110 likes | 503 Views
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู. ผู้วิจัย. ผู้วิจัย. ชื่อผู้วิจัย : นายเมธัส คำจาด ตำแหน่ง : อาจารย์ผู้สอน วุฒิการศึกษา : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขา การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย นอร์ทกรุงเทพ สถานศึกษาที่ ติดต่อ :
E N D
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ผู้วิจัย ชื่อผู้วิจัย : นายเมธัส คำจาด ตำแหน่ง:อาจารย์ผู้สอน วุฒิการศึกษา:ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ สถานศึกษาที่ติดต่อ: วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี E-Mail: MEITAT.KH@SBACNON.AC.TH เบอร์โทรศัพท์ : 0-86525-1970 ปีที่ทำวิจัยเสร็จ : พุทธศักราช 2556 ประเภทงานวิจัย: วิจัยบริหารสถาบัน วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญ ในการเรียนการสอนนั้นครูจำเป็นใช้รูปแบบหรือเทคนิคการสอน ซึ่งการสอนรูปแบบต่างๆถือเป็นแบบแผนการดําเนินการสอนที่ได้รับการจัดไว้อย่างเป็นระบบอย่างสัมพันธ์ สอดคล้องกับทฤษฎีหรือหลักการเรียนรู้หรือการสอนที่รูปแบบนั้นยึดถือและได้รับการพิสูจน์ ทดสอบว่ามีประสิทธิภาพสามารถช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ตามจุดมุ่งหมายเฉพาะของรูปแบบนั้นๆ โดยทั่วไปแบบแผนการดําเนินการสอนดังกล่าว มักประกอบด้วยทฤษฎีหรือหลักการที่รูปแบบนั้นยึดถือและกระบวนการสอนที่มีลักษณะเฉพาะ อันจะนําผู้เรียนไปสู่จุดหมายเฉพาะที่รูปแบบนั้นกําหนด (ฝ่ายวิชาการ : วิธีการสอน โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม,2550) วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญ นอกจากรูปแบบการสอนแบบ CIPPA Model แล้วนั้น ยังมีการสอนแบบอื่นๆ เช่น การสอนวิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จําลองเป็นการสอนโดยอาศัยกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กําหนด โดยให้ผู้เรียนลงไปเล่นในสถานการณ์ที่มีบทบาท ข้อมูล และกติกาการเล่น ที่สะท้อนความเป็นจริง และมีปฏิสัมพันธ์กับข้อมูลที่มีสภาพคล้ายกับข้อมูลในความเป็นจริง ในการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆ ซึ่งการตัดสินใจนั้นจะส่งผลถึงผู้เล่นในลักษณะเดียวกันกับที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริง (ฝ่ายวิชาการ : วิธีการสอน โรงเรียนเทคโนโลยีสยาม,2550) วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญ สำหรับรูปแบบการสอน MIAP ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่นำไปใช้ในการสอนของครูวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ตามนโยบายในการจัดกระบวนการเรียนการสอนภายในวิทยาลัยฯ มีขั้นตอนการสอนโดย ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ M = Motivation หรือ ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน I = Information หรือ ขั้นการให้เนื้อหาความรู้ A = Application หรือ ขั้นประยุกต์เนื้อหา P = Progress หรือ ขั้นตรวจผลสำเร็จ ซึ่งการสอนในรูปแบบ MIAP นั้นสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ทั้งในวิชาทฤษฎีและวิชาปฏิบัติ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญ ซึ่งจากการนำรูปแบบการสอน MIAP ใช้ในการสอนแต่ละรายวิชาผู้จัดทำวิจัยจึงได้สำรวจปัญหาเบื้องต้นแบบเจาะลึก (Focus Group) จากการนำรูปแบบการสอน MIAP ไปใช้ในการเรียนการสอนของครู วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี จำนวน 25 ท่าน ได้พบว่า ในการนำรูปแบบการสอน MIAP ไปใช้ในการเรียนการสอนนั้นมีปัญหาที่ต้องมีการพัฒนาการสอนให้เหมาะสมการบริหารจัดการชั้นเรียนกับรูปแบบการสอน MIAP จำนวนทั้งสิ้น 25 ท่าน จากสาขาวิชาต่างๆ สามารถสรุปออกเป็นเรื่องๆ ทั้งด้านเวลาที่จำกัด ความไม่เหมาะสมของรูปแบบการสอนภายใต้นโยบายของวิทยาลัยฯ รายวิชาที่ใช้ในการสอนในรูปแบบ MIAP และปัญหาอื่นๆ วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผู้วิจัย ความเป็นมาและความสำคัญ ดังนั้นจากสภาพปัญหาข้างต้น ผู้จัดทำงานวิจัยจึงมีแนวคิดที่จะศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นกับครูจากการนำรูปแบบการสอน MIAP ไปใช้ในการเรียนการสอน และเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูไปใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกิด เพื่อลดปัญหาต่างๆที่ตามมาจากการนำรูปแบบการสอน MIAP ไปใช้ภายใต้นโยบายวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี รวมถึงยังได้ข้อคิดเห็นต่างๆจากครูเกี่ยวกับการนำรูปแบบการสอน MIAP ไปใช้ในการปรับปรุงการสอนรูปแบบ MIAP ให้เกิดความเหมาะสมกับรายวิชา เนื้อหาและสถานการณ์ต่อไป วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครูจำแนกตามหมวดวิชา วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู กรอบแนวคิดการวิจัย มุ่งศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู โดยแบ่งเป็นรายด้าน ดังนี้ 1) ทัศนคติของครูที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP, 2) การนำเข้าสู่บทเรียน, 3) การให้ความรู้, 4) การประยุกต์กับเนื้อหา, 5)การประเมินผล, 6) ปัญหาในกระบวนการสอน MIAP วัตถุประสงค์การวิจัย กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ครูวิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ปีการศึกษา 2556 จำนวนทั้งสิ้น 109 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มีทั้งหมด 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 สถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม เป็นแบบสอบถามชนิดตรวจสอบรายการ(Check list) ประกอบด้วย เพศ และหมวดวิชา ตอนที่ 2 แบบสอบถามการใช้รูปแบบการสอน MIAP ตอนที่ 3 ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะ เป็นแบบสอบถามชนิดปลายเปิด (Open Ended) วัตถุประสงค์การวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง กรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู ผลการวิเคราะห์ สรุปผลและข้อเสนอแนะ วัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง พบว่าครู มีปัญหาในภาพรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง ( = 3.04, = .691) ซึ่งปัญหาที่เกิดกับครูมากที่สุดอยู่ใน ขั้น M , ขั้น Aและขั้น P ตามลำดับ
ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู Adult วัตถุประสงค์การวิจัย ผลการวิเคราะห์ และสรุปผลการวิจัย ข้อเสนอแนะ กรอบแนวคิดการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง จากตาราง พบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการสอน MIAP ของครู วิทยาลัยเทคโนโลยีสยามบริหารธุรกิจ นนทบุรี ระหว่างเพศชายและเพศหญิง ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกัน