50 likes | 178 Views
สวัดดีดี๊ดี...ชาวออร์โธทุกท่านกันอีกครั้งนะคะ คิดถึงกันบ้างมั้ยค่ะ อมยิ้มนะ..คิดถึงทุกๆคนมากๆเลยค่ะ หลังจากที่ต้องไปดูงานที่กรุงเทพมหานครถึง 3 เดือน แต่อมยิ้มไม่ได้ไปเปล่าๆน๊า..อมยิ้มยังไปสรรหาสถานที่น่าท่องเที่ยงมาฝากชาวออร์โธให้ได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกด้วยค๊า...
E N D
สวัดดีดี๊ดี...ชาวออร์โธทุกท่านกันอีกครั้งนะคะ คิดถึงกันบ้างมั้ยค่ะ อมยิ้มนะ..คิดถึงทุกๆคนมากๆเลยค่ะ หลังจากที่ต้องไปดูงานที่กรุงเทพมหานครถึง 3 เดือน แต่อมยิ้มไม่ได้ไปเปล่าๆน๊า..อมยิ้มยังไปสรรหาสถานที่น่าท่องเที่ยงมาฝากชาวออร์โธให้ได้ตื่นตาตื่นใจกันอีกด้วยค๊า... สำหรับที่ที่อมยิ้มขอนำเสนอ รับรองว่าชาวออร์โธจะต้องรอ “โอ้โห” กันอย่างแน่นอน อยากรู้แล้วใช่มั้ยค่ะ...เดือนนี้เป็นเดือนแห่งศาสนาและวัฒนธรรม อมยิ้มขอพาทุกท่านๆ ไปเที่ยว “วัดล้านขวด” ฟังชื่อไม่ผิดหรอกค๊า..ล้านขวดจริงๆๆๆ วัดล้านขวด หรือ ชื่อเต็มว่า วัดป่ามหาเจดีย์แก้ว ตั้งอยู่ที่จังหวัด ศรีษะเกศ ในเขตสุขาภิบาล อำเภอขุนหาญ ท่านผู้อ่านทราบมั้ยค่ะว่า สิ่งปลูกสร้างภายในตกแต่งด้วยขวดแก้วหลากสีหลายแบบนับล้านใบที่ชาวบ้านได้ช่วยกันบริจาค นอกจากความงดงามแปลกตาของขวดที่สลับสี และการวางลวดลายแล้ว เรา ยังทึ่งกลับความคิดในการนำฝาขวดมาปะติด จนได้เป็นภาพพุทธประวัติที่ไม่เหมือนที่ ใดอีกด้วยสิ่งเหล่านี้เกิดจากความคิดของพระครูวิเวกธรรมาจารย์ หรือหลวงปู่หลอด ท่านบอกว่า การนำขวดมาตกแต่งนั้น นอกจากจะประหยัดในเรื่องของการทาสีแล้ว ที่สำคัญขวดแก้วนั้น ยังแฝงไปด้วยคติคือ ความใสของแก้ว เมื่อกระทบแสงแดดแล้ว ทำให้เกิดแสงสว่างเหมือนแสงธรรมที่ควรบรรลุถึง สำหรับขวดไม่ว่าจะคว่ำลง หงายขึ้น หรือวางในแนวนอน ก็ล้วนแต่มีคติสอนใจทั้งนั้น เป็นวัดที่มีลักษณะสวยงามแปลกตาไม่เคยเห็นที่ “ย่างเข้าเดือน 6 ฝนก็ตกพรำ ๆ ” เดือนพฤษภาคม เป็น เดือนอันเป็นมงคล นับจากวันฉัตรมงคล 5 พฤษภาคม จนวันวิสาขบูชา 8 พฤษภาคม และวันพืชมงคล 11 พฤษภาคม ซึ่งล้วนแต่เป็นวันหยุดราชการ เป็นเดือนของวันแต่งงานทั้งหลาย และเป็นเดือนที่ลูกหลานของเราเปิดเทอม ใหม่ เลื่อนชั้นใหม่ (นอกจากนี้ ภาควิชา ฯ ,หอผู้ป่วย,ห้องผ่าตัด ก็มีการรับบุคลากรใหม่ที่เริ่มปฏิบัติงานใหม่เต็มที่ในเดือนนี้เช่นกัน) กิจกรรมของภาควิชา ฯ และ PCT ก็เริ่มเข้าที่เข้าทางใหม่ แล้วยังเหลือการย้ายห้องผ่าตัด 8 จากวันพฤหัสไปเป็นวันพุธ ซึ่งผมได้แจ้งตกลงกับทางห้องผ่าตัดแล้วว่าจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือน สิงหาคม 2552 เป็นต้นไป ขอเป็นกำลังใจในการทำงานของทุกท่าน ขอให้มีความสุขกาย สุขใจ ในเดือนอันเป็นมงคลนี้ และตลอดไป ด้วยรักจากใจ ผศ.นพ.ธนะรัตน์ บุญเรือง หัวหน้าภาควิชาฯ
การป้องกันภาวะท้องผูกในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวการป้องกันภาวะท้องผูกในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว ภาวะท้องผูก หมายถึง อาการถ่ายอุจจาระลำบาก อุจจาระเป็นก้อนแข็ง ต้องใช้แรงเบ่งในการขับถ่าย การมีอาการปวดท้องขณะขับถ่าย อาการถ่ายอุจจาระไม่สุด การใช้เวลานานในการถ่ายอุจจาระ การขับถ่ายอุจจาระได้น้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หรือน้อยกว่าภาวะปกติของแต่ละคน สาเหตุ 1. การกลั้นอุจจาระเป็นประจำ 2. การรับประทานอาหารเส้นใยน้อยเกินไป 3. การดื่มน้ำน้อยเกินไป 4. การใช้ชีวิตแบบเรียบเฉย นั่งๆ นอนๆ ขาดการออกกำลังกาย 5. ภาวะความเจ็บป่วย ผู้ป่วยที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว หรือผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวบนเตียงนานๆ 6. อารมณ์ซึมเศร้า ท้อถอย วิตกกังวล ทำให้การบีบตัวของ ลำไส้ไม่ดี 7. ยาบางชนิด เช่น มอร์ฟีนยารักษาโรคซึมเศร้ายากันชัก ยาแก้แพ้ ยาลดความดันโลหิต ยาโรคหัวใจ เป็นต้น 8. โรคบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคธัยรอยด์โรคทางระบบประสาท เป็นต้น ไหนจริงๆค่ะ โดยเฉพาะศาลาใหญ่ที่เรียกว่าศาลาฐาน สโม มหาเจดีย์แก้ว นอกจากนี้ ยังมี สิม(โบสถ์) อยู่กลางน้ำ ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหยกขาว ซึ่งมีความวิตรงดงามมากมายเกินที่อมยิ้มจะบรรยายจริงๆเลยค๊า....ที่วัดล้านขวดนี้นับเป็นอีกหนึ่งงานสร้างที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้ค่ะ ท่านผู้อ่านคงอยากจะไปเที่ยวชมความงามของวัดล้านขวดกันแล้วใช่มั้ยค่ะ การเดินทางก็ไม่ยากเลยค่ะ จากศรีสะเกษไปอำเภอขุญหาญท่านผู้อ่านก็เพียงแค่ขับรถไปตามทางหลวงหมายเลข 211 และ 2111 ผ่านอำเภอพยุห์ อำเภอไพรบึงไปขุญหาญ ระยะทางประมาณ 61 กิโลเมตรเท่านั้นเองค๊า... อมยิ้มหวังว่าท่านผู้อ่านคงจะได้รับความเพลินตาเพลินใจแถมยังได้ทำบุญที่วัดที่สวยขนาดนี้ด้วย แบบนี้ไม่ไปไม่ได้แล้วนะคะ ช่วยกันเที่ยวเมืองไทยนะคะ เศรษฐกิจไทยจะได้คึกคัก แล้วท่านผู้อ่านจะได้พบว่า วัดนี้ ล้านขวด จริงๆค่ะ ไปแล้ว บะบาย เจอกันฉบับหน้านะคะ
ผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหวหมายถึง 1. ผู้ป่วยที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก 2. ผู้ป่วยที่ได้รับการจัดให้นอนพักบนเตียง 3.ผู้ป่วยที่ได้รับการเข้าเฝือก แขน ขา 4. ผู้ป่วยหลังการผ่าตัด 5.ผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บของกระดูกสันหลังที่ไม่มีปัญหาทางเส้นประสาท แนวปฏิบัติในการแก้ปัญหาท้องผูก 1.ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะท้องผูกของผู้ป่วย ประกอบด้วย ประวัติเกี่ยวกับแบบแผนการรับประทานอาหาร น้ำ และการขับถ่าย, ประเมินการใช้ยาที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาท้องผูก, ประวัติความเจ็บป่วยและการผ่าตัด และบันทึกการขับถ่ายอุจจาระย้อนหลัง 1 สัปดาห์ 2.ตรวจร่างกายและประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมของผู้ป่วย ประกอบด้วย การเคลื่อนไหวร่างกาย การรับประทานอาหาร การดื่มน้ำ เป็นต้น3. ใน 3.ผู้ป่วยที่มีอาการท้องผูกควรได้รับการแก้ไขปัญหาก่อนดำเนินการขั้นต่อไป เนื่องจากการรับประทานอาหารเส้นใยเพิ่มขึ้น อาจทำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูกอยู่แล้วเกิดการอัดแน่นของอุจจาระ ได้ 4.จัดหาน้ำดื่มสะอาดให้แก่ผู้ป่วยและดูแลให้ดื่มน้ำทันทีหลังตื่นนอนตอนเช้า 2 แก้ว และ 1.5-2 ลิตรต่อวัน หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทคาเฟอีน ได้แก่ ชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5.ดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเส้นใยวันละ 18-30 กรัม และค่อยๆเพิ่มปริมาณ ขึ้น 6.ดูแลให้ผู้ป่วยได้ออกกำลังกายเนื่องจากผู้ป่วยได้รับการรักษาโดยการถูกจำกัดการเคลื่อนไหว การออกกำลังกายที่สามารถปฏิบัติได้คือ โดยการเกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง การขมิบก้น การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่าง การออกกำลังกายขา โดยการยกขาขึ้นลงที่ละข้าง หรือยกขาข้างที่ไม่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว 7. การนวดหน้าท้องเพื่อรักษาอาการท้องผูกนวดก่อนถึงเวลาขับถ่ายอุจจาระวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น 8. สนับสนุนและดูแลให้ผู้ป่วยได้ขับถ่ายเมื่อผู้ป่วยรู้สึกอยากถ่ายอุจจาระหรือภายหลังการรับประทานอาหาร 5-15 นาที ท่านั่งที่จะช่วยให้ผู้ป่วยขับถ่ายสะดวกคือ ท่านั่นยองๆ หรือท่านอนตั้งเข่าเพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีแรงเบ่งมากขึ้น ในผู้ป่วยที่ได้รับการดึงถ่วงน้ำหนัก (Traction) ดูแลไขหัวเตียงให้สูง จัดเตรียมหม้อนอนที่เหมาะสมให้ รวมทั้งดูแลสิ่งแวดล้อมให้เป็นส่วนตัวโดยการกั้นม่านให้เรียบร้อย หรืออาจให้ญาติที่ผู้ป่วยคุ้นเคยเป็นผู้คอยช่วยเหลือ
เริ่มต้นการท่องเที่ยวด้วยวัดเขากุฏที่ตั้งอยู่บนยอดเขากุฏซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเกาะยอ ด้านบนเขามีโบราณสถานที่สำคัญคือ "เจดีย์สมเด็จเจ้าเกาะยอ" สักการะสมเด็จเจ้าเกาะยอขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองแล้ว ก็ยังสามารถชมวิวทิวทัศน์ของสงขลาที่ว่าเมืองใหญ่ 2 ทะเล คือทะเลในหมายถึงทะเลสาบ และทะเลนอกหมายถึงทะเลอ่าวไทยอันสวยงาม ลงจากเขากุฏก็ตรงมาเที่ยวที่ "พิพิธภัณฑ์คติชนวิทยา สถาบันทักษิณคดีศึกษา" เป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวิถีชีวิตของชาวใต้ วัฒนธรรมพื้นบ้าน ท้องถิ่นอันมีเอกลักษณ์เฉพาะ ประวัติศาสตร์โบราณคดี และศิลปหัตถกรรมอันเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของกลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในภาคใต้ของประเทศไทย มาต่อเนื่องอารมณ์การชมพิพิธภัณฑ์กัน ต่อที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านเกาะยอ" ที่ตั้งอยู่ ภายในโรงเรียนวัดท้ายยอ ท่องเที่ยว…..รับลมร้อน ขอต้อนรับเข้าสู่บรรยากาศซัมเมอร์รับลมร้อนซึ่งค่อนข้างจะร้อนมากเป็นพิเศษปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเศรษฐกิจและการเมือง ปกิณณกะฉบับนี้จึงขอพาหลบลมร้อนเข้าสู่การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติที่ได้บบรรยากาศของความเป็นลูกทุ่งนิด ๆ ซึ่งน่าจะถูกใจมิใช่น้อยเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของโปรมแกรมการท่องเที่ยวในช่วงหน้าร้อนนี้ สถานที่ที่อยากแนะนำให้ได้รู้จักกันก็คือ เกาะยอ ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้ ๆ กับหาดใหญ่นี้เอง หลาย ๆ ท่านคงเคยผ่านไปมาและแวะซื้อของฝาก แต่เคยได้สัมผัสกับบรรยากาศแบบนี้หรือไม่กับบรรยากาศของโฮมสเตย์เกาะยอ กับคำขวัญที่ว่า "สมเด็จเจ้าเป็นศรี ผ้าทอดีล้ำค่า นานาผลไม้หวาน ถิ่นอาหารทะเล เสน่ห์สะพานติณฯ สถาบันทักษิณลือนาม งดงามเรือนทรงไทย" จากตามคำขวัญนี้แสดงให้เห็นว่าที่เกาะยอ ต.เกาะยอ จ.สงขลา แห่งนี้มีของดีที่เชิดหน้าชูตาอยู่หลายอย่าง เพราะว่าเกาะยอมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ และชาวชุมชนเกาะยอนั้นก็มีศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และมีวิถีชีวิตของชาวใต้ที่งดงาม อันสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน จนก่อให้เกิดเป็นของดีที่น่าท่องเที่ยวบนเกาะยอมากมาย ลงมาชิมผลไม้สด ๆ จากสวนหลากหลายชนิด โดยเฉพาะ จำปาดะขนุน ที่ขึ้นชื่อ
วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านของชาวเกาะยอวิถีชีวิตประมงพื้นบ้านของชาวเกาะยอ หลังจากได้เที่ยวสถานที่ทางบกกันแล้ว ก็ไปเที่ยวทางน้ำกันบ้างไปเที่ยวชมวิถีชีวิตการทำอาชีพประมงของชาวเกาะยอ เรียนรู้วิถีชีวิตประมงพื้นบ้านของชาวเกาะยอ โดยการพานั่งเรือออกไปชมความสวยงามของทะเลสาบสงขลา ไปดูการทำประมง การกู้ไซกุ้ง การเลี้ยงปลา และมีกิจกรรมตกปลาด้วย และถ้าใครอยากสัมผัสชีวิตชาวประมงแบบเต็มอิ่ม ก็มีขนำกลางทะเลบริการให้ได้พักค้างคืนกันด้วย บุคลากรชาวออร์โธทุกท่านสามารถร่วมเล่าข่าว ความรู้ สาระน่ารู้ บันเทิง ของฝาก ภาพสวย ๆ entertain ซุบซิบ เรื่องเล่าต่าง ๆ ฯลฯ ใน Ortho Society โดยส่งมาที่ pchanthi@medicine.psu.ac.thหรือธุรการภาควิชาฯ ค่ะ กองบรรณาธิการ ผศ.นพ.ธนะรัตน์ บุญเรือง ที่ปรึกษา คุณชายันต์ เรณุมาศ ที่ปรึกษา คุณกัญชลี พุ่มน้อย ที่ปรึกษา คุณพัทนัย แก้วแพง ที่ปรึกษา ผศ.นพ.สุนทร วงษ์ศิริ บรรณาธิการ คุณอัญชลี ธนาดิเรก ปกิณกะ คุณวีรนันท์ แย้มรัตนกุล ปกิณกะ คุณภัททิยภรณ์ ทองแดง ปกิณกะ คุณศิริวรรณ ไพจิตรจินดา ปกิณกะ นายวรันธร ทองเหม ปกิณกะ คุณสุวิชา เตชะภูวภัทร 5 up คุณประเสริฐ บุตรบุรี 5 upคุณมงคลชัย หาญทรัพย์ วิชาการ คุณนงเยาว์ ภูริวัฒนกุล วิชาการ คุณทิชากร คลังข้อง พิสูจน์อักษร คุณสุนิษา สารพงษ์ พิสูจน์อักษร คุณนวรัตน์ มานะ ที่ปรึกษา คุณจันทิพย์ เพชรวารี จัดรูปแบบ