1 / 57

หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต. โดย นายวันชัย ตั้งวิจิตร นางสุคนธ์ ชาญชล ยุทธ สำนักกฎหมาย กรมสรรรพสามิ ต. ขอบเขตการนำเสนอ. รายงานความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง - ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่จดประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. ....

Download Presentation

หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตหลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต โดย นายวันชัย ตั้งวิจิตร นางสุคนธ์ ชาญชลยุทธ สำนักกฎหมาย กรมสรรรพสามิต

  2. ขอบเขตการนำเสนอ • รายงานความคืบหน้าของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง • - ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่จดประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. .... • - ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดให้ตัวถังรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... • 2. กรณีศึกษา • 3. เขตปลอดอากร

  3. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการงดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ของรถที่ใช้แล้ว พ.ศ. .... • งดรับจดทะเบียนรถที่ประกอบจากชิ้นส่วนอุปกรณ์ใช้แล้วจากต่างประเทศ ในเขตกรุงเทพมหานครและในเขตจังหวัดอื่นทุกจังหวัด 1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกินเจ็ดคน 2. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกินเจ็ดคนแต่ไม่เกินสิบสองคน 3. รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล 4. รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล • ให้นำรถตามข้อ 1 – 4 มาจดทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ

  4. - ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้ตัวถังรถยนต์นั่งที่ใช้แล้วและโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วเป็นสินค้าที่ต้องห้ามในการนำเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. .... • “ตัวถังของรถยนต์นั่งที่ใช้แล้ว” หมายถึง ตัวถัง แชสซีส์ หรือแค้ปของรถยนต์นั่งที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะนำเข้าในสภาพสมบูรณ์หรือในสภาพที่ถูกตัดออกเหลือเพียงบางส่วน และไม่ว่าจะมีเครื่องยนต์ ช่วงล่าง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบรถยนต์ ประกอบหรือติดตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เพียงใดก็ตาม • “โครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว” หมายถึงโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้ว ไม่ว่าจะนำเข้าโดยสมบูรณ์หรือแต่บางส่วน และไม่ว่าจะมีตะเกียบรถ และวงล้อ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบของรถจักรยานยนต์ประกอบหรือติดตั้งอยู่ด้วยหรือไม่ เพียงใดก็ตาม แต่ไม่รวมถึงโครงรถจักรยานยนต์ที่ใช้แล้วที่มีขนาดความจุภายในกระบอกสูบตั้งแต่ 50 ลูกบาศก์เซนติเมตรลงมา ตะเกียบรถและวงล้อ ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้ง 10 นิ้วลงมา • มิให้ใช้บังคับในกรณีนำเข้ามาเพื่อเป็นต้นแบบในการผลิตหรือการศึกษาวิจัย ทั้งนี้ในปริมาณเท่าที่จำเป็น

  5. นโยบายรัฐ - มาตรการรถยนต์คันแรก • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอคืนเงินตามมาตรการรถยนต์คันแรก - เป็นรถยนต์คันแรกที่ซื้อตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน 2554 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2555 - เป็นรถยนต์ใหม่ซึ่งมีราคาขายปลีกไม่เกินคันละ 1,000,000 บาท - เป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถยนต์กระบะ (Pick up) รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) - เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ) - คืนเงินเท่ากับค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคันละ 100,000 บาท - ผู้ซื้อต้องมีอายุ 21 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป - ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี - การคืนเงินจะคืนให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปีไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2555)

