110 likes | 517 Views
ภูมิปัญญาท้องถิ่น. ลพบุรี. จัดทำโดย. 1.ด.ญ.ชิดชนก บุษยะกนิษฐ์ ม.1/1 เลขที่ 22. 2.ด.ญ.ณัฐจิรา สีโน ม.1/1 เลขที่ 27. เสนอ. อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ. พระนารายณ์มหาราช.
E N D
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ลพบุรี จัดทำโดย 1.ด.ญ.ชิดชนก บุษยะกนิษฐ์ ม.1/1 เลขที่ 22 2.ด.ญ.ณัฐจิรา สีโน ม.1/1 เลขที่ 27 เสนอ อ.ฐิตาพร ดวงเกตุ
พระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและพระนางศิริธิดา ต่อมาภายหลังถูกยกเป็นพระราชเทวี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาต่างมารดาของพระเจ้าปราสาททองเสด็จพระ-บรมราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ เดือนยี่ ปีวอก พ.ศ. 2175 และมีพระขนิษฐาร่วมพระมารดาคือ สมเด็จเจ้า-ฟ้าศรีสุวรรณ กรมหลวงโยธาทิพ หรือพระราชกัลยาณี[พระนมอยู่พระองค์หนึ่ง คือ เจ้าแม่วัดดุสิต ซึ่งเป็นญาติห่างๆ ของพระเจ้าปราสาททองเช่นกัน
พระปรางค์สามยอด ตั้งอยู่บนเนินดินด้านตะวันตกของทางรถไฟ ใกล้กับศาลพระกาฬ มีลักษณะเป็นปรางค์เรียงต่อกัน 3 องค์ มีฉนวนทางเดินเชื่อมติดต่อกัน พระปรางค์สามยอดเป็นศิลปะเขมรแบบบายน ซึ่งมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 สร้างด้วยศิลาแลง และตกแต่งลวดลายปูนปั้นที่สวยงามเสาประดับกรอบประตูแกะสลักเป็นรูปฤาษีนั่งชันเข่าในซุ้มเรือนแก้ว ซึ่งเป็นแบบเฉพาะของเสาประดับกรอบประตูศิลปะเขมรแบบบายน ปรางค์องค์กลางมีฐาน แต่เดิมเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปและมีเพดานไม้เขียนลวดลายเป็นดอกจันสีแดง
วังนารายณ์ราชนิเวศ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับ ล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมพ.ศ. 2232 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์“
บ้านวิชาเยนทร์ ตั้งอยู่ทางเหนือของวังนารายณ์ราชนิเวศน์ และวัดเสาธงทอง ทางตะวันตกใกล้กับวัดปืน ที่มีกรุพระหูยาน และทางตะวันออกใกล้กับเทวสถานปรางค์แขก บ้านหลวงรับราชทูตแบ่งได้ 3 ส่วน ด้านตะวันออกเป็นบ้านพักของคณะทูตชาวฝรั่งเศส ส่วนด้านตะวันตกเป็นบ้านพักของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ขุนนางชาวกรีก และท้าวทองกีบม้า ภรรยา ส่วนกลางเป็นที่ตั้งของโบสถ์ของคริสต์ศาสนาที่สถาปัตยกรรมเป็นแบบ Renaissenceผสมสถาปัตยกรรมไทย แห่งแรกของไทย และของโลก
ตึกพระเจ้าเหา ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นลักษณะสถาปัตยกรรม ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ชัดเจนมาก ประตูหน้าต่างทำซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ผนังด้านสกัดสูงยันอกไก่ ตรงจั่วเจาะเป็นช่องโค้งมี กำแพงแก้วเจาะเป็นช่องสำหรับวางตะเกียงล้อมรอบตึก ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และ บันทึกชาวฝรั่งเศสระบุว่าเป็นวัด เพราะฉะนั้นตึกหลังนี้สันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง เป็นที่ ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ชื่อว่า "พระเจ้าเหา" หรือ "พระเจ้าหาว" (หาว = ท้องฟ้า - ภาษาไทยโบราณ) ตึกหลังนี้ สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงใช้เป็นที่ประชุมขุนนาง และในตอนปลายรัชกาลขุนหลวง- สรศักดิ์ใช้ตึกนี้เป็นที่ชุมนุมขุนนางและทหาร เพื่อแย่งชิงราชสมบัติในขณะที่พระองค์ทรงพระประชวรหนัก
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) (กรีก: Κωνσταντίνος Γεράκης โคนสตันตินอส เกราคิส, อังกฤษ: Constantine Phaulkon) เป็นนักผจญภัยชาวกรีก ผู้กลายมาเป็นสมุหนายกในรัชสมัยของ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากภาษากรีก ซึ่งเป็นภาษาแม่แล้ว ฟอลคอนยังสามารถพูดภาษาต่างๆมากมาย ได้แก่ ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาโปรตุเกส และ ภาษามลายู
ศาลพระกาฬ สร้างด้วยศิลาแลงเรียงซ้อนกันเป็นฐานสูง แต่ก่อนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ศาลสูง" ทับหลัง ซึ่งทำด้วยศิลาทรายสลักเป็นรูปพระนารายณ์บรรทมสินธุ์ สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16 สมัยขอมเรืองอำนาจ วางอยู่ติดฝาผนังวิหารหลังเล็กชั้นบน ณ ที่นี้ได้พบหลักศิลาจารึกแปดเหลี่ยมจารึกอักษรมอญโบราณพ.ศ. 2494 โดยสร้างทับบนรากฐานเดิมที่สร้างไว้ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ภายในวิหารประดิษฐานพระนารายณ์ประทับยืน ซึ่งเดิมพระกร และพระเศียร หายไป แต่ต่อมามีผู้นำพระเศียร ของพระสมัยอู่ทอง และพระกรมาต่อ ตามตำนานกล่าวว่า ที่พระกรหายไปทั้งหมดเพราะ พระกาฬไปรับลูกระเบิด พระกรจึงขาดหายไปหมด
ปรางค์แขก เทวสถานปรางค์แขก (ภาษาปากนิยมเรียก ปรางค์แขก) เป็นโบราณสถานอยู่ในเขตตำบลท่าหินอำเภอเมืองจังหวัดลพบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนเกาะกลางถนนบริเวณแยกถนนวิชาเยนทร์กับถนนสุระสงคราม ถือเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดลพบุรี ในยุคปัจจุบันนักวิชาการบางท่านได้สันนิษฐานว่าปรางค์แขกถูกสร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15บ้างก็ว่าสร้างตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 ถือเป็นปราสาทขอมที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดลพบุรี
ดินสอพอง ดินสอพอง หรือ มาร์ล หรือ มาร์ลสโตน มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต หรือโคลนหรือหินโคลนที่อุดมไปด้วยเนื้อปูนที่มีองค์ประกอบที่แปรผันของแร่เคลย์และอาราโกไนต์ มาร์ลเป็นคำโบราณที่ถูกนำมาใช้เรียกวัตถุที่หลากหลายโดยส่วนใหญ่เป็นวัตถุเนื้อหลวมๆของดินที่มีองค์ประกอบหลักของเนื้อผสมระหว่างดินเคลย์และแคลเซี่ยมคาร์บอเนตเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดแวดล้อมที่เป็นน้ำจืดเป็นวัตถุเนื้อดินประกอบด้วยแร่เคลย์ร้อยละ 65 และคาร์บอเนตร้อยละ 65-35 [1] คำเรียกที่ใช้ในปัจจุบันหมายถึงตะกอนที่ตกสะสมตัวในทะเลและในทะเลสาบที่แข็งตัวซึ่งเพื่อให้ถูกต้องแล้วต้องเรียกว่ามาร์ลสโตน มาร์ลสโตนเป็นหินที่แข็งตัวมีองค์ประกอบเดียวกันกับมาร์ลที่อาจเรียกว่าหินปูนเนื้อดิน มาร์ลมีการแตกแบบกึ่งก้นหอยและมีแนวแตกถี่ได้น้อยกว่าหินดินดาน คำว่า “มาร์ล” เป็นศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้เรียกกันอย่างกว้างขวางในทางธรณีวิทยา ขณะที่คำว่า “เมอร์เจิล” และ “ซีเกรด” (ภาษาเยอรมันเรียกว่า “ซีชอล์ค”) ถูกใช้เรียกกันในยุโรป
ปลาส้มฟัก ปลาส้มฟัก เป็นภาษาท้องถิ่นของคนไทยพวน หมายถึง การถนอมอาหารโดยการทำปลาให้เปรี้ยว เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แหนมปลา มีปริมาณโปรตีนจากเนื้อปลาสูง มีเกลือแร่ และสมุนไพรจากกระเทียม