1 / 30

ฐานข้อมูล ISI Web of Science

ฐานข้อมูล ISI Web of Science. แสงเดือน คำมีสว่าง บรรณารักษ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. การหาแบบ Search การค้นหาแบบ Cited Reference Search. เนื้อหาการบรรยาย. ISI Web of Science คืออะไร ?. ทำไม เราต้องใช้ ISI Web of Science?.

york
Download Presentation

ฐานข้อมูล ISI Web of Science

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ฐานข้อมูล ISI Web of Science แสงเดือน คำมีสว่าง บรรณารักษ์ ศูนย์บรรณสารและสื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง

  2. การหาแบบ Search การค้นหาแบบ Cited Reference Search เนื้อหาการบรรยาย ISI Web of Science คืออะไร? ทำไม เราต้องใช้ ISI Web of Science? เข้าใช้ ISI Web of Science ได้อย่างไร? ทำไม ต้องลงทะเบียนการเข้าใช้? การลงทะเบียน [Register] การสืบค้นข้อมูล การจัดการผลลัพธ์ เทคนิคการสืบค้น การหาค่า Impact factor การเอกสารฉบับเต็มจาก DOI / Crossref

  3. ISI Web of Science คืออะไร?  เป็นฐานข้อมูลอ้างอิง (Citation Database) ที่ให้ข้อมูลบรรณานุกรมและสาระสังเขปของรายการอ้างอิง และรายการที่อ้างถึง  เป็นฐานข้อมูลสหสาขาวิชา ครอบคลุมทุกกลุ่มสาขาวิชาไม่ว่าจะเป็นวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ จากวารสารมากกว่า 10,000รายชื่อ • ให้ข้อมูลตั้งแต่ ปี 2001 – ปัจจุบัน • ลักษณะของข้อมูลที่ให้บริการจะเป็นรูปแบบรายการบรรณานุกรม • และสาระสังเขป ในรูปแบบของ HTML โดยไม่มีบริการเอกสารฉบับเต็ม (Full Text)  สามารถสืบค้นได้โดยไม่จำกัดจำนวนผู้ใช้

  4. ทำไม เราต้องใช้ ISI Web of Science? เนื่องจาก Web of Science เป็นฐานข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้นข้อมูลการตีพิมพ์งานวิจัยของนักวิจัยในวารสารระดับนานาชาติ ฉะนั้น ข้อมูลที่เราจะสืบค้นได้ก็จะเป็นข้อมูลที่ว่า นักวิจัยคนหนึ่งมีผลงานตีพิมพ์กี่รายการ อะไรบ้าง อยู่ในวารสารฉบับไหน แต่ละรายการมีการใช้รายการอ้างอิงเท่าไหร่ ซึ่งจะตีความได้ว่า นักวิจัยเรื่องนั้น ได้ศึกษา ค้นคว้าเรื่องนั้นมากน้อยแค่ไหน นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลว่าแต่ละรายการได้รับการอ้างถึง (Cited) เท่าใด  ใครนำไปอ้างถึงบ้าง  ซึ่งจำนวนการอ้างถึงผลงานวิจัยก็เป็นเสมือนเป็นการให้คะแนนความมีคุณค่าของผลงานวิจัยชิ้นนั้น ยิ่งมีการนำไปอ้างถึงมาก ยิ่งทำให้ตีความได้ว่า งานวิจัยนั้นได้รับการยอมรับ นอกจากนี้ Web of Science ยังสามารถใช้สืบค้น Impact Factor ของวารสารได้อีกต้วย

  5. เข้าใช้ ISI Web of Science ได้อย่างไร? นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากร ของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงสามารถเข้าใช้บริการฐานข้อมูล ISI Web of Science ได้จากทุกสำนักวิชา /หน่วยงาน / หอพักนักศึกษา หรือผ่านระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ภายในมหาวิทยาลัยภายใต้ระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย ส่วนกรณีใช้ที่บ้านหรือที่ทำงานนอกมหาวิทยาลัยให้ใช้ผ่านระบบ SSL VPN สามารถ Download โปรแกรมและคู่มือการติดตั้งได้ที่ http://www.mfu.ac.th/center/lib/DB%20PPT/How%20to%20connect%20MFU%20internet%20from%20outside.pdf โดยใช้ Username และ Password ที่ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศออกให้ กรณีมีคำถาม หรือเข้าใช้งานไม่ได้ โปรดติดต่อฝ่ายระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศ ชั้น 3 อาคาร RE โทร. 0-5391-6397 หรือ E-mail: network@mfu.ac.th

  6. ทำไม ต้องลงทะเบียนการเข้าใช้? การใช้ฐานข้อมูล ISI Web of Science ผู้ใช้สามารถเข้าใช้ฐานได้เลยไม่จำเป็นต้องลงทะเบียน ถ้าใช้ผ่านระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย แต่การลงทะเบียนก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้บริการเสริมอื่นๆ ของ ISI Web of Science ได้ เช่น - การ Save Search - การใช้ E-mail Alerts - การเก็บ Marked List - การใช้ Endnote Web ฯลฯ

  7. การลงทะเบียน [Register] จากหน้าHOME การลงทะเบียนเป็นสมาชิก ให้ใช้เม้าท์คลิกที่Register

  8. การลงทะเบียน [Register] ระบบจะให้ตรวจสอบ e-mail ที่เราจะใช้สมัคร เมื่อพบว่ายังไม่เคยสมัครให้กรอกข้อมูลส่วนตัวลงในแบบฟอร์มและทำการ Submit หมายเหตุ - หัวข้อที่มี * สีแดงหมายถึงต้องกรอกข้อมูลในช่องนั้นให้ครบหากไม่ใส่จะไม่สามารถลงทะเบียนได้ - การตั้งรหัสผ่าน ใช้อักษร 8 ตัวขึ้นไป และประกอบไปด้วยตัวเลข ตัวอักษร และอักขระพิเศษ เช่น @ < > เป็นต้น

  9. การสืบค้นข้อมูล การค้นหาข้อมูลใน ISI Web of Scienceจำแนกออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ดังนี้ 1. Search เป็นการค้นหาบทความจากคำสำคัญในหัวเรื่อง ชื่อเรื่อง ผู้แต่ง ชื่อวารสาร เป็นต้น 2. Cited Reference Search เป็นการค้นหาข้อมูลที่บทความนำมาอ้างอิง ซึ่งอาจเป็นบทความ หนังสือ หรือ สิทธิบัตร เป็นต้น หรือ ต้องการค้นหาว่ามีใครนำผลงานนี้ไปอ้างอิงในบทความบ้าง

  10. การค้นหาแบบ Search 1. พิมพ์คำหรือวลีลงในช่องรับคำค้น 2. ระบุเขตข้อมูลที่ต้องการสืบค้น เช่น Topic, Title, Author, Publication Name, Address เป็นต้น3. ระบุคำเชื่อมหากมีคำค้นมากกว่า 1 คำ4. คลิกที่ Change Limits เพื่อเลือก ช่วงเวลาตีพิมพ์ของเอกสารจากส่วน Timespanและ เลือกฐานข้อมูลที่จะใช้ใน การสืบค้นจากส่วน Citation Databases5. คลิก Search เพื่อสืบค้นข้อมูล *Topic = ค้นจากทุกเขตข้อมูลใน บรรณานุกรมรวมถึงบทคัดย่อ

  11. หน้าแสดงผลลัพธ์ของ Search 1. แสดงจำนวนผลลัพธ์ที่พบ2. สืบค้นเฉพาะภายในรายการผลลัพธ์ปัจจุบัน จากส่วน Search within results for เพื่อจำกัดผลลัพธ์ให้แคบลง โดยพิมพ์คำหรือวลี และคลิกที่ปุ่ม Search3. Refine Results เป็นการปรับปรุงหรือกรองผลลัพธ์ที่ได้จากการสืบค้นเดิมให้แคบลงได้จาก โดยเลือกรูปแบบในการแสดงผล เช่น Subject Areas, Document Types, Authors, Source Titles, Publication Years, Institutions, Languages, Countries/Territories โดยคลิกเครื่องหมายถูกหน้าหัวเรื่องที่ต้องการ หรือคลิกที่ more เพื่อแสดงหัวเรื่องทั้งหมด จากนั้นคลิกที่ Refine เพื่อแสดงผล 4. เลือกจัดการผลลัพธ์ที่ค้นพบได้หลายรูปแบบ เช่น สั่งพิมพ์, ส่งทาง E-mail, จัดเก็บรายการ, บันทึกข้อมูล, ส่งออกรายการบรรณานุกรม เป็นต้น 5. คลิกที่ Sort by เพื่อจัดเรียงลำดับผลลัพธ์ใหม่ตาม Latest Date, Times Cited, Relevance, First Author, Source Title, Publication Year เป็นต้น6. คลิกที่บทความเพื่อดูข้อมูลโดยละเอียด หรือคลิกที่ตัวเลขที่ Times Cited เพื่อดูรายการบทความที่อ้างถึง

  12. การค้นหาแบบ Cited Reference Search เลือกสืบค้นจากหน้า Home 1. คลิกที่ Cited Reference Search 2. Cited Author: พิมพ์นามสกุล หรือ ตามด้วยอักษรแรกของผู้แต่งที่ต้องการค้นหา3. Cited Work: พิมพ์อักษรย่อของชื่อสิ่งพิมพ์ หรือ คลิกที่ journal abbreviation list เพื่อตรวจอักษรย่อจากรายการของชื่อสิ่งพิมพ์4. Cited Year(s): พิมพ์ปี หรือช่วงของปีที่ตีพิมพ์5. คลิกที่ Search

  13. ผลลัพธ์ของ Cited Reference Search 1. คลิกที่ช่องหน้า Record ที่ต้องการเลือกได้มากกว่าหนึ่ง และคลิกที่ปุ่ม Finish Search เพื่อเรียกดูรายการบทความที่อ้างถึง (Citing Article) 2. Cited Author : รายชื่อผู้แต่งที่ได้รับการอ้างอิง 3. Cited Work : ชื่อของสิ่งพิมพ์ ซึ่ง สามารถเรียกแสดงชื่อเรื่องไปพร้อมกันด้วย คลิกที่ Show Expanded Titles 4. Year : ปีที่พิมพ์ 5. Volume : เล่มที่ Volume 6. Page : เลขหน้า 7. Citing Articles : จำนวนครั้งที่บทความ (Record) นี้ได้รับการอ้างถึง 8. คลิกที่ View Record ในรายการที่ปรากฏ เพื่อดูข้อมูลโดยละเอียด

  14. การแสดงหน้าจอบทคัดย่อการแสดงหน้าจอบทคัดย่อ 1. รายละเอียดของบทความ ประกอบด้วย ชื่อบทความ ผู้แต่ง แหล่งข้อมูล 2. Times Cited : จำนวนการถูกอ้างอิง (เฉพาะในฐานข้อมูล Web of Science) 3. Cited References: จำนวนเอกสารที่นำมาอ้างอิง 4. บทคัดย่อและรายละเอียดของบทความ 5. จำนวนและรายละเอียดของบทความที่นำไปอ้างอิงทั้งหมด 6. จำนวนและบทความที่นำมาอ้างอิง

  15. การจัดการผลลัพธ์ Print/E-mail/Save/Export Reference 1. คลิกเลือกหน้ารายการที่ต้องการ 2. เลือกรูปแบบการจัดการผลลัพธ์ เก็บไว้ใน Marked List Print E-mail การ export สู่โปรแกรมจัดการบรรณานุกรม

  16. เทคนิคการสืบค้น • ตัวเชื่อมเพื่อสร้างเงื่อนไขการสืบค้น คือ AND OR NOT SAME • การค้นหากลุ่มคำ หรือ วลี ให้ใช้เครื่องหมาย “...” อัญประกาศ เพื่อกำหนดลำดับและตำแหน่งของกลุ่มคำไม่ให้แยกคำ • เครื่องหมายพิเศษที่ช่วยการการสืบค้น ? ใช้แทนตัวอักษรหนึ่งตัวอักษร โดยให้วางตำแหน่งกลางหรือ ท้ายคำ เช่น Fib?? จะพบทั้ง Fibreและ Fiber * การละตัวอักษรตั้งแต่ศูนย์ตัวอักษรขึ้นไป โดยให้วางตำแหน่งกลางหรือ ท้ายคำ เช่น S*food จะพบทั้ง Seafood และ Soyfood $ แทนที่ศูนย์ตัวอักษรหรือหนึ่งตัวอักษรเท่านั้น เช่น Col$rจะพบทั้ง Color และ Colour (…) ใช้เพื่อจัดลำดับการสืบค้นก่อนหรือหลัง เช่น Rabies AND (cat OR dog) ระบบจะสืบค้นบทความที่มี cat หรือ dog ก่อน จากนั้นจึงจะค้นหา Rabies

  17. Impact Factor Impact Factorคือ ค่าความถี่ที่บทความในวารสารนั้น ได้รับการอ้างอิงในแต่ละปี ซึ่งโดยปกติจะใช้ย้อนหลังประมาณ 2 ปี ถือว่าเป็นเครื่องมือในการประเมินคุณภาพของบทความหรือจัดอันดับวารสาร

  18. การหาค่า Impact Factor 1. เข้าสู่หน้าหลัก คลิกเมนู Search โดยให้เลือกเขตคำค้นเป็น Publication name จากนั้นให้กดเครื่องหมาย เพื่อทำการ Search หาชื่อวารสารที่ถูกต้อง

  19. การหาค่า Impact Factor (ต่อ) เลือกวารสารที่ต้องการ จากนั้นให้ คลิก Add ชื่อวารสารจะปรากฎด้านล่างจากนั้นให้ คลิก OK

  20. การหาค่า Impact Factor (ต่อ)

  21. การหาค่า Impact Factor (ต่อ) เลือก Create Citation Report

  22. การหาค่า Impact Factor (ต่อ) สามารถเลือกปีที่ต้องการทราบได้ • Average Citations per Item [?] : 10.01 คือ ค่า Impact Factor หมายถึง เฉลี่ยหนึ่งบทความมีการนำไปอ้างอิงทั้งหมด 10.01 ครั้ง (โดยปกติค่า Impact Factor ที่ใช้จะย้อนหลังไปประมาณ 2 ปี • h-index [?] : 71 คือ ค่าที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างการตีพิมพ์และการถูกอ้างอิง หมายถึง มีอย่างน้อย 71 บทความขึ้นไปที่มีการอ้างอิงตั้งแต่ 71 ครั้ง

  23. เอกสารฉบับเต็ม การค้นหาเอกสารฉบับเต็มจาก • นำ DOI ของบทความวารสารไปหาจาก http://www.doi.org/ • เอาบรรณานุกรมไปหาจาก http://www.crossref.org/

  24. เอกสารฉบับเต็มจากหมายเลข DOI DOI  (Digital Object Identifier ) เป็นชื่อรหัสมาตรฐานของทรัพยากรสารสนเทศในรูปดิจิทัล โดยรหัสดังกล่าวมีทั้งตัวเลขและตัวอักษร กำหนดขึ้นมาเพื่อใช้ระบุตำแหน่งหรือที่อยู่ (URL) ของทรัพยากรสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ให้สามารถค้นหาทรัพยากรสารสนเทศ เช่น บทความ วารสาร หนังสือ และทรัพย์สินทางปัญญาต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้ การค้นหาด้วยหมายเลข DOI ทำได้โดย 1. เข้าไปยังเว็บไซด์ http://www.doi.org/ 2. นำหมายเลข DOI ที่ได้จากฐานข้อมูลมาสืบค้นในเมนู Resolve a DOI Name จากนั้น กด Submit

  25. ตัวอย่างจาก Web of Science • ค้นหาเอกสารที่ต้องการ จากนั้น นำหมายเลข DOI ไป Search เพื่อหาเอกสารฉบับเต็มจาก http://www.doi.org/ 2. นำหมายเลข DOI ไป Search เพื่อหาเอกสารฉบับเต็มจาก http://www.doi.org/

  26. ตัวอย่างจาก Web of Science (ต่อ) Full Text ที่ได้จากBioOne

  27. เอกสารฉบับเต็มจากบรรณานุกรมจาก Crossref Crossrefเป็นความร่วมมือกันของสำนักพิมพ์ชั้นนำมากกว่า 380 แห่ง เป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร ดังนั้นจึงทำให้ผู้ใช้บริการสามารถสืบค้นสิ่งพิมพ์ บทความวารสารไปยังกลุ่มสำนักพิมพ์ที่เป็นสมาชิก ครอบคลุมบทความมากกว่า 1 ล้านบทความ การค้นหาเอกสารจาก Crossrefสามารถทำได้ดังนี้ • ค้นหาจากเลข DOI โดยเข้าไปที่ http://www.crossref.orgจากนั้นก็นำหมายเลข DOI • ค้นหาจากเมนู DOI Resolver จากนั้นก็กด Submit 2. ระบบจะลิงค์ไปยังเว็บที่ให้บริการ Full text

  28. เอกสารฉบับเต็มจากบรรณานุกรมจาก Crossref (ต่อ) • ค้นหาจากรายละเอียดทางบรรณานุกรมโดยเข้าไปที่ http://www.crossref.org • จากนั้นก็ไปยังเมนู FOR RESEARCHERS เลือก Free DOI name look up 2. Search จากชื่อผู้แต่งและชื่อบทความจากเมนู Search on article title จากนั้น กด Search

  29. เอกสารฉบับเต็มจากบรรณานุกรมจาก Crossref (ต่อ) 3. ปรากฎลิงค์เพื่อนำไปสู่บทความ Full Text Link Full Text จาก SpringerLink

  30. Thank You For more information. . .Please contact Reference Librarian Tel . 053 916335, 053 916311 E- mail : library@mfu.ac.th

More Related