  6. นโยบายรัฐ - มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยรถยนต์น้ำท่วม • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการขอคืนเงินตามมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยรถยนต์น้ำท่วม - ผู้ขอใช้สิทธิต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิในการซื้อรถยนต์ใหม่ ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2555 โดยต้องใช้สิทธิซื้อรถยนต์ใหม่ก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2555 - เป็นรถยนต์ใหม่ซึ่งมีราคาขายปลีกไม่เกินคันละ 1,000,000 บาท - เป็นรถยนต์นั่งที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร/รถยนต์กระบะ (Pick up) รถยนต์นั่งที่มีกระบะ (Double Cab) - เป็นรถยนต์ที่ผลิตขึ้นในประเทศ แต่ไม่รวมถึงรถยนต์ที่ประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนนำเข้าใช้แล้วจากต่างประเทศ (รถยนต์จดประกอบ) - คืนเงินเท่ากับค่าภาษีสรรพสามิตที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินคันละ 100,000 บาท - ผู้ซื้อต้องครอบครองรถยนต์ไม่น้อยกว่า 5 ปี เว้นแต่กรณีเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กระทรวงการคลังกำหนด - การคืนเงินจะคืนให้เมื่อครอบครองรถยนต์ 1 ปีไปแล้ว (เริ่มจ่ายคืนให้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556)

  7. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี • 1. กรณีผู้ซื้อนำเงินที่ได้รับไปส่งคืนให้แก่ราชการ • 2. กรณีผู้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อก่อนครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี และผู้ให้เช่าซื้อนำรถยนต์ออกขายโดยวิธีการประมูลหรือวิธีการที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด เมื่อหักใช้หนี้และค่าใช้จ่ายในการขายดังกล่าวแล้ว ถ้ามีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใด ให้ผู้ให้เช่าซื้อนำเงินส่งให้แก่ราชการ • 3. กรณีผู้เช่าซื้อปฏิบัติผิดสัญญาเช่าซื้ออันเป็นเหตุให้รถยนต์ถูกยึดและนำออกขายโดยวิธีการประมูลหรือวิธีการที่สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคกำหนด เมื่อหักใช้หนี้และค่าใช้จ่ายในการขายดังกล่าวแล้ว ถ้ามีเงินเหลืออยู่อีกเท่าใด ให้ผู้ให้เช่าซื้อนำเงินส่งให้แก่ราชการ • 4. กรณีรถยนต์ที่ซื้อหรือเช่าซื้อเกิดอุบัติเหตุหรือประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติและผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อไม่ประสงค์จะใช้รถยนต์นั้นต่อไป

  8. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์ก่อนครบกำหนดระยะเวลา 5 ปี • 5. กรณีรถยนต์ที่ซื้อหรือเช่าซื้อสูญหายและบริษัทผู้รับประกันภัยชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้ซื้อหรือผู้ให้เช่าซื้อไปแล้ว ต่อมาผู้ซื้อหรือผู้ให้เช่าซื้อได้รับรถยนต์กลับคืนมาและต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้กับบริษัทผู้รับประกันภัย • 6. กรณีผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อถึงแก่กรรม • 7. กรณีผู้ให้เช่าซื้อโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้เช่าซื้อ • 8. กรณีผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์แล้ว ต่อมาได้ทำสัญญาเช่าซื้อและโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ให้เช่าซื้อ โดยผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อยังเป็นผู้ครอบครองรถยนต์ตามสัญญาเช่าซื้ออันเนื่องมาจากการขอสินเชื่อเช่าซื้อนั้น • กรณี 1 – 5 ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อยังคงมีหน้าที่ต้องคืนเงินที่รับไปแก่หน่วยงานที่เบิกจ่าย ตามระเบียบที่กรมบัญชีกลางกำหนด

  9. กฎหมายใหม่ 1. กฎสำนักนายกรัฐมนตรี - เครื่องหมายแสดงระดับสำหรับติดบนอินทรธนู - เครื่องหมายรูปอาร์ม

  10. กฎหมายใหม่ (ต่อ) เครื่องหมายแสดงระดับสำหรับติดบนอินทรธนู กำหนดเป็น 7 ชั้น (จากเดิม 10 ชั้น) 1. ประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน (1-4) 2. ประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ (3-5) 3. ประเภททั่วไป ระดับชำนาญงาน (5-6)

  11. กฎหมายใหม่ (ต่อ) 4. ประเภททั่วไป ระดับอาวุโส (7-8) และ ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ (6-7) 5. ประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการพิเศษ (8) และ ประเภทอำนวยการ ระดับต้น

  12. กฎหมายใหม่ (ต่อ) 6. ประเภททั่วไป ระดับทักษะพิเศษ (9) ประเภทวิชาการ ระดับเชี่ยวชาญ (9) ประเภทอำนวยการ ระดับระดับสูง (9) และ ประเภทบริหาร ระดับต้น (9) 7. ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ (10) และ ประเภทบริหาร ระดับระดับสูง (10)

  13. กฎหมายใหม่ (ต่อ) • หมายเหตุ 1. ยกเว้นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับอาวุโส ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าส่วน ให้ใช้อินทรธนู 2. ยกเว้นผู้ดำรงตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับปฏิบัติงาน ซึ่งเดิมดำรงตำแหน่ง ระดับ 4 ให้ใช้อินทรธนู

  14. กฎหมายใหม่ (ต่อ) เครื่องหมายรูปอาร์ม ปรับเป็นตรากรมสรรพสามิต (จากเดิมเป็นรูปนกวายุภักษ์)

  15. หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์หลักการและเทคนิคทางกฎหมายที่ใช้ในการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์

  16. การจัดเก็บภาษีรถยนต์ “รถยนต์” หมายความว่า รถที่มีล้อตั้งแต่สามล้อ และเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่ไม่รวมถึงรถที่เดินบนราง รถจักรยานยนต์ที่มีพ่วงข้างไม่เกินหนึ่งล้อ และรถยนต์ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา “รถยนต์นั่ง” หมายความว่า รถเก๋งหรือรถยนต์ที่ออกแบบสำหรับเพื่อใช้สำหรับนั่งเป็นปกติวิสัย และให้หมายความรวมถึงรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน เช่น รถยนต์ที่มีหลักคาติดต่อเป็นเนื้อเดียวกันในลักษณะถาวร ด้านข้างและหรือด้านหลังคนขับมีประตูหรือหน้าต่างและมีที่นั่ง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีที่นั่งเท่าใด “รถยนต์โดยสาร” หมายความว่า รถตู้หรือรถยนต์ที่ออกแบบเพื่อใช้ขนส่งคนโดยสารจำนวนมาก รวมทั้งรถยนต์ในลักษณะทำนองเดียวกัน “รถยนต์กระบะ” หมายความว่า รถยนต์ที่มีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียวสำหรับคนขับ และตอนหลังเป็นกระบะบรรทุก ซึ่งเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา

  17. การจัดเก็บภาษีรถยนต์ 1. พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 5 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 2. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง กำหนดสินค้าประเภทที่ 05.90 ในตอนที่ 5 รถยนต์ ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสรรพสามิต (5 พฤศจิกายน 2540)

  18. โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่งโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์นั่ง

  19. โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะและอนุพันธุ์โครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะและอนุพันธุ์

  20. โครงสร้างภาษีรถยนต์ประเภทอื่นโครงสร้างภาษีรถยนต์ประเภทอื่น

  21. รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OFF-ROAD PASSENGER VEHICLE:OPV) Honda CRV 2,000 ซีซี (ผลิตในประเทศ)

  22. รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OFF-ROAD PASSENGER VEHICLE:OPV) Toyota Landcruiser VX1 4,663 ซีซี (นำเข้า)

  23. รถยนต์นั่งตรวจการณ์ (OFF-ROAD PASSENGER VEHICLE:OPV) Suzuki Vitara 1,600 ซีซี (ผลิตในประเทศ)

  24. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle:PPV) Toyota Sportrider 2,500-3,000 ซีซี (ผลิตในประเทศ)

  25. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle:PPV) Ford Everest 2,500 ซีซี (ผลิตในประเทศ) Mitsubishi Strada G-Wagon 2,500 ซีซี (ผลิตในประเทศ)

  26. ร รถATV

  27. การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์การจัดเก็บภาษีรถจักรยานยนต์ • พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ตอนที่ 8 ท้ายพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 • พระราชกฤษฎีกากำหนดประเภทสินค้าตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 - รถจักรยานยนต์ อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 30 • 3. ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต(ฉบับที่ 62) - ชนิดเครื่องยนต์ 2 จังหวะ อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 5 - ชนิดเครื่องยนต์ 4 จังหวัด อัตราภาษีตามมูลค่าร้อยละ 3 - อื่น ๆ ยกเว้นภาษี • (รถจักรยานยนต์ หมายความว่า รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์หรือกำลังไฟฟ้าและมีล้อไม่เกินสองล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกินหนึ่งล้อ และให้หมายความถึงรถจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย (พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522))

  28. มอเตอร์ไซด์ไฟฟ้า

  29. เขตปลอดอากร(หมวด 10 ทวิ พ.ร.บ.ศุลกากร) • เขตปลอดอากร หมายความว่า เขตพื้นที่ที่กำหนดไว้สำหรับการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ โดยของที่นำเข้าไปในเขตดังกล่าวจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางอากรตามที่กฎหมายกำหนด (ม.2)

  30. สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรสิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากร • 1. ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ได้นำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อนำเข้าในเขตปลอดอากรในกรณี ดังต่อไปนี้ • 1.1 ของที่เป็นเครื่องจักร อุปกรณ์ เครื่องมือและเครื่องใช้ รวมทั้งส่วนประกอบของของดังกล่าวที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ ตามที่อธิบดีอนุมัติ • 1.2 ของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรและนำเข้าไปในเขตปลอดอากร สำหรับใช้ในการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกิจการอื่นใดที่เป็นประโยชน์แก่การเศรษฐกิจของประเทศ • 1.3 ของที่ปล่อยออกมาจากเขตปลอดอากรอื่น (ม.97เบญจ) • 2. ยกเว้นอากรขาออก สำหรับของที่ปล่อยไปจากเขตปลอดอากร เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร (ม. 97เบญจ)

  31. สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรสิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากร • 3. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับการนำสินค้าจากต่างประเทศเข้าไปในเขตปลอดอากร • 4. ใช้อัตราภาษีร้อยละ 0 ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรเฉพาะสินค้าที่ต้องเสียอากรขาออกหรือที่ได้รับยกเว้นอากรขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร • 5. ยกเว้นภาษีสรรพสามิต สำหรับการนำเข้าและการผลิตของที่กระทำในเขตปลอดอากร ตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต (ม.97ฉ)

  32. สิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากรสิทธิประโยชน์ของเขตปลอดอากร • 6. ยกเว้นภาษีสุรา การปิดแสตมป์และค่าธรรมเนียม ตามกฎหมายว่าด้วยสุรา กฎหมายยาสูบ และกฎหมายว่าด้วยไพ่ สำหรับการนำเข้าและการผลิตที่กระทำในเขตปลอดอากรโดยให้นำบทบัญญัติเกี่ยวกับการยกเว้นและการจัดเก็บตามที่กำหนดในกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิตมาใช้บังคับโดยอนุโลมกับการยกเว้นภาษีสุรา การปิดแสตมป์และค่าธรรมเนียมดังกล่าว (ม.97 ฉ) • 7. การนำของเข้ามาในราชอาณาจักรหรือการนำวัตถุดิบภายในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากรเพื่อผลิต ผสม ประกอบบรรจุ หรือดำเนินการอื่นใดกับของนั้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ให้ของนั้นได้รับยกเว้นไม่อยู่ภายในบังคับกฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพการประทับตราหรือเครื่องหมายใด ๆ แก่ของนั้น ทั้งนี้ โดยให้ปฏิบัติตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด (ม.97 สัตต)

More Related