130 likes | 276 Views
ปัญหาและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549. ปัญหา 1. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช้เวลาเกิน 3 เดือน. ข้อเสนอแนะ 1.
E N D
ปัญหาและข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2546 และ ที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ปัญหา 1 • การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยใช้เวลาเกิน 3 เดือน ข้อเสนอแนะ 1 • ให้อำเภอเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือ • ผู้ประสบภัยให้เสร็จสิ้น ภายใน 3 เดือนนับแต่วันเกิดภัย • ให้อำเภอจัดทำทะเบียนการประกาศภัยพิบัติเพื่อติดตาม • หน่วยงานที่รับผิดชอบให้เร่งดำเนินการช่วยเหลือให้เสร็จสิ้น • ภายในระยะเวลากำหนด
ข้อเสนอแนะ 1 (ต่อ) • หากไม่สามารถให้การช่วยเหลือได้ภายในเวลาที่กำหนดให้ขอ • ขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือมายังกรมป้องกันและบรรเทา • สาธารณภัย (อปภ. มีอำนาจอนุมัติการขยายเวลาการให้ความ • ช่วยเหลือ)โดยจะต้องขอขยายก่อนที่การให้ความช่วยเหลือ • จะสิ้นสุด และไม่น้อยกว่า 15 วัน ปัญหา 2 • การส่งเรื่องขอโอนเงินงบประมาณเพื่อชดใช้คืนเงินทดรอง • ราชการล่าช้า ไม่เป็นไปตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงิน • ทดรองราชการฯ พ.ศ. 2546
ข้อเสนอแนะ 2 • ปีงบประมาณเริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมของปีปัจจุบันถึงวันที่ • 30 กันยายนของปีถัดไป • ภัยพิบัติที่เกิดก่อนเดือนสิงหาคม ให้ดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือ • และขอโอนเงินงบประมาณเพื่อชดใช้คืนเงินทดรองราชการฯ • ให้เสร็จสิ้นภายในปีงบประมาณ (เดือนก.ย.) สำหรับภัยพิบัติ • ที่เกิดในเดือน ส.ค - ก.ย.ให้จ่ายเงินช่วยเหลือและขอโอนเงิน • งบประมาณเพื่อชดใช้คืนเงินทดรองราชการฯ ในปีงบ • ประมาณถัดไปได้ (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง • ราชการฯพ.ศ. 2546 ข้อ 38
ข้อเสนอแนะ 2 (ต่อ) • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ลงบัญชีหนังสือจังหวัดที่ • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ขอความเห็นชอบรัฐมนตรี • ว่าการกระทรวงมหาดไทยแล้วโดยแยกแต่ละด้าน/แต่ละครั้ง ใน • www.disaster.go.th หน้าหลัก "เงินทดรองราชการ" หัวข้อ "บัญชี • หนังสือจังหวัดฯ"
ปัญหา 3 • กรณีการขอโอนเงินไม่ทันภายในปีงบประมาณจะเป็นค่าใช้จ่าย • ค้างเบิกข้ามปี ข้อเสนอแนะ 3 • จังหวัด จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบชดใช้เงินทดรองราชการ โดยใช้ • งบประมาณของจังหวัด/หน่วยงานต้นสังกัด/ท้องถิ่น ส่งคืนคลัง • จังหวัด
ปัญหา 4 • จังหวัดใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด • (งบ 50 ล้านบาท) เกิน 50 ล้าน ต่อหนึ่งภัยพิบัติ/หนึ่งเหตุการณ์ ข้อเสนอแนะ 4 • กระทรวงมหาดไทย สั่งการให้จังหวัดจัดทำทะเบียนควบคุมการ • ใช้จ่ายเงินทดรองราชการ และส่งให้กรมป้องกันและบรรเทา • สาธารณภัย ทุกวันที่ 5 ของเดือน
ปัญหา 5 • การประกาศภัยพิบัติ ประกาศเป็นระดับตำบล/หมู่บ้าน ข้อเสนอแนะ 5 • จังหวัดประกาศในเขตพื้นที่ อำเภอ/กิ่งอำเภอ ที่ประสบภัยพิบัติ • โดยระบุสาเหตุการเกิดภัยพิบัติเช่นอุทกภัยกรณีเกิดจากร่อง • มรสุม หย่อมความกดอากาศ หรือ แนวพัดสอบ พายุดีเปรสชั่น • พายุโซนร้อน ไต้ฝุ่นฯ
ปัญหา 6 • เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ อำเภอไม่ให้การช่วยเหลือโดยผลัก • ให้เป็นภาระหน้าที่ของจังหวัดในการดำเนินการช่วยเหลือ ข้อเสนอแนะ 6 • ท้องถิ่นในพื้นที่ประสบภัย ต้องให้ความช่วยเหลือเป็นลำดับแรก • จากนั้นเป็นหน้าที่ของกิ่งอำเภอ/อำเภอ/จังหวัด ตามลำดับ แต่ทั้งนี้ • การให้ความช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกัน
ปัญหา 7 • เอกสารประกอบการขอโอนเงินเพื่อชดใช้เงินทดรองราชการฯ • ไม่ครบถ้วน ข้อเสนอแนะ 7 • กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะได้มีหนังสือซักซ้อม • ความเข้าใจ อีกครั้งหนึ่ง
ปัญหา 8 • หนังสือจังหวัดที่ขอโอนเงินไม่แยกด้านการให้ความช่วยเหลือ ข้อเสนอแนะ 8 • จังหวัดต้องแยกหนังสือการขอโอนเงินในแต่ละด้านการให้ความ • ช่วยเหลือและแต่ละชุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
ปัญหา 9 • ภัยแล้ง/ฝนทิ้งช่วง ข้อเสนอแนะ 9 • กระทรวงการคลังตอบข้อหารือกรณีภัยแล้ง/ฝนทิ้งช่วงโดย • ให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ทั้งนี้ กรม ปภ. มี • ข้อสังเกตว่าควรมีข้อมูลประกอบในการประกาศภัยพิบัติ • ดังกล่าว เช่น ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยาและกรมชลประทาน