1 / 48

การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย และ รังสีร่วมรักษา งานรังสีวินิจฉัย

การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย และ รังสีร่วมรักษา งานรังสีวินิจฉัย. รังสีที่ใช้ทางการแพทย์มี 3 งาน 1. งานรังสีวินิจฉัย 2. งานรังสีรักษา 3. งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์.

Download Presentation

การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัย และ รังสีร่วมรักษา งานรังสีวินิจฉัย

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษางานรังสีวินิจฉัยการตรวจพิเศษทางรังสีวินิจฉัยและรังสีร่วมรักษางานรังสีวินิจฉัย

  2. รังสีที่ใช้ทางการแพทย์มี 3 งาน1. งานรังสีวินิจฉัย 2. งานรังสีรักษา 3. งานเวชศาสตร์นิวเคลียร์

  3. งานรังสีวินิจฉัยแบ่งการตรวจได้เป็น -การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ทั่วไป -การตรวจพิเศษโดยการให้ผู้ป่วยกิน หรือฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในร่างกายและ ถ่ายภาพเอ็กซเรย์

  4. การตรวจพิเศษทางรังสีของทางเดินอาหาร - หลอดอาหาร (Barium Swallowing) - กระเพาะอาหาร (Upper GI Study) - ลำไส้ใหญ่ (Barium Enema)

  5. การตรวจพิเศษทางรังสีของหลอดอาหาร(Barium Swallowing) คือ การตรวจดูความผิดปกติของหลอดอาหาร โดยให้ผู้ป่วยดื่มสารทึบรังสี(Barium Sulphate)พร้อม กับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของหลอดอาหาร

  6. วัตถุประสงค์ของการตรวจ เพื่อดูความผิดปกติของหลอดอาหารเนื่องจาก 1. เส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร 2. เนื้องอกของหลอดอาหาร 3. หลอดอาหารตีบตัน 4. ความผิดปกติแต่กำเนิดของหลอดอาหาร

  7. การเตรียมตัวก่อนการตรวจไม่จำเป็นต้องงดน้ำหรืออาหารการปฏิบัติตัวในวันตรวจ- เปลี่ยนเสื้อผ้าและไม่ใส่เครื่องแต่งกายที่มีส่วนประกอบ ของ โลหะ - ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ - เมื่อมีอาการผิดปกติใดๆขณะทำการตรวจต้องบอกเจ้า หน้าที่

  8. อันตรายจากการตรวจอาจเกิดอาการแพ้สารทึบรังสีได้ (แต่มีโอกาสเกิดได้น้อย)ข้อห้ามของการตรวจ- กระเพาะอาหารทะลุ - มีประวัติแพ้สารทึบรังสี(Barium Sulphate) - หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการตรวจชนิดนี้

  9. การตรวจพิเศษทางรังสีของกระเพาะอาหาร (Upper GI Study)คือ การตรวจดูความผิดปกติของกระเพาะอาหารและ ลำไส้เล็กส่วนต้นโดยวิธีการให้ผู้ดื่มสารทึบรังสี(Barium Salphate)พร้อมกับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น

  10. วัตถุประสงค์เพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก 1. แผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก 2. กระเพาะอาหารตีบตัน 3. เส้นเลือดโป่งพองที่ส่วนปลายของหลอดอาหาร 4. เนื้องอกในกระเพาะอาหาร 5. เนื้องอกในช่องท้องที่กดหรือเบียดกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ส่วนต้น เช่น เนื้องอกของตับอ่อน

  11. การเตรียมตัวก่อนการตรวจ ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารตั้งแต่ เวลา 24.00น. ก่อนวันตรวจ

  12. การตรวจพิเศษทางรังสีของลำไส้ใหญ่(Barium Enema) คือ การตรวจดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ โดย การสวนสารทึบรังสี(Barium Salphate)ทางทวารหนัก พร้อมกับการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ของลำไส้ใหญ่

  13. วัตถุประสงค์ของการตรวจ เพื่อดูความผิดปกติของลำไส้ใหญ่อันเนื่องมาจาก 1. แผลในลำไส้ใหญ่ 2. ลำไส้ใหญ่อุดตัน 3. เนื้องอกในลำไส้ใหญ่ 4. เนื้องอกในช่องท้องที่กดเบียดลำไส้ใหญ่ เช่น เนื้องอกของรังไข่ 5. ความผิดปกติแต่กำเนิดของลำไส้ใหญ่ เช่น ลำไส้โป่งพอง

  14. การเตรียมตัวก่อนการตรวจ 1. รับประทานอาหารอ่อน 2-3 วัน ก่อนการตรวจ 2. ก่อนตรวจ 2 วัน ให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบายวัน ละ 60 CC. 3. งดน้ำงดอาหารและยาทุกชนิด ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ก่อนวันตรวจ 4. ควรสวนอุจจาระก่อนตรวจ 2 ชั่วโมง ก่อนที่ส่งตรวจ 5. ให้ผู้ป่วยมาตามเวลานัด แนะนำให้ญาติมาด้วย 1 คน

  15. อันตรายจากการตรวจ ผู้ป่วยอาจแพ้สารทึบรังสีได้(แต่มีโอกาสน้อยมาก)ข้อห้ามในการตรวจ - ลำไส้ทะลุ หรือลำไส้อักเสบรุนแรง - หญิงตั้งครรภ์ - ผู้มีประวัติแพ้สารทึบรังสี

  16. การตรวจระบบถุงน้ำดี(Biliary Tract) ถุงน้ำดี(Gall Bladder) เป็นที่เก็บน้ำดีไว้ช่วยย่อย อาหารไขมัน เวลารับประทานอาหารไขมันเข้าไป มากๆ ถุงน้ำดีจะหดตัวบีบเอาน้ำดีที่เก็บไว้ลงสู่ลำไส้ คลุกไปกับอาหาร มันๆ

  17. ถุงน้ำดีอักเสบเนื่องจากสาเหตุที่พบบ่อย 2 ประการด้วยกัน ได้แก่ 1. เป็นนิ่ว แล้วนิ่วไปขวางทางเดินของน้ำดี ทำให้เกิด อาการเจ็บปวด 2. เนื่องจากเชื้อโรค(Infection)

  18. อาการของโรค ปวดท้องใต้ชายโครงด้านขวา มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน อาจมีอาการตาเหลืองด้วย ถ้าถุงน้ำดีโป่ง มากๆ อาจคลำได้เป็นก้อนอยู่ภายใต้ชายโคลง

  19. ประเภทการตรวจ Biliary Tract แบ่งออกเป็น 1. Oral Cholecystography 2. Intravenous Cholecystography 3. Cholangiography

  20. Oral Cholecystography เป็นวิธีการตรวจ ทางรังสีของถุงน้ำดี โดยให้กินสารทึบรังสี (Opaque Media)ประกอบการถ่ายภาพเอ็กซเรย์ภายหลังจาก กินสารทึบรังสีเข้าไป 14 ชั่วโมง ในการตรวจครั้ง แรกนี้จะทำแบบSingle Dose ก่อน ถ้าไม่เห็นถุงน้ำดี ก็จะทำ Double Dose ต่อ และถ้าปรากฏว่าสียังไม่ ออก ให้ทำ Intravenous Cholecystography

  21. การเตรียมตัวก่อนตรวจ ต้องถ่าย plain Film ของถุงน้ำดีไว้ก่อน (เพื่อเปรียบเทียบ) - ในวันก่อนตรวจให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารเย็นที่ ปราศจากไขมัน เช่น เนื้อที่ไม่มีมัน ข้าว ผัก ผลไม้ ฯลฯ ห้ามรับประทานไข่ นม เนย หรืออาหารที่ผัด ด้วยน้ำมัน - ระหว่างเวลา 20.00-21.00 น.หลังอาหารเย็นให้กลืน ยาทึบรังสีชนิดเม็ด Biloptin หรือTelepaque

  22. การเตรียมตัวก่อนตรวจ- หลังจากกลืนยาหมดแล้ว งดอาหารและเครื่องดื่มทุก ชนิด จนกว่าจะตรวจเสร็จในวันรู่งขึ้น แต่อนุญาติให้ ดื่มน้ำได้บ้างเล็กน้อย- งดยาถ่าย ยาระบาย มาตรงเวลานัด - ควรสวนอุจจาระผู้ป่วยก่อนตรวจ เพื่อให้เศษ อาหารที่อยู่ในลำไส้ออกให้หมด

  23. Intravenous Cholecystographyคือ วิธี ตรวจทางรังสีของถุงน้ำดีโดยการฉีดสารทึบแสง เข้าเส้นเลือดดำที่ข้อศอก เพื่อให้สีที่ฉีดไปปรากฏ ที่ถุงน้ำดี ประกอบการถ่ายภาพเอ็กซเรย์

  24. การเตรียมตัวก่อนตรวจ- ให้ผู้ป่วยงดอาหารจำพวกไขมันในมื้อเย็น โดย ให้รับประทานอาหารอ่อนๆ - สวนอุจจาระผู้ป่วยก่อนตรวจ - ห้ามอาหารเครื่องดื่มและบุหรี่จนกว่าจะเสร็จ การตรวจ

  25. Cholangiographyเป็นการตรวจชนิดหนึ่งของ Biliary Tract เพื่อค้นหานิ่ว (Ductal Stone) หรือ การอุดตันในท่อน้ำดี (Bile Duct) โดยการฉีดสาร ทึบแสงเข้าไปใน Bile Duct และผ่าตัดหรือภายหลัง ตัดถุงน้ำดี และประกอบการถ่ายภาพรังสี

  26. ระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ประกอบด้วย - ช่องคลอด (Vagina)- ปากมดลูก (Cervix)- มดลูก (Uterus)- ท่อรังไข่ (Uterine Tube)- รังไข่ (Ovary)

  27. การตรวจในระบบสืบพันธุ์เพศหญิง 1. Hysterosalpingography 2. Pelvimetry

  28. Hysterosalpingography เป็นการตรวจทาง รังสีของท่อรังไข่(Uterine Tube) เพื่อดูความผิดปก ติหรือการอุดตันของท่อรังไข่หรือไม่ ซึ่งเป็นสาเหตุ ทำให้ไม่มีลูก โดยการฉีดสารทึบแสงเข้าไปในท่อ รังไข่ประกอบการถ่ายภาพเอ็กซเรย์

  29. การเตรียมตัวก่อนตรวจ มาตรงเวลานัด - การตรวจจะทำภายหลังมี Menstruation ไปแล้ว 8 วัน - บอกวิธีการตรวจคร่าวๆให้ผู้ป่วยรู้ เพื่อให้ความร่วม มือ - ก่อนตรวจอาจจะให้ Premedication เพื่อคลายความตึง เครียด -ให้ปัสสาวะทิ้งก่อนขึ้นเตียง

  30. Pelvimetry เป็นการตรวจทางรังสี เพื่อวัด ขนาดของศรีษะเด็กเปรียบเทียบกับกระดูกอุ้งเชิง กรานของมารดา ทำให้รู้ได้ว่าเด็กสามารถคลอด ออกมาได้ตามปกติหรือไม่

  31. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ อวัยวะของระบบขับถ่ายปัสสาวะ ได้แก่ - Kidney - Ureter - Bladder - Urethra

  32. ระบบขับถ่ายปัสสาวะ แบ่งประเภทของการตรวจออกเป็น1. Plain KUB 2. Intravenous pyelography(I.V.P.) 3. Retrograde pyelography(R.P.) 4. Nephrotomography 5. Cystography 6. Cystourethrography

  33. Intravenous pyelography (I.V.P.)เป็นวิธี การตรวจทางรังสีเพื่อดูรูปร่างลักษณะ และการทำ งานของ Kidneys Ureter และ Bladder โดยการฉีด สารทึบแสงเข้าเส้นเลือดดำ ประกอบการถ่ายภาพ เอ็กซเรย์

  34. การเตรียมตัวก่อนตรวจ 1.ในรายผู้ป่วยอายุเกิน 35 ปี ขอทราบผลตรวจ เลือด BUN/Cr. ถ้าผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์ผู้สั่ง ตรวจ 2.ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 2 วัน ก่อนตรวจ 3.คืนวันก่อนตรวจให้ผู้ป่วยรับประทานยาระบาย เวลาประมาณ 19.00 น. 4.งดน้ำ งดอาหาร งดยา บุหรี่หรือของขบเคี้ยว ต่างๆ หลังเที่ยงคืน

  35. การเตรียมตัวก่อนตรวจ 5. สวนอุจจาระก่อนมาตรวจ และมาตรงเวลานัด 6.ในระหว่างการทำการตรวจ ผู้ป่วยห้ามปัสสาวะ หรือดื่มน้ำจนกว่าการตรวจจะเสร็จสิ้น

  36. ข้อห้ามในการตรวจ I.V.P. 1. ผู้ป่วยที่มีไตเทียม (ผล BUN/Cr ผิดปกติ) 2. ผู้ป่วยมีประวัติการแพ้สารทึบรังสี 3. ผู้ป่วยที่จะต้องตรวจสอบไธรอยด์ โดยใช้ I 131 4. ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตผิดปกติ 5. หญิงมีครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการตรวจ

  37. อันตรายจากการใช้สารทึบรังสี อาการที่ไม่รุนแรงที่อาจเกิดขณะฉีดพบได้ประมาณ 4-6 % - ปวดแขนข้างที่ฉีด - ร้อนบริเวณหน้าและคอ รู้สึกแปลกๆ ในคอ - คลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม หน้ามืด ใจสั่น - รู้สึกชาหรือแปล๊บปล๊าบตามตัว ไอจาม คัดจมูก

  38. อันตรายจากการใช้สารทึบรังสี อาการรุนแรงพบได้น้อยกว่า 1 % - ลมพิษ - บวมตามหน้า ลำคอ - มีอาการหอบหืด - ความดันโลหิตลดลงจนถึง Shock - ปวดท้องอย่างรุนแรง - ชัก เขียว หัวใจหยุดเต้น อาการข้างต้นเกิดจาก Allergic Response มักเกิดขณะ กำลังฉีดสารทึบแสงหรืออาจเกิดภายใน15-30 นาทีหลังฉีด

  39. การใช้สารทึบรังสี สารทึบรังสีที่ใช้ภายในงานรังสีวินิจฉัยมีทั้ง Ionic และ Non ionic สาร Ionic ที่ใช้ภายในงานคือ Telebrix ส่วน Non Ionic ที่ใช้ Ultravist 370 และ Omipaque การที่จะใช้ Ionic หรือ Non ionic นั้นขึ้นอยู่กับการ ซักประวัติผู้ป่วย การใช้ Non ionic นั้นจะใช้กับผู้ป่วย ที่แพ้สารทึบรังสี,แพ้อาหารทะเล,เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 0-12 ปี,ผู้สูงอายุและโรคบางชนิด เช่น โรคหัวใจ

  40. การใช้สารทึบรังสี ถ้านอกเหนือจากนี้แล้วจะใช้ Ionic ในการตรวจ เนื่องจากราคาถูกแต่มีคุณสมบัติในการตรวจเหมือน กัน - ก่อนการฉีดสารทึบรังสี ให้ซักประวัติหรือตรวจดู รายงานให้ละเอียด ผู้ป่วยเคยมีประวัติการแพ้สารทึบ รังสีมาก่อนหรือไม่ - เตรียมยาที่ใช้ในกรณีฉุกเฉินให้พร้อม - เลือกชนิดของสารทึบรังสีและปริมาณที่ใช้ให้เหมาะ สมกับผู้ป่วย

  41. การใช้สารทึบรังสี- หลังฉีดสารทึบรังสีให้สังเกตอาการผู้ป่วยอย่าง ใกล้ชิดใน 5 นาทีแรก - เมื่อพ้นระยะ 5 นาที ให้เฝ้าดูแลต่อไปอีก 30 - 60 นาที เพื่อระวังอาการแพ้สารทึบรังสีที่อาจเกิดตาม มาได้อีก

  42. คำแนะนำและการดูแลผู้ป่วย 1. ขณะฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนที่คอและ หน้าอก หรือรู้สึกอยากอาเจียน ให้ผู้ป่วยหายใจ เข้าออกลึกๆ หรือหายใจทางปาก จนกว่าอาการ เหล่านั้นจะดีขึ้น 2. ผู้ป่วยที่มีประวัติเกี่ยวกับความเสี่ยง เช่น ไตวาย โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือ โรค ภูมิแพ้ หอบหืด 3. ระวังในผู้ป่วยสูงอายุและเด็ก

  43. คำแนะนำและการดูแลผู้ป่วย4. ปริมาณการใช้สารทึบรังสีขึ้นอยู่กับน้ำหนักตัว และขนาดผู้ป่วย -ในเด็ก สารทึบรังสีปริมาณ 2 CC. ต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม -ในผู้ใหญ่ ขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้สั่งแต่ไม่เกิน 50 CC.

  44. การปฏิบัติการช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการแพ้ สารทึบรังสี - ผู้ป่วยมีอาการแพ้ไม่รุนแรง เช่น มีลมพิษเกิดขึ้น น้ำมูกไหล จาม ตาแดง ผิวหนังมีผื่นคัน คันตาม ผิวหนัง ให้รายงานแพทย์ผู้ส่ง และเตรียมยาที่จำ เป็น - ผู้ป่วยมีอาการแพ้อย่างรุนแรง เช่น ความดันโลหิต ลด หายใจขัด หมดสติ ให้ปฏิบัติดังนี้ 1. ขอความช่วยเหลือจากแพทย์ หรือพยาบาล

  45. การปฏิบัติการช่วยเหลือ เมื่อผู้ป่วยมีอาการแพ้ สารทึบรังสี2. ตามวิสัญญีแพทย์โดยด่วนที่สุด 3. ขณะที่ตามแพทย์ผู้ป่วยมีอาการหยุดหายใจ หรือ หัวใจหยุดเต้น ให้รับการช่วยหายใจโดยการกระ ตุ้นหัวใจภายนอก 4. ถ้าผู้ป่วยมีอาการชัก ให้ระวังผู้ป่วยกัดลิ้นตัวเอง โดยใส่ไม้กัดลิ้น

  46. ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงาน - Emergency set ควรพร้อมใช้อยู่เสมอและมีการ ตรวจเช็คอยู่ตลอดเวลา - ถ้าผู้ป่วยมีประวัติการแพ้ยาและมีความจำเป็นที่ ต้องใช้สารทึบรังสีช่วยในการวินิจฉัยโรคควรแจ้ง แพทย์วิสัญญี และพยาบาลวิสัญญีให้พร้อมรับ สถานการณ์

  47. การนำผลงานมาใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาล 1.การตรวจระบบทางเดินปัสสาวะโดยเฉพาะไต เป็นอวัยวะที่มีความสำคัญมาก การให้การวินิจ ฉัยโรคที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจะช่วยให้ผู้ป่วย ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณ ภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งช่วยลดอัตราการตายได้ระดับ หนึ่ง 2.คำวินิจฉัยของแพทย์ในการตรวจระบบทางเดิน ปัสสาวะ สามารถนำไปเป็นแนวทางในการวาง แผนการรักษาในขั้นตอนต่อๆไป

  48. การนำผลงานมาใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาล3. เป็นการตรวจที่ยังจำเป็นต้องใช้ในการวินิจฉัย โรคผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะซึ่งมีรา คาถูกกว่าการตรวจอย่างอื่น เช่น CT หรือ MRI

More Related