1 / 32

บทที่ 1

บทที่ 1. บทนำ/ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานโฆษณา. องค์กรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโฆษณา. 1. บริษัทผู้โฆษณา (Advertisers) 2. บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agencies) 3. สื่อโฆษณา (Advertising Media) 4. องค์การสนับสนุนอื่น ๆ (Facilitating Institutions). 1. บริษัทผู้โฆษณา.

Download Presentation

บทที่ 1

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 1 บทนำ/ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการบริหารงานโฆษณา

  2. องค์กรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโฆษณาองค์กรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมโฆษณา 1. บริษัทผู้โฆษณา (Advertisers) 2. บริษัทตัวแทนโฆษณา (Advertising Agencies) 3. สื่อโฆษณา (Advertising Media) 4. องค์การสนับสนุนอื่น ๆ (Facilitating Institutions)

  3. 1. บริษัทผู้โฆษณา • หมายถึง บริษัทที่เป็นเจ้าของหรือมีสินค้าไว้ในครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิต หรือตัวแทนจำหน่าย ที่มีความประสงค์จะเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าไปยังผู้บริโภค • บริษัทผู้โฆษณาอาจเป็นองค์การของภาครัฐ เอกชน หรือองค์การที่ไม่แสวงหากำไรก็ได้

  4. บริษัทที่ใช้งบโฆษณาสูงสุด 5 อันดับแรกในประเทศไทยในปี 2012

  5. โครงสร้างองค์การของบริษัทผู้โฆษณาโครงสร้างองค์การของบริษัทผู้โฆษณา

  6. เหตุผลที่บริษัทผู้โฆษณานิยมใช้บริการของบริษัทตัวแทนโฆษณาเหตุผลที่บริษัทผู้โฆษณานิยมใช้บริการของบริษัทตัวแทนโฆษณา • ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการจัดตั้งแผนกโฆษณาขึ้นเอง • บริษัทตัวแทนโฆษณามีความชำนาญและประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานโฆษณามากกว่า

  7. 2. บริษัทตัวแทนโฆษณา • องค์กรธุรกิจที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้บริการเกี่ยวกับการโฆษณาซึ่งรวมหมายถึง การวางแผนการสร้างสรรค์ การผลิต และการลงโฆษณาแก่ลูกค้า โดยคิดค่าบริการซึ่งอยู่ในรูปของส่วนลดที่สื่อต่าง ๆ ตอบแทนให้ โดยทั่วไปบริษัทตัวแทนโฆษณาจะทำการศึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ปัญหา โอกาส และสถานการณ์เฉพาะ ที่ไม่เหมือนใครของผู้โฆษณาหรือเจ้าของผลิตภัณฑ์แต่ละราย และการเสนองานโฆษณาที่เหมาะสมซึ่งจะให้ประโยชน์ สูงสุดต่อผู้โฆษณา (ขวัญชีวา  ส่างหลวง ที่มา : http://kwuancheewa.exteen.com/20081120/6-ad : สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2556) • บริการของบริษัทตัวแทนโฆษณาอาจประกอบไปด้วย งานด้านการสร้างสรรค์ , การเขียนข้อความโฆษณา ,การวางแผนด้านสื่อโฆษณา,งานวิจัย,การสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ เช่น ประชาสัมพันธ์ ,การจัดอีเว้นท์

  8. นิยามบริษัทตัวแทนโฆษณานิยามบริษัทตัวแทนโฆษณา • สมาคมบริษัทตัวแทนโฆษณาแห่งสหรัฐอเมริการ (The American Association of Advertising Agencies หรือ AAAA หรือ 4A) ได้ให้คำนิยมไว้ว่า • คือองค์การธุรกิจอิสระ • ประกอบด้วยนักสร้างสรรค์และนักธุรกิจ • ผู้ซึ่งจะพัฒนา จัดเตรียม และทำการเผยแพร่โฆษณาในสื่อโฆษณา • ให้กับผู้เสนอขายสินค้าและบริการให้กับผู้บริโภค กัญญา ศิริสกุล.2549.การบริหารกิจการโฆษณา.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  9. ตัวอย่างบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทยตัวอย่างบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย • Lowe Thailand • โลว์ ประเทศไทย 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 27-28 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 • Cheil (Thailand) Ltd. • บริษัท เชอิล (ประเทศไทย) จำกัด 195 อาคารเอ็มไพร์ทาวเวอร์ ชั้น 42 ทาวเวอร์ 2 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 • MOSH Co., LTD. • บริษัท มอชช์ จำกัด 3/100-101 ซอยลาดพร้าว31 แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

  10. ตัวอย่างบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทยตัวอย่างบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย • Social Media Master Co., Ltd. • 290/25 ซอยลาดพร้าว 84 (สังคมสงเคราะห์ใต้ 1) ถนนประดิษฐ์มนูธรรม แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310 • Access & Associates • บริษัท แอกเซส แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จำกัด 976/4 ซอยโรงพยาบาลพระรามเก้า ถ.พระรามเก้า เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 • Amex Team Advertising Ltd. • บริษัท แอมเมกซ์ ทีม แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด 276 ซอยศูนย์วิจัย 4 ถนนพระรามเก้า แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320 • Asatsu (Thailand) Co., Ltd. • บริษัท อาซาตซู (ประเทศไทย) จำกัด 3388/86 อาคารสิรินรัตน์ ชั้น 24 ถนนพระราม 4 แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

  11. 3. สื่อโฆษณา • สื่อโฆษณาเป็นช่องทางที่ใช้ในการเผยแพร่งานโฆษณาไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยบริษัทตัวแทนโฆษณาอาจมีแผนกสื่อโฆษณาของตนเองรวมอยู่ในบริษัทฯหรืออาจแยกตั้งเป็นบริษัทที่ดำเนินงานเฉพาะสื่อโฆษณาเท่านั้นก็ได้ นอกจากนี้ ยังมีบริษัทที่ตั้งขึ้นมาโดยมีหน้าที่ซื้อสื่อและวางแผนสื่อโฆษณาโดยเฉพาะ

  12. สื่อโฆษณา • รายชื่อบริษัทโฆษณาประเภทสื่อ • บริษัท ครอสมีเดีย (ไทยแลนด์) จำกัด • 335/23 ถนนศรีนครินทร์ แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ 10250 • บริษัท ออพติมัม มีเดีย ไดเรคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด • 500 อาคารอัมรินทร์พลาซ่า ชั้น 21 ถ.เพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 • กรุ๊ปเอ็ม • เลขที่ 2 อาคารเพลินจิตเซ็นเตอร์ ชั้น 21 ถ.สุขุมวิท แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110 • บริษัท มีเดียอินเทลลิเจนซ์ จำกัด • 208 ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 • บริษัท แบรนด์ คอนเนคชั่นส์ จำกัด • 208 ชั้น 16 อาคาร 208 ไวเลสโร้ด ถนนวิทยุ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 • บริษัท เซนิธออพติมีเดีย จำกัด • ชั้น 10/1 อาคารสาธรซิตี้ทาวเวอร์ 175 ถนนสาทรใต้ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 • บริษัท คาราท (ประเทศไทย) จำกัด • 622 อาคารเอ็มโพเรี่ยม ชั้น 21 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตัน เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110

  13. 4. องค์การสนับสนุนอื่น ๆ องค์การสนับสนุนงานด้านการโฆษณาอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น บริษัทที่ให้บริการด้านงานวิจัย บริษัทจำหน่ายวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบในงานโฆษณา บริษัทที่รับออกแบบบรรจุภัณฑ์ โรงพิมพ์ บริษัทรับถ่ายภาพ บริษัทรับจัดงานด้านอีเว้นท์มาเก็ตติ้ง เป็นต้น

  14. วิวัฒนาการของบริษัทตัวแทนโฆษณาวิวัฒนาการของบริษัทตัวแทนโฆษณา • ยุคแรก ระหว่างปี 1841 – 1865 • ยุคการขายส่ง ,, 1865 – 1880 • ยุคกึ่งบริการ ,, 1880 – 1917 • ยุคบริการ ,, 1917 - ปัจจุบัน

  15. ยุคแรก Volney B. Palmer เป็นผู้จัดตั้งบริษัทตัวแทนโฆษณาแห่งแรกขึ้นในพิลาเดเฟีย สหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของหนังสือพิมพ์ที่ทำหน้าที่ขายเนื้อที่โฆษณาของหนังสือพิมพ์ 1400 ฉบับทั่วประเทศ

  16. ยุคการขายส่ง • George P. Rowell ผู้จัดตั้งบริษัทตัวแทนโฆษณาในปี 1865 ได้นำวิธีการใหม่ ๆ มาใช้ในการแข่งขัน โดยทำสัญญากับหนังสือพิมพ์ 100 ฉบับ ที่จะซื้อเนื้อที่โฆษณาหนึ่งคอลัมภ์เป็นประจำทุกสัปดาห์เป็นเวลา 1 ปี การทำสัญญาเช่นนี้ทำให้ผู้พิมพ์โฆษณาลดราคาให้แก่ Rowell อย่างมาก เพราะเป็นการซื้อในปริมาณมากและแน่นอน นอกจากนี้ยังได้รับคอมมิชชั่นอีก 25 เปอร์เซ็นต์ด้วย

  17. ยุคกึ่งบริการ • งานในลักษณะของการขายส่งเนื้อที่โฆษณาเริ่มหมดไปเมื่อผู้พิมพ์โฆษณามีการจัดตั้งแผนกขายเนื้อที่โฆษณาด้วยตนเอง เพื่อขายตรงให้ผู้ซื้อเนื้อที่ ดังนั้นบริษัทตัวแทนโฆษณาจึงถูกกดดันให้เปลี่ยนความสนใจจากการขายเนื้อที่โฆษณาให้แก่ผู้พิมพ์โฆษณาเป็นการซื้อเนื้อที่โฆษณาให้แก่ผู้ต้องการโฆษณา ในยุคนี้บริษัทตัวแทนโฆษณาเริ่มสนใจที่จะสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ผู้โฆษณา บริษัทตัวแทนโฆษณาแรกที่มีชื่อเสียงทางด้านการสร้างสรรค์งานโฆษณา คือ Lord and Thomas ซึ่งมีผู้เขียนข้อความโฆษณาที่มีชื่อเสียง 2 คน คือ John E. Kennedy และ Claude Hopkins ในปี 1898 Kennedy เข้าทำงานกับบริษัทแห่งนี้ และงานแรกของ Kennedy คือ สร้างสรรค์งานโฆษณาให้กับเครื่องซักผ้าแบบใหม่ โดยเขียนข้อความว่า “ท่านถูกล่ามไว้กับถังซักผ้าหรือ” อยู่เหนือรูปแม่บ้านที่มีสีหน้าไม่พอใจต่อการถูกล่ามโซ่ไว้กับถังไม้ซักผ้า พร้อมกับโฆษณาที่แสดงภาพของผู้หญิงอีกคนที่นั่งอยู่บนเก้าอี้โยกอย่างสบายอารมณ์ ขณะที่หมุนข้อเหวี่ยงของเครื่องซักผ้า โดยมีข้อความโฆษณาที่เน้นถึงการทำงานของเพลา

  18. ยุคกึ่งบริการ Hopkins เข้าทำงานในปี 1907 เขียนข้อความโฆษณาให้บริษัทแคมเบลล์เป็นรายแรก เน้นให้ผู้บริโภคทดลองใช้สินค้าตราแคมเบลล์ และมีคำแนะนำว่ามีจำหน่ายในภัตตาคารต่าง ๆ ด้วย เค้าให้ความสำคัญต่อโครงการรณรงค์โฆษณาที่เน้นความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก

  19. ยุคบริการ • ในปี 1917 แนวความคิดเกี่ยวกับการให้บริการเริ่มมากขึ้น บริษัทตัวแทนโฆษณาค่อย ๆ เพิ่มบริการต่าง ๆ เช่น การวิจัยตลาด การทดสอบสื่อโฆษณา การจัดแสดงสินค้า

