1 / 35

สวัสดีครับ

สวัสดีทหาร วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องดัชนีกัน. ดัชนี. สวัสดีครับ.

Download Presentation

สวัสดีครับ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สวัสดีทหาร วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องดัชนีกัน ดัชนี สวัสดีครับ

  2. ดัชนีไม่ใช่เรื่องยากเลย ดัชนีที่เราจะเรียนกันในที่นี้ คือ เป็นตัวเลขที่ได้จากการเปรียบเปรียบค่าสัมพัทธ์ของตัวแปรตัวหนึ่ง หรือหลาย ๆ ตัว ในระยะเวลาหนึ่งกับค่าของตัวแปรดังกล่าวในต่างระยะเวลา ซึ่งเรียกว่า ระยะฐาน ถ้าข้อมูลเก็บในรูปของรายปีก็จะเรียกว่า ปีฐาน(base year) โดยปกติการเปรียบเทียบค่าจะคิดเป็นร้อยละ (เปอร์เซ็นต์) ชักงง ???????? จะพยายามครับ ต้องตั้งใจ หน่อยแล้ว

  3. เดี๋ยวผมจะเปิดวีดิโอสอนเรื่องดัชนีให้ดูนะ ให้พวกเราเรียนรู้ ตั้งใจด้วย 555 อีกแล้ว

  4. บทที่ 11เลขดัชนี ในการดำเนินชีวิตประจำวัน มนุษย์เราจำเป็นหรือมีโอกาสได้เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารและตัวเลขต่าง ๆ เช่น ในครัวเรือนนั้นแม่บ้านสนใจที่จะทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จับจ่ายใช้สอยอยู่ทุกวัน ว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับระยะเวลาหนึ่งที่กำหนด (เช่น วัน เดือน ปี ที่ผ่านมา) สำหรับคนอื่น ๆ ในครอบครัวก็เช่นเดียวกัน อาจจะสนใจที่จะรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงในราคาของสิ่งของต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการจัดสรรรายได้สำหรับการใช้จ่ายของตน

  5. ทางด้านธุรกิจ นักธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต หรือผู้ขาย หรือแม้แต่เจ้าของปัจจัยการผลิต ก็สนใจที่จะรู้ถึงภาวะราคาของสินค้า, ปริมาณของสินค้า, มูลค่าของสินค้า หรือค่าตอบแทนที่ได้รับว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีมากน้อยเพียงใด เป็นไปในทิศทางใด เพิ่มขึ้นหรือลดลงจากเดิม และการเปลี่ยนแปลงนั้นคิดเป็นอัตราส่วนเท่าใด เมื่อเทียบกับระยะเวลาอื่นที่กำหนดให้ ทางด้านอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน เรามักจะได้ยินหรือเคยเห็นตัวเลขที่บอกเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น ในตลาดหลักทรัพย์มีการประกาศว่า ดัชนี ตลาดหลักทรัพย์ ของแต่ละวันมีค่าเป็นเท่าใด เพิ่มขึ้น เท่าเดิม หรือลดลงจากวันก่อนกี่จุด มูลค่าการซื้อขายหุ้นมีจำนวนเท่าใด เมื่อเปรียบเทียบกับวันก่อนเป็นต้น ในระดับประเทศมีการแสดงถึงตัวเลขต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านผลิตภัณฑ์ประชาชาติเบื้องต้น หรือรายได้ประชาชาติ หรือรายได้เฉลี่ยต่อหัว ตลอดจนมูลค่าการสั่งสินค้าเข้าและสินค้าออก ซึ่งตัวเลขเหล่านี้เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับตัวเลขชนิดเดียวกัน แต่ต่างระยะเวลาย่อมเป็นประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก

  6. 11.2 ชนิดของเลขดัชนี เลขดัชนีสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของการคำนวณ เช่น 1. ดัชนีราคา 2. ดัชนีปริมาณ 3. ดัชนีมูลค่า 4. ดัชนีที่สร้างขึ้นเฉพาะเรื่องสำหรับจุดประสงค์แต่ละกรณี ดัชนีราคา (Price Index)เป็นตัวเลขที่ได้จากการหาค่าเปลี่ยนแปลงสัมพัทธ์ของราคาสินค้าชนิดต่าง ๆ

  7. ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือดัชนีค่าครองชีพ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการวัดการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้า และบริการที่มีการซื้อขายเป็นประจำ โดยมีการแบ่งประเภทของสินค้าที่นำมาคำนวณเป็น 7 หมวด

  8. ดัชนีราคาขายส่งหรือดัชนีราคาผู้ผลิต สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวัดอัตราเฉลี่ยและทิศทางการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือสินค้ากลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากผู้ผลิตไปยังผู้จำหน่ายหรือผู้ขายส่ง ดัชนีราคาผู้ผลิตนี้ไม่รวมอากร และการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าของผู้ผลิตนั้นจะต้องเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ยกเว้นทางด้านคุณภาพ ปริมาณของสินค้าจำนวนจำหน่ายและราคาขายปลีก เป็นต้น

  9. ดัชนีปริมาณ (Quality index) เป็นตัวเลขที่ใช้สำหรับจัดการเปลี่ยนแปลงของปริมาณสินค้าและบริการของปีใดปีหนึ่ง โดยเปรียบเทียบกับปีฐาน หรืองวดเวลาอื่นที่มิใช่เป็นปีก็ได้ อาจเป็นเดือนหรือรายสัปดาห์ ดัชนีมูลค่า (Value index) เป็นตัวเลขที่แสดงการเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าหรือบริการในปีใดปีหนึ่งเทียบกับปีฐานมูลค่านั้นได้จากการนำราคาต่อหน่วยคูณด้วยปริมาณสินค้านั่นเอง เรื่องกล้วยๆ

  10. การคำนวณหาค่าเลขดัชนีการคำนวณหาค่าเลขดัชนี สัญลักษณ์และข้อมูลที่ใช้ในการสร้างเลขดัชนี p = ราคาสินค้า q = ปริมาณสินค้า p0 = ราคาสินค้าในช่วงเวลาที่ใช้เป็นฐาน q0 = ปริมาณสินค้าในช่วงเวลาที่ใช้เป็นฐาน pn = ราคาสินค้าในปัจจุบันหรือช่วงเวลาที่ต้องการหาเลขดัชนี qn = ปริมาณสินค้าในปัจจุบันหรือช่วงเวลาที่ต้องการหาเลขดัชนี

  11. ตารางข้างล่างนี้เป็นราคาและปริมาณการใช้โลหะ 3 ประเภท ในปี 2525, 2530 และ 2535 ตามลำดับ เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นความแตกต่างของการคำนวณในแต่ละวิธี จะใช้ข้อมูลต่อไปนี้ เป็นตัวหาเลขดัชนีของวิธีการต่าง ๆ

  12. 1. เลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบไม่มีน้ำหนักถ่วง (Unweighted price index number) การคำนวณเลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบไม่มีน้ำหนักถ่วง แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ ก) เลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบใช้ราคารวม ข) เลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบใช้ค่าเฉลี่ยของราคาสัมพัทธ์ ก) เลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบใช้ราคารวม (Simple aggregative price index) ผลรวมราคาปีที่สนใจของทุกๆ สินค้า ผลรวมราคาปีฐานของทุกๆ สินค้า

  13. I30 = 157.69 I35 = 142.31

  14. I30 = 157.69 I35 = 142.31 นั่นก็คือ ในปี พ.ศ. 2530 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252557.69% และในปี พ.ศ. 2535 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252542.31%

  15. ข้อบกพร่องของดัชนี • จากตารางจะเห็นว่าสูตรที่ใช้ในการคำนวณเลขดัชนีแบบใช้ราคารวมนี้กำหนดให้การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าในแต่ละชนิดมีความสำคัญเท่ากัน ซึ่งเป็นข้อบกพร่องของวิธีนี้ เพราะสินค้าที่มีราคาต่อหน่วยสูง ย่อมมีอิทธิพลทำให้เลขดัชนีเปลี่ยนแปลงไปได้มากกว่าสินค้าที่มีขนาดเล็ก จากตารางสินค้า ทองแดง ย่อมมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของเลขดัชนีได้มากกว่าสินค้า ตะกั่วเป็นต้น

  16. ข) เลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบใช้ค่าเฉลี่ยของราคาสัมพัทธ์ วิธีนี้ใช้หาดัชนีราคาโดยใช้ราคาสัมพัทธ์ กล่าวคือเปลี่ยนจากราคาจริงของสินค้าแต่ละอย่างในปีต่าง ๆ เป็นราคาสัมพัทธ์ แล้วนำเอายอดรวมของราคาสัมพัทธ์ มาเฉลี่ยด้วยจำนวนรายการของสินค้า (N) ราคาสัมพัทธ์ของสินค้าแต่ละชนิด

  17. I30 = 153.33 I35 = 140.00

  18. I30 = 153.33 I35 = 140.00 นั่นก็คือ ในปี พ.ศ. 2530 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252553.33% และในปี พ.ศ. 2535 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252540.00%

  19. ข้อบกพร่องของดัชนี • เนื่องจากวิธีนี้ตัดปัญหาสินค้าราคาต่อหน่วยของสินค้าสูงจะส่งผลต่อดัชนีมากกว่าสินค้าราคาต่อหน่วยต่ำ ซึ่งถ้าใช้วิธีนี้ไม่ว่าสินค้าจะมีราคาต่อหน่วยสูงต่ำต่างกันอย่างไร ก็จะมีความสำคัญในการคำนวณเลขดัชนีเท่ากัน ซึ่งจะเห็นว่ายังมีข้อบกพร่องอยู่ นั่นคือสินค้าบางอย่างมีความสำคัญมากกว่าสินค้าอีกชนิดหนึ่ง เนื่องจากขายได้ปริมาณมากกว่า หรือมีมูลค่าสินค้าสูงกว่า ซึ่งมันก็น่าจะมีอิทธิพลต่อค่าดัชนีมากกว่าด้วย แต่เลขดัชนีราคาสัมพัทธ์ไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้

  20. 2. เลขดัชนีราคาถ่วงน้ำหนักแบบใช้ราคารวม (Weight aggregative price index) การคำนวณเลขดัชนีราคาอย่างง่ายแบบมีน้ำหนักถ่วง แบ่งออกได้เป็น 2 วิธีคือ ก. การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณในช่วงเวลาที่ใช้เป็นฐาน ข. การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณในปีปัจจุบัน ก) การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณในช่วงเวลาที่ใช้เป็นฐาน หรือ วิธีของลาสแปร์ ผลรวมราคาปีที่สนใจคูณปริมาณในปีฐานของทุกๆ สินค้า ผลรวมราคาปีฐานคูณปริมาณในปีฐานของทุกๆ สินค้า

  21. I30 = 160.04 I35 = 138.88

  22. I30 = 160.04 I35 = 138.88 นั่นก็คือ ในปี พ.ศ. 2530 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252560.04% และในปี พ.ศ. 2535 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252538.88%

  23. ก) การถ่วงน้ำหนักด้วยปริมาณในช่วงเวลาที่ใช้เป็นปีปัจจุบัน หรือ วิธีของพาเช่ ผลรวมราคาปีที่สนใจคูณปริมาณในปีปัจจุบันของทุกๆ สินค้า ผลรวมราคาปีฐานคูณปริมาณในปีปัจจุบันของทุกๆ สินค้า วิธีนี้ในทางปฏิบัติทำได้ยากกว่าวิธีของลาสแปร์ เพราะต้องหาข้อมูลปริมาณสินค้าของทุกๆ ปีที่คำนวณ

  24. I30 = 158.67 I35 = 148.24

  25. I30 = 158.67 I35 = 148.24 นั่นก็คือ ในปี พ.ศ. 2530 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252558.67% และในปี พ.ศ. 2535 ราคาสินค้าสูงกว่าในปี พ.ศ. 252548.24%

  26. เนื่องจากเลขดัชนีของลาสแปร์และของพาเช่ อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากระหว่างปริมาณของน้ำหนักถ่วงในปีฐาน ซึ่งถ้าผลต่างระหว่าง IL และ Ip ถ้ามีน้อยก็พอที่จะอนุโลมใช้ของวิธีใดก็ได้ แต่ถ้า IL และ Ipแตกต่างกันมาก เราจะมีวิธีแก้ไขหรือปรับค่าด้วยวิธี หาค่าเฉลี่ยของ IL และ Ip ดังต่อไปนี้ วิธีของโดรบิช วิธีของฟิชเชอร์

  27. I30 = 160.04 I30 = 158.67 I35 = 138.88 I35 = 148.24 วิธีของพาเช่ วิธีของลาสแปร์ I30 = 159.36 I30 = 159.35 I35 = 143.56 I35 = 143.48 วิธีของโดรบิช วิธีของฟิชเชอร์

  28. 11.4 การเปลี่ยนฐานเลขดัชนี การเลือกฐานเลขดัชนีควรเลือกจากระยะฐานที่มีเหตุการณ์ปกติ เศรษฐกิจเสถียรภาพดี และไม่ห่างจากปีปัจจุบันมากนัก แม้ในทางปฏิบัติอาจจะถือเอาความสะดวกโดยเลือกระยะฐานจากปีใดปีหนึ่ง อย่างไรก็ดีในบางสภาวการณ์ฐานที่เราใช้ได้อย่างเหมาะสมในสมัยหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมในระยะต่อมา สิ่งต้องมีการเปลี่ยนฐานให้ทันสมัยเมื่อถึงเวลาอันสมควร นอกจากนี้การเปลี่ยนฐานยังเพื่อเชื่อมเลขดัชนี 2 ชุดที่คาบเกี่ยวกันให้เป็นเลขดัชนีชุดเดียวกัน โดยใช้หลักการของสัดส่วน

  29. 11.4 การเปลี่ยนฐานเลขดัชนี

  30. 11.5 การต่ออนุกรมดัชนีสองอนุกรม วิธีการต่ออนุกรมดัชนีสองอนุกรมมีหลักการคล้ายกันกับวิธีการเปลี่ยนฐาน โดยยึดหลักของสัดส่วน (proportion) กล่าวคือ นำเลขดัชนีที่เหลื่อมกันหรือซ้อนกันมาเป็นหลักในการเทียบสัดส่วน และคำนวณเลขดัชนีของปีอื่นที่ขาดหายไปด้วย สมมุติว่าเลขดัชนีอนุกรมแรกตั้งต้นปี2540 และถือเอาปีเริ่มต้นเป็นปีฐาน ส่วนเลขดัชนีอนุกรมที่สองเริ่มต้นปี พ.ศ. 2544 และถือเอาปี 2544 เป็นปีฐาน ดังตัวอย่าง

  31. เช่น ดัชนีชุดใหม่ที่มีปี 2540 เป็นปีฐาน ค่าดัชนีของปี 2545 =

  32. 11.6 การประยุกต์ใช้ดัชนี ตัววัดอำนาจซื้อของเงินแต่ละหน่วย = ดัชนีราคาหุ้น (SET index) = มีอีกเยอะนะครับ ลองหาอ่านเพิ่มเติมจากหนังสือทางด้านเศรษฐศาสตร์นะครับ

  33. จากวีดีโอที่เปิดพวกเราเข้าใจหรือยังจากวีดีโอที่เปิดพวกเราเข้าใจหรือยัง .................กรรมเวร ยังไม่เข้าใจอีกเหรอ งั้นดูอีกรอบ หรือ ลองทำแบบฝึกหัด ดูใหม่ Ex เกือบจะตาย แล้วครับ

  34. ยินดีด้วยนะ............... จบบทแล้ว

More Related