740 likes | 1.14k Views
วิชาเกษตรผสมผสานปริทัศน์ ( Overview of Integrated Agriculture ) คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร. สถานการณ์ทางการผลิตสัตว์. โดย อาจารย์วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่. ประวัติการเลี้ยงสัตว์.
E N D
วิชาเกษตรผสมผสานปริทัศน์ (Overview of Integrated Agriculture)คณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร สถานการณ์ทางการผลิตสัตว์ โดย อาจารย์วัชรวิทย์ มีหนองใหญ่
ประวัติการเลี้ยงสัตว์ประวัติการเลี้ยงสัตว์ • ในยุคหินเก่าประมาณ 10,000-8,000 ปีก่อน มนุษย์ยังไม่รู้จักการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งคาดว่าสุนัขเป็นสัตว์พวกแรกที่มนุษย์นำมาเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการล่าสัตว์ • ต่อมาในยุคหินใหม่ 8,000-6,000 ปีก่อนมนุษย์จึงเริ่มนำสัตว์มาเลี้ยงดู ซึ่งสัตว์เลี้ยงในยุคต้นได้แก่ โค ม้า แพะ แกะ นอกจากนี้ยังมีสัตว์ชนิดอื่นๆ เช่น แมว สุกร เป็ด ไก่ และห่าน
โค เป็นสัตว์ที่ได้รับความรัก สักการบูชา ตลอดจนการบูชายัน ขึ้นอยู่กับสังคมแต่ละประเทศ ภาพกิจกรรมการดูแลจัดการลูกโคมีหลักฐานประมาณ 2625 ปีก่อน ค.ศ. • สุกร มีการเลี้ยงทั่วไปในโลก จากหลักฐานการบันทึกของชาวจีนระบุว่ามีการลี้ยงสุกรเมื่อ 4,900 ปีก่อนค.ศ. ส่วนในคัมภีร์ไบเบิลระบุว่า 1,500 ปีก่อน ค.ศ. • แกะ คาดว่าเลี้ยงครั้งแรกใน เอเชียกลางและเอเชียตะวันตก พบภาพวาดในอียิปต์ ซึ่งวาดเมื่อ 5,000 – 4,000 ปีก่อน ค.ศ.
ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ความสำคัญของการเลี้ยงสัตว์ • เลี้ยงเพื่อเป็นอาหาร • เลี้ยงเพื่อเป็นเครื่องนุ่งห่ม • เลี้ยงไว้เพื่อใช้แรงงาน • เลี้ยงไว้เพื่อเป็นเพื่อน • ประโยชน์ในแง่งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ • วัตถุประสงค์อื่นๆ เช่น บ่งบอกฐานะ ชำระบาป ยาบำรุง เป็นต้น
สัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทยสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญของไทย • กระบือ • โคเนื้อ • โคนม • สุกร • ไก่เนื้อ • ไก่ไข่ • สัตว์น้ำ
สถานการณ์การผลิตกระบือสถานการณ์การผลิตกระบือ • ในอดีตเป็นสัตว์ที่มีไว้ใช้แรงงาน • ในปี 2532 ประเทศไทยมีกระบืออยู่ประมาณ 4.6 ล้านตัว • ปัจจุบันประชากรของกระบือลดลงตามลำดับ • โดยในปี 2550 มีกระบือเหลืออยู่ไม่ถึง 1.6 ล้านตัว
สถิติจำนวนกระบือในประเทศไทยแสดงตามภาคต่างๆ ตั้งแต่ปี ๒๕๓๒-๒๕๔๓ • ที่มา: http://www.dld.go.th/ict/yearly/yearly43/yearly43.html
สถานการณ์การผลิตโคเนื้อสถานการณ์การผลิตโคเนื้อ • ในอดีตโคเนื้อไทยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นโคพันธุ์พื้นเมือง และมีการเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมบราห์มันเป็นอันดับรองลงมา • ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการเลี้ยงโคพันธุ์ลูกผสมบราห์มันจึงทำให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น • ส่วนการเลี้ยงโคเนื้อสายพันธุ์ยุโรปยังมีปริมาณน้อยโดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงพันธุ์ลูกผสมชาโลเลห์, ซิมเมนทอล เป็นต้น • ผลกระทบ FTA (2548)
สาระสำคัญ FTA ไทย-ออสเตรเลีย • การลดภาษีจะครอบคลุมสินค้าทุกรายการ มีผลตั้งแต่วันแรกที่มีผลบังคับใช้ (1 ม.ค.48) • ออสเตรเลียจะลดภาษีทุกรายการเป็น 0% ภายใน 5 ปี ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว จะลดภายใน 10 ปี • ไทยจะลดภาษีส่วนใหญ่ภายใน 5 ปี ยกเว้นสินค้าอ่อนไหว จะลดภายใน 10-20 ปี • สินค้าอ่อนไหวของไทยได้แก่ เหล็ก อุปกรณ์ไฟฟ้า ผัก ผลไม้ เนื้อ นมและผลิตภัณฑ์นม เป็นต้น • สินค้าอ่อนไหวของออสเตรเลียได้แก่ ทูน่ากระป่อง สิ่งทอ ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็ก เคมีภัณฑ์ พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า
แนวทางแก้ปัญหากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อแนวทางแก้ปัญหากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ • การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์โคเนื้อ • ส่งเสริมสหกรณ์และการรวมกลุ่มผู้เลี้ยง และสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน • การปรับโครงสร้าง การลดต้นทุน การพัฒนากระบวนการผลิต เน้นมาตรฐาน ความสะอาด ความน่าเชื่อถือ • การสร้างตลาดกลางซื้อขายเนื้อโค • ปรับปรุงระบบโรงฆ่าให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปเนื้อโคให้มากขึ้น • ส่งเสริมการทำตลาดเหมือนธุรกิจเฟรนไชส์ที่มีกระบวนการครบวงจร
สถานการณ์การผลิตโคนม • การเลี้ยงโคนมและการผลิตน้ำนมในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่ปี 1907 โดยชาวอินเดียที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย • ต่อมาในปี 1960 ทางรัฐบาลเดนมาร์กได้น้อมเกล้าฯถวายโครงการเลี้ยงโคนมในประเทศไทย แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว • อัตราการบริโภคนมของคนไทยในปัจจุบันยังอยู่ในปริมาณที่ต่ำมากเฉลี่ยประมาณ 11.5 ลิตร/คน/ปี (2550)
สถานการณ์การผลิตโคนม (ต่อ) • ในปี 2550 ประเทศไทยมีโคนมอยู่ประมาณ 489,593 ตัว • ผลผลิตน้ำนมดิบยังไม่เพียงพอต่อความต้องการการบริโภคภายในประเทศแต่มีปัญหานมล้นตลาด • การเลี้ยงโคนมของเกษตรกรไทยมีประสิทธิภาพต่ำและต้นทุนการผลิตสูง • โครีดนมให้ผลผลิตต่ำเฉลี่ยประมาณวันละ 10 กก./ตัว/วัน มีปัญหาการผสมไม่ติด การจัดการด้านอาหาร และการคัดโคคุณภาพต่ำออกจากฟาร์ม
ผลกระทบจากสารเมลามีน • การปนเปื้อนสารเมลามีนทำให้ผู้บริโภคนมลดต่ำลง
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย- นิวซีแลนด์ • วันที่ 1 กรกฎาคม 2548 เป็นกำหนดเวลาที่ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย- นิวซีแลนด์จะมีผลบังคับใช้ • นิวซีแลนด์เป็นประเทศส่งออกผลิตภัณฑ์โคเนื้อ โคนม อันดับต้นๆ ของโลก การเปิดเสรี FTA กับนิวซีแลนด์ทำให้อุตสาหกรรมโคเนื้อ โคนม ซึ่งเป็นสินค้าอ่อนไหวของไทยจะได้รับผลกระทบ • ดังนั้นการเตรียมพร้อมภายในของไทยก่อนการเปิดเสรีอุตสาหกรรมโคเนื้อและโคนมอย่างเต็มที่ ซึ่งมีเวลาปรับตัวอีก 15-20 ปี จึงเป็นสิ่งจำเป็น
แนวทางแก้ปัญหากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมแนวทางแก้ปัญหากลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม • รณรงค์กระตุ้นให้คนไทยหันมาบริโภคนมสดภายในประเทศ • การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์โคนม • ส่งเสริมสหกรณ์และการรวมกลุ่มผู้เลี้ยง • ส่งเสริมการใช้น้ำนมดิบในอุตสาหกรรมอื่น ๆ • การปรับโครงสร้าง การลดต้นทุน การพัฒนากระบวนการผลิต เน้นมาตรฐาน ความสะอาด ความน่าเชื่อถือ • การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างกัน • ส่งเสริมการทำตลาดเหมือนธุรกิจเฟรนไชส์ที่มีกระบวนการครบวงจร
สถานการณ์การผลิตแพะ-แกะสถานการณ์การผลิตแพะ-แกะ • ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ทางภาคใต้ • ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังไม่คุ้นเคยกับกลิ่นของเนื้อแพะ-แกะ • ปัจจุบันมีการเลี้ยงแพะเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมซึ่งทำให้มีผู้เลี้ยงมีจำนวนเพิ่มขึ้น
สถานการณ์การผลิตสุกร • ในอดีตสุกรที่เลี้ยงกันในประเทศไทยเป็นสุกรพันธุ์พื้นเมือง • ในปัจจุบันสุกรที่เลี้ยงในประเทศจะเป็นพันธุ์ลาจไวท์, แลนด์เรซ และดูรอคเจอร์ซี่ • ปัจจุบันเกิดปัญหาเรื่องไข้หวัดนกจึงทำให้ผู้คนหันมาบริโภคเนื้อสุกรมากขึ้นส่งผลให้ราคาเนื้อสุกรสูงขึ้นตามไปด้วย • ปัญหาราคาตกต่ำที่เกิดจาก วัฏจักรสุกร (Hog cycle)
สถานการณ์การผลิตไก่เนื้อสถานการณ์การผลิตไก่เนื้อ • การเลี้ยงไก่เนื้อมีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันสามารถผลิตไก่เนื้อสายพันธุ์ที่สามารถเลี้ยงให้โตได้น้ำหนัก 1.5-2 กิโลกรัม ภายใน 6 สัปดาห์ • อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่เนื้อปัจจุบันอยู่ในมือของธุรกิจเอกชนเกือบทั้งสิ้น ยกเว้นไก่พื้นเมืองซึ่งมีการเลี้ยงแบบหลังบ้านที่ยังเป็นอิสระ แต่ในปัจจุบันธุรกิจเอกชนได้พยายามเข้ามามีบทบาทเช่นเดียวกัน
การส่งออกเนื้อไก่ • ปัญหาเรื่องไข้หวัดนกส่งผลต่อการส่งออกเนื้อไก่ของไทยทำให้อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยมีการปรับปรุงรูปแบบการเลี้ยงไปสู่ระบบการเลี้ยงในโรงเรือนแบบปิดที่ได้มาตรฐาน • ในปี 2551 การส่งออกไก่แปรรูปของไทยมีแนวโน้มขยายตัวโดยเฉพาะในตลาดสำคัญ ทั้งสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น • เนื่องจากจีนซึ่งเป็นคู่แข่งประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์ด้านสุขอนามัย รวมทั้งการตรวจพบยาตกค้างในผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้นำเข้าหันมานำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทน
สถานการณ์ไก่เนื้อ • ความต้องการไก่เนื้อเพิ่มสูงขึ้น 4%เนื่องจากปัญหาโรคไข้หวัด 2009 • ปี 2552 ราคาไก่เนื้อหน้าฟาร์มเพิ่มขึ้นจาก กก.ละ 29 เป็น 39-40 บาท • ราคาไก่รุ่นพันธุ์เนื้อที่เกษตรกรขายได้ ในสัปดาห์ที่ 3 เดือนมิถุนายน 2553 (วันที่ 21 – 27 มิถุนายน 2553 ) อยู่ที่ กิโลกรัมละ 45.48 บาท • และปัจจุบันตลาดส่งเนื้อไก่ที่สำคัญคือ EU (48%)และ ญี่ปุ่น (39%) • โดยส่งออกในรูปเนื้อไก่ปรุงสุก
สถานการณ์การผลิตไก่ไข่สถานการณ์การผลิตไก่ไข่ • ปี 2547 เกิดไข้หวัดนก มีการทำลายไก่ไข่ประมาณ 10 ล้านตัว • ในปี 2549 ราคาไข่ไก่เฉลี่ยอยู่ที่ 1.66 บาท ขาดทุนกันตลอดทั้งปี • ในปี 2550 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.90 บาท คาบเกี่ยวระหว่างขาดทุนกับเท่าทุน • และตลอดครึ่งปี 2551 ราคาเคยสูงขึ้นไปถึง 2.50 บาทในระยะสั้นๆ แต่สุดท้ายก็อ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 2.00 บาท • มิถุนายน 2553 ราคาไข่ไก่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากราคาฟองละ 2.70 บาทเป็นราคาฟองละ 2.80 บาทซึ่งเป็นผลมาจากสภาพอากาศร้อนจัดทำให้แม่ไก่กินอาหารน้อย และออกไข่ได้ปริมาณน้อยลง
สถานการณ์การผลิตสัตว์น้ำ • การผลิตสัตว์น้ำได้แก่การผลิต กุ้ง หอย ปู ปลาและการผลิตสัตว์น้ำเพื่อส่งออกได้แก่การผลิตกุ้งตามชายฝั่งทะเล โดยประเทศไทยส่งออกกุ้งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนใหญ่
สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ • กระต่าย เคยเลี้ยงกันอย่างกว้างขวางใน 2520 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการจำหน่ายเนื้อและหนัง แต่ปัจจุบันล้มเลิกไปแล้ว ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุจากโรคและปัญหาด้านการตลาด • สุกรป่า มีวัตถุประสงค์เพื่อจำหน่ายพันธุ์และเนื้อแก่ผู้ชอบบริโภคของป่า แต่สุกรป่ามีการเจริญเติบโตช้าและดุร้าย และในปัจจุบันก็ยังมีการเพาะเลี้ยงอยู่ และจำนวนการเลี้ยงก็เพิ่มขึ้น
สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่สัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ • กวาง วัตถุประสงในการเลี้ยงกวางคือ เลี้ยงเพื่อตัดเอาเขาอ่อนกวาง ซึ่งใช้ทำยา, เพื่อบริโภคเนื้อ, เพื่อกิจการท่องเที่ยวและอื่นๆ และการเลี้ยงกวางจะต้องมีใบอนุญาตุจากกรมป่าไม้ • นกกระจอกเทศ ประโยชน์จากนกกระจอกเทศคือ เนื้อ หนัง ไข่ และขน
อุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกรอุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกร 1. ปัญหาด้านการผลิต • โรคระบาด • ขาดการวางแผนด้านการผลิตทำให้ผลผลิตล้นตลาด • ต้นทุนอาหารที่ผันผวน
อุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกรอุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกร 2. ปัญหาด้านการตลาดและการแปรรูป • - ขาดองค์กรของเกษตรกรที่แข็งแกร่ง • - มีการปั่นราคาและลดราคาชั่วคราว • - ระบบฆ่าและชำแระยังไม่ทันสมัย
อุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกรอุปสรรคในการผลิตสัตว์ปีกและสุกร 3. ปัญหาการขยายตลาดไปยังต่างประเทศ • มีการรังเกียจเรื่องโรคระบาดในสุกร • มีปัญหาการปนเปื้อนของสารตกค้าง ยา และปัญหาการใช้สารเร่งเนื้อแดง • ปัญหาเรื่องไข้หวัดนกในสัตว์ปีก (Bird flu) • มีการแข่งขันด้านราคากับประเทศที่พัฒนาแล้ว
อุปสรรคในการผลิตโคและกระบืออุปสรรคในการผลิตโคและกระบือ 1. ปัญหาด้านการผลิต • การทิ้งไร่นาและการล้มละลายของเกษตรกรรายย่อย ทำให้การเลี้ยงสัตว์ลดลง • ราคาที่ดินที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์สูงเกินจริง • โรคระบาดยังมีอยู่กว้างขวาง • มีการหลงกระแสในการเลี้ยงโคสวยงาม ซึ่งราคาไม่คงที่
อุปสรรคในการผลิตโคและกระบืออุปสรรคในการผลิตโคและกระบือ 2. ปัญหาการตลาด • ขาดมาตรการป้องกันการลักลอบนำเข้า ทำให้ราคาโคในประเทศไม่สูงพอ • มาตรฐานในการซื้อขายทั้งเนื้อและนมอาจยังไม่เหมาะสม • ปัจจุบันการผลิตเนื้อและนมยังไม่เพียงพอ
อุปสรรคในการผลิตโคและกระบืออุปสรรคในการผลิตโคและกระบือ 3. การค้ากับต่างประเทศ • การเปิดเสรีทางการค้ามีปัญหาด้านค่าจ้างแรงงานสูงและผลผลิตที่ได้จากสัตว์ต่ำ เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
จบข่าว http://www4.csc.ku.ac.th/~fnawwm
กระบือแม่น้ำ (River type) กระบือพันธุ์ มูร่าห์ (Murrah)
Bison American Bison(Bison bison) European Bison(Bison bonasus)
แกะพันธุ์บาร์บาโดส แบลคเบลลี่
โฮลสไตน์ ฟรีเชียน หรือ ขาวดำ