270 likes | 530 Views
รหัสวิชา พร 443. กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน & ระยะเวลาคืนทุน. กิตติกร สาสุจิตต์ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่ โจ้. เนื้อหารายวิชา. นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ( Break even analysis) การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (PBP). นิยาม และความหมาย.
E N D
รหัสวิชาพร 443 กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน & ระยะเวลาคืนทุน กิตติกร สาสุจิตต์ ศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
เนื้อหารายวิชา • นิยาม และความหมาย • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน (Break even analysis) • การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน (PBP)
นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์ตัดสินใจเลือกลงทุนในโครงการต่างๆ บางครั้งต้องการจะทราบว่าจำนวนผลผลิตที่จะผลิตคุ้มทุนควรเป็นเท่าไร เพื่อช่วยในการตัดสินใจ จุดคุ้มทุน (Breakeven Analysis) คือจุดที่รายได้กับรายจ่ายเท่ากัน นั่นคือ กำไรเป็นศูนย์นั่นเอง
นิยาม และความหมาย การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเป็นการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของต้นทุน รายได้ และผลกำไรที่ปริมาณการผลิตต่างๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนเหมาะกับโครงการระยะสั้น เงื่อนไขต่างๆ ไม่เปลี่ยนแปลงตลอดโครงการ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนแปลง ก็จะมีผลทำให้การตัดสินใจคลาด เคลื่อนได้ บางครั้งก็ใช้ในการพยากรณ์การผลิตในอนาคตได้
นิยาม และความหมาย จุดคุ้มทุน (Break-even analysis) คือจุดที่รายได้กับรายจ่ายเท่ากัน นั่นคือกำไร มีค่าเท่ากับศูนย์ • การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน สัมพันธ์ • ต้นทุน • รายได้ • ผลกำไรที่ปริมาณการผลิตต่าง ๆ การวิเคราะห์จุดคุ้มทุน เหมาะสำหรับ โครงการระยะสั้น ๆ เงื่อนไขไม่เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาโครงการ
สรุปเป็นสมการได้ดังนี้สรุปเป็นสมการได้ดังนี้ กำไร = (รายได้ หรือ ค่าขาย) - ต้นทุนผันแปร - ต้นทุนคงที่ ณ จุดเสมอตัว กำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0 ดังนั้น รายได้ – ต้นทุนผันแปร – ต้นทุนคงที่ =0 หรือจุดที่รายได้=ค่าใช้จ่าย
จุดคุ้มทุน ต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ รายได้ ณ จุดคุ้มทุน กำไรหรือขาดทุนเท่ากับ 0
การคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยวการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยว กำหนดให้ C ต้นทุนรวมในการผลิต F ต้นทุนคงที่ V ต้นทุนแปรผัน N* จำนวนที่ผลิตที่จุดคุ้มทุน N จำนวนการผลิตที่จุดใด ๆ v ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย R รายได้ P กำไร pราคาขายต่อหน่วย
ต้นทุนรวมในการผลิต (C) = F + V แต่ V = v N ----------- (1) C = F + v N ----------- (2) รายได้ ( R ) = p N กำไร ( P ) = รายได้ ( R) – ต้นทุนรวม (C) กำไร ( P ) = p N – (F + v N) ให้กำไร ( P ) เท่ากับศูนย์ จะได้ต้นทุนเท่ากับรายได้ 0 = p N - (F + v N) = p N – F - v N
p N – v N = F N ( p – v ) = F N* = F / ( p – v ) เมื่อ N* เป็นปริมาณที่ผจุดผลิตคุ้มทุนพอดี N* = F / ( p – v ) ต้นทุนคงที่ จำนวนที่ผลิตที่จุดคุ้มทุน = ต้นทุนแปรผันต่อหน่วย ราคาขายต่อหน่วย -
รายได้ และต้นทุน (บาท) ต้นทุนรวม กำไร B C จุดคุ้มทุน ต้นทุนคงที่ ขาดทุน รายได้ N* ปริมาณการผลิต (หน่วย ) จุด B เป็นจุดคุ้มทุนที่ต้องผลิต ปริมาณ N* หน่วย ต้นทุนรวม C บาท ซึ่งเกิดจากเส้นของรายได้ตัดกับเส้นของต้นทุนรวม และบริเวณที่อยู่ระหว่างเส้นรายได้กับเส้นต้นทุนนั้น ถ้าด้านบนเป็นกำไร ด้านล่างเป็นการขาดทุน
ตัวอย่างที่ 1 ลงทุนเพื่อผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยค่าใช้จ่ายคงที่ รวม ทั้งสิ้น 50,000 บาท ค่าใช้จ่ายแปรผันต่อหน่วยเป็นค่าแรง 5 บาท ค่าวัสดุ 13 บาท และมีค่าอื่นๆ อีก 7 บาท จงหาจุดคุ้มทุนว่าจะผลิตเท่าไร 1. ถ้าขายสินค้าราคาหน่วยละ 50 บาท 2. ถ้าผลิต 2500 , 1000 หน่วย จะกำไร หรือขาดทุนเท่าไร
วิธีทำ F = 50,000 บาท v = 5 + 13 +7 = 25 บาทต่อหน่วย p = 50 บาทต่อหน่วย N* = F / ( p – v ) แทนค่า 50,000 / ( 50 – 25 ) = 2,000 หน่วย
** ถ้าผลิต 2,500 หน่วย จะได้กำไร ดังนี้ กำไร =รายได้ - ต้นทุน = ( 50 x 2,500 ) – [ 50,000 + (25)(2,500)] = 12,500 บาท ** ถ้าผลิต 1,000 หน่วย จะได้กำไร ดังนี้ กำไร =รายได้ - ต้นทุน = ( 50 x 1,000 ) – [ 50,000 + (25)(1,000)] = -25,000 บาท ขาดทุน = 25,000 บาท
รายได้ และต้นทุน ( x 10,000 บาท) 12 ต้นทุนรวม กำไร = 12,500 10 8 จุดคุ้มทุน ขาดทุน = 25,000 ต้นทุนคงที่ 5 รายได้ 1 0 1,000 2,500 2,000 N* ปริมาณการผลิต (หน่วย ) แผนภูมิของการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน
ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน ในการนำเอาจุดคุ้มทุนไปใช้ในการวิเคราะห์ตัดสินใจโครงการต่างๆ มีดังต่อไปนี้ 1. ต้นทุนของผลิตภัณฑ์จะต้องแยกเป็น ต้นทุนคงที่ และ ต้นทุนแปรผันได้ชัดเจน และต้นทุนคงที่จะต้องคงที่เท่ากันตลอด ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย 2. ปริมาณการผลิต และปริมาณการขายสมมติว่าเท่ากันไม่มีการเก็บไว้ 3. ข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การประเมินต้นทุนต่างๆ จะต้องถูกต้อง
ข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุนข้อควรพิจารณาในการวิเคราะห์จุดคุ้มทุน 4. เหมาะสำหรับโครงการที่มีอายุสั้นๆ เพราะถ้าระยะเวลานานจะเกิดความไม่แน่นอนเกิดขึ้น 5. การพิจารณาตัดสินใจเลือกโครงการ จะมองแค่จุดคุ้มทุนอย่างเดียวคงไม่ได้ จะต้องไปดูสิ่งอื่นที่เป็นปัจจัยต่อการตัดสินใจประกอบด้วย
นิยาม และความหมาย ระยะเวลาคืนทุน คือ ระยะเวลาที่ผลตอบแทนสุทธิสะสม จากการดำเนินงานมีค่าเท่ากับมูลค่าในการลงทุนทั้งหมด โครงการใดที่มีระยะเวลาลงทุนยิ่งสั้นยิ่งมีความต้องการสูง เนื่องจากสามารถนำเงินที่คืนทุนไปลงทุนในกิจการอื่นๆได้ ระยะเวลาคืนทุนที่นิยมใช้จะเป็นแบบวิธีระยะคืนทุนแบบง่าย (simplepaybackperiod) ซึ่งเป็นวิธีคิดง่ายๆ โดยระยะเวลาคืนทุนสามารถคำนวณจาก ระยะเวลาคืนทุน = มูลค่าในการลงทุนรวม ผลตอบแทนสุทธิสะสมรายปี ยกตัวอย่าง ลงทุนในโครงการหนึ่ง ใช้เงินลงทุน 1,200,000 บาท จะให้กระแสเงินสดใน แต่ละปีจำนวน 400,000 บาท เป็นเวลา 6 ปี ระยะเวลาคืนทุนก็คือ 3 ปี
การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน ตัวอย่าง ซื้อชุดโรงสีข้าว จากบริษัท ไต้หวัน มาชุดหนึ่ง สามารถสีข้าวได้มากกว่าของ บริษัทไทยผลิต โดยสามารถประหยัดเชื้อเพลิงในการขับชุดต้นกำลังได้ เท่ากันๆ ทุกปี ปีละ 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและติดตั้งระบบ ดังกล่าว 50,000 บาท จงหาระยะเวลาคืนทุนอย่างง่าย มูลค่าในการลงทุนรวม ระยะเวลาคืนทุน = ผลตอบแทนสุทธิสะสมรายปี
ปี 0 1 2 3 4 การลงทุนเบื้องต้น ( บาท ) 50,000 ผลตอบแทนสุทธิ (บาท) -50,000 20,000 20,000 20,000 20,000 ผลตอบแทนสุทธิสะสม (บาท) -50,000 -30,000 -10,000 10,000 30,000 การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน วิธีทำ ระยะเวลาคืนทุน = 50,000 / 20,000 = 2.5 ปี หรือพิจารณาโดย ตำแหน่งที่ผลตอบแทนสุทธิเป็น 0 คือระยะเวลาคืนทุน = 2.5 ปี
สรุปบทเรียน ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงจุดคุ้มทุน (Break Even Point) และระยะเวลาคืนทุน (Pay Back Period) ในครั้งต่อไปอย่าลืมว่าไม่ใช่เรื่องเดียวกันและใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ในกรณีที่ไม่เหมือนกัน ผู้ประกอบการจึงจะสามารถนำไปใช้ในการวางแผนดำเนินการของธุรกิจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
การคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยวการคำนวณหาจุดคุ้มทุนโครงการเดี่ยว โจทย์ 1 จากข้อมูลการเกษตรแห่งหนึ่ง ในปี 2549 มีข้อมูลดังต่อไปนี้ จงหา จุดคุ้มทุนว่าจะผลิตเท่าใด (กิโลกรัม)
การคำนวณหาระยะเวลาคืนทุนการคำนวณหาระยะเวลาคืนทุน โจทย์ 2 โรงงานแห่งหนึ่งต้องการปลูกอ้อย เลยจำเป็นต้องซื้อรถไถ เพื่อทำการปรับที่ และดำเนินโครงการตลอด 5 ปี จำนวน 10 ไร่ โดยผลผลิตที่ได้ 3,000 กิโลกรัม/ไร่ ราคา 6 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ได้มีบริษัทเสนอราคารถไถ 2 บริษัท โดยมีเงื่อนไขดังต่อไปนี้ ดังนั้น ถ้าเราต้องเลือกซื้อ จะซื้อบริษัทไหนดี?