1.1k likes | 2.58k Views
Delphi Technique. การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย. 7. Introduction :. Discovery. Questionnaire. Experts.
E N D
Delphi Technique การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย 7
Introduction : Discovery Questionnaire Experts การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย เป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหลายคน เพื่อมุ่งศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับองค์ความรู้ในอนาคตของศาสตร์ต่าง ๆ โดยเฉพาะศาสตร์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
Introduction : Discovery Experts การวิจัยในอนาคต (Futurism) : 1. การคาดการณ์แนวโน้ม (Trend Projection) 2. การเขียนภาพอนาคต (Scenario Writing) 3. การปรึกษาผู้อื่น (Consulting Others)
Delphi Technique : การวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นวิธีการรวบรวมความคิดเห็นหรือการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ในอนาคต จากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปมติจากข้อค้นพบให้เป็นความคิดเดียวกันและมีความถูกต้อง โดยที่ไม่ต้องนัดหมายกลุ่มผู้เชี่ยวชาญให้มาประชุมกันเหมือนการ Brain Stroming แต่ให้แต่ละคนแสดงความคิดเห็นจากการตอบแบบสอบแต่ละรอบ ซึ่งสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ สามารถกลั่นกรองความคิดเห็นได้อย่างรอบคอบ ไม่มีการชี้นำจากกลุ่มและไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลทางความคิดของผู้อื่น ข้อมูลจึงน่าเชื่อถือ ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย
Delphi Technique : ความหมายของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมข้อมูลจากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องราวในอนาคต ที่กระจัดกระจายกันให้สอดคล้องกันอย่างมีระบบ ซึ่งจะนำไปใช้ในการตัดสินใจเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป็นเทคนิคในการทำนายเหตุการณ์หรือความเป็นไปได้ในอนาคต โดยอาศัยฉันทามติ (Consensus) ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อสรุปที่เป็นแนวคิดหรือเป็นการทำนายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหรือความเป็นไปในอนาคต ข้อสรุปจะสามารถนำไปใช้ประกอบ การตัดสินใจด้านต่าง ๆ ได้ทั้งในเชิงวิชาการและการบริการ
Delphi Technique : ลักษณะทั่วไปของเทคนิคเดลฟาย: เป็นวิธีการแสวงหาข้อมูลจากความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องใด ๆ โดยใช้แบบสอบถาม ผู้เชี่ยวชาญจึงต้องตอบแบบสอบถามที่กำหนดขึ้นในแต่ละรอบ จำนวน 3-4 รอบ เป็นวิธีที่ไม่ต้องการให้ความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญคนอื่น มีอิทธิพลต่อการตอบแบบสอบถามของแต่ละคน ทุกคนจึงไม่ทราบว่ามีผู้ใดที่ตอบแบบสอบถามและ ไม่ทราบว่าแต่ละคนมีความคิดเห็นแต่ละข้อคำถามอย่างไร เป็นการวิจัยที่ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญโดยใช้แบบสอบถาม โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้เชี่ยวชาญเผชิญหน้ากันโดยตรงในลักษณะ Brain Stroming 1. 2. 3.
Delphi Technique : ลักษณะทั่วไปของเทคนิคเดลฟาย: การตอบแบบสอบถามแต่ละรอบ เพื่อให้แต่ละคนตอบ ด้วยการกลั่นกรองอย่างรอบคอบ และให้ได้คำตอบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ผู้วิจัยจะแสดงความคิดเห็นของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่เห็นสอดคล้องกันในแต่ละข้อ ตอบกลับไป ในรอบที่ผ่านมา นำเสนอในรูปของสถิติ แล้วส่งกลับไป ยังผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้จะยืนยันคำตอบเดิม หรือเปลี่ยนแปลงคำตอบใหม่พร้อมระบุเหตุผลการวิเคราะห์ข้อมูลจะใช้สถิติเบื้องต้น เช่น การวัดแนว โน้มเข้าสู่ส่วนกลาง ฐานนิยม มัธยฐาน ค่าเฉลี่ย และการวัดการกระจายของข้อมูล 4. 5.
Delphi Technique : ลักษณะของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: เป็นภาพอนาคตที่ต้องการศึกษาความเป็นไปหรือศึกษาแนวโน้มที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ธุรกิจ และการศึกษา ที่ผู้วิจัยต้องการพยากรณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกต้องแน่นอน แต่สามารถทำ วิจัยเพื่อศึกษาปัญหาได้ โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาดังกล่าว เป็นปัญหาที่ต้องการศึกษาจากความคิดเห็นหลายๆ ด้าน จากความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ทรงคุณวุฒิประจำสาขา 1. 2. 3.
Delphi Technique : ลักษณะของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ผู้วิจัยไม่ต้องการให้ความคิดเห็นของแต่ละคนมีอิทธิพล ต่อการตัดสินปัญหาโดยรวม โดยไม่ต้องการเปิดเผยรายชื่อผู้ให้ข้อมูล อันเนื่องมาจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น อาจเป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งมาก มีปัญหากับการพบปะแบบเชิญหน้าโดยตรงในการระดมสมองหรือการประชุมบุคคลที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ข้อมูล อันเนื่องมาจากปัญหาทางด้านเวลา การเดินทาง สภาพภูมิศาสตร์ หรืองบประมาณ 4. 5.
Delphi Technique : องค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยเดลฟายสำเร็จผล: ผู้วิจัยจะต้องมีเวลามากเพียงพอในการส่งแบบสอบถาม แต่ละรอบ ๆ ไปยังผู้เชี่ยวชาญรวมทั้งมีกลวิธีการติดตามการตอบกลับจากผู้เชี่ยวชาญอย่างได้ผลการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่ จะต้องพิจารณาดังนี้ 1. ผู้เชี่ยวชาญจะต้องมีความรู้ในสาขาอย่างแท้จริง ต้อง ไม่เลือกผู้ที่ติดต่อง่ายหรือมีเวลาให้แต่ไม่เชี่ยวชาญ2. จะต้องคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญที่มีความสนใจในเรื่องที่ ผู้วิจัยทำการวิจัย และเต็มใจให้ความร่วมมือวิจัย3. มีจำนวนผู้เชี่ยวชาญมากเพียงพอเพื่อให้ได้คำตอบที่ ถูกต้องและน่าเชื่อถือ (17 คนขึ้นไป) 1. 2.
Delphi Technique : องค์ประกอบที่ทำให้การวิจัยเดลฟายสำเร็จผล: แบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลจะต้องมีคุณภาพและ มีความเที่ยงตรง รวมทั้งวัดผลได้ตรงตามความต้องการ เข้าใจง่าย ชัดเจนและง่ายต่อการตอบผู้วิจัยจะต้องเตรียมตัวดังนี้ 1. ทำความเข้าใจในกระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย อย่างละเอียด 2. มีเวลาเพียงพอในการส่งและเก็บแบบสอบถาม มีกล ยุทธ์ในการติดตามหรือทวงถามแบบสอบถามที่ได้ผล 3. มีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำตอบ และ ไม่มีอคติต่อผลของการพิจารณาคำตอบ 3. 4.
Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: กำหนดประเด็นปัญหาของการวิจัย- ควรเป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบถูกต้องและสามารถทำวิจัย ได้โดยอาศัยมติจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญ - ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยด้วยเทคนิค เดลฟาย ต้องเป็นผู้ที่รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟายก็คือแบบสอบถาม แบ่งการเก็บออกเป็น 3 - 4 รอบ 1. 2. 3.
Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล รอบที่ 1 แบบปลายเปิด (Opened End) : เป็นการถามอย่างกว้างๆ ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหา ของการวิจัย เพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ แต่ละคน (ใช้เวลา 2 สัปดาห์) รอบที่ 2 แบบประเมินค่า (Rating Scale) :พัฒนาจากคำตอบในรอบที่ 1 โดยรวบรวมความคิดเห็น ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตัดข้อมูลที่ซ้ำ กันออก แล้วสร้างแบบสอบถามรอบที่ 2 เพื่อถามผู้เชี่ยวชาญเดิมอีกครั้งหนึ่ง 3.
Delphi Technique : กระบวนการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล รอบที่ 3 แบบประเมินค่า (Rating Scale) : พิจารณาค่า IR ถ้ามีค่าน้อย แสดงว่าความคิดเห็นที่ได้สอดคล้องกัน สามารถสรุปความได้ แต่ถ้า IR มีค่ามาก แสดงว่าความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกระจัดกระจาย สรุปความไม่ได้ ต้องสร้างแบบสอบถามรอบที่ 3 เหมือนรอบที่ 2 แต่เพิ่มตำแหน่งค่า IR และแสดงตำแหน่งที่ผู้เชี่ยวชาญตอบในแบบรอบที่ 2 เพื่อยืนยันคำตอบรอบที่ 4 เหมือนรอบที่ 3 :พิจารณาค่า IR เหมือนรอบที่ 3 สรุปผล 3.
Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อดี : 1.มีความเชื่อถือ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นคำตอบที่ได้จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ที่มีความชำนาญในสาขาวิชานั้น ๆ อย่างแท้จริง ผลการวิจัยได้ผ่านกระบวนการพิจารณาจากการ ย้ำถามหลายรอบ จึงเป็นคำตอบที่กลั่นกรองอย่าง รอบคอบ เกิดความเชื่อมั่นของผลการวิจัยสูง ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระ เชื่อถือ ได้ในผลของคำตอบ 2. ใช้เวลาในการวิจัยไม่มาก (2-3 เดือน) 3. ใช้งบประมาณในการวิจัยไม่มาก
Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อดี : 4. ทำการวิจัยได้ทุกสถานการณ์ สามารถเก็บข้อมูลจาก ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในสถานที่แตกต่างกันได้ทั้งทางด้าน สภาพภูมิศาสตร์และเวลา 5. เป็นวิธีวิจัยที่มีขั้นตอนการดำเนินการไม่ซับซ้อน รวมทั้งสามารถทราบลำดับความสำคัญของข้อมูล และเหตุผลในการตอบ รวมทั้งความสอดคล้อง ของความคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ 6. วิเคราะห์ข้อมูลง่าย
Delphi Technique : ข้อดี-ข้อเสียของการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย: ข้อเสีย : 1. ถ้าผู้เชี่ยวชาญไม่ใช่ผู้ชำนาญที่แท้จริง จะทำให้ผล การวิจัยคลาดเคลื่อนหรือเชื่อถือไม่ได้ 2. ผู้วิจัยไม่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถาม โดยตลอด (3-4 รอบ)3. ขาดการวางแผนยุทธวิธีในการติดตามแบบสอบถาม จากผู้เชี่ยวชาญ4. ขาดความรอบคอบหรือมีอคติในการวิเคราะห์คำตอบ ที่ได้ในแต่ละรอบ 5. ขาดการศึกษาข้อมูลประกอบการทำวิจัยอย่าง เพียงพอ
Ethnographic Delphi Future Research : การวิจัยแบบ EDFR : การวิจัยแบบ EDFR เป็นการวิจัยอนาคตอีกเทคนิคหนึ่ง ที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยเพิ่มศักยภาพของทั้งวิธี EFR และเดลฟาย พัฒนาขึ้นโดย ดร.จุมพล พูลภัทรชีวิน (1979) เพื่อใช้ในการวิจัยในอนาคตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การวิจัยชาติพันธุ์วรรณา เทคนิคเดลฟาย EFR Delphi + EDFR
Ethnographic Future Research (EFR) : การวิจัยชาติพันธุ์วรรณา (EFR) : Ethno = เชื้อชาติ ประชากร Graphein = การเขียน Future = อนาคต Ethnographic = การพรรณนาถึงวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณีหรือวัฒนธรรมเฉพาะของสังคม/องค์กร เพื่อให้ทราบถึงวัฒนธรรมนั้นได้อย่างลึกซึ้งเช่น วิถีชีวิตชาวจีน ความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อย วัฒนธรรมของสังคม EFR จึงเป็นการวิจัยในอนาคต เพื่อต้องการทราบถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณีและวัฒนธรรมขององค์กร โดยการ เก็บรวบรวมข้อมูลและสรุปผลภาพในอนาคต (Scenario)
Ethnographic Future Research (EFR) : ตัวอย่างการวิจัยชาติพันธุ์วรรณา (EFR) : การศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการสูญเสียวัฒนธรรมและการ ผสมผสานทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ย่อย ขอบเขต : 1. ระบบเศรษฐกิจของศูนย์กลาง 2. ลำดับชั้นทางการเมือง 3. ลัทธิความเชื่อทางศาสนา 4. โครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคม วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : 1. การสังเกต/การสัมภาษณ์/การสอบถาม 2. การศึกษา
Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: การเตรียมผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบบ EDFR จะเหมือนกับเทคนิคเดลฟาย ต้องเป็นผู้ที่รู้จริงและมีความเชี่ยวชาญในสาขาควรใช้วิธีการเลือกแบบ Purposive Sampling หรือ Snowball เพื่อให้ได้ครบตามต้องการ การสัมภาษณ์ EDFR โดยยึดตามกระบวนการ EFR สัมภาษณ์ 3 ประเด็น ดังนี้ ORS(Optimistic Realistic Scenario)ภาพที่พึงประสงค์ PRS (Pessimistic Realistic Scenario) ภาพที่ไม่พึงประสงค์ และ MPS (Most Probable Scenario) ภาพที่เป็นไปได้มากที่สุด (OS, PM และ MS) 1. 2.
Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: การสังเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์ โดยใช้วิธี การสรุปสะสม (Cumulative Summarization Techniq.) เพื่อกำหนดเป็นประเด็นของปัญหาต่อไป พัฒนาแบบสอบถาม สร้างแบบสอบถามขึ้นเพื่อนำไปใช้สอบถามผู้เชี่ยวชาญ โดยนำประเด็นต่าง ๆ ที่ได้จากการสังเคราะห์ไปตั้งเป็น ข้อคำถาม และแยกออกเป็นประเด็นย่อย ๆ ให้ครอบคลุม ปัญหาที่ต้องการศึกษาทั้งหมด 3. 4.
Ethnographic Delphi Future Research : กระบวนการวิจัยแบบ EDFR: ใช้วิธีการของเดลฟายการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้วิธีการของ เดลฟายจำนวน 2-3 รอบ หากได้ความคิดเห็นที่พ้องกัน ในประเด็นทั้งหมด ก็สามารถยุติได้ในรอบที่ 2 หากไม่ได้ ข้อสรุป ก็ต้องดำเนินการในรอบที่ 3 อีกครั้ง สรุปผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูล 5.
Ethnographic Delphi Future Research : การประยุกต์ใช้การวิจัยแบบ EDFR : การวิจัยแบบ EDFR เป็นเทคนิคการวิจัยอนาคตที่ได้รวมจุดเด่นของทั้งเทคนิคเดลฟายและ EFR ไว้ โดยใช้ส่วนดีของแต่ละเทคนิคช่วยแก้ปัญหาและแก้ไขจุดอ่อนของกันและกัน จึงนำไปประยุกต์ใช้ได้กับสาขาอื่นได้ เช่น การศึกษาสาเหตุของการขัดแย้งทางนโยบาย การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม การศึกษาเปรียบเทียบและความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ บัณฑิตที่พึงประสงค์ในอนาคต แนวโน้มการจัดหลักสูตรคอมพิวเตอร์ในระดับ ประถมศึกษา
Delphi Research vs EDFR : ข้อแตกต่างระหว่างการวิจัย Delphi กับแบบ EDFR: Delphi EDFR รอบ 1 : คำถาม Opened End รอบ 1 : สัมภาษณ์ เพื่อถาม ORS, PRS,MPS รอบ 2 : Rating Scale ถาม รอบ 2 : Rating Scale ถาม ระดับความคิดเห็น ระดับความคิดเห็น รอบ 3 : Rating Scale ถาม รอบ 3 : Rating Scale ถาม เพื่อยืนยันคำตอบ เพื่อยืนยันคำตอบ รอบ 4 : Rating Scale ถาม รอบ 4 : Rating Scale ถาม เพื่อยืนยันคำตอบ เพื่อยืนยันคำตอบ และสรุป และสรุป
Delphi Technique Question and Answer 7