300 likes | 1.5k Views
Concept Paper. นำเสนอ โดย นางสุพักตรา สำราญสุข 50120581025. เรื่อง. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ
E N D
Concept Paper นำเสนอ โดย นางสุพักตรา สำราญสุข 50120581025
เรื่อง การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา เรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Designกับ การสอนปกติ
ภูมิหลัง การคิดและการให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์สืบเนื่องจากการประชุมประจำปีของ NCTM (National Council of Teachers of athematics) เรื่อง มาตรฐานหลักสูตรและการ ประเมินผลการพัฒนาความสามารถในการคิดในการให้เหตุผล และการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ เป็นเป้าหมายหลักในการเรียนคณิตศาสตร์ถึงกระนั้นก็ดีมีนักเรียนเป็น จำนวนมากที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายนี้ด้วยเหตุผลนานาประการ นับตั้งแต่ หนังสือเรียนไม่เหมาะสมไปจนถึงงานที่ได้รับมอบหมายไม่เกิดประโยชน์ การคิดและการให้เหตุผลในคณิตศาสตร์คืออะไร ครูจะรู้ได้อย่างไรว่า นักเรียนได้มีการคิดและให้เหตุผล (สิริ ทิพย์คง : 2544)
ภูมิหลัง พื้นฐานของมาตรฐานคณิตศาสตร์ไม่ใช่แค่การมองดู หรือความรู้สึกที่เห็นหรือสังเกตได้ในชั้นเรียน หากแต่ต้องเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เด็ก ๆ ที่ยก ตัวอย่างข้างต้นนั้นได้นำเครื่องมือและกระบวนการ ที่ได้เรียนแล้วมาใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในคณิตศาสตร์ เป็นการสะท้อนผลการสอนของครู(กรมวิชาการ : 2535)
ภูมิหลัง ฉะนั้นขณะที่ท่านวางแผนสำหรับบทเรียนในอนาคต ก็ควรที่จะพยายามหาทางหลายๆทางที่ให้นักเรียนได้มีส่วนเกี่ยวข้อง และไปให้ เหนือกว่าขั้นการใช้ทักษะและกระบวนการ พยายามส่งเสริมให้นักเรียนบรรลุถึงเป้าหมายของคำว่า มาตรฐาน คือการคิดและการให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์(ชูศรี ตันพงศ์:2546)
จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 1. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับการสอนปกติ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนระหว่างเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการ เชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับ การสอนปกติ
จุดมุ่งหมายของการวิจัยจุดมุ่งหมายของการวิจัย 3. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Design กับ การสอนปกติ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นข้อสนเทศแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจ ได้มีความเข้าใจในข้อมูลที่เกิดจากการเปรียบ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์ ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเรื่อง สมการและอสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการสอนด้วยกระบวนการ Backward Designกับการสอนปกติ ซึ่งสามารถนำไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงและส่งเสริมการเรียนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ได้เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
นิยามศัพท์เฉพาะ 1.การให้เหตุผลอย่างคณิตศาสตร์หมายถึง ความสามารถในการอธิบายคำตอบ การให้เหตุผลเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆการประสมประสานความรู้เดิมการรู้จักเลือกวิธีการแก้ปัญหาการที่รู้จักนำเครื่องมือและกระบวนการ ที่ได้เรียนแล้วมาใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญในคณิตศาสตร์
นิยามศัพท์เฉพาะ 2. ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหา หมายถึง กระบวนการคิดแก้โจทย์ปัญหาอย่างเป็นระบบ หมายถึง ขั้นตอนการคิดแก้โจทย์ปัญหา ตามลำดับขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 การอ่านโจทย์เพื่อตีความวิเคราะห์ ขั้นที่ 2 กระบวนการคิดแก้ปัญหา ขั้นที่ 3 การเขียนอธิบายวีคิด ขั้นที่ 4 การแสดงวิธีหาคำตอบและตรวจสอบ
นิยามศัพท์เฉพาะ 3. กระบวนการมองปัญหาแบบย้อนกลับ (Backward Design) หมายถึง กระบวนการคิดแก้ปัญหาที่มองจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น แล้วแยกแยะปัญหาไปสู่เหตุที่นำมา มีขั้นตอน ดังนี้
Backward Design 1. กำหนดเป้าหมายหลักของการเรียนรู้ - วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Established Goals) - ความรู้ความเข้าใจที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุตามจุดมุ่งหมาย การเรียนรู้ (Understanding) - คำถามสำคัญสำหรับการเรียนรู้ (Essential Questions) ความรู้และทักษะที่ต้องการให้เกิดตามจุดมุ่งหมายหลักของ การเรียนรู้ (Knowledge & Skills)
Backward Design 2.กำหนดวิธีการวัดประเมินผลการเรียนรู้ -หลักฐานที่แสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ และความคิดรวบยอดของผู้เรียน (Performance Task) -การวัดประเมินผลย่อย -การประเมินตนเองและสะท้อนผลการเรียนรู้ของผู้เรียน (Self-assessment)
Backward Design 3. กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ - กำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
เอกสารอ้างอิง สิริพร ทิพย์คง.รศ.,”การแก้ปัญหาคณิตศาสตร์”.กรมวิชาการ,2544 กรมวิชาการ. “จากหลักสูตรสู่แผนการสอน”2535 ชูศรี ตันพงศ์. “ประเมินพัฒนาการ” 2546 กิตตินันท์ แวงคำ. “การเปรียบเทียบความรู้สึกเชิงจำนวน ผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องเงินและการ หารของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแผนการจัดการ เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาความรู้สึกเชิงจำนวนกับแผนการจัดการ เรียนรู้การสอนปกติ”.วิทยานิพนธ์;มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2549