  20. ประเภทของบริษัทตัวแทนโฆษณาประเภทของบริษัทตัวแทนโฆษณา • การแบ่งประเภทตามประเภทสินค้า • บริษัทตัวแทนโฆษณาสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค • บริษัทตัวแทนโฆษณาสำหรับสินค้าอุตสาหกรรม • บริษัทตัวแทนโฆษณาสำหรับสินค้าเฉพาะด้าน เช่น สถาบันทางการเงิน ,สินค้าที่มีเทคโนโลยีสูง ข้อแตกต่างระหว่างการโฆษณาสินค้าอุปโภคและสินค้าอุตสาหกรรม ที่สำคัญ 2 ประการ คือ • ลักษณะการจูงใจในโฆษณา ในสินค้าอุปโภคใช้การโฆษณาที่จูงใจด้วยอารมณ์และเหตุผล แต่สินค้าอุตสาหกรรมใช้การจูงใจด้วยเหตุผลเท่านั้น • ลักษณะของสื่อโฆษณาที่ใช้สำหรับสินค้าอุปโภค ใช้ได้ทุกประเภท แต่สินค้าอุตสาหกรรมมักใช้สื่อสิ่งพิมพ์ทางการค้าและอุตสาหกรรม

  21. ประเภทของบริษัทตัวแทนโฆษณา (ต่อ) • การแบ่งประเภทตามลักษณะของบริการ • บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการครบทุกด้าน • บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการเฉพาะด้าน 2.1 บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการด้านการสร้างสรรค์ ได้แก่ บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการด้านการสร้างสรรค์โดยตรง เช่น การพัฒนาแนวคิดหลัก การเขียนข้อความโฆษณา การทำสตอรี่บอร์ด และ บริษัทตัวแทนโฆษณาที่รับผลิตงานโฆษณา (The Production House) 2.2 บริษัทตัวแทนโฆษณาที่ให้บริการด้านสื่อโฆษณา ทำหน้าที่ให้บริการด้านการวางแผนและซื้อสื่อโฆษณา อาจมีความเชี่ยวชาญในสื่อทุกประเภท หรือ เฉพาะบางสื่อก็ได้ เช่น สื่อป้ายรถเมล์ สื่อในรถแท็กซี่ ตัวอย่าง บริษัทสตาร์คอม จำกัด แยกมาจาก ลีโอเบอร์เน็ทท์ , บริษัท มายด์แชร์ จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท เจ วอลเตอร์ธอมสัน และ บริษัท โอกิลวี แอนด์ เมเธอร์ จำกัด

  22. ประเภทของบริษัทตัวแทนโฆษณา (ต่อ) • การแบ่งประเภทตามความเป็นเจ้าของ • บริษัทตัวแทนโฆษณาอิสระ หมายถึง องค์การที่ตั้งขึ้นโดยไม่มีบริษัทใด ๆ ที่อยู่ในอุตสาหกรรมโฆษณาเป็นเจ้าของ • บริษัทตัวแทนโฆษณาของบริษัทผู้โฆษณา (I n-house agency) เป็นบริษัทตัวแทนโฆษณาที่จัดตั้งขึ้นโดยบริษัทผู้โฆษณารายใหญ่ เช่น บริษัท สปาแอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง เป็นบริษัทในเครือ โอสถสภา จำกัด และบริษัท เอสซี แมชบ๊อก เป็นบริษัทในเครือบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด

  23. ข้อเสียของการจัดตั้ง In-house Agency • บริษัทฯมักขาดประสบการที่หลากหลาย • บริษัทฯอาจไม่มองปัญหาของลูกค้าในลักษณะของบุคคลภายนอก ทำให้การพิจารณาหาวิธีการแก้ไขอาจไม่ดีเท่าที่ควร • ขาดความยืดหยุ่นในการดำเนินงาน นั่นคือ เมื่อบริษัทตัวแทนภายในทำงานมีผลงานไม่ดีพอ การเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทำได้ยาก หรือช้า การที่มีลูกค้าน้อยราย และไม่มีการแข่งขันกับบริษัทโฆษราอื่น ทำให้การให้อาจขาดความกระตือรือล้น

  24. ประเภทของบริษัทตัวแทนโฆษณา (ต่อ) • การแบ่งตามของเขตการดำเนินงาน • บริษัทตัวแทนโฆษณาภายในประเทศ • บริษัทตัวแทนโฆษณาระหว่างประเทศ เช่น บริษัท McCann Erickson จำกัด มีสาขา 144 แห่งใน 67 ประเทศ

  25. ขนาดของบริษัทตัวแทนโฆษณาขนาดของบริษัทตัวแทนโฆษณา มีทั้งขนาดเล็ก กลาง และ ใหญ่ มีบุคคลตั้งแต่ 2-3 คนขึ้นไป จนถึงบริษัทที่มีจำนวนพนักงานเป็นพัน ๆ คน การจัดขนาดของบริษัทตัวแทนโฆษณานอกจากพิจารณาจำนวนคนที่ทำงานในบริษัทแห่งนั้นแล้ว ยังพิจารณาจำนวนยอดเงินเรียกเก็บ (Billing) ด้วย

  26. สมาคมบริษัทตัวแทนโฆษณาของสหรัฐอเมริกา(American Association of Advertising Agencies) • จัดตั้งขึ้นในปี 1917 โดยคำแนะนำของสื่อโฆษณา เพื่อทำหน้าที่เป็นโฆษกของบริษัทตัวแทนโฆษณาของประเทศ • วัตถุประสงค์ที่สำคัญของสมาคมนี้ คือ • ป้องกัน ปรับปรุง และทำให้ธุรกิจบริษัทตัวแทนโฆษณามีความมั่นคงขึ้น • พัฒนาการโฆษณาให้ก้าวหน้า โดยให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับการอบรมพนักงาน ส่งเสริมการวิจัยด้านงานโฆษณา ตั้งกฎหมายและจรรยาบรรณ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน • ให้บริการแก่สมาชิกในสิ่งที่สมาชิกไม่อาจทำเองได้ หรือทำได้ไม่ดี เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการวิเคราะห์ต้นทุนของบริษัทตัวแทนโฆษณา กฎหมาย คู่มือบัญชีเป็นต้น

  27. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย www.adassothai.com

  28. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย(ต่อ)สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย(ต่อ) • อดีตนายกสมาคมโฆษณาธุรกิจ แห่งประเทศไทยคนแรก คุณประโพธ เปาโรหิตย์ ได้เคยให้ สัมภาษณ์ไว้ ก่อน ที่จะ เสียชีวิตว่า “ก่อนที่จะได้มีการจัดตั้ง เป็นสมาคมโฆษณา การโฆษณาได้เกิดขึ้นมาอย่างนี้แล้ว วงการโฆษณา ก็มีการ แบ่งออกเป็นกลุ่ม ทั้ง ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้ว ไม่รู้แท้ที่จริงแล้วว่า การโฆษณานี้คืออะไร แค่ไหน อย่างไร การโฆษณา ก็ถูกแบ่ง ออกเป็น บริษัทผู้ให้โฆษณา บริษัทรับทำการโฆษณา และบริษัท โบร๊คเกอร์ หรือตัวแทน ที่จะรับอีกทอดหนึ่ง ไปให้กับ สื่อโฆษณา และกลุ่มต่าง ๆ หาความเข้าใจซึ่งกันและกัน ไม่ได้เลยยิ่งไปกว่านั้น บริษัทโฆษณาด้วยกัน ก็มีการ ทะเลาะ เบาะแว้ง หาทางทำทุกวิถีทางเพื่อจะให้อีกฝ่าย พังไปได้ และโดยเฉพาะ บริษัทผู้ผลิตสินค้า ก็พยายามทำให้ คู่ต่อสู้เจ๊งไป อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันไม่ถูกเรื่อง” ที่มา : www.adassothai.com

