420 likes | 714 Views
ภาษีเงินได้นิติบุคคล : Corporate Income Tax (CIT). Outline. หน่วยภาษี ฐานภาษี รอบระยะเวลาบัญชี เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล. บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล. ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล _2.
E N D
ภาษีเงินได้นิติบุคคล: Corporate Income Tax (CIT)
Outline • หน่วยภาษี • ฐานภาษี • รอบระยะเวลาบัญชี • เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิ
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล • บริษัทจำกัด • บริษัทมหาชนจำกัด • ห้างหุ้นส่วนจำกัด • ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล_2ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล_2 • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยรัฐบาลต่างประเทศ หรือ โดยองค์การรัฐบาลต่างประเทศ • กิจการซึ่งดำเนินการเป็นทางการค้าหรือหากำไรโดยนิติบุคคลอื่นที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ • กิจการร่วมค้า (Joint Venture) • มูลนิธิหรือสมาคมที่มิใช่องค์การสาธารณะสุขตามประกาศของรัฐมนตรีฯ (ประกาศกระทรวงการคลัง ฉ.2)
ปุจฉา • เมื่อบริษัทตั้งแต่ 2 บริษัททำสัญญาร่วมค้า แต่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ จะเสียภาษีอย่างไร • Joint Venture กับ Consortium อย่างไร • รัฐวิสาหกิจเป็นหน่วยภาษีหรือไม่
ปุจฉา_2 • บมจ. ผลิตไฟฟ้า มี Cambodia Elector-generator Corporation ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนตามกฎหมายประเทศกัมพูชา ถือหุ้นอยู่บางส่วน • บมจ. ผลิตไฟฟ้า ทำสัญญาร่วมลงทุนกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจตาม พรบ. เพื่อสร้างโรงไฟฟ้า และจำหน่ายกระแสไฟฟ้า
ฐานภาษี • ความหมาย • สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้บุคคลต้องเสียภาษี • สิ่งที่รองรับอัตราภาษี • มาตรา 65 • กำไร = รายได้ - รายจ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคล_ฐานภาษีภาษีเงินได้นิติบุคคล_ฐานภาษี • หลักการทั่วไป • ม.65เก็บจากกำไรสุทธิทางภาษี (Taxable Profit) • ม. 67 เก็บจากยอดรายรับก่อนหักรายจ่าย • ม. 70เก็บจากเงินได้ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทย • ม. 70 ทวิ เก็บจากการจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศ
ฐานภาษี_กำไรสุทธิทางภาษีฐานภาษี_กำไรสุทธิทางภาษี • รายได้ • รายได้จากกิจการ: รายได้ที่เกิดจากการประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล • รายได้เนื่องจากกิจการ (Non-operating revenue)
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (2) • ฎ. 458/2508 กำไรจากการขายที่ดินที่บริษัทซื้อมาทำโรงเลื่อยและท่าเรือภายหลังเลิกกิจการ ถือเป็นเงินได้เนื่องจากการดำเนินกิจการ • ฎ 456-457/2509 บริษัทมีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง แล้วได้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างนั้นไปเมื่อได้กำไร การซื้อขายทรัพย์สินดังกล่าวเป็นกิจการที่อยู่ภายใต้ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของบริษัท จึงเป็นกำไรจากกิจการ
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (3) • รายได้(ต่อ) • รายได้ที่เกิดขึ้นจริง • รายได้ที่ไม่เกิดขึ้นจริง แต่ประมวลรัษฎากรให้ถือ เป็นรายได้ (Deemed income) • มาตรา 70 ตรี • มาตรา 65 ทวิ
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (4) • มาตรา 70 ตรี “บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดส่งสินค้าออกไปต่างประเทศให้แก่หรือตามคำสั่งของสำนักงานใหญ่ สาขา บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน ตัวการ ตัวแทน นายจ้าง หรือลูกจ้าง ให้ถือว่าการที่ได้ส่งสินค้าไปนั้นเป็นการขายในประเทศไทยด้วย และให้ถือราคาสินค้าตามราคาตลาดในวันที่ส่งไปเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีที่ส่งออกไปนั้น”
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (5) • ฎ 536/2521ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 70 ตรี บริษัทส่งออกสินค้าไปยังบริษัทในเครือเดียวกัน ถือเป็นการขายในประเทศ และให้ถือราคาตลาดเป็นรายได้สำหรับเสียภาษีเงินได้ แต่ราคานี้จะบวกค่าระวางและค่าประกันภัยเข้าไปด้วยไม่ได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติใดบัญญัติเช่นนั้น
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (6) • มาตรา 65 ทวิ (4) • กรณีการโอนทรัพย์สิน • กรณีการให้บริการแก่บุคคลอื่น • กรณีการให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือ หรือต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (7) ฎ. 1708/2536: บจ. อายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะ ให้บจ. อายิโน๊ะโม๊ะโต๊ะเซลล์ (ประเทศไทย) ใช้รถบรรทุกของบริษัทฯโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า จำนวน 10 คัน การที่บริษัทผู้จัดจำหน่ายได้ใช้รถโดยไมต้องเสียค่าเช่านั้น ถือว่าบริษัทฯ เป็นผู้ได้รับประโยชน์ ประโยชน์นี้สามารถคำนวณเป็นเงินได้จึงถือเป็นเงินได้พึงประเมินที่บริษัทฯต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษี
ฐานภาษี_ กำไรสุทธิทางภาษี (8) ฎ. 956/2544: บริษัทกู้ยืมเงินมากจากสถาบันการเงินในอัตราร้อยละ 13 -17 ต่อปี แล้วให้บริษัทในเครือกู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยในอัตราเพียงร้อยละ 10 ต่อปี การให้กู้ยืมดังกล่าวเป็นการให้กู้ยืมโดยคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีเหตุอันควร การประเมินดอกเบี้ยตามอัตราที่บริษัทกู้จากสถาบันการเงินนั้นชอบแล้ว
การคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษี • คำนวณกำไรสุทธิจากรายได้และรายจ่ายที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชี (Accounting Period) • เกณฑ์สิทธิ (Accrual Basis) • มาตรา 65 ทวิ • มาตรา 65 ตรี
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ • มาตรา 65 ทวิ (1):รายการที่ระบุไว้ใน 65 ตรี ไม่ให้ถือเป็นรายจ่าย • มาตรา 65 ทวิ (2): ค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน ให้หักได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราที่กำหนดโดย พรฏ (พรฎ. ฉ.145) และให้คำนวณหักค่าเสื่อมตามส่วนเฉลี่ยแห่งระยะเวลาที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_2 • มาตรา 65 ทวิ (3): ราคาทรัพย์สิน (นอกจากสินค้า) ให้ถือตามราคาที่พึงซื้อทรัพย์สินนั้นได้ตามปกติ • มาตรา 65 ทวิ (4): โอนทรัพย์สิน ให้บริการ หรือให้กู้ยืมเงิน โดยไม่มีค่าตอบแทน หรือต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุอันควร
ปุจฉา • บริษัทจะให้กรรมการผู้จัดการและกรรมการผู้ถือหุ้นของตนเองกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_3 • มาตรา 65 ทวิ (5): เงินตรา ทรัพย์สิน หรือ หนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณเป็นเงินตราไทย (ก) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เงินตรา หรือทรัพย์สิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยรับซื้อ หนี้สิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยขาย (ข) กรณีธนาคารหรือสถาบันการเงิน ให้ใช้อัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อและอัตราขาย เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สิน ที่เป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไประหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไป
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_4 • มาตรา 65 ทวิ (6):ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่า และให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาด้วย การคำนวณราคาทุนให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ทางบัญชี และหากใช้วิธีการใดแล้วให้ใช้วิธีการนั้นไปตลอด เว้นแต่ได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_5 • มาตรา 65 ทวิ (7):การคำนวณราคาทุนของสินค้าที่ส่งเข้ามาจากต่างประเทศ จพง. ประเมินมีอำนาจประเมินโดยเทียบเคียงกับราคาทุนของสินค้าประเภทและชนิดเดียวกันที่ส่งเข้าไปในประเทศอื่นได้ มาเลเซีย 8 บาท U. S. A. 18 บาท สาขาในไทย
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_6 • มาตรา 65 ทวิ (8):ถ้าราคาทุนของสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ ให้คำนวณเป็นเงินตราไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนในท้องตลาดของวันที่ได้สินค้านั้นมา • มาตรา 65 ทวิ (9): การจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง (ฉ. 186) แต่ถ้าได้รับชำระหนี้ในรอบระยะเวลาบัญชีใด ให้นำมาคำนวณเป็นรายได้ในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_7 • มาตรา 65 ทวิ (10): การยกเว้นเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทนิติบุคคลที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย • มาตรา 65 ทวิ (11):ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_8 • มาตรา 65 ทวิ (12): เงินปันผล/เงินส่วนแบ่งกำไร ที่อยู่ในบังคับต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายตามกฎหมายว่าด้วยภาษีเงินได้ปิโตรเลียม ให้นำมารวมคำนวณเป็นรายได้เพียงเท่าที่เหลือจากถูกหักภาษีไว้ ณ ที่จ่ายตามกฎหมายดังกล่าว ถ้าผู้รับเป็นบริษัทจดทะเบียน/ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ให้นำ(10) มาใช้บังคับโดยอนุโลม
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_9 • มาตรา 65 ทวิ (13): มูลนิธิหรือสมาคมที่ประกอบกิจการซึ่งมีรายได้ ไม่ต้องนำเงินค่าลงทะเบียน หรือค่าบำรุงที่ได้รับจากสมาชิก หรือเงิน/ทรัพย์สิน ที่ได้รับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หา มารวมคำนวณเป็นรายได้
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ทวิ_10 • มาตรา 65 ทวิ (14):บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่ต้องนำภาษีขายซึ่งได้รับหรือพึงได้รับ และภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งได้รับคืนเนื่องจากการขอคืน มารวมคำนวณเป็นรายได้ ยกเว้น ภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/16
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี • มาตรา 65 ตรี (1):เงินสำรองต่างๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม เงินสำรอง หมายถึง เงินที่กันไว้เพื่อใช้จ่ายตามวัตถุประสงค์ โดยไม่มีข้อผูกพันที่จะต้องจ่าย • มาตรา 65 ตรี (2):เงินกองทุน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น เงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (ฉ.183)
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_2 • มาตรา 65 ตรี (3): รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัว การให้โดยเสน่หา หรือการกุศล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ข้อยกเว้น: • รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้ในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ • รายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้หักได้อีกในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_3 • มาตรา 65 ตรี (4):ค่ารับรอง หรือค่าบริการในลักษณะทำนองเดียวกัน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ข้อยกเว้น : ค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามประเพณีทางธุรกิจทั่วไปซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อกิจการ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดโดยกฎกระทรวง (ฉ.143) สามารถลงเป็นรายจ่ายได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้ก่อนหักรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี หรือร้อยละ 0.3 ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า แต่ทั้งหมดต้องไม่เกิน 10 ล้านบาท
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_4 • มาตรา 65 ตรี (5): รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการลงทุน หรือรายจ่ายในการต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งทรัพย์สิน ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น รายจ่ายเพื่อการซ่อมแซมทรัพย์สินให้คงสภาพเดิม
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_5 • มาตรา 65 ตรี (6):เบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีอากร ค่าปรับทางอาญา ภาษีเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม คำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรที่ 10/2528 • มาตรา 65 ตรี ( 6ทวิ):ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ชำระหรือพึงชำระ และภาษีซื้อของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_6 • มาตรา 65 ตรี (7):การถอนเงินปราศจากค่าตอบแทนของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • มาตรา 65 ตรี (8):เงินเดือนของผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนเฉพาะส่วนที่จ่ายเกินสมควร ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_7 • มาตรา 65 ตรี (9): รายจ่ายซึ่งกำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง หรือรายจ่ายซึ่งควรจะได้จ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีอื่น ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น รายจ่ายซึ่งไม่สามารถจะลงเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีใด ก็อาจลงเป็นในรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีถัดไปได้
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_8 • มาตรา 65 ตรี (10): ค่าตอบแทนแก่ทรัพย์สิน ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นเจ้าของเองและใช้เอง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • มาตรา 65 ตรี (11):ดอกเบี้ยที่คิดให้สำหรับเงินทุน เงินสำรองต่างๆ หรือเงินกองทุนของตนเอง ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
เงื่อนไขการคำนวณกำไรสุทธิตาม ม. 65 ตรี_9 • มาตรา 65 ตรี (12): • ผลเสียหายอันอาจได้กลับคืน เนื่องจากการประกันภัยหรือสัญญาคุ้มกันใดๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม • ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม ยกเว้น ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีในปัจจุบัน