1 / 81

ขอบข่ายและเนื้อหาของกระบวนวิชา 128721

ขอบข่ายและเนื้อหาของกระบวนวิชา 128721. แนวความคิดแลทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ Theory and Concept of Public Administration. 1. ความหมาย สถานภาพ และ ขอบข่ายของ รัฐประศาสนศาสตร์ 2. พัฒนาการของสาขาวิชารัฐประศาสนตร์ การศึกษาวิชา Public Administration

yan
Download Presentation

ขอบข่ายและเนื้อหาของกระบวนวิชา 128721

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ขอบข่ายและเนื้อหาของกระบวนวิชา 128721 แนวความคิดแลทฤษฎีทางรัฐประศาสนศาสตร์ Theory and Concept of Public Administration

  2. 1. ความหมาย สถานภาพ และ ขอบข่ายของ รัฐประศาสนศาสตร์ 2. พัฒนาการของสาขาวิชารัฐประศาสนตร์ การศึกษาวิชาPublic Administration ค.ศ. 1887 - จุดเริ่มต้นของการศึกษาวิชา Public Administration โดย Woodrow Wilson ได้เสนอบทความเรื่อง “The Study of Administration”

  3. ในช่วงปีค.ศ.1887-1944 เรียกว่ายุคทฤษฎีคลาสสิก แนวมุ่งการศึกษา – ค้นหาหลักเกณฑ์ทางการบริหารที่มี หลักการที่ชัดจน แนวคิดและทฤษฎีที่สำคัญในยุคนี้คือ -บริหารแยกจากการเมือง/ Politics/ Administration Dichotomy - ทฤษฎีระบบราชการ/ Bureaucracy

  4. ทฤษฎีวิทยาศาสตร์การจัดการ /Scientific Management หลักการบริหารที่เป็นสากล- POSDCORB -Operation Management Theory/ POCCC หลักการ- มุ่งสร้างทฤษฎีเพื่อนำมาใช้เป็นหลักในการบริหารงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล -สร้างรูปแบบองค์การที่เป็นทางการ

  5. ยุคที่2 ช่วงสมัยค.ศ.1945-1952 / ทฤษฎีท้าทาย -การบริหารคือการเมือง -ระบบราชการที่ไม่เป็นทางการ แนวทางการศึกษา -มีการนำองค์ความรู้ทางสังคมวิทยา จิตวิทยาพฤติกรรมศาสตร์มาใช้เป็นฐานคิดในการบริหารงานมากขึ้น -ให้ความสำคัญกับการติดต่อสื่อสารและความสัมพันธ์ที่ไม่เป็นทางการมากขึ้น

  6. ช่วงที่3 –ในช่วงค.ศ.1593-1970 กำเนิดการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์แนวใหม่ -แสวงหาวิธีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาทางการบริหาร แนวคิดที่สำคัญ –Human Relation Theory -Comparative Public Admistration -The New Public Administration

  7. แนวคิดทางการบริหารในศตวรรษที่ 20-21 • -การบริหารคุณภาพ • กิจกรรม 5 ส. • Reengineerig • Total Quality Control / TQC/ QCC • Total Quality Management / TQM

  8. Public Administration รัฐประศาสนศาสตร์

  9. ความหมาย/Meaning สถานภาพ/ Status ขอบข่าย/Scope รัฐประศาสนศาสตร์/ Public Administration

  10. Public Administrationรัฐประศาสนศาสตร์ ในแง่ กิจกรรม(Activity) หรือกระบวนการของการบริหารงานสาธารณะ public administration การบริหารรัฐกิจ การบริหารราชการ การบริหารงานสาธารณะ ในแง่ของสาขาวิชา ( Discipline) หรือการศึกษา (Study) Public Administration รัฐประศาสนศาสตร์ Meaning

  11. Public Administration - หมายถึง สาขาวิชาแขนงหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานสาธารณะทั้งหลายที่รู้จักกันในนามของวิชา“Public Administration” หรือ “รัฐประศาสนศาสตร์” (รัฐ + ประศาสน + ศาสตร์) วิชาที่ว่าด้วยการบริหารและการปกครองบ้านเมืองสาขาหนึ่งที่เน้นในเรื่องระบบการดำเนินงานที่รัฐเข้าไปจัดทำเพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเป็นวิชาที่ ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานสาธารณะโดยรวม สาขาวิชา ( Discipline) หรือการศึกษา (Study)

  12. กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานสาธารณะ ซึ่งรวมถึง การบริหารงานในหน่วยราชการต่าง ๆ ทุกระดับ ไม่ว่าจะเป็นระดับชาติ ภูมิภาค ท้องถิ่น • การบริหารงานของรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชนองค์การอิสระ องค์การมหาชน องค์กรพัฒนาเอกชน และ องค์กรที่ไม่ได้แสวงหากำไร ที่เข้ามารับผิดชอบในการจัดทำบริการสาธารณะต่างๆร่วมกับรัฐ หรือ แทนรัฐ กิจกรรม (Activity) หรือกระบวนการของการบริหารงานสาธารณะ

  13. การบริหารรัฐกิจ • เป็นเรื่องเกี่ยวกับสาธารณะ(Public) • กิจกรรมที่มีการดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public interest) • Public– สาธารณะ มีความหมายกว้างมีทั้งลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม • ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับงานสาธารณะอาจปรากฏในหลายลักษณะ

  14. 1. ลักษณะของการทำงานของรัฐ หรือสิ่งที่รัฐต้องกระทำเพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชน สังคม เช่น กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบเรียบร้อย การอำนวยความยุติธรรม การรักษาความมั่นคงของชาติ ได้แก่ กิจการทหาร ตำรวจ ศาล กิจการต่างประเทศ

  15. 2. ลักษณะที่ทำร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ในกิจการที่เรียกว่า ภารกิจสาธารณะ (Public Affairs) เช่น การจัดการศึกษา การสาธารณะสุข

  16. 3.ลักษณะงานที่รัฐพึงกระทำแต่ทำไม่ได้ดี จึงมอบอำนาจให้เอกชนเข้ามาดำเนินการเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การให้บริการสาธารณะทางด้าน การสื่อสารโทรคมนาคม ไฟฟ้า การขนส่งคมนาคม

  17. 4.ลักษณะงานที่รัฐมอบหมายให้ชุมชน ท้องถิ่น องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้ดำเนินการแทนหรือทำร่วมกับรัฐ เช่น การจัดการดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ต่างๆ การรักษาความสะอาดฯลฯ

  18. 5. ลักษณะของการบริหารงานในองค์การระหว่างประเทศ เช่น WTO, IlO, U.N. รัฐสมาชิกต้องส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมหรือร่วมบริหาร

  19. สรุป Public Administration ในแง่กิจกรรม • - ความพยายามของกลุ่มคนที่ร่วมมือกันปฏิบัติกิจการงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยต้องอาศัยอำนาจรัฐทั้ง3ฝ่ายคือ อำนาจบริหาร อำนาจนิติบัญญัติ และอำนาจตุลาการ • หน่วยงานรัฐเป็นผู้มีอำนาจดำเนินการ โดยการกำหนดและนำนโยบายสาธารณะออกไปปฏิบัติจัดทำให้บรรลุผล • แต่รัฐอาจมอบอำนาจให้อกชนเข้ามาร่วมหรือทำแทนได้เพื่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงาน

  20. Science Art Status ofP.A. Science & Art Professional

  21. Public Administration มีลักษณะเป็นศาสตร์หรือไม่ ศาสตร์ (Science) หมายถึงอะไร ศาสตร์ (Science)หมายถึง วิทยาการหรือองค์ความรู้ที่มีการศึกษา ค้นคว้าทดลอง พิสูจน์และจัดระเบียบไว้อย่างเป็นระบบ มีแบบแผน เป็นที่น่าเชื่อถือได้ ศาสตร์ อาจแบ่งออกเป็นหลายประเภท เช่น Pure Science, Natural Science, Social Science

  22. มีหลักการที่ชัดเจน (Precision) Pure Science มีอนุภาพในการทำนาย (Predictability) ทดสอบและพิสูจน์ผลได้เช่นน้ำ = H2O วิธีการศึกษา-โดยการใช้วิธีการแสวงหา เพื่อค้นพบและพิสูจน์ข้อเสนอในเชิงประจักษ์ ศึกษาค้นคว้า ทดลอง พิสูจน์หาความจริง เพื่อสร้างทฤษฎี สร้างหลักเกณฑ์ต่างๆ ขึ้นมา (empirical Study) เช่น สูตรคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ H2 + O = H2 O (น้ำ)

  23. ศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานสาธารณะศึกษาเกี่ยวกับการบริหารงานสาธารณะ • มีกรอบเค้าโครง องค์ความรู้ ทฤษฏี แนวคิด ที่แน่นอน ชัดเจน เป็นของตนเอง • สามารถศึกษาเรียนรู้ได้ Public Administration ศาสตร์ทางการบริหาร มีลักษณะเป็นPure Science หรือไม่

  24. ความสามารถในการทำนาย (Predicable) • Ex – หลักการบริหารPOSDCORB • ผลของการทดสอบไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน • - เพียงแต่มีลักษณะของความ “มีแนวโน้ม” หรือ “ความน่าจะเป็น”(Degrees of Probability) เท่านั้น • แม้จะมีความพยายามที่จะทำให้วิชานี้เป็นวิทยาศาสตร์

  25. หน้าที่ทางการบริหาร POSDCORB การวางแผน (Planning) การจัดองค์การ(Organizing) ปัจจัยเข้าการจัดคน (Staffing) ผลได้ (Input) การอำนวยการ (Directing)(Output) การประสานงาน (Coordinating) การรายงาน (Reporting) งบประมาณ (Budgeting)

  26. กฎเกณฑ์ทางการบริหาร/หลักการบริหารกฎเกณฑ์ทางการบริหาร/หลักการบริหาร - ไม่ใช่หลัก หรือ กฎ ที่มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง • มีลักษณะเป็นศาสตร์ทางสังคม • เป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ (applied social science) หลักการบริหาร เดียวกัน เมื่อนำไปใช้ในองค์การหนึ่ง อาจประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ ลักษณะคน ค่านิยม วัฒนธรรมองค์กร ภาพแวดล้อม

  27. ไม่ใช่ Pure science แต่เป็น applied science • มีลักษณะเป็น สหวิทยาการ(interdisciplinary) • มีฐานะเป็นสังคมศาสตร์ประยุกต์ (applied social science) • รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ • สังคมวิทยา มานุษยวิทยา จิตวิทยา ฯลฯ Status of Pub. Ad.

  28. มี ลักษณะที่สนใจเกี่ยวกับการใช้ความพยายามในการตัดสินใจอยู่บนหลักการแบบวิทยาศาสตร์ใน บางส่วน ไม่ใช่ทั้งหมด เช่น ผู้บริหารควรใช้หลักเกณฑ์อะไร อย่างไร ในแต่ละสถานการณ์ จึงทำให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ Applied Science (ศาสตร์ประยุกต์)

  29. ศิลปะ คืออะไร ศิลปะ หมายถึง การทำงานที่ต้องใช้ความรู้สึก อารมณ์ จินตนาการ สอดแทรกลงไปในงานที่ทำอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุดออกมา การวัดผลงานทางศิลปะ ขึ้นอยู่กับความคิด วิจารณญาณ ค่านิยม ความชอบ ของผู้ตัดสิน เป็นหลัก การบริหารเป็นศิลปะ (Art) หรือไม่

  30. การบริหาร คือ การจัดการ คน เงิน งาน โดยการนำเอาทรัพยากรบริหารมาใช้ให้เกิดผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสูงสุด • ถ้ามีปัญหาผู้บริหารต้องแก้ไข บางครั้งอาจต้องอาศัยความรู้ หลักวิชาการ ภาวะผู้นำ ความยืดหยุ่น การรู้จักปรับตัว ผสมกันไป • ผู้บริหารต้องมีความสามารถในเชิงศิลปะในการนำหลักการบริหารมาปรับใช้อย่างเหมาะสม • การวัดผลงานทางการบริหารต้องมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน การบริหาร คืออะไร

  31. การบริหารเป็นวิชาชีพ (Professional) หรือไม่ ผู้ที่ศึกษาวิชาการแขนงนั้น ๆ โดยตรง เมื่อมาทำงานต้องนำเอาความรู้แขนงนั้นไปใช้เป็นหลักในการทำงาน -มีใบอนุญาต มีจรรยาบรรณ มีกฎหมาย มีสถาบัน เป็นเครื่องควบคุมตรวจสอบมาตรฐานด้วย เช่น - แพทย์ ทนายความ วิศวกร สถาปนิก Professional (ผู้ประกอบวิชาชีพ)คืออะไร

  32. การบริหาร เป็นอาชีพที่ต้องใช้ฝีมือ และความชำนาญ ประสบการณ์ โดยต้องใช้ความคิดริเริ่ม ความรู้ ความสามารถ หลักการบริหารบ้าง เพื่อก่อให้เกิดการดำเนินงานอย่างเหมาะสม และสร้างร่วมใจในการความร่วมมือทำงาน - แต่ใครๆก็สามารถเป็นผู้บริหารได้โดยไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาวิชาการบริหารมา แต่ผู้ที่ผ่านการศึกษาเรียนรู้หลักการบริหารมาก็อาจได้เปรียบกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้การบริหารจึงเป็นเพียงกึ่งวิชาชีพ (Quasi professional)

  33. การบริหารแบบมืออาชีพ (Professional Management) Peter F. Drucker(ค.ศ.1963) - หมายถึงผู้ที่สามารถดำเนินกิจกรรมหรือกระทำการที่มีผลเป็นรูปธรรม โดยต้องแยกความสับสนระหว่าง สิ่งที่เรียกว่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อแสดงให้เห็นว่า การทำให้สิ่งต่างๆถูกต้องดีกว่าการกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง

  34. การแสวงหาวิธีการใช้ทรัพยากรบริหาร(คน เงิน วัสดุ อุปกรณ์ เทคโนโลยี เวลา กระบวนการทำงาน) ให้ได้อย่างคุ้มค่ามากที่สุด ตัวชี้วัดประสิทธิภาพจึงพิจารณาจากการเปรียบเทียบระหว่าง Inputs กับOutputs (Output/ ผลผลิต/ผลงาน/บริการ) – (Input / คน เงิน เวลา) + ความพึงพอใจของประชาชน ประสิทธิภาพ /Efficiency

  35. Results = Output + Outcome • ตัวอย่าง • InputsOutputs • จำนวนคนไข้ที่มารับบริการ-จำนวนคนไข้ที่หายป่วย • จำนวนคนที่อบรม- จำนวนคนที่อบรมแล้วมีความรู้เข้าใจและ • สามารถนำไปใช้ในการทำงานได้อย่างดี • ผลสัมฤทธิ์Results • วัตถุประสงค์ปัจจัยนำเข้ากิจกรรมผลผลิตผลลัพธ์ • Objectives Input Process Outputs Outcome • ความประหยัดความมีประสิทธิภาพ • ความมีประสิทธิผล

  36. สรุป ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง -การทำงานที่ได้ผลงานที่มีคุณภาพ คุ้มค่ากับการใช้ทรัพยากรทั้งด้านบุคลากร เงิน วัตถุดิบ เทคโนโลยี เวลา -เป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรบริหารได้อย่างคุ้มค่าได้ประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ

  37. ภาคเอกชน – • - เป้าหมายที่สำคัญคือผลกำไรจากการประกอบการ • - การวัดประสิทธิภาพ • คือการเปรียบเทียบต้นทุน - กำไร หรือ กำไร จุดคุ้มทุน • เครื่องวัด- มีความชัดเจน วัดได้ง่าย มุ่งที่ผลสัมฤทธิ์ (results) เป้าหมายและประสิทธิภาพของภาคเอกชน

  38. เป้าหมายของการบริหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคมและสาธารณะเป้าหมายของการบริหารเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังคมและสาธารณะ • - ประสิทธิภาพของการบริหารราชการวัดได้จากผลในทางคุณค่า และจะต้องใช้เครื่องวัดต่าง ๆ หลายอย่างประกอบกัน • เช่น ความพึงพอใจของประชาชน การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้ประชาชน และบ้านเมือง • - เครื่องวัดและประเมินผลงาน ไม่ชัดเจนและมักไม่สนใจหรือให้ความสำคัญกับการวัดผลงาน วัตถุประสงค์และประสิทธิภาพของการบริหารงานภาครัฐ

  39. วิ๊ธีการบริหารให้ได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุด - ผู้บริหารต้องคิดว่า - ทำอย่างไรให้องค์การมีผลการดำเนินงานดีที่สุดภายใต้ทรัพยากรบริหารที่มีอยู่ - วิเคราะห์และสังเกตจากสภาพที่เป็นจริง ด้วยการตรวจสอบจากภายนอกองค์การ โดยเริ่มมองที่ ประชาชน ลูกค้า บริการ สินค้า ตลาดก่อน - หลังจากนั้นจึงย้อนกลับเข้ามามองภายในองค์การ หาข้อบกพร่อง - พยายามสร้างระบบงานที่สามารถสร้างผลงานที่สร้างความพอใจและตอบสนองความต้องการของประชาชน(ลูกค้า)ให้ได้

  40. - การต้องรับผิดชอบต่อการเจริญเติบโต ผลประโยชน์ขององค์การและสมาชิกเป็นสำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตัดสินใจที่เปี่ยมด้วยประสิทธิผล นั่นคือต้องมีการคิดอย่างเป็นระบบ หัวใจของ ผู้บริหาร มืออาชีพคือ -มีการจัดลำดับขั้นของปัญหา วิเคราะห์หารากเหง้าของปัญหา รับฟังข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง(feedback) - สรุปผล กำหนดเป้าหมาย (end) ที่ต้องการได้รับ

  41. - ต้องมีการเลือกวิถีทาง (mean) ที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย - เป้าหมาย(end) กับวิธีการ (mean) ต้องมีความสอดคล้องกัน - วิธีการ (mean)สามารถเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดของผู้บริหารด้วยว่าเป็นอย่างไร เป้าหมาย (end)ที่ต้องการทำให้สำเร็จ

  42. วิธีการคิดตัดสินใจในการเลือกหนทาง (mean) ที่เปี่ยมด้วยประสิทธิผล ต้องตั้งอยู่บนหลักการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ คือ • แบ่งแยกลำดับขั้น และ ความสำคัญของปัญหา(เรื่อง) ที่ต้องการแก้ไข เช่น • การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในภาคใต้ ต้องมีวิธีการอย่างไร • 2) การวิเคราะห์ปัญหาไม่ควรดูแค่สิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่เรียกว่าแบบReal Timeและตัดสินใจอย่างทันทีทันใด เพราะเป็นการคิดที่สั้นและตื้นเขินมาก

  43. 3 การคิดต้องมองลึกไปให้ถึงรากเหง้า ที่ไปที่มาของปัญหา เพื่อให้เกิดความเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างแท้จริง • นั่นคือ ต้องใช้วิธีการมองย้อนหลังไปถึง ภูมิหลัง ประวัติศาสตร์ แบบที่เรียกว่า History Approachเพื่อให้เข้าใจปัจจุบันและอธิบายอนาคตได้ • การวิเคราะห์เชิงลึกอย่างรอบด้าน พยายามหาข้อมูลเชิงลึก จะทำให้สามารถหาสาเหตุของปัญหาที่หลากหลายในมิติที่แตกต่างกัน

  44. หลังจากค้นหาสาเหตุที่แท้จริงได้แล้ว จึงค้นหาวิธีการที่สามารถทำให้สาเหตุของปัญหานั้นหมดไป อาจต้องมองหาอีกด้าน (Opposite Model) ที่ซ่อนอยู่ เพราะบางครั้งสิ่งที่เราเห็นในสังคมอาจมองเห็นเพียงด้านเดียว ดังนั้นต้องลองจินตนาการเอาสถานการณ์อีกด้านหนึ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งที่เห็นมาประกบ เพื่อให้สามารถมองปัญหาได้ในหลายมิติ เพื่อความรอบครอบในการหาหนทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างแท้จริง

  45. คือ Knowledge Workerที่ทำ งานโดยอาศัยสมอง ความรู้ ไม่ใช่ใช้ ความรู้สึกหรือแรงกาย นักบริหารแบบมืออาชีพ สิ่งที่วัดคุณค่า-ผลงานของผู้บริหารแบบมืออาชีพ ไม่ใช่เงินหรือค่าตอบแทนที่สูงลิ่ว ความสำเร็จของนักบริหารมืออาชีพคือ การที่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย (มีประสิทธิผล) และการได้สร้างผลงานที่โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์แก่สังคม เพราะเขาจะถูกคาดหวังว่าจะต้องรับผิดชอบการบริหารจัดการงานให้สำเร็จมากขึ้น

  46. ผู้บริหารมืออาชีพต้องคำนึงถึงคุณธรรม จริยธรรม เพื่อทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างชอบธรรม เหมาะสม เพื่อแสดงให้เห็นว่า “ การทำให้สิ่งต่างๆถูกต้องนั้นดีกว่าการทำในสิ่งที่ถูกต้อง” ดังนั้น “จริยธรรม” จึงเป็นสิ่งที่ผู้บริหารมืออาชีพต้องยึดถือ อย่างเคร่งครัด

  47. - คำว่า “จริยธรรม” คือ “การใช้ปัญญานำความคิด และการกระทำ” - ถ้าใช้ปัญญาคิด ทำในสิ่งที่ดี เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ย่อมสร้างสิ่งที่มีคุณค่า มีประโยชน์ แต่ถ้าใช้ในทางไม่ดี คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตน อาจเกิดโทษและความเสียหายได้ เช่น การใช้ปัญญาหาทางหลีกเลี่ยงภาษี คดโกง ก่ออาชญากรรม ย่อมก่อให้เกิดผลเสียต่อสังคม จริยธรรม คืออะไร

  48. - การใช้ปัญญา โดยยึดถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก คิด ตัดสินใจโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของรัฐ ยิ่งต้องใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนรวม อย่างจริงจัง ต้องเข้มงวดกับการตรวจสอบความคิด การตัดสินใจของตนเองว่า ทำเพื่อส่วนตน หรือเพื่อส่วนรวม การคิดและกระทำเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมเท่านั้นที่เรียกว่า มีจริยธรรม การยึดถือ จริยธรรม

  49. การมีจริยธรรม เป็นเรื่องของการตรวจสอบตนเองทางความคิด ตรวจสอบกระบวนการคิด การใช้ปัญญาของตน • เพื่อชี้นำการกระทำ ไปในทางที่สร้างความถูกต้องชอบธรรม และ ไม่ทำร้ายหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นอย่างตั้งใจ • - ทำให้สิ่งต่างๆถูกต้องมากกว่าที่จะการทำในสิ่งที่ถูกต้อง • - คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน

  50. ขอบบ่ายของรัฐประศาสนศาสตร์ Scope of Public Administration ยุคดั้งเดิม ยุคคลาสสิก (ค.ศ.1887 –ค.ศ. 1944) - เป็นช่วงการวางพื้นฐานการศึกษาเกี่ยวกับการบริหาร มีแนวมุ่งเพื่อ ค้นหาหลักการบริหารที่มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนขึ้นมาใช้ - ผู้เสนอแนวคิดทางการบริหารชิ้นแรกคือ Woodrow Wilson เสนอ “The Study of Administration” (ค.ศ.1887)

More Related