640 likes | 1.88k Views
การวิเคราะห์สภาพการทำงาน ตามหลักเออร์โกโนมิคส์ โดย ดร. สสิธร เทพตระการพร สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม. ERGONOMICS. +. ERGON. NOMOS. คำจำกัดความ : ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะสมกับ คนทำงาน (Put the right job to the right man). : การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน.
E N D
การวิเคราะห์สภาพการทำงานการวิเคราะห์สภาพการทำงาน ตามหลักเออร์โกโนมิคส์ โดย ดร. สสิธร เทพตระการพร สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม
ERGONOMICS + ERGON NOMOS คำจำกัดความ: ศาสตร์ในการจัดสภาพงานให้เหมาะสมกับ คนทำงาน (Put the right job to the right man) :การศึกษาคนในสิ่งแวดล้อมการทำงาน คำเหมือน : การยศาสตร์, Human Factors, Human Factors Engineering
วิศวกรรมศาสตร์ ERGONOMICS แพทย์ศาสตร์ สุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ ปรับปรุงคุณภาพการทำงาน ประสิทธิภาพ / ปลอดภัย * ให้ความสำคัญที่คน ว่ามีผลกระทบอย่างไรบ้างจากการ ออกแบบเครื่องมือ / เครื่องจักร สภาพแวดล้อม
วัตถุประสงค์ของการยศาสตร์วัตถุประสงค์ของการยศาสตร์ สถานีงาน สิ่งแวดล้อม ในการทำงาน เครื่องมือ เครื่องจักร • เทคโนโลยีใหม่ๆ • การฝึกอบรม • ความพึงพอใจในงาน • ระบบบริหารจัดการ • การหยุดพัก • การทำงานเป็นกะ เนื้องาน ประสิทธิภาพ / ปลอดภัย / ความสบาย ข้อผิดพลาด ผลผลิต 1. ประสิทธิภาพ / ประสิทธิผล 2. คุณภาพชีวิต : ลดความเมื่อยล้า / ความเครียด ความสบาย
ความสำคัญ • เครื่องมืออัตโนมัติ (automatic machine) และหุ่นยนต์ (robot) ถูกนำมาใช้แทนแรงงานในงานต่างๆได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหมาะกับงานที่มีรูปแบบตายตัว ทำซ้ำๆ เป็นจำนวนมาก • การทำงานที่ไม่มีรูปแบบตายตัว เช่น งานก่อสร้าง งานประกอบ งานฝีมือ งานซ่อมบำรุง งานบริการต่างๆ งานตำรวจจราจร พ่อครัว พนักงานโรงแรม พนักงานขับรถ รวมถึงกิจกรรมในชีวิตประจำวันของบุคคลทั่วไป รวมทั้งพยาบาล และ หมอ ยังคงต้องใช้แรงกล้ามเนื้อ(muscular work) ในการทำงาน
การวิเคราะห์งาน • เป็นการศึกษารายละเอียดของาน ทำการบันทึกและวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อปัญหาด้านการยศาสตร์ที่สำคัญ โดยเน้นเรื่องท่าทางและการใช้แรงของร่างกาย ในการทำงานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ เพื่อจะได้ทราบว่างานดังกล่าวจะมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหรือไม่อย่างไรหากต้องทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ เป็นเดือนเป็นปี • ผลที่ได้จากการวิเคราะห์จะเป็นแนวทางสำคัญในการเฝ้าระวังปัญหา รวมถึงเป็นข้อมูลที่ใช้ในการพิจารณาปรับปรุงหรือออกแบบงานเพื่อลดหรือขจัดปัญหาด้านการยศาสตร์ออกไป
การวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์การวิเคราะห์งานด้านการยศาสตร์ หมายถึง การดำเนินงานในการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลต่างๆ ด้วยเทคนิค และวิธีการต่างๆที่เหมาะสม เช่น การใช้แบบสอบถาม แบบสำรวจ ตรวจสอบ หรือ การวัดด้วยเครื่องมือต่างๆ เพื่อใช้ประโยชน์ในทาง การยศาสตร์ ข้อมูลที่สำคัญคือ 1. คน 2. ลักษณะงาน หรือ การทำงาน 3. ลักษณะเครื่องมือ/เครื่องจักร และการใช้ 4. ลักษณะของสถานีงาน และเนื้อที่ในการทำงาน 5. ลักษณะของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง 6. ลักษณะขององค์กร และการจัดการ
ขั้นตอนการวิเคราะห์งานทางการยศาสตร์ขั้นตอนการวิเคราะห์งานทางการยศาสตร์ รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น รวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ที่สามารถบ่งชี้ปัญหาได้ เช่น สถิติการบาดเจ็บ การลาหยุด/ลาป่วยความถี่ในการพบแพทย์ ฯลฯ สำรวจ และบันทึกสภาพงานจริง เดินสำรวจข้อมูลในสภาพจริง ทำการบันทึก โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น วีดีโอ หรือ แบบประเมินและ เครื่องมือวัดต่างๆ วิเคราะห์ข้อมูลและ ค้นหาปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อหาสาเหตุ อาจดูจากภาระและปัจจัยเสี่ยง และระดับความรุนแรง สรุปผล เสนอวิธีการแก้ไข ประยุกต์ใช้ และติดตามผล เดินสำรวจข้อมูลในสภาพจริง ใช้แบบตรวจสอบ แบบวิเคราะห์งานต่างๆ ช่วยรวบรวมข้อมูล
ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้
ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้
ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้ตัวอย่างแบบประเมินที่นิยมใช้
0 1 2 5 3 4 แผนภูมิร่างกายและความรู้สึกปวดเมื่อย น้อย มาก
ขั้นตอนในการวิเคราะห์งานโดยใช้วิธีการ RULA(Rapid Upper Limb Assessment) • ขั้นตอนที่ 1 การประเมินตำแหน่งแขนส่วนบน (upper arm) • คะแนนสูงสุดของขั้นตอนนี้จะมีค่าไม่เกิน 6 คะแนน • ให้แยกการประเมินแขนซ้ายและขาว
ขั้นตอนที่ 2 การประเมินตำแหน่งแขนส่วนล่าง (lower arm หรือ forearm) • คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 4 คะแนน • ให้แยกประเมินระหว่างแขนซ้ายและขาว
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินตำแหน่งมือและข้อมือ (hand และ wrist) • คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 4 คะแนน • ให้แยกประเมินระหว่างแขนซ้ายและขาว flexion extension deviation
ขั้นตอนที่ 4 การประเมินการบิดข้อมือ (wristtwist) • คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 2 คะแนน • ให้แยกประเมินระหว่างแขนซ้ายและขาว ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลจากขั้นตอนที่ 1-4 โดยใช้ตาราง A
ขั้นตอนที่ 6 ประเมินระดับการใช้แรงกล้ามเนื้อในการทำงาน ขั้นตอนที่ 7 ประเมินภาระงานที่ทำ
ขั้นตอนที่ 8 สรุปผลคะแนนการวิเคราะห์ของแขนและมือ รวมผลคะแนนจากขั้นตอนที่ 5 – 7 ไว้ในขั้นตอนนี้ เพื่อใช้เปิดตาราง C ในการประเมินผลร่วมกับร่างกายส่วนที่เหลือ
ขั้นตอนที่ 9 การวิเคราะห์ท่าทางของศีรษะและคอ คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้จะมีค่าไม่เกิน 6 คะแนน
ขั้นตอนที่ 10 การวิเคราะห์ตำแหน่งของลำตัว (trunk) คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้มีค่าไม่เกิน 6 คะแนน
ขั้นตอนที่ 11 การประเมินท่าทางของขาและเท้า คะแนนสูงสุดในขั้นตอนนี้ไม่เกิน 2 คะแนน ขั้นตอนที่ 12 สรุปผลท่าทางการทำงานจากขั้นตอนที่ 9-11 โดยใช้ตาราง B ตาราง B เป็นการสรุปผลท่าทางของคอ ลำตัว ขาและเท้า โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอน ที่ 9-11 มาเปิดตาราง B
ขั้นตอนที่ 13 ประเมินระดับการใช้แรงกล้ามเนื้อ ขั้นตอนที่ 14 ประเมินระดับภาระงาน จากน้ำหนักของหรือแรงที่ใช้
ขั้นตอนที่ 15 สรุปผลการวิเคราะห์ ศีรษะ คอ ลำตัว ขา และเท้า เป็นผลรวมคะแนนจากขั้นตอนที่ 12 ซึ่งได้จากการเปิดตาราง B รวมกับคะแนน ในขั้นตอนที่ 13 และ 14 คะแนนรวมที่ได้ใส่ไว้ในขั้นตอนนี้ เพื่อนำไปเปิดตาราง สรุปผลของ RULA ในตาราง C ขั้นตอนที่ 16 สรุปผลระดับคะแนนของ RULA ในตาราง C 16.1 นำค่าที่ได้ในขั้นตอนที่ 8 และขั้นตอนที่ 15 ไปใช้ในการเปิดตาราง C ช่องที่ตัดกันระหว่างคะแนนทั้งสอง ในตาราง C เป็นระดับคะแนน สุดท้ายของ RULA 16.2 คะแนน RULA จะมีค่าอยู่ระหว่าง 1-7 คะแนนที่สูงกว่าหมายถึงความเสี่ยง ต่อปัญหาด้านการยศาสตร์มีสูงกว่าด้วย
Table C : Final Scores คะแนนสรุปจากขั้นตอนที่ 15 (คอ ลำตัว ขา) คะแนนสรุปจากขั้นตอนที่ 8 (มือ ข้อมือ)
การสรุปผลการวิเคราะห์งานโดยใช้ RULA • ระดับ 1 : คะแนน 1-2 งานนั้นยอมรับได้ แต่อาจเป็นมีปัญหาทางการยศาสตร์ ได้ถ้ามีการทำงานดังกล่าวซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าเดิม • ระดับ 2 : คะแนน 3-4 งานนั้นควรได้รับการพิจารณาการศึกษาละเอียดขึ้นและ ติดตามวัดผลอย่างต่อเนื่อง การออกแบบงานใหม่อาจมีความจำเป็น • ระดับ 3 : คะแนน 5-6 งานนั้นเริ่มเป็นปัญหา ควรทำการศึกษาเพิ่มเติมและรีบ ดำเนินการปรับปรุงลักษณะงานดังกล่าว • ระดับ 4 : คะแนนตั้งแต่ 7 ขึ้นไป งานนั้นมีปัญหาด้านการยศาสตร์ ที่ต้องได้รับ การปรับปรุงโดยทันที ที่มา : McAtamney, L and Corlett, E.N. (1993) RULA: a servey method for investigation of work-related upper limb disorders, Applied Ergonomics, 24(2) 91-99 อ้างอิงจาก : Professor Alan Hedge, Cornell University (2001) จัดทำ power point โดย ผ.ศ.นริศ เจริญพร www.est.or.th
หลัง แขน น้ำหนัก-แรงที่ใช้ ขา OWAS method
Person Work postures Workstation design • Furniture • Equipment • Environment Output Performance Person’s well-being Work activities Task Interactions among person, task, workstation design, and performance.