1 / 63

ข้อมูลประกอบการนำเสนอ

โรคสมาธิสั้น ADHD Attention Deficit Hyperactiv e Disorder นำเสนอโดย พญ.นันทิยา จีระทรัพย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ 21 พฤษภาคม 2553. ข้อมูลประกอบการนำเสนอ. เนื้อหาบางส่วนได้จากสไลด์ผลงานของ รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น

yazid
Download Presentation

ข้อมูลประกอบการนำเสนอ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โรคสมาธิสั้นADHDAttention Deficit Hyperactive Disorderนำเสนอโดยพญ.นันทิยา จีระทรัพย์จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นโรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์21พฤษภาคม 2553

  2. ข้อมูลประกอบการนำเสนอข้อมูลประกอบการนำเสนอ เนื้อหาบางส่วนได้จากสไลด์ผลงานของ รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล สาขาวิชาจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

  3. โรคสมาธิสั้น คืออะไร • ความผิดปกติของสมอง(neuropsychiatric disorder)ที่ทำให้เด็กมีความบกพร่องของสมาธิและความสามารถในการควบคุม ตัวเอง • - สมาธิสั้น(inattentiveness) • -ซน(hyperactivity) • -หุนหันพลันแล่น(impulsivity)

  4. พบโรคนี้บ่อยแค่ไหน • - 3-5% ของเด็กวัยเรียน • - เด็กผู้ชายจะมีอาการซน , หุนหันพลันแล่น และก่อให้ • เกิดปัญหาพฤติกรรมบ่อยกว่าเด็กผู้หญิง • - อาการขาดสมาธิ พบได้บ่อยพอๆกันทั้งในเด็กชาย • และเด็กหญิง

  5. สิ่งที่ครูมักจะเขียนในสมุดพกสิ่งที่ครูมักจะเขียนในสมุดพก • ไม่ค่อยตั้งใจเรียน • ขาดความรับผิดชอบ ขาดระเบียบวินัย • ชอบคุยในห้องเรียน • ขาดความรอบคอบ ทำงานไม่เรียบร้อย • วอกแวกง่าย ต้องคอยกระตุ้นบ่อยๆ • อยู่ไม่นิ่ง ชอบลุกเดินในห้องเรียน

  6. การวินิจฉัย • กลุ่มอาการขาดสมาธิ • 1. ไม่มีสมาธิ • 2. ไม่รอบคอบ ทำงานผิดพลาด สะเพร่า • 3. ขาดความตั้งใจเวลาทำงาน • 4. ดูเหมือนไม่ฟังเวลาพูด • 5. ทำงานไม่เสร็จ ไม่มีระเบียบ • 6. วอกแวกง่าย

  7. 7. หลงลืม • 8. ทำของใช้ส่วนตัวหายเป็นประจำ • 9. หลีกเลี่ยงงานที่ต้องใช้ความคิด

  8. กลุ่มอาการซนอยู่ไม่นิ่งกลุ่มอาการซนอยู่ไม่นิ่ง • 1. ยุกยิก อยู่ไม่สุข • 2. ชอบลุกจากที่นั่ง • 3. วิ่ง, ปีนป่าย, เล่นโลดโผน • 4. ไม่สามารถเล่นหรืออยู่เงียบๆได้ เล่นเสียงดัง • 5. พลังงานเหลือเฟือ ซนมากตั้งแต่ตื่นนอนจน • เข้านอน • 6. พูดมาก พูดไม่หยุด

  9. กลุ่มอาการหุนหันพลันแล่นกลุ่มอาการหุนหันพลันแล่น • 1) โพล่งคำตอบออกมาก่อนคำถามจบ • 2) ใจร้อน รอคอยอะไรไม่ค่อยได้ • 3) ชอบพูดแทรกขณะผู้อื่นกำลังพูดอยู่

  10. อาการเกิดก่อนอายุ 7 ปี ส่วนใหญ่จะเห็นชัดเจนในช่วงอายุ 3-6 ปี • อาการต้องแสดงออกให้เห็นชัดเจนในหลาย ๆ สถานที่ เช่น ที่บ้าน และที่โรงเรียน

  11. สาเหตุ • ความไม่สมดุลของสารเคมีในสมอง(Dopamine&Norepinephrine turnoverต่ำกว่าปกติ ) • กรรมพันธุ์ • สิ่งแวดล้อม

  12. ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้นความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับโรคสมาธิสั้น • “ลูกไม่น่าเป็นสมาธิสั้น เพราะเขาดูทีวี เล่น com. เล่นวิดีโอเกม ได้นานเป็นชั่วโมงๆ ” • “ลูกเขาเล่นของเล่นที่เขาชอบได้ตั้งนาน” • “เด็กซนเป็นเด็กฉลาด” • “เขาก็เป็นแค่เด็กซนๆคนหนึ่งเท่านั้น” • “โรคสมาธิสั้น เป็นแค่แฟชั่นอย่างหนึ่งของสังคม”

  13. แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้อย่างไรแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคสมาธิสั้นได้อย่างไร • รวบรวมประวัติอย่างละเอียด (จากครู และผู้ปกครอง) • ตรวจร่างกาย การมองเห็น การได้ยิน • ตรวจความจำ สมาธิ ความสามารถในการวิเคราะห์ • ไม่มีการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ หรือ เอ็กซเรย์ที่ใช้ในการวินิจฉัย

  14. การรักษา • การปรับพฤติกรรม + ปรับวิธีการเลี้ยงดู • การปรับสิ่งแวดล้อมของเด็ก • การปรับการเรียนการสอน • การใช้ยา • การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การผสมผสานหลายๆวิธีเข้าด้วยกัน

  15. วิธีเสริมสร้างทักษะการเรียนให้เด็กสมาธิสั้น...เทคนิคสำหรับครู/อาจารย์วิธีเสริมสร้างทักษะการเรียนให้เด็กสมาธิสั้น...เทคนิคสำหรับครู/อาจารย์

  16. ปัญหาของเด็กสมาธิสั้นที่ทำให้เรียนได้ไม่ดีปัญหาของเด็กสมาธิสั้นที่ทำให้เรียนได้ไม่ดี • เหม่อ ใจลอย ไม่สนใจเรียน วอกแวกง่าย • อู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ • หลงลืมง่าย • ขาดการวางแผนล่วงหน้า • ทำงานชุ่ย ทำงานไม่เรียบร้อย สะเพร่า

  17. ปัญหาของเด็กสมาธิสั้นที่ทำให้เรียนได้ไม่ดีปัญหาของเด็กสมาธิสั้นที่ทำให้เรียนได้ไม่ดี • แบ่งเวลาไม่เป็น • ขาดระเบียบ • ไม่อดทน ล้มเลิกง่าย • หลีกเลี่ยงการทำการบ้าน • หลีกเลี่ยงการทบทวน อ่านหนังสือ

  18. วิธีแก้ปัญหาเหม่อ ใจลอย วอกแวกง่าย • จัดที่นั่งให้เหมาะสม ลดสิ่งที่จะทำให้วอกแวก • ตกลงวิธีเตือนกับเด็ก หลีกเลี่ยงการเรียกชื่อบ่อยๆ • สอนให้เร้าใจ สนุก ทำเนื้อหาให้น่าสนใจ น่าติดตาม • สลับให้เด็กได้มีการเคลื่อนไหวบ้าง

  19. วิธีแก้ปัญหาอู้ ยืดยาด เฉื่อย ทำงานช้า ทำงานไม่เสร็จ • กำหนดเวลา • สร้างแรงจูงใจ • เริ่มต้นงานกับเด็ก • ใช้การสัมผัสที่นุ่มนวล • แบ่งงานเป็นส่วนเล็กๆ พักสั้นๆบ่อยๆ • ให้เวลาทำงานนานกว่าเด็กปกติ

  20. วิธีแก้ปัญหาหลงลืมบ่อยวิธีแก้ปัญหาหลงลืมบ่อย • เขียนคำสั่งให้ชัดเจน ทำเป็นเอกสารให้เด็กทบทวน • ให้เด็กทบทวนคำสั่ง หรือเนื้อหาบ่อยๆ • มีวิธีเตือนความจำที่เหมาะสม เช่น ป้าย, post-it, นาฬิกาปลุก • มีตารางกำกับ ฝึกบ่อยๆให้เคยชิน • ฝึกให้เด็กรู้จักการทำ check-list • อนุญาตให้เด็กใช้อุปกรณ์บันทึกเสียง

  21. วิธีแก้ปัญหาการขาดการวางแผนล่วงหน้าวิธีแก้ปัญหาการขาดการวางแผนล่วงหน้า • สอนให้เด็กรู้จักใช้ planner • ฝึกให้เด็กหยุดตัวเอง...คิดก่อนทำ

  22. วิธีแก้ปัญหาการแบ่งเวลาไม่เป็นวิธีแก้ปัญหาการแบ่งเวลาไม่เป็น • สอนให้เด็กรู้จักการ “กะ” เวลา ฝึกบ่อยๆ เล่นเป็นเกม • บันทึกเวลาการทำงานของตัวเอง • ทำตารางเวลาเพื่อกำกับแต่ละกิจกรรม • สอนให้ย่อยงาน แล้วกำหนดเวลาการทำงานแต่ละส่วน

  23. วิธีแก้ปัญหาการแบ่งเวลาไม่เป็นวิธีแก้ปัญหาการแบ่งเวลาไม่เป็น • สอนให้รู้จักใช้นาฬิกาปลุก, timer • เตือนเด็กล่วงหน้าถึงเวลาที่เหลือ • สอนให้ทำ “to do list” • Weekly, Monthly Planner

  24. วิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบวิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบ • สอนให้เด็กใช้แฟ้มเจาะรูสำหรับเก็บเอกสาร • สอนให้เด็กทำป้ายติดบนแฟ้ม, หนังสือ, สิ่งของ • ป้ายควรเป็นรหัสสี หรือตัวเลขที่เด็กดูรู้และเข้าใจง่าย • มีแฟ้มสำหรับใส่การบ้านที่ต้องทำ, การบ้านที่ทำเสร็จแล้ว, การบ้านที่ต้องส่ง

  25. วิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบวิธีแก้ปัญหาขาดระเบียบ • สอนให้เด็กจัดโต๊ะเรียนทุกวันก่อนกลับบ้าน จัดกระเป๋านักเรียนทุกวันก่อนนอน • เลือกใช้กล่องดินสอ, กระเป๋านักเรียนที่แบ่งเป็นช่องๆไว้แล้วอย่างเป็นระเบียบ • จัดห้องเรียนให้เป็นระเบียบ เป็นตัวอย่างหรือหาตัวอย่างของเด็กที่เป็นระเบียบให้เด็กได้เลียนแบบ

  26. การรักษาทางเลือก (Alternative Treatments) • กีฬา การละเล่น ดนตรี ศิลปะ • กิจกรรมบำบัด (Occupational Therapy), Sensory Integration (SI) Training • การฝึกสติ นั่งสมาธิ • Neurofeedback(EEG, HEG Biofeedback) • Interactive Metronome (IM) Training • Hyperbaric chamber • Horse therapy

  27. การละเล่นไทย

  28. งานบ้าน

  29. กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี... กิจกรรม...การละเล่น...กีฬา...ศิลปะ...ดนตรี...

  30. ข้อคิดถึงพ่อแม่ผู้มีหวัง....ข้อคิดถึงพ่อแม่ผู้มีหวัง....

  31. วิธีการเป็นพ่อแม่เด็กสมาธิสั้นวิธีการเป็นพ่อแม่เด็กสมาธิสั้น เข้าใจ ให้กำลังใจตัวเอง และลูก เข้าใจในอารมณ์ ความรู้สึกของลูก (empathy) ยอมรับ มีหวัง อดทน พึ่งตัวเอง คบกัลยาณมิตร สำรวจจิต ผู้เลี้ยงต้องมีสติ ฝึกให้ตัวเองและลูก มองอะไรในแง่บวก

  32. มีความสุขกับสิ่งที่มี ไม่ใช่สิ่งที่หวัง..แหละทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด ไม่ตามใจ ไม่โอ๋ ไม่ใจอ่อน มองหาพรสวรรค์ที่อาจซ่อนเร้นอยู่ในตัวลูก เปิดโอกาสให้เด็กได้ทำอะไรด้วยตัวเอง กอดลูกทุกวัน ชมลูกบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการตี หรือการทำโทษด้วยวิธีที่รุนแรง ให้เวลาที่มีคุณภาพแก่ลูก วิธีการเป็นพ่อแม่เด็กสมาธิสั้น

  33. หยุดบ่นซะทีได้มั้ยคับ...คุณแม่หยุดบ่นซะทีได้มั้ยคับ...คุณแม่ ผมเบื่อจะแย่อยู่แล้ว....

  34. สูตรแห่งความสำเร็จสำหรับพ่อแม่เด็กสมาธิสั้นสูตรแห่งความสำเร็จสำหรับพ่อแม่เด็กสมาธิสั้น • ยอมรับ • ปรับทัศนคติ • เติมเต็มความรัก ความเข้าใจ • แสวงหาความรู้ใหม่ๆ • ปรึกษากัลยาณมิตร • หมั่นมองเด็กในด้านบวก • เปี่ยมด้วยความหวัง • ผนึกกำลังในครอบครัว

  35. mยาจะช่วยอะไรบ้าง เด็กจะรู้ว่าตัวเองมีคุณค่า และ สามารถทำอะไรให้สำเร็จได้ มีสมาธิยาวขึ้น, ช่วยให้เด็กควบคุมตัวเองได้ดีขึ้น ทำให้เด็กดูสงบลง ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น ทำให้เข้ากลุ่มกับเพื่อนดีขึ้น ดื้อน้อยลง

More Related