1.02k likes | 1.45k Views
ตอนที่ 1 กฎหมายและการจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน. บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน. วัตถุประสงค์. อธิบายประเภทของพลังงานได้ เข้าใจในสถานการณ์พลังงานของไทยและของโลกได้ อธิบายรูปแบบและหน่วยวัดพลังงานได้ อธิบายต้นทุนพลังงานได้ อธิบายโครงสร้างค่าไฟฟ้าได้
E N D
ตอนที่ 1กฎหมายและการจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงาน บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
วัตถุประสงค์ • อธิบายประเภทของพลังงานได้ • เข้าใจในสถานการณ์พลังงานของไทยและของโลกได้ • อธิบายรูปแบบและหน่วยวัดพลังงานได้ • อธิบายต้นทุนพลังงานได้ • อธิบายโครงสร้างค่าไฟฟ้าได้ • อธิบายโครงสร้างราคา ก๊าซธรรมชาติ และ น้ำมันได้ • สามารถคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน ดัชนีพลังงาน ได้อย่างถูกต้อง ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
เนื้อหาวิชา • ประเภทของพลังงาน • ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • สถิติการใช้พลังงาน • รูปแบบ หน่วยวัด และการแปลงพลังงาน • โครงสร้างค่าไฟฟ้า • โครงสร้างราคาก๊าซและน้ำมัน • การคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน และดัชนีพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
ประเภทของพลังงาน • ทรัพยากรพลังงาน • แหล่งพลังงานฟอสซิล ได้แก่ น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และ oil shale • แหล่งพลังงานนอกเหนือจากฟอสซิล (ก) พลังงานธรรมชาติ ได้แก่ พลังน้ำ พลังความร้อนใต้ดิน พลังความร้อนจาก แสงอาทิตย์ พลังลม พลังคลื่น พลัง กระแสน้ำ ระดับน้ำขึ้นน้ำลง ผลต่างอุณหภูมิน้ำทะเล เป็นต้น (ข) พลังงานชีวมวล (พลังงานจากสิ่งมีชีวิต) (ค) พลังงานนิวเคลียร์ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
ประเภทของพลังงาน • พลังงานปฐมภูมิและพลังงานทุติยภูมิ • พลังงานปฐมภูมิ – ทรัพยากรพลังงานก่อนแปรรูป เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ พลังน้ำ-พลังความร้อนใต้ดิน พลังงานนิวเคลียร์ ฯลฯ • พลังงานทุติยภูมิ – พลังงานที่มีการแปลงรูปมาแล้ว เช่น พลังงานไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ฯลฯ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
เนื้อหาวิชา • ประเภทของพลังงาน • ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • สถิติการใช้พลังงาน • รูปแบบ หน่วยวัด และการแปลงพลังงาน • โครงสร้างค่าไฟฟ้า • โครงสร้างราคาก๊าซและน้ำมัน • การคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน และดัชนีพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงานปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • ปริมาณสำรองของเชื้อเพลิงในโลก (สิ้นปี 2543) ที่มา : สถิติพลังงานโดยภาพรวม ฉบับปี 2544 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
เนื้อหาวิชา • ประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงาน • ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • สถิติการใช้พลังงาน • รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • โครงสร้างค่าไฟฟ้า • โครงสร้างราคาก๊าซและน้ำมัน • การคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน และดัชนีพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
พลังน้ำ พลังนิวเคลียร์ ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำมัน ถ่านหิน 2514 2518 2523 2528 2533 2538 2542 สถิติการใช้พลังงาน • ความสิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิทั่วโลก ที่มา: จัดทำจาก “สรุปสถิติด้านพลังงาน-เศรษฐกิจ EDMC ฉบับปี 2545” ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบทั่วโลก ทั่วโลก OPEC สงครามตะวันออกลาง เปลี่ยนแปลงรัฐบาลในอิหร่าน วิกฤตการณ์ น้ำมันครั้งที่ 1 วิกฤตการณ์ น้ำมันครั้งที่ 2 สงครามอ่าว เปอร์เชีย 2503 2513 2523 2533 2543 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • ความสิ้นเปลืองพลังงานปฐมภูมิต่อประชากร 1 คน จีน OECD อาเซียน 7 ประเทศ ทั่วโลก 2513 2518 2523 2528 2538 2543 2533 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • เปรียบเทียบโครงสร้างของแหล่งพลังงานในประเทศพัฒนาแล้ว หมายเหตุ) Δ หมายถึงการส่งออก ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • สถานการณ์พลังงานของไทย สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2547 • จำแนกตามประเภทพลังงาน ปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมันดิบ 60.27 ล้านตัน พลังงานหมุนเวียน 9.52 ล้านตัน (ไม้, ถ่าน, แกลบ, ชานอ้อย) 15.80% ไฟฟ้า 9.80 ล้านตัน 16.26% ก๊าซธรรมชาติ 2.34 ล้านตัน 3.88% ถ่านหิน & ลิกไนต์ 5.92 ล้านตัน 9.82% ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม 32.68 ล้านตัน 54.22% ที่มา : พพ./รายงานพลังงานของประเทศไทย พ.ศ. 2547 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • สถานการณ์พลังงานของไทย สัดส่วนการใช้พลังงานทั้งหมดของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2547 • จำแนกตามสาขาเศรษฐกิจ ปริมาณการใช้พลังงานรวมทั้งสิ้นเทียบเท่าน้ำมันดิบ 60.27 ล้านตัน สาขาอุตสาหกรรมและเหมืองแร่ 21.51 ล้านตัน 35.69% สาขาเกษตรกรรม 3.44 ล้านตัน 5.71% สาขาคมนาคมและการขนส่ง 22.91 ล้านตัน 38.01% สาขาบ้านอยู่อาศัย& ธุรกิจการค้า 12.24 ล้านตัน 20.31% สาขาก่อสร้าง 0.17 ล้านตัน 0.28% ที่มา : พพ./รายงานพลังงานของประเทศไทย พ.ศ. 2547 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • สถานการณ์พลังงานของไทย • อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รายไตรมาส ที่มา : World Bank, Thailand Economic Monitor, April 2006. ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
สถิติการใช้พลังงาน • สถานการณ์พลังงานของไทย • มูลค่าการนำเข้าพลังงาน (พันล้านบาท) ที่มา : พพ./รายงานพลังงานของประเทศไทย พ.ศ. 2547 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
เนื้อหาวิชา • ประเภทของพลังงาน • ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • สถิติการใช้พลังงาน • รูปแบบ หน่วยวัด และการแปลงพลังงาน • โครงสร้างค่าไฟฟ้า • โครงสร้างราคาก๊าซและน้ำมัน • การคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน และดัชนีพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • รูปแบบพลังงาน • พลังงานศักย์ – พลังงานที่สะสมไว้ในสิ่งต่างๆ • พลังงานจลน์ – พลังงานของการเคลื่อนไหว • พลังงานเคมี – พลังงานที่สะสมไว้ที่สามารถจะปล่อยออกมา โดยปฏิกิริยาเคมี • พลังงานความร้อน – พลังงานที่ทำให้โมเลกุลเคลื่อนไหวเร็วขึ้น • พลังงานเสียง – พลังงานที่ถูกส่งไปได้ โดยการสั่นสะเทือน ของอากาศ น้ำ และวัตถุ • พลังงานรังสี – พลังงานที่ถูกส่งไปได้โดยคลื่นของพลังงานที่ ประกอบด้วยโฟตอน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน หน่วยวัดปริมาณพลังงานที่นิยมใช้ทั่วไป คือ จูล (Joule : J) • พลังงานกล 1 จูล (J)= งานที่ได้จากแรง 1 นิวตัน (Newton : N) กระทำต่อวัตถุให้เคลื่อนที่ไปเป็น ระยะทาง 1 เมตรด้วยอัตราเร่ง 1 เมตร ต่อวินาที2 (m/s2) • พลังงานไฟฟ้า 1 จูล (J) = การชาร์ตประจุไฟฟ้า 1 คูลอมบ์ (Coulomb) ที่ทำให้ความต่างศักย์ เพิ่มขึ้น 1 โวลท์ (Volt) • พลังงานความร้อน 1 จูล (J) จะเทียบมาจากพลังงานที่ใช้ในการทำ ให้น้ำมีอุณหภูมิสูงขึ้น ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน หน่วยวัดปริมาณพลังงานที่นิยมใช้ทั่วไป คือ จูล (Joule : J) ความร้อนที่ใช้ในการทำให้น้ำ 1 กรัม มีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับ 4.187 จูล ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
ประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงานประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงาน • กฎของการอนุรักษ์พลังงาน พลังงานไม่สามารถถูกสร้างขึ้นหรือถูกทำลายลงได้ แต่สามารถเปลี่ยนรูปได้ เช่น การเผาไหม้ พลังงานเคมี พลังงานความร้อน มอเตอร์ พลังงานไฟฟ้า พลังงานกล ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
ประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงานประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงาน • การแปลงพลังงาน – โรงไฟฟ้าพลังความร้อน พลังงานความร้อน ไอเสีย พลังงานเคมี พลังงานความร้อน พลังงานกล เชื้อเพลิง หม้อไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า พลังงานไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน การคำนวณการใช้พลังงานเป็นเมกะจูล (MJ) • พลังงานไฟฟ้า (MJ)= กิโลวัตต์-ชั่วโมง x 3.6 ตัวอย่าง โรงงานมีการใช้พลังงานไฟฟ้า 2,000,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี โรงงานจะมีการใช้พลังงานเทียบเท่าพลังงานความร้อนกี่เมกะจูล = 2,000,000 x 3.6 = 7,200,000 เมกะจูล/ปี ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน การคำนวณการใช้พลังงานเป็นเมกะจูล (MJ) • พลังงานจากไอน้ำ (MJ) = (hs – hw) x S x eff โดยที่ hs = เอนทาลปีของไอน้ำ (เมกะจูลต่อตัน) hw = เอนทาลปีของน้ำที่อุณหภูมิ 27 oC (113 เมกะจูลต่อตัน) S = ปริมาณไอน้ำ (ตันต่อปี) eff = ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นไฟฟ้า (0.45) ตัวอย่างโรงงานมีการใช้ไอน้ำ 50,000 ตันต่อปี ที่แรงดัน 5 บาร์เกจ โรงงานจะมีการใช้พลังงานเทียบเท่าพลังงานความร้อนกี่เมกะจูล = (2,756.82 – 113) เมกะจูล x 50,000 ตัน x 0.45 = 59,485,950 เมกะจูล ตัน ปี ปี ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
แปรรูปพลังงาน ความร้อน รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน เชื้อเพลิง ไฟฟ้า x 3.6 x 0.45 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน การคำนวณการใช้พลังงานเป็นเมกะจูล (MJ) ตัวอย่างโรงงานมีการใช้ไอน้ำ 50,000 ตันต่อปี ที่แรงดัน 5 บาร์เกจ โรงงานจะมีการใช้พลังงานเทียบเท่าพลังงานความร้อนกี่เมกะจูล = (2,756.82 – 113) เมกะจูล x 50,000 ตัน = 131,191,000 เมกะจูล ตัน ปี ปี ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน การคำนวณการใช้พลังงานเป็นเมกะจูล (MJ) • พลังงานสิ้นเปลืองอื่นๆ (MJ) = F x HHV x eff โดยที่ F = ปริมาณเชื้อเพลิง (หน่วยต่อปี) HHV = ค่าความร้อนสูงของเชื้อเพลิง (เมกะจูลต่อหน่วย) eff = ประสิทธิภาพการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นไฟฟ้า (0.45) ตัวอย่างโรงงานมีการใช้น้ำมันเตา 200,000 ลิตรต่อปี โรงงานจะมีการใช้พลังงานเทียบเท่าพลังงานความร้อนกี่เมกะจูล = 200,000 ลิตร x 39.77 เมกะจูล x 0.45 = 3,579,300 เมกะจูล ปี ลิตร ปี ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
รูปแบบและหน่วยวัดของพลังงานรูปแบบและหน่วยวัดของพลังงาน • หน่วยวัดของพลังงาน การคำนวณการใช้พลังงานเป็นเมกะจูล (MJ) ตัวอย่างโรงงานมีการใช้น้ำมันเตา 200,000 ลิตรต่อปี โรงงานจะมีการใช้พลังงานเทียบเท่าพลังงานความร้อนกี่เมกะจูล = 200,000 ลิตร x 39.77 เมกะจูล = 7, 954,000 เมกะจูล ปี ลิตร ปี ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
เนื้อหาวิชา • ประเภทของพลังงานและการแปลงพลังงาน • ปริมาณสำรองของทรัพยากรพลังงาน • สถิติการใช้พลังงาน • รูปแบบ หน่วยวัด และการแปลงพลังงาน • โครงสร้างค่าไฟฟ้า • โครงสร้างราคาก๊าซและน้ำมัน • การคำนวณประสิทธิภาพพลังงาน และดัชนีพลังงาน ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า • กำหนดรูปแบบและพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้า • กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าให้แตกต่าง แต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นแรงจูงใจในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้พลังงาน • ส่งเสริมให้มีการประหยัดการใช้พลังงาน โดยเฉพาะช่วงที่อัตราค่าไฟฟ้าสูง การกำหนดโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งปรากฎอยู่ในใบเสร็จรับเงินค่า ไฟฟ้าในแต่ละเดือนจะประกอบไปด้วย 1. ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Charge) คิดตามปริมาณการใช้ไฟฟ้า (ตามหน่วยหรือกิโลวัตต์- ชั่วโมง) ที่ใช้ในแต่ละเดือน ตามประเภทของอัตราค่าไฟฟ้าที่ใช้ 2. ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) คิดจากความต้องการพลังไฟฟ้าเป็นกิโลวัตต์เฉลี่ยใน 15 นาที ที่สูงสุดของช่วงเวลาในแต่ละเดือน ตามประเภทของอัตราค่า ไฟฟ้าที่ใช้ โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า 620 600 540 500 ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า 3. ค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ใช้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลาง กิจการขนาด ใหญ่และกิจการเฉพาะอย่าง ในกรณีที่ผู้ใช้ไฟฟ้ามีค่าตัวประกอบ กำลัง (Power Factor) ล้าหลัง (Lag) โดยถ้าในรอบเดือนมีความ ต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็น กิโลวาร์เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอค ตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดเมื่อคิดเป็นกิโลวัตต์เฉพาะส่วนที่เกิน จะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ ในอัตรากิโลวาร์ละ 14.02 บาท โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า 4. ค่าบริการรายเดือน 5. ค่าตัวประกอบการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เป็นค่าที่การไฟฟ้าเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ไม่ อยู่ในความควบคุมของการไฟฟ้า เช่น ราคาเชื้อเพลิงที่ใช้ใน การผลิตไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป ค่าตัวประกอบการปรับอัตรา ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ จะเรียกเก็บตามจำนวนหน่วยของ ปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ 6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า • ค่าไฟฟ้าต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว สามารถสรุปเป็นตารางได้ดังนี้ ค่าไฟฟ้าผันแปร ค่าไฟฟ้าฐาน ภาษีมูลค่าเพิ่ม 1. ค่าพลังงานไฟฟ้า 2. ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า 3. ค่าพาวเวอร์แฟคเตอร์ 4. ค่าบริการรายเดือน 5. ค่าตัวประกอบการปรับ อัตราค่าไฟฟ้าโดย อัตโนมัติ 6. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า • การไฟฟ้าได้จำแนกผู้ใช้ไฟฟ้าออกเป็น 7 ประเภท ได้แก่ • บ้านอยู่อาศัย • กิจการขนาดเล็ก • กิจการขนาดกลาง • กิจการขนาดใหญ่ • กิจการเฉพาะอย่าง • ส่วนราชการและองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร • สูบน้ำเพื่อการเกษตร โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้าแต่ละประเภทสามารถสรุปได้ดังตารางต่อไปนี้ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า อัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) แตกต่างกันตามช่วงเวลาของวัน โดยแบ่งช่วงเวลาของวันออกเป็น ช่วงออนพีค (On Peak) : เวลา 18:30-21:30 น. ของทุกวัน - คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าในอัตราที่สูงสุด ช่วงพาร์เชียลพีค (Partial Peak) : เวลา 08:00-18:30 น. ของทุกวัน - คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกินจากช่วงออนพีคใน อัตราที่ต่ำลงมา โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า : อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Rate : TOD Rate) ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ช่วงออฟพีค (Off Peak) : เวลา 21:30-08:00 น. ของทุกวัน - ไม่คิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้า อัตราค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย) จะคิดในอัตราเดียวกันตลอดทุกช่วงเวลา โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า : อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day Rate : TOD Rate) ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (TOU Rate) จะคิดอัตราค่าพลังงานไฟฟ้าแตกต่างกันตามช่วงเวลาของการใช้ โดยแบ่งช่วงเวลาออกเป็น ช่วงออนพีค (On Peak) : • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09:00-22:00 น. - คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราสูงสุด โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า : อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU Rate) ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ช่วงออฟพีค (Off Peak) : • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 22:00-09:00 น. • วันเสาร์-วันอาทิตย์ เวลา 00:00-24:00 น. คิดค่าพลังงานไฟฟ้าในอัตราต่ำลงมา โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้า : อัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU Rate) ในส่วนของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (บาท/กิโลวัตต์) จะคิดเฉพาะในช่วงออนพีคเท่านั้น ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า โรงงานแห่งหนึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดกลางที่ใช้แรงดัน ไฟฟ้าต่ำกว่า 22 กิโลโวลท์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนอยู่ต่ำกว่า 250,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมงต่อเดือน โรงงานแห่งนี้มีการใช้ไฟฟ้าในเดือนกันยายน 2547 ดังนี้ ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งเดือน = 20,880 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด = 76 กิโลวัตต์ ความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟ = 128 กิโลวาร์ ค่าตัวประกอบการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ประจำเดือนกันยายน = 38.28 สตางค์/ กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า 1) ค่าพลังงานไฟฟ้า = 20,880 กิโลวัตต์-ชั่วโมง x1.7314 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง = 36,151.63 บาท 2) ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า = 76 กิโลวัตต์ x 221.50 บาท/กิโลวัตต์ = 16,834.00 บาท ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า 3) ค่าเพาเวอร์แฟกเตอร์ กิโลวาร์ส่วนเกิน = 128 กิโลวาร์ - (76 กิโลวัตต์ x 0.6197) = 80.90 กิโลวาร์ = 80.90 กิโลวาร์ x14.02 บาท/กิโลวาร์ = 1,134.22 บาท 4) ค่าบริการรายเดือน - ไม่มี = 0.00 บาท ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า 5) ค่า Ft = 20,880 กิโลวัตต์-ชั่วโมง x 0.3828 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง = 7,992.86 บาท 6) รวม 1) + 2) + 3) + 4) + 5) = 62,112.71บาท 7) ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% = 62,112.71 บาท x (7/100)= 4,347.89 บาท ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าไฟฟ้าทั้งหมดของโรงงานประจำเดือน กันยายน 2547 = 6) + 7) = 66,460.60 บาท คิดเป็นค่าไฟฟ้าเฉลี่ยต่อหน่วย = 66,460.60 บาท/20,880 กิโลวัตต์-ชั่วโมง = 3.18 บาท/กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดกลาง อัตราปกติ ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า โรงงานแห่งหนึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้แรงดันไฟฟ้า 69 กิโลโวลท์ โรงงานแห่งนี้มีการใช้ไฟฟ้าในเดือน กันยายน 2547 ดังนี้ ปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้ารวมทั้งเดือน = 5,820,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดใหญ่ อัตรา TOU ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า โดยแบ่งเป็นปริมาณการใช้ในแต่ละช่วงเวลาดังต่อไปนี้ - ช่วงเวลา 09.00 - 22.00 น. = 2,192,800 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ของวันจันทร์-ศุกร์ (ช่วงออนพีคตาม TOU) - ช่วงเวลา 22.00 - 09.00 น. = 1,738,000 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ของวันจันทร์-ศุกร์ (ช่วงออฟพีคตาม TOU) - ช่วงเวลา 00.00 - 24.00 น. = 1,889,200 กิโลวัตต์-ชั่วโมง ของวันเสาร์-วันอาทิตย์ (ช่วงออฟพีคตาม TOU) ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดใหญ่ อัตรา TOU ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน
โครงสร้างค่าไฟฟ้า ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในแต่ละช่วงเวลา - ช่วงเวลา 9:00 - 22:00 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ (ช่วงออนพีคตาม TOU) = 10,280 กิโลวัตต์ - ช่วงเวลา 22:00 - 9:30 น. ของวันจันทร์-ศุกร์ (ช่วงออฟพีคตาม TOU) = 10,200 กิโลวัตต์ - ช่วงเวลา 0:00 - 24:00 น. ของวันเสาร์-อาทิตย (ช่วงออฟพีคตาม TOU) = 10,240 กิโลวัตต์ ตัวอย่างวิธีการคำนวณค่าไฟฟ้า : กิจการขนาดใหญ่ อัตรา TOU ตอนที่ 1 บทที่ 2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับพลังงาน