180 likes | 355 Views
แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา. การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระแสใหญ่ทั่วโลกเพราะในสภาพของโลกที่เปลี่ยนไปการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถเป็น “การศึกษาสำหรับทุกคน” หรือการเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง. ทวีปยุโรป. ประเทศฝรั่งเศส
E N D
แนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษาแนวคิดทางเทคโนโลยีการศึกษา การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระแสใหญ่ทั่วโลกเพราะในสภาพของโลกที่เปลี่ยนไปการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการปรับตัวให้สามารถเป็น “การศึกษาสำหรับทุกคน” หรือการเอาผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ทวีปยุโรป • ประเทศฝรั่งเศส ระบบการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสอาจเรียกได้ว่าเป็นระบบการศึกษาที่รัฐให้ฟรีทั้งหมด และในปัจจุบันประเทศฝรั่งเศสได้มีการปฏิรูปการศึกษา โดยนำระบบการสื่อสารโทรคมนาคมมาพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาและการศึกษาแบบออนไลน์ ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในประเทศฝรั่งเศสในปัจจุบันเป็นบทเรียนออนไลน์การเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฝรั่งเศสได้เน้นถึงการพัฒนาประชากร โดยให้การศึกษาแก่ทุกคนได้นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาตนเอง เทคโนโลยีการศึกษาจะเป็นแนวทางที่ไม่จำกัดสถานที่และเวลา
ประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหราชอาณาจักรได้พัฒนาการสอนผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ มากขึ้นโดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ได้มีการกำหนดแผนพัฒนาในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่างๆประกอบด้วย 1. การเชื่อมต่อทุกโรงเรียนเข้ากับทางด้านสารสนเทศ 2. การพัฒนาเครือข่ายแห่งชาติเพื่อการเรียนรู้เป็นโครงสร้างพื้นฐาน
มีการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาให้ครูต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารตามหลักสูตรได้ สถาบันการศึกษาทุกแห่ง ห้องสมุดและศูนย์ชุมชนต้องเชื่อมต่อกับ NGFL
ประเทศฟินแลนต์ เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ครอบคลุมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการศึกษาโดยอิงทฤษฏีการเรียนรู้ เช่น หน่วยวิจัยเทคโนโลยีการศึกษาเน้นการวิจัยที่เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน สนับสนุนการเรียนรู้ได้แก่สื่อประสม การประชุมทางไกลระบบเครือข่ายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา คอมพิวเตอร์
การศึกษาปัจจุบันเน้นที่ content of rducation และ methods of instruction และยังคงเน้นที่มาตรฐานการศึกษาและความเท่าเทียมกันของการศึกษาโดยสรุปแล้วเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศฟินแลนด์ครอบคลุมเกี่ยงกับ 1. การใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการศึกษาโดยอิงกับทฤษฏีการ เรียนรู้ให้เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน 2. มีความสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมที่มีเทคโนโลยีสนับสนุน 3. การเรียนรู้ที่มีคอมพิวเตอร์ระบบเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่เสมือนจริงสนับสนุน
ทวีปเอเชีย ประเทศญี่ปุ่น การนำเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอนระดับต่างๆ มีความแตกต่างกันชัดเจนระหว่างพฤติกรรมของการเรียนรู้กับสื่อ คือในระบบอนุบาลจะนิยมใช้เครื่องบันทึกเสียง ระดับประถมศึกษานิยมใช้เครื่องโทรทัศน์ ระดับมัธยมต้นนิยมใช้เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะและมัธยมปลายนิยมใช้เครื่องเล่นและบันทึกเทปโทรทัศน์ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวน่าจะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นจะต้องมีการสร้างทัศนคติภายใต้ทฤษฏีจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมและให้ความรู้ในเรื่องของการใช้โสตทัศนูปกรณ์
จากการค้นคว้าข้อมูลพบว่ามีการจัดตั้งองค์กรด้านเทคโนโลยีการศึกษาของประเทศญี่ปุ่นและรัฐบาลให้การสนับสนุนในลักษณะภาพรวมของประเทศ ในการจัดรูปแบบองค์ ในการที่จะพัฒนาตนเองเข้าสู่ ศตวรรษที่ 21 ประเทศญี่ปุ่นจำเป็นต้องปฏิรูประบบการศึกษาโดยนโยบายหลักชาตินิยม คือพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางต้านการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมภายใต้กระบวนการคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแต่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานการกีฬาอันที่จะส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของประชาชน
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน • เทคโนโลยีการศึกษาเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของความทันสมัยของการศึกษา ในจีนผู้นำของรัฐบาลจีนให้ความสนใจในเทคโนโลยีการศึกษาตลอดช่วง20ปีที่ผ่านมาของการปฏิรูปผู้นำในชนบทหลายท่านได้เขียนเอกสารการสอนสำหรับการศึกษาผ่านดาวเทียมและการศึกษาทางไกลสมัยใหม่โดยคณะกรรมการทางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและรัฐสภาเน้นว่าต้องให้ความสำคัญต่อเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่และระบบสารสนเทศการศึกษา ดังนั้นการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาจึงเป็นงานที่สำคัญที่ทำให้เกิดความทันสมัยของการศึกษาจีน
โดยสรุป ขอบข่ายสาระของเทคโนโลยีการศึกษาของจีนเน้นการนำประเทศสู่ความทันสมัย โดยการแพร่กระจายความรู้ให้แก่ประชากรของประเทศที่มีจำนวนมากให้สามารถอ่านออกเขียนได้รับความรู้อย่างทั่วถึงเท่าเทียมกัน รวมทั้งสนับสนุนความเป็นเลิศทางวิชาการโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์โดยอาศัยเทคโนโลยีการศึกษาร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศจีนมีศักยภาพและได้ประกาศเข้าสู่ความทันสมัยในแผนปฏิบัติการแห่งชาติ
ประเทศสิงคโปร์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ เป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างมากในด้านเศรษฐกิจการเมือง สังคมและการศึกษา นับเป็นประเทศเปิดใหม่ที่มีความก้าวหน้าพัฒนาศักยภาพของบุคคลให้สูงสุดโดยอาศัยการศึกษาเป็นสำคัญ ในปี 2529 นำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง มีโครงการเชื่อมโยงโรงเรียนโดยใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกระทรวงศึกษาธิการและโรงเรียนทั้งหมดในอนาคตสิงคโปร์จะนำเทคโนโลยีการศึกษามาใช้เพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ด้วยความสำคัญ 4 ประการ
1. การเรียนการสอนต้องใช้สือหลายประเภท 2. ผู้เรียนต้องเลือกใช้สื่ออย่างสร้างสรรค์ 3. การพัฒนาสื่อทุกประเภทต้องเน้นให้มีการตอบสนอง สามารถเรียนด้วยตนเอง
กล่าวสรุป สาธารณรัฐสิงคโปร์มีการนำเอาเทคโนโลยีการศึกษามาใช้ในการจัดการศึกษาคล้ายกับประเทศต่างๆ ในเอเชีย เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการปกครองของประเทศอังกฤษ ดังนั้น การศึกษาจึงคาดว่าจะได้รับอิทธิพลทางเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ในการบริหารและการจัดการเรียนการสอนแต่เนื่องจากวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศในขณะนี้ทำให้สิงคโปร์มีแนวทางในการจัดการศึกษาเป็นของตนเองและมุ่งพัฒนาผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้ผู้เรียนมีคุณลักษณะเป็นผู้ใฝ่รู้เรียนอย่างติอเนื่องตลอดชีวิต
ประเทศไทย • เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา" เป็นเครื่องมือในการพัฒนาการศึกษา โดยการนำสื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ โทรคมนาคม และการจัดแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ มาใช้เพื่อจัดให้การศึกษาที่สามารถผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตามความต้องการ เพื่อให้การเรียนรู้และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกิดขึ้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตทั้งด้านการศึกษาสาระความรู้ทางวิชาการ ทางศาสนา และศิลปะ วัฒนธรรม
ส่วนขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษา ตามแนวคิดของนักคิดไทย ชัยยงค์ พรหม ได้แบ่งประมวลออกเป็น 3 ขอบข่ายคือ ขอบข่ายด้านสาระของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาการพัฒนาและออกแบบระบบทางการศึกษาพฤติกรรมการเรียนการสอน วิธีการสอนสื่อสารการศึกษาสภาพแวดล้อมทางการศึกษา การจัดการด้านการเรียนการสอนและการประเมินการศึกษา ขอบข่ายด้านภารกิจเป็นการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เพื่อภารกิจทางการศึกษาคือภารกิจด้านการบริหาร ด้านวิชาการและด้านการบริการ
ขอบข่ายตามรูปแบบการจัดการศึกษามีการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษา 4 ด้าน คือ 1. การศึกษาในระบบโรงเรียน จำแนกตามระดับการศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและอุดมศึกษา 2. การศึกษานอกระบบโรงเรียน 3. การฝึกอบรม 4. การศึกษาทางไกล