1.57k likes | 4.11k Views
การรับจดทะเบียนวิสาหกิจและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ส่วนทะเบียนและข้อมูลวิสาหกิจชุมชน โทร. 0-2940-6127. ความเป็นมาของ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. ปัญหา 2 ประการ ของ ชุมชนที่มีการรวมตัวกันประกอบธุรกิจในระดับรากหญ้า.
E N D
การรับจดทะเบียนวิสาหกิจและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนการรับจดทะเบียนวิสาหกิจและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน สำนักส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ส่วนทะเบียนและข้อมูลวิสาหกิจชุมชน โทร. 0-2940-6127
ความเป็นมาของ พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ปัญหา 2 ประการ ของ ชุมชนที่มีการรวมตัวกันประกอบธุรกิจในระดับรากหญ้า 1. ไม่เป็นที่ยอมรับของหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนอื่น ๆ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับ 2. การสนับสนุนจากภาครัฐไม่ตรงกับความต้องการที่แท้จริง
ดังนั้น จึงมีการออกกฎหมาย “ พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 ” ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 122 ตอนที่ 6 ก วันที่ 18 มกราคม 2548 มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2548
วิสาหกิจชุมชน คืออะไร ความหมายตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ในมาตรา 3 หมายความว่า “ กิจการของชุมชนเกี่ยวกับการผลิตสินคา การใหบริการ หรือการอื่น ๆ ที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่มีความผูกพัน มีวิถีชีวิตรวมกัน และรวมตัวกันประกอบกิจการดังกลาว ไมวาจะเปนนิติบุคคล ในรูปแบบใดหรือไมเปนนิติบุคคล เพื่อสรางรายได และ เพื่อการพึ่งพาตนเองของครอบครัว ชุมชน และระหวางชุมชน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑที่คณะกรรมการประกาศกำหนด ”
เครือขายวิสาหกิจชุมชน คืออะไร ความหมายตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ในมาตรา 3 หมายความว่า “ คณะบุคคลที่รวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงคในการจัดทำ กิจกรรมอยางหนึ่งอยางใด เพื่อประโยชนในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเครือขาย ”
ทำไมต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯทำไมต้องจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ 1. เพื่อให้เกิดการรวมตัวของคนในชุมชน ในการประกอบกิจการของ ชุมชนในรูปแบบวิสาหกิจชุมชนได้มีความมั่นคง นั่นคือ ได้รับการรับรองตามกฎหมาย 2. เพื่อเป็นการจัดการ จัดระเบียบให้เกิดลำดับก่อน - หลัง และ รัฐสามารถทราบข้อมูลความต้องการของวิสาหกิจชุมชน และเครือข่ายฯ รวมทั้งจัดลำดับความต้องการของชุมชน เพื่อให้มีการส่งเสริม และสนับสนุนตามความต้องการที่แท้จริง
ประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ 1. เกิดการรวมตัวของ คนในชุมชน ในการประกอบกิจการของ ชุมชนเป็นวิสาหกิจชุมชนและเครือข่าย “ ที่ได้รับการรับรองสถานภาพตามกฎหมาย ” 2. มีสิทธิในการขอรับการส่งเสริมหรือสนับสนุน ตามความต้องการที่แท้จริง (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 25)
ประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ(ต่อ)ประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ(ต่อ) 3. มีสิทธิในการได้รับการส่งเสริมหรือสนับสนุน การพัฒนากิจการ ตามมาตรการที่คณะกรรมการ จัดให้มี ดังนี้ 3.1 วิสาหกิจชุมชนระดับปฐมภูมิ ได้มีการประกอบการอย่างครบวงจร (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 26) 3.2 วิสาหกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ มีการพัฒนาให้สูงขึ้น (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 27) 3.3 วิสาหกิจชุมชนประสงค์จะรวมตัวจัดตั้งเครือข่ายหรือ ดำเนินการเป็นองค์กรธุรกิจใดๆ (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 28)
ประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ(ต่อ)ประโยชน์ของการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ(ต่อ) 3.4 การพัฒนามาตราฐานคุณภาพผลิตภัณฑ์ (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 29) 3.5 การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับ แหล่งทุน การจัดฝึกอบรม หรือการถ่ายทอดความรู้ รวมทั้งแก้ไข กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน (พ.ร.บ.ฯ มาตรา 30) 4. นำไปสู่ ระบบเศรษฐกิจชุมชนที่มีความเข้มแข็ง พึ่งพาตนเองได้ พร้อมที่จะพัฒนาสำหรับการแข่งขันทางการค้าในอนาคต
หน่วยงานรับจดทะเบียน การรับจดทะเบียนและเพิกถอน/ยกเลิกทะเบียน วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน เป็นบทบาทหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะต้องดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติส่งเสริม วิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 กำหนดไว้ในมาตราที่ 6 และ 9
นายทะเบียน เกษตรอำเภอ เกษตรกิ่งอำเภอ หรือผู้รักษาการแทนเกษตรอำเภอ ในกรณีที่ไม่มีเกษตรอำเภอและ ให้หมายความรวมถึงเกษตรอำเภอ เขตในเขตกรุงเทพมหานคร และหากเขตใดไม่มีเกษตรอำเภอเขต ให้ถือเอาเกษตรอำเภอเขตใกล้เคียงเป็นนายทะเบียน
ผู้มารับจดทะเบียน 1. มีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์ของประกาศ คณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนกำหนด 2. ตามความสมัครใจ และความพร้อมของผู้มาจดทะเบียน 3.ไม่มีการกำหนดเป้าหมาย(จำนวน)ของผู้มาจดทะเบียน
สถานที่ จดทะเบียน: 1. ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ที่วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ นั้นตั้งอยู่ หรือ ณ ศูนย์บริการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล ใกล้เคียงในอำเภอ/กิ่งอำเภอเดียวกัน กรณีที่ตำบลนั้นไม่มีศูนย์ฯ 2. สำนักงานรับจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน นั่นคือ สำนักงานเกษตรอำเภอ/กิ่งอำเภอ/เขต กทม. ที่วิสาหกิจชุมชน/เครือข่ายฯ นั้นตั้งอยู่
ระยะเวลาในการรับจดทะเบียน:ระยะเวลาในการรับจดทะเบียน: ตาม วัน เวลาราชการ ตลอดปี
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียนคุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียน เป็นไปตาม 1.พ.ร.บ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548 (มาตรา 5,6,7,8 และ 9) 2.ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนว่าด้วยการรับจดทะเบียน และเพิกถอนทะเบียนวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. …….. ประกอบด้วย 6 หมวด หมวด 1 : การยื่นคำขอจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หมวด 2 : การจดทะเบียน หมวด 3 : เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียน(ต่อ)คุณสมบัติและหลักเกณฑ์ในการรับจดทะเบียน(ต่อ) หมวด 4 : การอุทธรณ์ไม่รับจดทะเบียน หมวด 5 : การเพิกถอนหรือยกเลิกทะเบียนวิสาหกิจชุมชน หมวด 6 : การอุทธรณ์ การเพิกถอนหรือยกเลิกทะเบียนวิสาหกิจชุมชน 3. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เรื่องคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 4. ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เรื่องคุณสมบัติ และหลักเกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 1.ชื่อวิสาหกิจชุมชนที่ประสงค์จะจัดตั้ง โดยมีคำว่า “ วิสาหกิจชุมชน” อยู่หน้าชื่อกิจการที่ประสงค์จะจัดตั้ง 2.ชื่อและที่ตั้งของวิสาหกิจชุมชน 3.ชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทนวิสาหกิจชุมชน 4.ชื่อและที่อยู่ของสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน(ต่อ)คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน(ต่อ) 5. กิจการที่วิสาหกิจชุมชนประสงค์จะดำเนินการ มีลักษณะดังนี้ 5.1 ) ดำเนินการโดยคณะบุคคลหรือนิติบุคคล ที่มีสมาชิก ตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป ซึ่งมีความผูกพัน มีความสัมพันธ์แบบ พี่น้อง มีวิถีชีวิตร่วมกัน เป็นวิถีชีวิตที่มีกรอบแนวปฏิบัติ ที่ชัดเจน 5.2 ) เป็นกิจการของชุมชนเกี่ยวกับผลิตสินค้า การให้บริการ หรือกิจการอื่น
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน(ต่อ)คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน(ต่อ) 5.3) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ และเพื่อการพึ่งพาตนเอง ของครอบครัว ชุมชน และระหว่างชุมชน 6. มีแผนประกอบการของวิสาหกิจชุมชน
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนคุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 1.ชื่อเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่ประสงค์จะจัดตั้ง โดยมีคำว่า “ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชน” อยู่หน้าชื่อของกิจการที่ประสงค์ จะจัดตั้ง 2.คณะบุคคลที่รวมตัวกันตั้งแต่ 15 คน หรือ วิสาหกิจชุมชนตั้งแต่ 2 แห่งขึ้นไปรวมตัวกันโดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม อย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของวิสาหกิจ ชุมชนในเครือข่าย 3.มีข้อบังคับของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนในการบริหารจัดการ
คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน(ต่อ)คุณสมบัติและหลักเกณฑ์การจัดตั้งเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน(ต่อ) 4.ชื่อและที่ตั้งของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 5.ชื่อและที่อยู่ของผู้มีอำนาจทำการแทนเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 6.ชื่อและที่อยู่ของสมาชิกเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน 7.กิจการที่เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนมีความประสงค์จะดำเนินการ 8. มีแผนประกอบการของเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
แบบฟอร์มที่ใช้ในการจดทะเบียนแบบฟอร์มที่ใช้ในการจดทะเบียน
แบบคำขอจดทะเบียน (แบบ สวช.01)
ใบรับเรื่องการยื่นคำขอรับใบรับเรื่องการยื่นคำขอรับ จดทะเบียน(แบบ ท.ว.ช.1)
หนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียน (แบบ ท.ว.ช.2)
เอกสารสำคัญแสดงการดำเนินกิจการ (แบบ ท.ว.ช.3)
เอกสารสำคัญแสดงการดำเนินกิจการ (แบบ ท.ว.ช.3)(ต่อ)
ขั้นตอนการรับจดทะเบียนขั้นตอนการรับจดทะเบียน 1. ขอรับ และยื่นแบบคำขอจดทะเบียน(แบบ ส.ว.ช.01) ณ ศูนย์บริการฯ หรือสำนักงานรับจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน 2. เจ้าหน้าที่รับเรื่องพิจารณาตรวจสอบคุณสมบัติ การกรอกข้อมูล ในแบบและเอกสารหลักฐานประกอบในเบื้องต้นให้ถูกต้อง ครบถ้วน 3. สำนักงานเกษตรอำเภอ ออก “ใบรับเรื่อง ท.ว.ช.1” ให้ผู้ยื่นขอจดทะเบียน และศูนย์บริการฯ ที่ส่งแบบ 4. นายทะเบียนพิจารณาตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด 5. เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูลในโปรแกรมระบบงานสารสนเทศ วิสาหกิจชุมชน
ขั้นตอนการรับจดทะเบียน(ต่อ)ขั้นตอนการรับจดทะเบียน(ต่อ) 6. นายทะเบียน พิจารณาผลการรับจดทะเบียน หากเห็นว่าถูกต้อง ให้ “ ปิดประกาศ” เป็นเวลา 7 วัน ณ สำนักงานรับจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน ผลการปิดประกาศ 6.1 ) กรณีไม่มีผู้คัดค้าน นายทะเบียน “อนุมัติ” การจดทะเบียน ได้ “รหัสทะเบียน” พร้อม ออก “หนังสือและเอกสารสำคัญแสดงการจดทะเบียน(ท.ว.ช.2 และ ท.ว.ช.3)” ให้แก่ผู้มาขอจดทะเบียนมารับได้ต่อไป
ผลการปิดประกาศ 6.2 )กรณีมีการคัดค้านภายใน 7 วันนับตั้งแต่มีการปิดประกาศ ผู้คัดค้านยื่นแบบคำร้องคัดค้านการขอจดทะเบียน (แบบ สวช.02) แก่นายทะเบียน นายทะเบียนพิจารณา หากพบว่าไม่ขาดคุณสมบัติ ให้ออกหนังสือและเอกสารสำคัญแสดงการจดทะเบียน (ทวช.2 และ ท.ว.ช 3) แก่ผู้ขอจดทะเบียนมารับได้ต่อไป หากพบว่าขาดคุณสมบัติ “ไม่รับจดทะเบียน”
การไม่รับจดทะเบียน นายทะเบียนต้องแจ้งผลการพิจารณา “การไม่รับจดทะเบียน” ให้แก่ผู้มายื่นขอจดทะเบียน ทราบภายใน 15 วันนับแต่วันที่พิจารณา เสร็จสิ้นโดยใช้ “หนังสือแจ้งการไม่รับจดทะเบียน(ท.ว.ช.7)
กรณีที่มีการอุทธรณ์การไม่รับจดทะเบียนกรณีที่มีการอุทธรณ์การไม่รับจดทะเบียน ยื่นแบบคำร้องอุทธรณ์คัดค้านการไม่รับจดทะเบียน(แบบ ส.ว.ช.06) ต่อคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนจังหวัด ผลการพิจารณา หากพบว่าไม่ขาดคุณสมบัติ ให้ออกหนังสือและเอกสารสำคัญ แสดงการจดทะเบียน(ทวช.2 และ ท.ว.ช. 3) ให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน หากพบว่าขาดคุณสมบัติ “ไม่รับจดทะเบียน(ถือเป็นที่สุด)”
การต่อทะเบียน(พรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน มาตราที่ 8,9) วิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ที่จดทะเบียน ต้องแจ้งความประสงค์จะดำเนินกิจการต่อไป(ตามแบบ ส.ว.ช.03) ภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันสิ้นปฏิทินทุกปี หากไม่แจ้งเป็นเวลา 2 ปี ให้นายทะเบียนทำหนังสือเตือน(ตามแบบ ท.ว.ช.4)แจ้งภายในระยะเวลา ที่กำหนดไม่น้อยกว่า 15 วัน ถ้าไม่มีการแจ้งตามคำเตือนดังกล่าว ให้นายทะเบียนถอนชื่อออกจากทะเบียน(ตามแบบ ท.ว.ช.5 และ ท.ว.ช.6)
กรณีการขอยกเลิกทะเบียน/เพิกถอนทะเบียนกรณีการขอยกเลิกทะเบียน/เพิกถอนทะเบียน วิสาหกิจชุมชนขอยกเลิกทะเบียนโดยยื่นแบบ สวช.04 นายทะเบียนพิจารณาเพิกถอนทะเบียน(ท.ว.ช. 5) และแจ้งให้วิสาหกิจทราบภายใน 30 วันนับตั้งแต่มีคำสั่ง(ท.ว.ช.6) หากมีการอุทธรณ์(ตามแบบ สวช.06) ส่งเรื่องให้คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนจังหวัด/กรุงเทพมหานครพิจารณา หากพบว่า ไม่ขาดคุณสมบัตินายทะเบียนต้องออกประกาศยกเลิกคำสั่ง ของนายทะเบียนที่ได้ยกเลิกหรือเพิกถอนทะเบียน หากพบว่า ขาดคุณสมบัติไม่รับจดทะเบียน(ถือเป็นที่สุด)
“คุณ” คือ คนสำคัญ ของ งานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน สวัสดี