1 / 26

สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและ ข้าราชการบำนาญได้รับจากทางราชการ

สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและ ข้าราชการบำนาญได้รับจากทางราชการ. บำเหน็จบำนาญข้าราชการมี 3 ประเภท คือ - บำเหน็จบำนาญปกติ - บำนาญพิเศษ - บำเหน็จตกทอด. ผู้ที่ถูกปลดออกจากราชการสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญ เสมือนลาออกจากราชการ.

Download Presentation

สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและ ข้าราชการบำนาญได้รับจากทางราชการ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. สิทธิประโยชน์ที่ข้าราชการ ลูกจ้างประจำและข้าราชการบำนาญได้รับจากทางราชการ

  2. บำเหน็จบำนาญข้าราชการมี 3 ประเภท คือ - บำเหน็จบำนาญปกติ - บำนาญพิเศษ - บำเหน็จตกทอด

  3. ผู้ที่ถูกปลดออกจากราชการสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกจากราชการผู้ที่ถูกปลดออกจากราชการสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญเสมือนลาออกจากราชการ • 1. ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 10ปี (9ปี 6 เดือน) ขึ้นไป แต่ไม่ถึง 25 ปี ให้ได้รับบำเหน็จ • 2. ถ้ามีเวลาราชการสำหรับคำนวณบำเหน็จบำนาญ 25 ปี (24ปี 6 เดือน) ขึ้นไปหรือมีอายุครบ 50 ปีบริบูรณ์ให้ได้รับบำนาญ หรือจะเลือกรับบำเหน็จก็ได้

  4. วิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญวิธีคำนวณบำเหน็จบำนาญ • กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข. สูตร บำเหน็จ - เงินเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ สูตร บำนาญ - เงินเดือนสุดท้าย x จำนวนปีเวลาราชการ 50 หมายเหตุ เศษของปีถ้าถึงครึ่งปีให้นับเป็นหนึ่งปี

  5. กรณีเป็นสมาชิก กบข. สูตร บำเหน็จ – เงินเดือนสุดท้ายx จำนวนปีเวลาราชการ สูตร บำนาญ - เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายxจำนวนปีเวลาราชการ 50 บำนาญต้องไม่เกิน 70 % ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

  6. หลักฐานการขอรับบำเหน็จบำนาญหลักฐานการขอรับบำเหน็จบำนาญ กรณีขอรับบำเหน็จบำนาญปกติ • แบบขอรับบำเหน็จ บำนาญ บำเหน็จดำรงชีพ (แบบ 5300) • แบบแจ้งรายการลดหย่อนภาษีเงินได้ผู้รับบำเหน็จบำนาญ (แบบ สรจ.1) • สำเนาคำสั่งลาออกจากราชการหรือประกาศเกษียณอายุราชการ • แบบหนังสือรับรองและขอเบิกบำเหน็จดำรงชีพ (แบบ สรจ.3) • หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยพิเศษ/บำเหน็จตกทอด • แบบคำขอรับเงินผ่านธนาคารและยินยอมให้หักเงินบำเหน็จบำนาญ • สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน • สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี

  7. บำเหน็จตกทอด • บำเหน็จตกทอด หมายถึง เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของข้าราชการ หรือผู้รับบำนาญที่ถึงแก่ความตาย

  8. ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอด 1. บุตรให้ได้รับ 2 ส่วน ถ้าบุตรตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปให้ได้รับ 3 ส่วน 2. สามีหรือภรรยาให้ได้รับ 1 ส่วน 3. บิดา มารดา หรือบิดา หรือมารดาที่มีชีวิตอยู่ให้ได้รับ 1 ส่วน

  9. กรณีที่ไม่มีทายาทตามกฎหมาย กรณีที่ไม่มีทายาทตามกฎหมาย • ข้าราชการ หรือข้าราชการบำนาญสามารถทำหนังสือแสดงเจตนา ไว้ ตามแบบและวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด • ในกรณีที่ไม่มีทายาทและบุคคลซึ่งผู้ตายแสดงเจตนาไว้ หรือ บุคคลนั้นได้ตายไปก่อนให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอันยุติลง

  10. หลักฐานการขอรับบำเหน็จตกทอดหลักฐานการขอรับบำเหน็จตกทอด • 1. แบบขอรับบำเหน็จตกทอดฯ (แบบ 5309) • 2. สำเนาใบมรณบัตรผู้ตาย บิดาและมารดา (กรณีถึงแก่ความตาย) • 3. สำเนาทะเบียนสมรสผู้ตายกับคู่สมรส บิดากับมารดา • 4. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ตายกับทายาททุกคน • 5. หลักฐานการสอบสวนของคณะกรรมการฯ กรณีมีสาเหตุไม่แน่ชัดว่า การตายเกิดจากความประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเองหรือไม่ • 6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าที่มีชื่อ เลขที่บัญชีของทายาททุกคน • 7. แบบคำขอรับเงินผ่านธนาคารและยินยอมให้หักเงินบำเหน็จตกทอด

  11. สิทธิในการรับบำเหน็จปกติและบำเหน็จรายเดือนสิทธิในการรับบำเหน็จปกติและบำเหน็จรายเดือน • ต้องทำงานเป็นลูกจ้างประจำมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ • กรณีลูกจ้างประจำผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จปกติตายเสียก่อนได้รับบำเหน็จเงินดังกล่าวให้จ่ายแก่ทายาทผู้มีสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยอนุโลม • กรณีลูกจ้างประจำขอรับบำเหน็จรายเดือนอายุราชการรวมเวลาราชการทวีคูณ = 25 ปีบริบูรณ์

  12. วิธีการคำนวณบำเหน็จและบำเหน็จรายเดือนวิธีการคำนวณบำเหน็จและบำเหน็จรายเดือน • สูตร บำเหน็จ – อัตราค่าจ้างเดือนสุดท้ายxจำนวนเดือนที่ทำงาน 12 บำเหน็จรายเดือน - บำเหน็จที่ได้รับ 50

  13. หลักฐานการขอรับบำเหน็จปกติและบำเหน็จ รายเดือน • 1. แบบขอรับบำเหน็จปกติฯ (แบบ 5313) • 2. สำเนาคำสั่งให้ออกจากราชการ ประกาศเกษียณอายุ • 4. แบบแจ้งรายการลดหย่อนภาษีเงินได้ (แบบ สรจ.1) • 5. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน • 6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี • 7. แบบคำขอรับเงินผ่านธนาคารและยินยอมให้หักเงิน • กรณีถึงแก่ความตาย หลักฐานเช่นเดียวกับกรณีการขอรับบำเหน็จ ตกทอดของข้าราชการ

  14. บำเหน็จพิเศษ • ผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จพิเศษ 1. ลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวที่ได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติงานในหน้าที่ ซึ่งแพทย์รับรองไม่สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่ต่อไปได้ 2. ทายาทของลูกจ้างประจำหรือลูกจ้างชั่วคราวที่ถึงแก่ความตายขณะปฏิบัติราชการในหน้าที่ เว้นแต่อันตรายที่ได้รับหรือการป่วยเจ็บนั้นเกิดจากความประมาท เลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือจากความผิดของตนเอง

  15. เงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้างเงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้าง • เงินทำขวัญ หมายถึง เงินที่จ่ายเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ข้าราชการและลูกจ้าง ซึ่งได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยเพราะเหตุปฏิบัติราชการในหน้าที่หรือถูกประทุษร้ายเพราะเหตุกระทำการตามหน้าที่ แต่ยังสามารถรับราชการต่อไปได้โดยจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว • หลักเกณฑ์การจ่ายเงินทำขวัญ - ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทำขวัญข้าราชการและลูกจ้าง พ.ศ. 2546

  16. เงินช่วยพิเศษ • เงินช่วยพิเศษคือ เงินจำนวนหนึ่งที่ทางราชการจ่ายให้แก่บุคคลผู้ซึ่งข้าราชการและลูกจ้างแสดงเจตนาระบุตัวไว้ หรือทายาท และความตายของข้าราชการและลูกจ้างมิได้เกิดจากการประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงของตนเอง

  17. หลักเกณฑ์การจ่าย • เมื่อข้าราชการและลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทางราชการจะจ่ายเงินช่วยพิเศษให้จำนวน 3 เท่าของเงินเดือน/ค่าจ้าง (ผู้มีสิทธิยื่นขอรับเงิน ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ข้าราชการและลูกจ้างถึงแก่ความตาย)

  18. ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยพิเศษ • 1. บุคคลผู้ซึ่งได้แสดงเจตนาระบุตัวไว้เป็นหนังสือตามแบบกระทรวงการคลังกำหนดไว้ก่อนตาย • 2. ถ้าข้าราชการและลูกจ้างไม่ได้แสดงเจตนาไว้ให้จ่ายแก่บุคคลตามลำดับ ดังนี้ - คู่สมรส - บุตร - บิดา – มารดา บุคคลทั้ง 3 ลำดับต้องถูกต้องตามกฎหมาย และบุคคลลำดับก่อนยังมีชีวิตอยู่บุคคลลำดับถัดไปไม่มีสิทธิ ถ้าลำดับเดียวกันหลายคนให้มอบหมายให้บุคคลบุคคลหนึ่งบุคคลใดมารับเพียงคนเดียว

  19. หลักฐานการขอรับเงินช่วยพิเศษหลักฐานการขอรับเงินช่วยพิเศษ • 1. แบบคำขอรับเงินช่วยพิเศษข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ • 2. สำเนาใบมรณบัตร • 3. หนังสือแสดงเจตนาฯ (ถ้ามี) • 4. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน • 5. สำเนาทะเบียนสมรสหรือใบสำคัญการสมรส(กรณีคู่สมรส) • 6. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคารหน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี

  20. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

  21. ข้าราชการซึ่งบรรจุหรือย้ายโอนมาเป็นข้าราชการภายหลังวันที่ 27 มีนาคม 2540 • ข้าราชการซึ่งบรรจุหรือโอนย้ายมาเป็นข้าราชการภายหลังวันที่ 27 มีนาคม 2540 จะต้องเป็นสมาชิกกองทุน กบข. ทุกคน

  22. หลักฐานการขอรับเงินกองทุน กบข. กรณีข้าราชการลาออก/เกษียณอายุราชการ 1. แบบ กบข. รง 008/1/2551 2. สำเนาคำสั่งออก/ประกาศเกษียณ 3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี 4. สำเนาทะเบียนบ้านหรือสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน

  23. กรณีสมาชิกถึงแก่กรรม - ทายาท(บิดามารดา สามี/ภรรยา และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย) ยื่นขอรับเงิน 1. แบบ กบข. รง 008/2/2551 2. สำเนาใบมรณบัตร/สำเนาทะเบียนบ้าน 3. สำเนาทะเบียนสมรส 4. แบบสอบปากคำ (แบบ ปค. 14) ของทางราชการ 5. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี

  24. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ ซึ่งจดทะเบียนแล้ว กสจ.

  25. หลักฐานการขอรับเงิน กสจ. • กรณีลูกจ้างลาออก/เกษียณอายุ 1. แบบคำขอรับเงิน (แบบ กสจ. 004/1) 2. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี 4. สำเนาคำสั่งออก/ประกาศเกษียณ

  26. กรณีสมาชิกถึงแก่กรรม - ผู้รับเงินตามหนังสือแสดงเจตนาหรือทายาทกรณีมิได้แสดงเจตนาไว้ 1. แนบหนังสือแสดงเจตนาผู้รับประโยชน์(ถ้ามี) 2. แบบคำขอรับเงิน (แบบ กสจ. 004/2) 3. สำเนาใบมรณบัตร 3. สำเนาทะเบียนบ้าน/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 4. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หน้าที่มีชื่อ และเลขที่บัญชี - ถ้ามิได้แสดงเจตนาไว้ให้ทายาททุกคนยื่นขอรับเงินโดยแนบเอกสาร -สำเนาใบมรณบัตร/ทะเบียนบ้าน/บัตรประชาชน/ทะเบียนสมรสและสำเนาเลขที่บัญชีเงินฝากธนาคาร

More Related