410 likes | 723 Views
การบริหารพัสดุ และ กระบวนการจัดหา. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549
E N D
การบริหารพัสดุและกระบวนการจัดหาการบริหารพัสดุและกระบวนการจัดหา
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม • ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 • แนวทางการดำเนินงานตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 • หนังสือเวียนจากสำนักนายกรัฐมนตรีต่างๆ • หนังสือเวียนจากกระทรวงการคลังต่างๆ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง
การจัดหา • การจัดทำเอง • การซื้อ • การจ้าง • การจ้างที่ปรึกษา • การจ้างออกแบบควบคุมงาน • การแลกเปลี่ยน • การเช่า • การจัดการ • การยืม • การควบคุม • การบำรุงรักษา • การจำหน่วย การบริหารพัสดุ
การพัสดุ ความหมาย... การพัสดุ คือ การจัดทำเอง การซื้อ การจ้าง การจ้างออกแบบฯ การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การดำเนินการอื่นๆ พัสดุ ความหมาย... พัสดุ คือ วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างตามจำแนกประเภทรายจ่ายของสำนักงบประมาณ การพัสดุ : พัสดุ
เจ้าของเรื่อง บุคลากร/หัวหน้าฝ่ายเจ้าของเรื่อง บุคลากร/หัวหน้าฝ่าย • เจ้าหน้าที่พัสดุ พิมใจ , นันทา , วิยะดา • หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ นางสาวอุษา ผูกพันธ์ • หัวหน้าส่วนราชการ ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ • ผู้สั่งซื้อ/สั่งจ้าง ผู้อำนวยการสำนักวิทยบริการ • คณะกรรมการต่างๆ บุคลากร ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ / จัดจ้าง
กรณีปกติ - ตามระเบียบฯข้อ 27 ก่อนการดำเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี เจ้าของเรื่อง/ฝ่าย แจ้งให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการตามรายละเอียด ดังนี้ (1) เหตุผลความจำเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง (2) รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง (3) ราคามาตรฐาน ราคากลาง ราคาที่หลังสุดไม่เกิน 2 ปี (4) วงเงินที่จะซื้อ หรือ จ้าง (5) กำหนดเวลาใช้พัสดุ (6) วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง (7) ข้อเสนออื่นๆ (กรรมการ , ประกาศ) - ตามระเบียบฯข้อ 29 เมื่อหัวหน้าส่วนราชการให้ความเห็นชอบตามรายงานที่เสนอแล้ว ให้เจ้าหน้าที่พัสดุดำเนินการตามวิธีซื้อหรือจ้างนั้นต่อไป การดำเนินการจัดหา
กรณีจำเป็นเร่งด่วน - ตามระเบียบฯข้อ 39 วรรค 2 กำหนดว่าการซื้อ/การจ้าง กรณีจำเป็นเร่งด่วนจะต้องประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ ซึ่งจะขาดองค์ประกอบใดไม่ได้ ดังนี้ - เป็นกรณีจำเป็นและเร่งด่วน - เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน - ไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน * แนวทางปฏิบัติ ให้เจ้าของเรื่องที่รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นๆ ดำเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นต่อหัวหน้าส่วนราชการ และให้ถือรายงานที่ได้รับความเห็นชอบแล้วนั้น เป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม การดำเนินการจัดหา (ต่อ)
แบบเต็มรูป (สัญญา) - มีการซื้อ / จ้าง ที่มีวงเงินเกิน 100,000 บาทขึ้นไป - ไม่สามารถส่งมอบพัสดุได้ ภายใน 5 วันทำการ - ต้องเป็นไปตามตัวอย่างสัญญาที่ กวพ. กำหนด • แบบลดรูป (ใบสั่งซื้อ / ใบสั่งจ้าง) - มีการซื้อ / จ้าง ที่วงเงินไม่เกิน 100,000 บาท - ใช้ในการซื้อ / จ้าง โดยวิธีตกลงราคา , วิธีพิเศษ , วิธีกรณีพิเศษ • ไม่มีรูป - มีการซื้อ / จ้าง ที่มีวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท - ใช้ในการจัดซื้อ / จัดจ้าง วิธีตกลงราคา * เพิ่มเติม - กรณีเป็นการจ้างที่มีวงเงินเกิน 10,000 บาท / ใช้ใบสั่งจ้าง ผู้รับจ้างต้องติดอากรแสตมป์ - กรณีเป็นการจ้างที่มีวงเงินตั้งแต่ 250,000 บาท ผู้รับจ้างจะต้องนำสัญญาไปตีตราสารที่สรรพากรท้องที่ ข้อตกลงในการสั่งซื้อ / สั่งจ้าง
การขออนุมัติซื้อ / จ้าง
ขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินขั้นตอนการเบิกจ่ายเงิน
ครุภัณฑ์ และ การจัดหาครุภัณฑ์โดยนางสาวพิมใจ คำฝอย ตำแหน่ง ผู้ปฏิบัติงานบริหาร
ค่าครุภัณฑ์ หมายถึง รายจ่ายดังต่อไปนี้ 1. รายจ่ายเพื่อจัดหาสิ่งของที่มีลักษณะคงทนถาวร และมีราคาต่อหน่วยต่อชุดเกินกว่า 5,000 บาท รวมถึงค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระพร้อมกัน เช่น ค่าขนส่ง ค่าภาษี ค่าประกันภัย ค่าติดตั้ง เป็นต้น 2. รายจ่ายเพื่อจัดหาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีราคาต่อหน่วยหรือต่อชุดเกินกว่า 20,000 บาท 3. รายจ่ายเพื่อประกอบ ดัดแปลง ต่อเติมหรือปรับปรุงครุภัณฑ์ รวมทั้งครุภัณฑ์คอมพิวเตอร์ที่มีวงเงินเกินกว่า 5,000 บาท หนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด ที่ นร 0702/ว51 ลงวันที่ 20 มกราคม 2548 ระบุว่า...
4. รายจ่ายเพื่อซ่อมแซมบำรุงรักษาโครงสร้างของครุภัณฑ์ขนาดใหญ่ เช่น เครื่องบิน เครื่องจักรกล ยานพาหนะ เป็นต้น ซึ่งไม่รวมถึงค่าซ่อมบำรุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง 5. รายจ่ายเพื่อจ้างที่ปรึกษา เพื่อการจัดหาหรือปรับปรุงครุภัณฑ์
สินทรัพย์หรือค่าใช้จ่ายที่หน่วยงานมีไว้เพื่อใช้ในการดำเนินงาน มีลักษณะคงทนและมีอายุการใช้งานเกินกว่า 1 ปี • แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้ • ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5,000 บาทขึ้นไปตามราคาทุนรายการครุภัณฑ์ประเภทนี้ถือเป็นสินทรัพย์ถาวรของทางราชการ โดยหน่วยงานต้องจัดทำบันทึกรายละเอียดครุภัณฑ์ในทะเบียนคุมทรัพย์สิน คำนวณค่าเสื่อมประจำปีและรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานข้อมูลสินทรัพย์สำหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ • ครุภัณฑ์ที่มีมูลค่าไม่ถึง 5,000 บาทรายการครุภัณฑ์ประเภทนี้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายประเภทค่าครุภัณฑ์มูลค่าต่ำกว่าเกณฑ์และไม่ถือว่าเป็นสินทรัพย์ถาวรแต่ให้บันทึกรายละเอียดของครุภัณฑ์ดังกล่าวไว้ในทะเบียนคุมทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการควบคุมรายการทรัพย์สินของทางราชการโดยไม่ต้องคำนวณค่าเสื่อมประจำปีและไม่ต้องรายงานข้อมูลตามแบบฟอร์มรายงานข้อมูลสินทรัพย์สำหรับสร้างข้อมูลหลักสินทรัพย์ประเภทครุภัณฑ์ ครุภัณฑ์ หมายถึง...
วงเงิน เป็นตัวกำหนดวิธีการจัดซื้อ / จัดจ้าง • การจัดหาพัสดุ มีทั้งหมด 6 วิธี คือ 1. วิธีตกลงราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท 2. วิธีสอบราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 100,001 - 2,000,000 บาท 3. วิธีประกวดราคา วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 2,000,001 บาทขึ้นไป 4. วิธีพิเศษ วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งเกิน 100,000 บาท (แบบมีเงื่อนไข) 5. วิธีกรณีพิเศษ ไม่จำกัดวงเงิน (แบบระบุหน่วยงาน) 6. วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ วงเงินจัดหาครั้งหนึ่งตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป วิธีการ
เจ้าของเรื่อง มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าฝ่าย (เสนอขออนุมัติ) โดยจะต้องมี รายละเอียดคือ • เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องซื้อหรือจ้าง • รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรือจ้าง • วงเงินหรืองบประมาณที่จะซื้อหรือจ้าง • ข้อเสนออื่น เช่น เสนอขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการต่างๆที่จำเป็นในการซื้อหรือการจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง
งานพัสดุ มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... จัดทำรายงานเสนอหัวหน้าส่วนราชการ (ขออนุมัติ) โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ • ระบุเหตุผลความจำเป็นที่ต้องการซื้อหรือจ้าง • กำหนดรายละเอียดเฉพาะของครุภัณฑ์ (Spec) • กำหนดรายละเอียดของวงเงินงบประมาณ (ราคากลาง) • กำหนดวิธีการที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น • ขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆที่จำเป็นในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)
ผู้บริหาร มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... • พิจารณาให้ความเห็น • พิจารณาอนุมัติวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง • พิจารณาแต่งตั้งกรรมการต่างๆ ในการซื้อหรือจ้างครั้งนั้นๆ บทบาทหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)
กรรมการ ในการซื้อหรือจ้างในแต่ละครั้ง หัวหน้าส่วนราชการจะแต่งตั้ง กรรมการแล้วแต่กรณี คือ • คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา (วิธีสอบราคา) • คณะกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา (วิธีประกวดราคา) • คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา (วิธีประกวดราคา) • คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ (ซื้อวิธีพิเศษ) • คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ (จ้างวิธีพิเศษ) • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ บทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง (ต่อ)
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้...มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... 1. เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารของผู้เสนอราคา และต้องลงลายมือชื่อกำกับไว้ในใบเสนอราคาพร้อมเอกสารประกอบทุกแผ่น 2. ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก รูปแบบ รายการ รายละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา 3. พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (2) และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้ ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา(ต่อ)คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา(ต่อ) 4. ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายละเอียดรายเดียว ให้กรรมการดำเนินการตามข้อ (3) โดยอนุโลม 5. ให้กรรมการรายงานผลการพิจารณา และความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่รับไว้ทั้งหมดต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อสั่งการโดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าทีพัสดุ
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้...มีหน้าที่ดังต่อไปนี้... • ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทำการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ระบุไว้ในสัญญา การตรวจรับ ณ สถานที่อื่น จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าส่วนราชการก่อน • ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ • โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนำพัสดุมาส่ง • เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้โดยลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน กรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบ มีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกำหนดให้รายงานหัวหน้าส่วนราชการผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการ แล้วแต่กรณี • กรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจำนวน หรือส่งมอบครบแต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงไม่ได้กำหนดเป็นอย่างอื่น คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ(ต่อ)คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ(ต่อ) ให้ตรวจรับเฉพาะจำนวนที่ถูกต้องโดยปฏิบัติตามข้อ (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ 6. การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุด หรือหน่วย ถ้าขาดส่วนใดส่วนหนึ่งไปแล้วไม่สามารถใช้งานได้สมบูรณ์ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างนั้นยังไม่ได้ส่งมอบ และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าส่วนราชการ เพื่อแจ้งให้ผู้ขายผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่ตรวจพบ 7. ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคน ไม่ยอมรับพัสดุโดยทำความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าส่วนราชการสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดำเนินการตามข้อ (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี
จบการนำเสนอ ขอบพระคุณทุกท่าน...
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานพัสดุ...???โดย นางวิยะดา ธนสรรวนิช ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุ ชำนาญการพิเศษ
ข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพัสดุข้อควรรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานด้านพัสดุ
จบการนำเสนอ ขอบพระคุณทุกท่าน...