  29. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (ต่อ) “เมื่อเรามาพิจารณาดูแล้ว เห็นว่าในวงการ มีหลายกลุ่มหลายพวก มีบางพวกเหมือนกัน ที่พยายามสร้าง บริษัทของเขา ขึ้นมา พวกบริษัทโฆษณาก็จะรวมกันหรือพยายามรวมกันแต่รวมไม่สำเร็จ เพราะว่าพวก โบร๊คเกอร์ หรือพวกคนกลาง เขากลับถูกบีบเสียเอง และยิ่งไปกว่านั้น ทางบริษัทเจ้าของสินค้า ก็กลัวถูกบีบ ด้วยเช่นกัน แล้วทางบริษัท เจ้าของสินค้า จะรวมกันก็ไม่ได้ เพราะทางฝ่าย บริษัทโฆษณาเล็ก ๆ อาจจะ ไม่สนับสนุน จนตกลงหาความเข้าใจกันไม่ได้ หาข้อยุติกัน ไม่ได้ เป็นยังไงก็อย่างนั้นเรื่อยมา…“ คุณ ประโพธ ได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ในคราวเดียวกัน”

  30. สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย (ต่อ) • ด้วยวัตถุประสงค์หลักของวิชาชีพโฆษณา ที่กำหนดขึ้นเป็นข้อ ๆ คือ • 1. ต้องการผดุงเกียรติ สร้างความเข้าใจอันดีซึ่งกันและกันในระหว่างสมาชิก 2. แลกเปลี่ยนความรู้ในระหว่างสมาชิก ติดต่อประสานงาน กับสถาบันการโฆษณา และสถาบัน ที่เกี่ยวข้อง ทั้งใน และนอกประเทศ 3. เพื่อต้องการเผยแพร่คุณค่าของการโฆษณา ติดต่อจัดให้มีการหารือ ประสานงาน เพื่อประสิทธิภาพ ของงานโฆษณาและให้คำแนะนำ ทางการโฆษณาตามความต้องการ ของสถาบันต่าง ๆ 4. เพิ่มพูนมาตรฐานในวิชาและอาชีพโฆษณา 5. ดำเนินการอื่นใด เพื่อประโยชน์ในวิชาชีพโฆษณาและสมาคมโฆษณาฯ ไม่เกี่ยวกับการเมือง

  31. บริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทยบริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ได้ทรงนำแบบอย่างการโฆษณาธุรกิจรถไฟของอังกฤษมาดัดแปลงใช้กับรถไฟไทย และทรงเปิดธุรกิจโฆษณาอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ชื่อ บริษัทสยาม แอดเวอร์ไทซิ่งในปี 2467 เป็นกิจการที่ดำเนินงานโดยชาวต่างประเทศ ภายหลังได้เลิกกิจการไป เนื่องจากฐานะทางการเงินไม่ดี บริษัทคนไทยบริษัทแรกที่เริ่มใช้บริการของบริษัทตัวแทนโฆษณาคือ บริษัทนายเลิศ นับแต่ปี 2494 มีบริษัทตัวแทนโฆษณาของชาวต่างประเทศเข้ามาเปิดกิจการในไทยตามลำดับ คือ บริษัท โกร๊กแอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Groake Advertising Co.,Ltd) บริษัท แกร้นท์แอ๊ดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Grnat AdvertingCo.,Ltd) บริษัท คาเธ่ย์แอดเวอร์ไทซิ่ง จำกัด (Cathay Adverting Co.,Ltd)ที่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท เท็ดเบทส์(ประเทศไทย) จำกัด กัญญา ศิริสกุล.2549.การบริหารกิจการโฆษณา.สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

  32. บริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย(ต่อ)บริษัทตัวแทนโฆษณาในประเทศไทย(ต่อ) ปี 2495 มีการส่งสัญญาณโทรทัศน์ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ทำให้ธุรกิจเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วงแรกมีบริษัท Production House อยู่ 2 แห่ง ได้แก่ บริษัท สรรพสิริ จำกัด และ บริษัท อริยะภาพ จำกัด และมีบริษัทโฆษณาของญี่ปุ่นเข้ามาเปิดกิจการในปี 2506 คือ บริษัท ชูโอ เชนโก (ประเทศไทย) จำกัด

More Related