เบอร์รา จำกัด. หัวข้อการสัมมนา : ช่วงเช้า. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ระดับราคาคงที่

waseem
Download Presentation

การสัมมนาเชิงวิชาการบัญชีประชาชาติ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การสัมมนาเชิงวิชาการบัญชีประชาชาติการสัมมนาเชิงวิชาการบัญชีประชาชาติ โครงการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ระยะที่ 2 7 กันยายน 2550 โดย บริษัท เบอร์รา จำกัด

  2. หัวข้อการสัมมนา : ช่วงเช้า • ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ระดับราคาคงที่ • การทดสอบการใช้ GDP ณ ราคาคงที่แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ • การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม

  3. หัวข้อการสัมมนา : ช่วงเช้า • การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ระดับราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) : ประสบการณ์ของต่างประเทศ • การจัดทำสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ระดับราคาคงที่ และผลการคำนวณเบื้องต้น

  4. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ การคำนวณ GDP ณ ราคาคงที่(constant price value) หรือ ในรูปมูลค่าที่แท้จริง (real value) คือ การขจัดผลการเปลี่ยนแปลงทางด้านราคา (price effect) ออกไปจากมูลค่า GDP ในรูปตัวเงิน (nominal value) เพื่อให้เหลือเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางด้านปริมาณ ( quantity effect หรือ volume effect)

  5. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ เราไม่สามารถนำปริมาณสินค้าต่างๆ มารวมกัน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณได้ เพราะสินค้าต่างๆมีหน่วยไม่เหมือนกัน วิธีการเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ คือ การนำมูลค่าของสินค้าต่างๆ ในแต่ละปีมารวมกัน โดยใช้วิธีการรวมกันที่ทำให้ราคาสินค้ามีค่าคงที่ ไม่เปลี่ยนไปตามกาลเวลา

  6. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ การรวมมูลค่าสินค้าในทุกๆ ปี โดยใช้ชุดราคาในปีแรก เป็นตัวคูณกับปริมาณ ทำให้ได้ “มูลค่าสินค้า ณ ราคาคงที่” ชุดราคาในปีแรก คือ ราคาคงที่ และเราเรียกปีแรกนี้ว่า “ปีฐาน” การเปลี่ยนแปลงด้านปริมาณ สามารถแสดงได้โดยตัวแปรที่เรียกว่า “ดัชนีปริมาณ”

  7. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีปริมาณ แบบ Laspeyres มีสูตร ดังนี้ โดยที่ P0 เป็นราคาสินค้าในปีฐาน Q0เป็นปริมาณสินค้าในปีฐาน Qtเป็นปริมาณสินค้าในปี t

  8. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1

  9. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1 อัตราการเพิ่มของ GDP ในปีที่ 3 เทียบกับปีที่ 1 ซึ่งเป็นปีฐาน โดยการอาศัยสูตรการคำนวณแบบ Laspeyres เท่ากับ

  10. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 1 เราสามารถอัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ แบบ Laspeyres ในปีอื่นๆ ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้

  11. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่คำนวณได้จาก GDP ณ ระดับราคาปีฐานที่ “ เก่า ” เกินไปมักจะมีค่าที่สูงกว่าที่ควรจะเป็น (overestimate) เพราะดัชนีปริมาณแบบ Laspeyres จะให้น้ำหนักมากเกินไป (น้อยเกินไป) แก่สินค้าที่มีราคาถูกลง (แพงขึ้น) และที่มีปริมาณมากขึ้น (ลดลง) [‘substitution bias”]

  12. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ กรณี GDP ณ ระดับราคาปีฐานที่ “ เก่า ” เกินไป: ในทางตรงกันข้าม ถ้าใช้ดัชนีปริมาณแบบ Paasche จะคำนวณได้ผลอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำเกินไป (underestimate growth) ความแตกต่างระหว่างผลการเติบโตจากการคำนวณแบบ Laspeyres และการคำนวณแบบ Paasche เรียกว่า Laspeyres-Paasche Gap หรือ L-P gap

  13. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีปริมาณ แบบ Paasche มีสูตร ดังนี้ โดยที่ P0 เป็นราคาสินค้าในปีฐาน Q0เป็นปริมาณสินค้าในปีฐาน Qtเป็นปริมาณสินค้าในปี t

  14. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2

  15. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2 อัตราการเพิ่มของ GDP ในปีที่ 3 เทียบกับปีที่ 1 โดยใช้ปีที่ 5 เป็นปีฐาน โดยการอาศัยสูตรการคำนวณแบบ Paasche เท่ากับ

  16. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 2 เราสามารถอัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ แบบ Laspeyres ในปีอื่นๆ ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้

  17. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ • การแก้ไขปัญหาการใช้ปีฐานที่เก่าเกินไปมี 2 แนวทาง คือ • การปรับปีฐานให้ทันสมัยมากขึ้น และบ่อยครั้งขึ้น • การเปลี่ยนไปใช้ดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ หรือ chained volume measure (CVM)

  18. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ หรือ chained volume measure (CVM) เป็นดัชนีที่ใช้ชุดราคาที่เปลี่ยนไปในทุกช่วงเวลาของการคำนวณเป็นตัวถ่วงน้ำหนัก โดยการเชื่อมโยงดัชนีสำหรับช่วงเวลาต่างๆ ที่อยู่ติดกัน โดย CI i, j คือ ดัชนีลูกโซ่ (chained index) สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i DI i, j คือ ดัชนีโดยตรง (direct index) สำหรับปีที่ j เทียบกับปีที่ i

  19. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่

  20. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3

  21. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3 เราสามารถคำนวณดัชนีโดยตรงระหว่างปีที่ 4 และปีที่ 3 ได้ดังนี้

  22. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 3 เราสามารถคำนวณหา ดัชนีโดยตรง ดัชนีลูกโซ่ GDP ณ ราคาคงที่ แบบ CVM และ อัตราการเพิ่มของ GDP ณ ราคาคงที่ แบบ CVM ได้โดยมีผลลัพธ์ ดังนี้

  23. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ในกรณีที่การเปลี่ยนโดยเปรียบเทียบในราคาและปริมาณสินค้าส่วนใหญ่ เป็นไปในทิศทางเดียวกัน (Monotonic change) การใช้ดัชนีแบบ chained จะทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจมีค่าใกล้เคียงกับอัตราที่เป็นจริงมากกว่าดัชนีแบบ fixed-weight ซึ่งสามารถทดสอบโดยการเปรียบเทียบ L-P gap ที่เกิดจากการใช้ดัชนีแบบ chained และการใช้ดัชนีแบบ fixed-weight

  24. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ สูตรการคำนวณแบบ Fisher ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยเรขาคณิต ระหว่างสูตรการคำนวณแบบ Laspeyres และ Paasche เป็นอีกสูตรการคำนวณหนึ่งที่เหมาะสำหรับการคำนวณดัชนีแบบ chained Fisher index มีคุณสมบัติหลายประการที่ทำให้เป็น index number ที่ดี จัดเป็นดัชนีประเภท superlative index และสามารถใช้เป็นมาตรฐานในการทดสอบดัชนีอื่นๆ

  25. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ • โดยหลักการแล้ว ดัชนีปริมาณแบบ chained มีคุณสมบัติที่มีกว่าดัชนีปริมาณแบบ fixed-weighted • ความแม่นยำในการคำนวณอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ • การจัดทำดัชนีแบบ chained ยังสามารถเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรม/สินค้า ชนิดใหม่ๆ เข้าไปได้ตลอดช่วงอนุกรม • SNA 1993 เสนอให้ใช้ดัชนีแบบ chained แทนแบบ fixed-weight • อัตราการเติบโตจะไม่เปลี่ยนแปลง เมื่อเปลี่ยนปีอ้างอิง

  26. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ คุณสมบัติประการหนึ่งของ ดัชนีแบบ chained คือ มูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ในปีอ้างอิง แบบดัชนีลูกโซ่ ที่เป็นค่าของส่วนประกอบ (component) รวมกัน จะไม่จำเป็นต้องเท่ากับค่าของยอดรวม (aggregates) คุณสมบัตินี้มีชื่อเรียกว่า non-additivity

  27. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 : สาขาอาหาร

  28. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 : สาขาสิ่งทอ

  29. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 ผลการคำนวณ GDP ณ ราคาปีฐานคงที่ (ปีที่ 1 เป็นปีฐาน) แบบ Laspeyres

  30. 1. ข้อจำกัดของการใช้ปีฐานคงที่ในการจัดทำ GDP ณ ราคาคงที่ ตัวอย่างที่ 4 ผลการคำนวณ GDP ณ ราคาคงที่แบบ chained (ปีที่ 1 เป็นปีอ้างอิง)

  31. 2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ โครงการเปลี่ยนปีฐานสถิติรายได้ประชาชาติของประเทศไทย ระยะที่ 1 ได้ทดสอบโดยใช้สถิติรายได้ประชาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2536-2546 ประเด็นทดสอบที่ 1 ในการคำนวณโดยใช้ดัชนีแบบ fixed-weighted การใช้ปีฐานที่ทันสมัยขึ้น ทำให้ผลการคำนวณ GDP growth มีค่าลดลง

  32. 2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ ประเด็นทดสอบที่ 2 การใช้ chained index ทำให้ผลการคำนวณ Laspeyres-Paasche gap (L-Pgap) ลดลงเมื่อเทียบกับการใช้ fixed-weighted index สรุปได้ว่า ในช่วง พ.ศ. 2536 – 2546 ราคาและปริมาณสินค้า ในเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ทำให้เกิด substitution bias ดังนั้นการใช้ข้อมูล GDP ณ ราคาปีฐาน 2531 จึง overestimate อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ

  33. 2. การทดสอบการใช้ GDP แบบปีฐานคงที่ และแบบดัชนีลูกโซ่ ประเด็นทดสอบที่ 3 การคำนวณ GDP growth โดยใช้ข้อมูลรายได้ประชาชาติ ณ ราคาปี 2531 ให้ค่าเฉลี่ยสูงเกินไปปีละประมาณ 0.56 percentage point ดังนั้นควรปรับปีฐานได้แล้ว หรือไม่ก็หันไปใช้ chain index (หรือ CVM) ประเด็นทดสอบที่ 4 การใช้ chained index แบบ Laspeyres ให้ผลการคำนวณที่แตกต่างจากการใช้ chained index แบบ Fisher ไม่มากนัก ดังนั้น ถ้าจะใช้ CVM ใช้แบบ Laspeyres ก็ได้

  34. 3. การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม • หลักเกณฑ์การคัดเลือกปีฐานใหม่ (เลือกจากปี 2544-2548) • ปีที่เป็นปัจจุบันมากที่สุด • ปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะปกติ • ปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ • ปีที่มีข้อมูลสำมะโน/การสำรวจ หรือการใช้ข้อมูลระบบใหม่ • ปีที่เป็นปีฐานของดัชนีราคา • ปีที่มีการจัดทำข้อมูลตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต • ปีที่ลงท้ายด้วยเลขศูนย์หรือเลขห้า (นับตาม ค.ศ.)

  35. 3. การคัดเลือกปีฐานที่เหมาะสม หรือปีอ้างอิงที่เหมาะสม • สรุป ปี พ.ศ. 2545 (ค.ศ.2002) สอดคล้องกับหลักเกณฑ์มากที่สุด • เป็นปีที่เศรษฐกิจอยู่ในภาวะค่อนข้างปกติ • เป็นปีเริ่มต้นของแผนพัฒนาฉบับที่ 9 • เป็นปีที่มีข้อมูลสำมะโน/สำรวจ เกือบทุกสาขา (เกษตรกรรม อุตสาหกรรมการผลิต การค้าและบริการ) • เป็นปีฐานของดัชนีราคาผู้บริโภค

  36. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) หากคำนวณสถิติรายได้ประชาชาติ ณ ราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ ด้วยคุณสมบัติ non additivity จะทำให้ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาคงที่ แบบดัชนีลูกโซ่ จะไม่เท่ากับผลรวมของของมูลค่า ณ ราคาคงที่แบบดัชนีลูกโซ่ ของการใช้จ่ายประเภทต่างๆ

  37. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของสถิติรายได้ประชาชาติ ในประเทศต่างๆ มี 4 รูปแบบด้วยกัน • มูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ • อัตราการเจริญเติบโต • ดัชนีปริมาณ • องค์ประกอบของการเปลี่ยนแปลงในหน่วยย่อยต่อการเปลี่ยนแปลงโดยรวม (contribution to growth)

  38. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานไปตามปกติ โดยไม่แสดงให้เห็นผลต่างระหว่าง ค่ายอดรวม กับ ผลรวมของส่วนประกอบ แต่เตือนว่า สถิติที่รายงานมีคุณสมบัติ Non Additivity

  39. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)

  40. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานมูลค่า โดยแสดงให้เห็นผลต่างระหว่างมูลค่ารวม และผลรวมมูลค่าของหน่วยย่อย (residual หรือ statistical discrepancy)

  41. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)

  42. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงานมูลค่า Constant Price GDP แบบ CVM: • รายงานเฉพาะมูลค่า ณ ระดับราคาปีก่อนหน้า และดัชนีปริมาณแบบลูกโซ่ (กรีซ)

  43. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)

  44. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM)

  45. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Fisher (USA, Canada)

  46. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Fisher (USA, Canada) พิสูจน์ได้ว่า จะสามารถแก้ปัญหา Non additivity ได้ โดยผลรวมของ จะเท่ากับอัตราการเปลี่ยนแปลงของมูลค่ารวมพอดี

  47. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) • การรายงาน contribution to growth : • Contribution to growth in GDP แบบ Laspeyres CVM แบบ Laspeyres ไม่สามารถทำให้สูตรการคำนวณ contribution to growth มีคุณสมบัติเป็น additivity ได้ จึงต้องปรับ ให้เป็นมูลค่า ณ ระดับราคาคงที่ในปีใดปีหนึ่งก่อน ( คือ ใช้ fixed-weight measure) เช่น ปรับให้เป็น previous year’s price แล้วจึงใช้ค่าดังกล่าวมาคำนวณ contribution to growth ต่อไป

  48. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) การรายงาน contribution to growth :

  49. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) การรายงาน contribution to growth :

  50. 4. การรายงานผลสถิติรายได้ประชาชาติฯ แบบดัชนีลูกโซ่ (CVM) Macro economic modeling : คุณสมบัติ additivity ของตัวแปรที่ใช้ในแบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค เป็นสิ่งที่จำเป็นและมีความสำคัญ แต่สถิติ GDP แบบ CVM มีคุณสมบัติ non additivity ผู้ศึกษา modeling ในประเทศต่างๆ มีวิธีแก้ไขอย่างไร ?

More Related