380 likes | 578 Views
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการจัดทำแผนฉบับล่าสุด. วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖. หัวข้อการประชุมวันนี้. ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงแผน ตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการในปี ๒๕๕๖ แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ. แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด.
E N D
ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการจัดทำแผนฉบับล่าสุดข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการจัดทำแผนฉบับล่าสุด วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
หัวข้อการประชุมวันนี้หัวข้อการประชุมวันนี้ • ข้อเสนอเพื่อการปรับปรุงแผน • ตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการในปี ๒๕๕๖ • แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ
แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุดแนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด • การเขียน Baseline/วิเคราะห์ปัญหาสถานการณ์เขียนให้ชัดเจน เขียน Baselineตามตัวชี้วัด และตัวชี้วัดย่อยแล้ว ให้วิเคราะห์ ถ้าจุดไหนเป็นปัญหานำมาสร้างเป็นมาตรการ • เป้าหมายการดำเนินงาน • ช่อง Basic PP คือ กลุ่มเป้าหมายตามตัวชี้วัดของงานบริการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคระดับพื้นฐาน (Basic PP services) • ช่อง Strategic focus คือ สิ่งที่จะนำมาแก้ปัญหาในงานตามกรอบวิสัยทัศน์อยู่ในรูป 8 แผนงาน + service planไม่ใช่งานประจำ • ช่อง Specific Issue คือ ตามแผนใน Specific Issue คือ โครงการพระราชดำริ ยาเสพติดBorder Health (ของเรามีแต่แรงงานต่างด้าว) • อื่นๆ เป็นเป้าหมายที่ไม่ได้อยู่ในแผน ที่กล่าวข้างต้น เช่น กลุ่ม Area health ที่ดำเนินการอยู่ประจำ ไม่ได้มีปัญหา เพื่อที่จะยกระดับให้เป็น Strategic focus
๑. แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด • ๓. การเขียนกลยุทธ์ ส่วนใหญ่ OK แล้ว • ๔. มาตรการ ต้องเขียนมาจากปัญหาที่พบ พบแล้วจะแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนาอย่างไร • มาตรการการเขียนให้ง่ายควรดำเนินการดังนี้ แยกกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการ • กลุ่มที่เป็นปัญหา ที่เรานำเสนอไว้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ให้นำปัญหานั้นมาสร้างมาตรการว่าจะดำเนินการอย่างไร ดังนั้น มาตรการที่จะดำเนินการกับกลุ่มนี้ จะต้องเป็นการเยียวยาเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งจะต้องทำกับใคร (กลุ่มเป้าหมาย-ผู้รับบริการ) โดยใคร (กลุ่มเป้าหมายที่อยู่ใน settingนั้นๆ) ทำอย่างไร (แนวทาง/วิธีการที่จะทำกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้รับ /ผู้ให้บริการ/ สิ่งแวดล้อมการบริการ เช่น มาตรการพัฒนาผู้ให้บริการใน ANC คุณภาพ, มาตรการปรับปรุงแผนผัง/ระบบบริการให้บริการในห้องคลอดคุณภาพ/ ส่งเสริมการเข้าถึงบริการของมารดาตั้งครรภ์ • กลุ่มเสี่ยง ควรจะสร้างมาตรการอะไร เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นปัญหาต่อไป • กลุ่มทั่วไป หมายถึง การจัดบริการตามพื้นฐานโดยทั่วไปที่เราดำเนินการอยู่ ไม่ได้เป็นปัญหาแต่ต้องดำเนินการ (ส่วนใหญ่เราจะเขียนมาตรการแบบนี้ ขอให้เปลี่ยนไปเป็น 2 กรณีแรกให้มากที่สุด) • มาตรการสำคัญสำหรับแก้ปัญหาต้องมีไม่มาก แต่ที่เขียนกันส่วนใหญ่คือทั่วไป ดังนั้น ต้องทบทวนว่าที่ทำมานานมากแล้วไม่ได้ผล ให้ตัดไปเลย ถ้าดีทำต่อ
แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุดแนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด • ๕. การเขียนกิจกรรมให้เขียนแต่กิจกรรมหลักๆเท่านั้น ที่เป็นรายละเอียดมากเกินไป นำไปเขียนใส่ไว้ในโครงการ • ๖. งบประมาณ ให้ระบุให้ชัดเจน • Non UC ต้องใช้ตามผลผลิต /โครงการ/กิจกรรม ตามที่กำหนดไว้ เนื่องจากเป็นผลผลิตตามแผนยุทธศาสตร์ของ สป.ที่ทำไว้กับสำนักงบประมาณ ไม่สามารถนำไปปรับเกลี่ยไปเบิกจ่ายข้ามผลผลิต/กิจกรรม ดังนั้น ให้ทำบัญชีคุมไว้ให้ละเอียด เบิกจ่ายอย่างช้า ไม่เกิน เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ • งบ PP สนับสนุนไว้สำหรับการบริหารจัดการ อบรม ประชุม กำกับติดตาม ข้อมูล วิจัย พัฒนาต่างๆ • งบ PPA ใช้สำหรับการแก้ปัญหากับกลุ่มเป้าหมายโดยตรง ไม่ใช้ในการอบรม/ประชุม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรืออื่นๆที่ไม่ใช่การแก้ปัญหา/ส่งเสริมป้องกัน กับกลุ่มเป้าหมายจริงๆ
แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุดแนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด • ๖. งบประมาณ (ต่อ) • งบ PPE จ่ายไปเพื่อบริการส่งเสริมป้องกันโรค ตามชุดสิทธิประโยชน์ดังนั้น ตรงนี้ ให้ระบุบริการที่เป็น PP service โดยจำแนกกลุ่มเป้าหมายในช่อง Basic PP ให้ชัดเจน และระบุจำนวนเงินที่ใช้ในแต่ละกลุ่มวัย/การบริการมาให้ชัดเจนเท่ากับจำนวนเงินที่ได้ไปทั้งหมด และในส่วนนี้ต้องนำมาทำแผนแก้ปัญหาในส่วนของ strategic focus /area health ที่เป็นเรื่องส่งเสริมป้องกัน อีกประมาณ 50 % • งบกองทุนสุขภาพตำบล ให้อำเภอขอจากกองทุนแล้วนำมารวมไว้ในแผนย่อยแต่ละแผนที่มีโครงการอยู่ด้วย • งบอื่นๆให้ระบุ การจัดสรรงบประมาณให้น้ำหนักไปตามสภาพปัญหา โดยเฉพาะที่เป็น Strategic Focus
แนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุดแนวทางการเขียนแผนในแต่ละจุด • การเขียนผลลัพธ์แบ่งเป็น • ผลลัพธ์ของกลุ่มวัย เกิดจากการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการต่างๆทั้งหมดแล้ว กลุ่มวัยเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามที่เราต้องการอย่างไร • ผลลัพธ์ของมาตรการ ว่าเราทำมาตรการนี้แล้วจะเกิดผลอะไรขึ้นต่อใคร อย่างไร การทำแผนสุขภาพ ต้องทำเป็นแผน CUP/คปสอ.เท่านั้น จะมีการตรวจสอบจากผู้ประเมินภายนอกด้วย ให้ระวังด้วย
ตัวชี้วัดที่ต้องดำเนินการในปี ๒๕๕๖ เพื่อการติดตามและประเมินผล ประกอบด้วย • แหล่งข้อมูล/การประเมินผล • คลังข้อมูลสุขภาพ (Data center) • ระบบรายงาน • Health survey ปีละ ๑ ครั้ง • การติดตามนิเทศงาน จากการประชุมผู้บริหารประจำเดือน ,การนิเทศเฉพาะกิจ
วิธีการประเมินผล • ตัวตั้ง หรือผลงาน ถ้าเรียกจาก Data Centerได้ให้ใช้จาก Data Center • ตัวหาร หรือกลุ่มประชากรเป้าหมาย ให้ใช้ ประชากรสิทธิ • ทั้งนี้ ขอให้ตรวจสอบข้อมูล 3 แหล่งให้ตรงกันด้วย คือ ทะเบียนราษฎร์ ประชากรสิทธิ และเป้าหมายใน Data center ต้องใกล้เคียงกันจึงจะเป็นข้อมูลที่ดี ใกล้เคียงความเป็นจริง • ถ้าดำเนินการได้เช่นนี้แล้ว ไม่ว่าจะใช้อะไรมาเป็นตัวหาร ก็จะได้ผลไม่ต่างกันมากนัก
งบประมาณ Non UC งบดำเนินตามยุทธศาสตร์เบื้องต้น ๓.๘ ล้านาท งบดำเนินตามยุทธศาสตร์ให้จังหวัดภายใต้เครือข่ายบริการ ๑๓.๑ ล้าน บาท งบดำเนินตามยุทธศาสตร์ให้ สสอ. ๒ ล้านบาท งบดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ที่เบิกจ่ายแทนกันของกรม๐.๕๕ ล้านบาท งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากส่วนกลางของจังหวัดสุพรรณบุรี
งบประมาณ PP งบ PP Express demand ๕๐.๕๒ ล้านบาท งบ PP Area-based ๑๓.๘๖ ล้านบาท งบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการ ๔.๒๓ ล้านบาท งบทันตกรรมส่งเสริม๑๒.๙๘ ล้านบาท • - งบ PP Exp Cap ๓๙.๑๐ ล้านบาท • - งบ PP Exp Non Ucจำนวน๑๑.๔๒ ล้านบาท - งบค่า PAP Smear / TSH ๖.๒๖ ล้านบาท - งบ PP Area-based ส่วนที่เหลือ ๗.๖๐ ล้านบาท -งบกองทุนสุขภาพท้องถิ่น ๓๑.๘๗ ล้านบาท • -งบ PP ทันตกรรม CUP ๑๑.๒๑ ล้านบาท • -งบ PP ทันต กรรมจังหวัด ๑.๓๗ ล้านบาท • งบสนับสนุนส่งเสริม ทันตกรรม ๐.๓๙ ล้านบาท งบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากส่วนกลางของจังหวัดสุพรรณบุรี
การบริหารจัดการงบประมาณของจังหวัดสุพรรณบุรีการบริหารจัดการงบประมาณของจังหวัดสุพรรณบุรี งบ Non UC งบ PPA งบ PPE ๓๐%สสจ. ๗๐%คปสอ. ๓๐% สสจ. ๗๐% คปสอ. ๑๐๐% คปสอ. ๕๐ % แรกของ งปม.ใช้เกณฑ์ประชากร ๕๐% หลังของ งปม.ใช้ เกณฑ์ จำนวน รพ.สต. ๑๐๐ % ตามเกณฑ์ประชากร กำหนดให้ สสจ./คปสอ. จัดทำแผนสุขภาพระดับจังหวัด/อำเภอ ตามแผนย่อย (๒๕ แผน) สอดคล้องกับงปม.ที่ได้รับ และตามสภาพปัญหา และบริบทของการดำเนินงาน ๑) การจัดบริการตามบริการพื้นฐานที่จำเป็น (Basic Service) ๒) มาตรการที่ดำเนินการอยู่แล้วและยังสามารถใช้ได้เกิดผลดี ๓) การจัดสรรสำหรับมาตรการการแก้ไขปัญหาตาม Strategic Focus
การบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรีการบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี งบประมาณที่ได้รับทั้งหมด ๑๐.๘๕ ล้านบาท งบ Non – UC จัดสรรเบื้องต้น๓.๘๕ ล้านบาท งบ Non – UC แจ้งผ่านเขต ๓.๐๕ ล้านบาท งบสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการ ๓.๕๕ ล้านบาท งบสนับสนุนส่งเสริมทันตกรรม ๐.๓๙ ล้านบาท ๑) จัดงบประมาณสำหรับดำเนินการตามแผนงานโครงการส่วนกลาง การตรวจราชการนิเทศงาน ,พัฒนางานวิจัย ,ประชุมวิชาการและสรุปผลงานประจำปี,การจัดทำแผนจังหวัด ,มหกรรมคุณภาพ,พัฒนาระบบ IT และซ่อมบำรุง,ปฐมนิเทศข้าราชการใหม่,ค่าเบี้ยเลี้ยง ,น้ำมันเชื้อเพลิง,วัสดุสำนักงาน ๒) ส่วนที่เหลือจัดสรรให้งาน/กลุ่มงานในสสจ.ตามภารกิจที่รับผิดชอบ โดยให้จัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ
การจัดทำแผนสุขภาพจังหวัดการจัดทำแผนสุขภาพจังหวัด ยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวง - strategic issue - basic pp service - specific issue สสจ. แผนสุขภาพจังหวัด - ๒๕ แผนย่อย - งาน/กลุ่มงาน จัดทำ action plan สอดคล้องกัน แผนสุขภาพเขต สสอ./รพ. (คปสอ.) แผนสุขภาพอำเภอ - ๒๕ แผนย่อย - งาน/กลุ่ม จัดทำ action plan แผนยุทธศาสตร์จังหวัดสุพรรณบุรี สอดคล้องกัน • แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดสุพรรณบุรี (๒๕๕๔ -๒๕๕๙) • Strategic need • สถานะสุขภาพในพื้นที่ • ทรัพยากรที่ได้รับ รพ.สต. แผนปฏิบัติการรายตำบลอยู่ในแผนของอำเภอ - ๒๕ แผนย่อย - แผนกองทุนสุขภาพตำบล
งบประมาณ • งบ Non Ucเบิกจ่ายตามผลผลิต/โครงการ /กิจกรรม ซึ่งจะมีรหัสงบประมาณกำหนดไว้ (การเงิน พี่ถนอมจะแจ้งให้ทราบ) • งบ PP area based และ PP สนับสนุน จะโอนให้ CUP เมื่อได้รับแผนฉบับสมบูรณ์จากอำเภอ ส่งภายใน 20 กุมภาพันธ์ 2556 • แต่อำเภอต้องส่งแผนที่ปรับปรุงครั้งที่ 2 หลังจากการประชุมนี้ (เน้นที่มาตรการและตัวเงินให้ครบถ้วน ภายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2556 บ่าย) เพราะกลุ่มงาน/งาน ต้องส่งไปให้จังหวัดที่เป็น Focal point ในวันศุกร์นี้ • ส่วนกลุ่มงาน/งาน ปรับปรุงแผน พร้อมยอดเงินที่ได้รับจัดสรรส่งภายในวันศุกร์15 ก.พ.นี้ก่อน 16.00 น. และอย่าลืมส่งให้จังหวัด focal pointของตัวเองด้วย • งานพัฒนายุทธศาสตร์ต้องรวบรวมส่งเขตภายในวันจันทร์ 18 ก.พ.นี้นะจ้ะ ขอบคุณมากๆที่ร่วมด้วยช่วยกันอย่างดียิ่งมาตลอด
ข้อเสนอแนะจากผู้ตรวจราชการข้อเสนอแนะจากผู้ตรวจราชการ ๑๓กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖
กลุ่มสตรีและทารก • ทารก ANC และ LR / WCC คุณภาพ ต้องแยกจากกัน เพราะเหตุของปัญหาต่างกัน เช่น LR คุณภาพ ต้องลดการตกเลือดหลังคลอด, Birth AsphysXia มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาอาจจะต้องทำ CPGที่เข้มข้น • การนำเสนอข้อมูล การตกเลือดหลังคลอด, Birth Asphysxia หรือสถานการณ์ที่มีจำนวนน้อยๆ ให้นำเสนอเป็นจำนวน อย่านำเสนอร้อยละอย่างเดียวซึ่งไม่สะท้อนข้อเท็จจริง ให้ดูเป็นราย case, case by case ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร • การพัฒนา/แก้ไขปัญหา แต่ละsetting ต้องดูว่าจุดนี้ปัญหาคืออะไร/จะแก้อย่างไร ในเอกสารนำเสนอ Focal point กลุ่มสตรีและทารก มาตรการ 3 และ 4 คือ มาตรการเดียวกัน
เด็ก ๐-๒ ปี • มาตรการการพัฒนา WCC รพ.สต.กำหนดให้ชัดเจนว่า รพ.สต.จะดำเนินการแค่ไหน เป็นเครือข่ายของโรงพยาบาลด้านไหนบ้าง • WCC คุณภาพ พัฒนาเน้นไปที่ในโรงพยาบาล • WCC ขั้นพื้นฐาน ดำเนินการพัฒนาใน รพ.สต • มาตรการการพัฒนาต้องทำเป็นเครือข่ายอำเภอ ให้อำเภอเป็นพี่เลี้ยง รูปแบบการดำเนินงานต้องเป็นแบบเดียวกันไม่ใช่ต่างคนต่างทำ (ของใครของมัน)
เด็ก ๐-๒ ปี • ANC, WCC คุณภาพ อย่าให้คลุมเครือว่าจะทำอย่างไร ให้พิจารณาร่วมกันว่าเขตจะทำอย่าง เข้ามาช่วยจังหวัดอย่างไร และจังหวัดจะทำอย่างไร • ต้องมี SOP (มาตรฐานการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพ) ถ้ายังไม่มีให้ศูนย์วิชาการร่วมกับจังหวัดดำเนินการ ทำในสิ่งที่ทำได้ไปก่อน
เด็ก ๐-๒ ปี • WCC คุณภาพเป็นเรื่องของ Setting ให้ระวังกาให้คะแนน ผ่าน/ไม่ผ่าน ที่สำคัญต้องเน้นบริการกลุ่มเป้าหมายให้ชัด • กลุ่มทั่วไป • กลุ่มเสี่ยง • กลุ่มเป็นปัญหา ผอม,อ้วน, ฟันผุ รพ.สต.ดำเนินการจังหวัด/อำเภอ ต้องเข้าไปดูคุณภาพว่าดำเนินการได้จริงไหม หรือดำเนินการได้แค่ไหน จะส่งให้ รพ.ดำเนินการเมื่อไร กลุ่มทั่วไป เสี่ยง ปัญหา การให้น้ำหนักการดำเนินงานต้องไม่เท่ากัน ทุกกลุ่มดูด้วยนะ
เด็ก ๐-๒ ปี • ทันตสุขภาพ อย่าดูอยู่ใน setting ให้ดูที่ผู้รับบริการทั้งหมด • วัคซีน ต้องดู coverage ที่กลุ่มประชากร • ดังนั้น ฐานข้อมูลต้องถูกต้อง ครอบคลุม
กลุ่มปฐมวัย วัยเรียน วัยรุ่น • มาตรการยังเป็นมาตรการทั่วไปอยู่ • การตรวจพัฒนาการที่จะแก้ไขอย่างไร ให้ถูกต้อง/มีคุณภาพ • การวางมาตรการดูจากปัญหา เช่น รูปร่างไม่สมส่วน อ้วน ผอม IQ/EQ ฟัน วัคซีน ผู้ปฏิบัติในพื้นที่จะต้องปฏิบัติอย่างไร ต้องมีแนวปฏิบัติที่ชัดเจน อำเภอใครจะเป็นพี่เลี้ยง ควรมี Flow chart ที่ชัดเจน ว่าใครจะทำอะไร เมื่อมีปัญหาใครจะเป็นผู้ส่ง • มาตรการการแก้ปัญหา ถ้าให้ โรงพยาบาลแก้ปัญหาภาวะโภชนาการ ดังนั้น ก็ต้องมีมาตรการเข้าไปฝึกอบรม/พัฒนาผู้ให้บริการที่จุดนี้ แต่ถ้าให้ รพ.สต.ดำเนินการ มาตรการก็ระบุไปที่กลุ่มเจ้าหน้าที่ รพ.สต.
โรคเรื้อรัง มะเร็ง สูงอายุ พิการ • มาตรการวิเคราะห์ให้เป็นบรรทัดฐานเดียวกันเช่นเดียวกับกลุ่มวัยอื่น • โรคเรื้อรังต้องให้มี System Manager ในทุกอำเภอ การคัดกรองให้แยกเป็น ๑๕-๓๔ ปี และ ๓๕ ปีขึ้นไป มาตรการใน ๓๕ ปีขึ้นไปต้องเป็นการคัดกรองที่เข้มข้น การคัดกรองตา ไต เท้า จะทำอย่างไรให้ครอบคลุม ต้องกำหนดมาตรการให้ชัดเจน อาจจำเป็นต้องกำหนดมาตรการเรื่องการกระจายทรัพยากรข้ามพื้นที่ ให้ดูว่าจะดำเนินการได้หรือไม่ หรือทำอย่างไร
โรคเรื้อรัง มะเร็ง สูงอายุ พิการ • คลินิก NCD คุณภาพ อยู่ให้รวมไว้ที่จุดเดียวกัน แม้ในกลุ่มผู้สูงอายุก็มี ให้เขียนการบริการไว้ที่จุดเดียวกันในโรคเรื้อรัง • นำ เรื่อง NCD คุณภาพ ในส่วนที่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ หรือ specialist ไปไว้ใน service plan กรณีใดที่ primary care ดำเนินการไม่ได้ให้นำไปใส่ไว้ที่ service plan กรณีสาขาอื่นๆก็เช่นกัน ต้องมองให้เชื่อมโยงการบริการแต่ละระดับให้ชัดเจน • เรื่องที่เกี่ยวข้องกับการคัดกรอง/ปรับเปลี่ยน/ชุมชน/หมู่บ้าน ของกลุ่มวัยต่างๆที่ต้องดำเนินก็ให้ระบุไว้ในกลุ่มวัย (primary care ทำได้) ไม่ต้องไปใส่ใน Service plan
โรคเรื้อรัง มะเร็ง สูงอายุ พิการ • แผนงานเรื่อง Health Literacy ให้เน้นเรื่องแก้ปัญหา NCD นำมาบรรจุไว้กับแผนนี้ • อะไรที่ไม่ใช่บุคคล ครอบครัว ทำในภาพกว้างๆ • แผนงานนี้ทำในลักษณะที่เป็น Mass, Public
โรคเรื้อรัง มะเร็ง สูงอายุ พิการ • มะเร็ง ฐานข้อมูล/ทะเบียน ให้ยึดฐานเดียวกัน ใช้ประชากรสิทธิ ต้องแยกสิทธิให้ได้ เพื่อตรวจสอบว่า เราให้บริการได้ครอบคลุมทุกสิทธิหรือไม่ (กลุ่มวัยอื่นต้องดูเช่นกัน) • ความครอบคลุม Pap smear ใครจะเป็นผู้ดำเนินการ ต้องระบุให้ชัดว่าระดับไหนจะทำอะไร
โรคเรื้อรัง มะเร็ง สูงอายุ พิการ • ผู้สูงอายุ การกำหนดมาตรการคลินิกผู้สูงคุณภาพให้อยู่ รพศ. รพท. ในส่วนนี้ Highlight จะอยู่ที่โรงพยาบาล ต้องกำหนดกรอบให้ชัดเจนว่ามีการดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่น ข้อเสื่อม จะทำอย่างไร สมองเสื่อมจะทำอย่างไร ตาเสื่อมจะทำอย่างไร มีใครเกี่ยวข้องบ้าง แบ่งระดับกันใครจะทำอะไร ดูแลเรื่องอะไร ถ้ายังไม่มีการดำเนินการก็ให้ไปจัดทำ โดยจังหวัดที่ focal point ไปดำเนินการร่วมกัน ๘ จังหวัด • การเยี่ยมผู้สูงอายุ ๖ โรค โรงพยาบาลจะเป็นหลัก แล้ว รพ.สต.กับ อสม.จะให้ทำอะไร • การคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุใน ๖ โรค ต้องระบุได้แต่ละโรคใครจะดำเนินการ เมื่อพบโรค/ปัจจัยเสี่ยงใครจะดำเนินการ อย่างไร
อาหารปลอดภัย • เช่นเดียวกันกับกลุ่มอื่น มาตรการยังไม่ชัดเจน ระบุให้ชัดว่าเรื่องนี้ระดับใดต้องทำ แบ่งบทบาท และส่งต่อการดำเนินกันให้ชัดเจน • ให้มีมาตรการเกี่ยวกับเรื่องน้ำสะอาด ประปา ว่าเราจะเข้าไปช่วยดูอย่างไรให้มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่ดูว่าผลการตรวจแล้วผ่านเกณฑ์กี่แห่ง ให้เน้นไปที่คุณภาพ • ตลาดนัดไม่ใช่วางเป้าหมาย ๑ แห่ง ศูนย์ฯต้องเข้ามาวางเป้าร่วมกับจังหวัด เน้นการวางเป้าหมายให้ชัดเจน
ควบคุมโรคติดต่อ • อำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งให้ดำเนินการใน ๔ เรื่องหลักอยู่ในบัญชีรายการที่ต้องดำเนินการ เนื่องจากเป็นเรื่องที่แสดถึงบทบาทของ สธ.โดยตรง คือ • ไข้เลือดออก • TB • อหิวาต์ • HIV/AIDS เน้นไปที่กลุ่มเข้าถึงยาก ปัญหาในกลุ่มวัยรุ่น ให้นำไปในกลุ่ม • ๔ เรื่องนี้การให้น้ำหนักแล้วแต่สภาพพื้นที่ แต่ต้องดำเนินการทั้งหมด ส่วนไข้หวัดใหญ่/มือเท้าปาก ส่วนใหญ่ปัญหาเป็น seasonal ควบคุมได้น้อย อุจจาระร่วง/Food poisoning ปัญหาแม้จะมากแต่แก้ไขไม่ยาก
ควบคุมโรคติดต่อ • แผนงานไข้เลือดออก มาตรการเรื่องการพ่นสารเคมี และกำจัดลูกน้ำยุงลาย ให้ไปทบทวนเรื่องรัศมี ๑๐๐ เมตร เพราะเดี๋ยวนี้ Mobility-การเคลื่อนย้ายของประชากรไปไหนมาไหนมากกว่านั้น ต้องควบคุมให้มากกว่า ๑๐๐ เมตร และการวินิจฉัยต้องมาจากการสอบสวนจริงๆ • ต้องเพิ่มมาตรการสำคัญคือ การควบคุมกำกับ/control ที่มีประสิทธิภาพ จึงจะช่วยลดการระบาดได้ ควบคุมการขยายโรคเมื่อพบเหตุให้ได้ และต้องควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพอย่าให้พาหะได้แพร่ออกไป
กลุ่มบริการ • Service plan ให้ตรวจสอบกับกลุ่มวัย ตรงไหนที่เป็นของกลุ่มวัยทำ ในservice plan ไม่ต้องนำมาใส่ ให้มองภาพเชื่อมต่อกันในระบบบริการแต่ละระดับ (สุพรรณบุรี ยมราชต้องเป็นแกน service plan ระดับจังหวัด) • ระบบส่งต่อ ๑) ให้ดูการส่งต่อออกนอกเขต สุพรรณเราส่งมากที่สุดการส่งออกนอกเขตมากทำให้เราขาดดุล ๒) การดำเนินงานศูนย์ส่งต่อ ประสานเรื่องคน โดยเฉพาะ specialist ต้องจัดทำข้อเสนอว่าจะดำเนินการกันอย่างไร
กลุ่มบริการ • งาน พบส. ให้นำ LAB, X-RAY อยู่ด้วยกันเป็นชันสูตร • งานคุณภาพที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ไปอยู่ในงานคุณภาพ – พยาบาล, rehab-ฟื้นฟู, เภสัช, ชันสูตร • ทันตแพทย์ ให้อยู่ใน Service plan • PCA ไม่ต้องตรวจไขว้ข้ามจังหวัด
กลุ่มบริหาร • การเงินการคลัง นำเสนอแค่ดูวิกฤตไม่ได้ แต่ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่แห่งที่วิกฤต ให้ดูสถานะ รพ.ที่มีรายได้ต่ำกว่าขั้นต่ำที่ควรจะเป็น จะทำอย่างไรให้การบริหารมีประสิทธิภาพ (ตรงนี้ส่วนกลางคงมีการมาจัดระบบด้วย) • ปัญหาการเงินการคลัง ส่วนใหญ่โรงพยาบาลมีปัญหาทั้งนั้น มากกน้อยต่างกันไป บางครั้งการมีเงินมากถูกกลบเกลื่อนให้มองไม่เห็นประสิทธิภาพของโรงพยาบาลนั้น • ควรจัดทำเกณฑ์เข้าไปดูเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ชัดเจนเรื่องการเงิน ที่ทำได้ชัดเจนคือ เรื่องยา เวชภัณฑ์ LAB การดู CMI การจ่ายOT เพื่อดู่ว่าที่ไหนประสิทธิภาพ
กลุ่มบริหาร • การตรวจสอบภายใน ให้ประเมินความเสี่ยงในจุดที่มีความเสี่ยง • Earmark สถานบริการที่มีปัญหาที่ใช้เงินผิดระเบียบ/ไม่ถูกต้อง ทั้งที่เจตนา และไม่เจตนา
ยาเสพติด สาธารณสุขชายแดน โครงการพระราชดำริ ข้อมูล • ให้ตรวจสอบมาตรการ /งบประมาณ ส่งคืนจังหวัดเจ้าภาพ – ประจวบฯ • โครงการพระราชดำริ – รายละเอียดให้นำไปไว้ในกลุ่มวัย ตรงนี้เขียนมาตรการเพื่อการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้สำเร็จเท่านั้น • ระบบข้อมูล – ให้ตรวจสอบความครอบคลุมประชากรในกลุ่มวัย จัดทำแยกไว้ให้เห็นชัดเจนว่ากลุ่มใดมีจำนวนเท่าใด จำแนกให้เห็นรายละเอียดของกลุ่มนั้นๆด้วย • EPI ให้แยกประเภท/กลุ่มที่ต้องได้รับออกมาตั้งเป็นเป้าหมายให้ชัดเจน • การนำเสนอสถิติให้ระบุเป็นจำนวน อย่านำเสนอร้อยละอย่างเดียว • การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างสถานบริการให้ดำเนินการพัฒนาให้ได้ • ข้อมูลให้เกณฑ์เดียวกันทั้งจังหวัด/เขต ตัวตั้ง/ตัวหาร ให้กำหนดให้ชัดเจน ถ้าไม่ตรงกันให้ระบุแหล่งที่มาของข้อมูลด้วย
ข้อเสนออื่นๆ • กลุ่มวัยที่รับให้ดูว่า • งานมี Element เป็นองค์ประกอบ • ในทางปฏิบัติให้ดูว่าแต่ละมาตรการจะทำอย่างไร ให้เห็นทาง เช่น พัฒนาศักยภาพใคร ใครจะรับผิดชอบในส่วนใด งานที่เป็น setting นั้นๆจะพัฒนาใครใน setting นั้นบ้าง เมื่อไร ให้กำหนดให้ชัดเจน แต่ถ้าคำว่า อบรม จะอยู่ในกิจกรรม • มาตรการที่เขียนมายังกว้าง จับต้องไม่ได้ เขียนให้ชัดเจน จะได้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ภาพจังหวัดจะทำอะไร อำเภอจะทำอะไรให้ชัดเจน แผนสุขภาพอำเภอ ๑ CUP ๑ แผนสุขภาพเท่านั้น และเน้นไปที่การปฏิบัติมากกว่าจังหวัด นำเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ แต่ treat เช่นเดียวกับ รพ.สต. และกองสุขภาพตำบลมารวมไว้ด้วย • การจัดทำงบประมาณที่จัดสรรให้ไป เวลาส่งแผนกลับมาต้องเท่ากัน/ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด