1 / 12

ศ. 402 เศรษฐศาสตร์สถาบัน (Institutional Economics)

ศ. 402 เศรษฐศาสตร์สถาบัน (Institutional Economics). วิชาบังคับก่อน : สอบได้ (ก) ศ. 210 หรือ (ข) ศ. 211 และ ศ. 212 หรือ (ค) ศ. 213 และ ศ. 214 สอบกลางภาค : วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม เวลา 1 2 . 0 0–1 4 .00 น. สอบปลายภาค : วันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม เวลา 13.00 – 16.00 น.

wilbur
Download Presentation

ศ. 402 เศรษฐศาสตร์สถาบัน (Institutional Economics)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ศ. 402 เศรษฐศาสตร์สถาบัน(Institutional Economics) วิชาบังคับก่อน: สอบได้ (ก) ศ. 210 หรือ (ข) ศ. 211 และ ศ. 212 หรือ (ค) ศ. 213 และ ศ. 214 สอบกลางภาค: วันอาทิตย์ที่ 5สิงหาคม เวลา 12.00–14.00 น. สอบปลายภาค: วันเสาร์ที่ 13ตุลาคม เวลา 13.00 – 16.00 น.

  2. คำอธิบายลักษณะวิชา • ศึกษาการพัฒนาแนวคิดของเศรษฐศาสตร์สถาบัน วิเคราะห์บทบาทของสถาบันที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์ปัจจัยที่กำหนดการเกิดและดับของสถาบัน ต้นทุนทางธุรกรรมของสถาบัน ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสถาบัน • ศึกษาและวิเคราะห์การปฏิรูปนโยบายเศรษฐกิจของรัฐ การใช้ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์กระแสหลักศึกษาและวิเคราะห์ ปรากฏการณ์ทางการเมือง โครงสร้างตลาดการเมือง และประพฤติกรรมทางการเมือง การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทางการเมืองผ่านตลาดการเมือง ตลอดจนการแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจผ่านกลไกของอำนาจรัฐ ศึกษาอิทธิพลและผลกระทบของการรวมกลุ่มของกลุ่มผลประโยชน์ และองค์กรต่างๆ ในการผลักดันและกดดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ

  3. วัตถุประสงค์ของลักษณะวิชาวัตถุประสงค์ของลักษณะวิชา 1. เพื่อศึกษาถึงความสำคัญและพัฒนาการของเศรษฐศาสตร์สถาบัน โดยอาศัยความรู้ทางเศรษฐศาสตร์กระแสหลัก 2. เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคม ผ่านทางมุมมองเศรษฐศาสตร์สถาบัน อย่างน้อยในสองส่วน กล่าวคือ • ส่วนที่เป็นโครงสร้างของเศรษฐกิจระบบตลาดและภาคธุรกิจ อันครอบคลุมถึงพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างหน่วยธุรกิจกับปัจเจกบุคคล และ • ส่วนที่เป็นภาคการเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลประโยชน์ทางการเมืองระหว่างภาคการเมืองและภาคธุรกิจ และการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจ 3. เพื่อให้สามารถนำกรอบแนวคิดด้านเศรษฐศาสตร์สถาบันและการวิเคราะห์สถาบันเชิงเปรียบเทียบ ไปวิเคราะห์สถาบันทางสังคมต่างๆ ได้อย่างเป็นระบบ

  4. การประเมินผลและจริยธรรมทางวิชาการการประเมินผลและจริยธรรมทางวิชาการ สอบกลางภาค 30 คะแนน รายงานและนำเสนอ 30 คะแนน สอบปลายภาค 40 คะแนน • ห้ามมิให้นักศึกษาทำการคัดลอกงานของผู้อื่น ไม่ว่างานนั้นอยู่ในรูปแบบใดๆ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใด หรือทั้งหมด • การอ้างอิงงานของผู้อื่นต้องทำให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล • งานเขียนใดที่ถูกตรวจสอบพบว่ามีการคัดลอกจากงานของผู้อื่น นักศึกษาจะถูกทำโทษสถานหนัก อย่างน้อยต้องถูกปรับตกในวิชานั้น • ข้อความในงานเขียนไม่จำเป็นต้องสละสลวยสวยงาม สิ่งที่สำคัญคือการสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ของตัวนักศึกษาเอง

  5. ระเบียบในการเข้าฟังบรรยายระเบียบในการเข้าฟังบรรยาย • ห้ามมิให้นักศึกษาใช้เสียงอันเป็นการรบกวนการบรรยาย ไม่ว่าเสียงนั้นจะเป็นเสียงจากแหล่งใดๆ (เช่น โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ การพูดคุย หรือการเดินเข้าออก) เว้นแต่จะใช้เสียงเพื่อสื่อสารในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่กำลังบรรยาย • อนุญาตให้นักศึกษานำเครื่องดื่มและขนมเข้ามารับประทานได้ (ที่ไม่มีกลิ่นและเสียงรบกวนการบรรยาย) แต่ต้องนำออกไปหลังจากจบการบรรยายและรักษาความสะอาดในห้องบรรยาย • นักศึกษาไม่จำเป็นต้องแต่งชุดนักศึกษาเข้าฟังบรรยาย แต่ต้องแต่งกายให้สุภาพ • หากฝ่าฝืนจะตัดคะแนนนักศึกษาทุกคน ครั้งละ 5 คะแนน และจะงดบรรยายใน section ทันที การบรรยายในครั้งต่อไปจะเริ่มเนื้อหาต่อไป (ดังนั้น เมื่อตัดคะแนนครบ 4 ครั้ง จะไม่มีใครได้ระดับ A; 6 ครั้งจะไม่มีใครได้ระดับ B+ และจะตัดไปเรื่อยๆ)

  6. เอกสารประกอบการบรรยายเอกสารประกอบการบรรยาย • Bowles, Samuel. 2004. Microeconomics: Behavior, Institutions, and Evolution. New York: Russell Sage [HB172 .B65] • Bowles, Samuel, Franzini, Maurizio, and Pagano, Ugo (eds.). 1999. The Politics and Economics of Power. London: Routledge [ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ของสำนักหอสมุด] • Brousseau, Eric and Glachant, Jean-Michel (eds). 2008. New Institutional Economics: A Guidebook. Cambridge: Cambridge University Press [HB99.5 .N4915]

  7. เอกสารประกอบการบรรยายเอกสารประกอบการบรรยาย • Eggertsson, Thrainn. 1990. Economic Behavior and Institutions. Cambridge: Cambridge University Press [HB99.5 .E34] • North, Douglass C. 1990. Institutions, Institutional Change, and Economic Performance. New York: Cambridge University Press. [HB172 .B65] • Rutherford, Malcolm. 1994. Institutions in Economics: The Old and the New Institutionalism. Cambridge: Cambridge University Press [HB99.5 .R88] • Tool, Marc R. (ed) 1993. Institutional Economics: Theory, Method, Policy. Norwell, MA: Kluwer Academic Publishers.

  8. หัวข้อการบรรยาย 1. แนวความคิดและประวัติของเศรษฐศาสตร์สถาบัน 2. สถาบันที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบตลาด 3. โครงสร้างเชิงสถาบันของภาคเศรษฐกิจ เน้นที่หน่วยธุรกิจ 4. โครงสร้างเชิงสถาบันทางการเมือง

  9. หัวข้อการบรรยาย 1. แนวความคิดและประวัติของเศรษฐศาสตร์สถาบัน • ความหมายของสถาบัน • ความสำคัญของสถาบัน • ความแตกต่างระหว่างสถาบันและองค์กร (institution vs organisation) • สถาบันกับระบบเศรษฐกิจ • พัฒนาการของแนวความคิดเศรษฐศาสตร์สถาบัน • ความแตกต่างระหว่าง OIE กับ NIE • การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปของสถาบัน

  10. หัวข้อการบรรยาย 2. สถาบันของการแลกเปลี่ยน • การเกิดขึ้นของรัฐ • การเกิดขึ้นของสถาบันที่สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนด้วยระบบตลาด • กรรมสิทธิ์และสัญญา • ต้นทุนธุรกรรม • การเกิดขึ้นของตลาดในฐานะสถาบันทางเศรษฐกิจ • การจัดรูปแบบของหน่วยผลิต

  11. หัวข้อการบรรยาย 3. โครงสร้างเชิงสถาบันของภาคเศรษฐกิจ • การเกิดขึ้นของตลาดที่มิใช่ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ • การแข่งขันระหว่างองค์กรหรือหน่วยผลิต • การปรับโครงสร้างภายในขององค์กรหรือหน่วยผลิต • ผลต่อตลาด • การตัดสินใจขององค์กรหรือหน่วยผลิต • ผลต่อประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ • กลไกทางสถาบันที่นำมาใช้ควบคุม

  12. หัวข้อการบรรยาย 4. โครงสร้างเชิงสถาบันทางการเมือง • การเมือง ปฏิสัมพันธ์ของการเมืองกับการแลกเปลี่ยนอันนำไปสู่การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การกำหนดนโยบายเศรษฐกิจ • การเกิดขึ้นของรัฐในฐานะเป็นสถาบันทางสังคม และหน้าที่ของรัฐในการดำเนินการบางอย่าง • การผลิตสินค้าสาธารณะและการแก้ปัญหาความล้มเหลวของระบบตลาด • การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง • การเปลี่ยนโครงสร้างเชิงสถาบัน ขอบเขต และบทบาทของรัฐ รวมถึงสภาพแวดล้อมเชิงสถาบันของรัฐ • กลุ่มผลประโยชน์ และกลุ่มผลักดันทางการเมืองในฐานะสถาบันทางการเมืองที่มิใช่รัฐ • การกดดันของกลุ่มผลประโยชน์และเครื่องมือที่ใช้ • กลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นกลุ่มธุรกิจ และที่เป็นกลุ่มอื่นๆ

More Related