40 likes | 176 Views
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (ภาคนอกเวลาราชการ).
E N D
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.)สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (ภาคนอกเวลาราชการ) จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (Industrial and Organizational Psychology)เป็นศาสตร์ที่นำจิตวิทยามาประยุกต์ในการทำงาน และพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน ยังผลให้องค์การสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่จำเป็นต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ และประสิทธิผลขององค์การ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรวัตถุประสงค์ของหลักสูตร 1. เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้จากจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน 2. เพื่อสร้างองค์ความรู้ทางจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การที่ตรงกับความต้องการของสังคมไทย โครงสร้างของหลักสูตร แผน ก. (ทำวิทยานิพนธ์) แผน ข. (ค้นคว้าอิสระ)* จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 27 33 จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 - จำนวนหน่วยกิตการค้นคว้าอิสระ - 6 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 39 *นิสิตที่เรียนแผน ข. ต้องผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination)
รายวิชาเรียน สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ เป็นหลักสูตรที่ผสมผสานองค์ความรู้ที่สำคัญอาทิเช่น • จิตวิทยาสำหรับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ • การพัฒนาประสิทธิผลขององค์การ • จิตวิทยาวิศวกรรม • จิตวิทยาสำหรับการบริหารการเปลี่ยนแปลง • จิตวิทยาในการพัฒนาองค์การ • การคัดเลือกและการสรรหาบุคลากร ใช้ระบบการสอบคัดเลือกโดยมีการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์ ตามคู่มือการสมัครเข้าศึกษาของ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา ระบบการศึกษา ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่ง ๆ แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีก 1 ภาคก็ได้ ภาคการศึกษาหนึ่ง ๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลา การศึกษาประมาณ 6-8 สัปดาห์
ระยะเวลาในการศึกษา:ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร เวลาเรียน:วันราชการ เวลา 18.00 – 21.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 21.00 น. การลงทะเบียนเรียน: ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิต และไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษาและไม่ เกิน 6 หน่วยกิตในภาคฤดูร้อน การวัดผลการศึกษา: การประเมินผลรายวิชา ใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+Dและ F วิทยานิพนธ์ ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก การค้นคว้าอิสระ ใช้ ผ่าน และไม่ผ่าน ค่าใช้จ่ายในการศึกษา: ค่าเล่าเรียน ภาคการศึกษาละ 26,000.00 บาท ค่าธรรมเนียม ภาคการศึกษาละ 25,000.00 บาท หลักสูตรมีทุนการศึกษา และมีการพานิสิตไปศึกษาดูงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ *สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อคุณธิตนาถ ลิ่มอรุณ (02-2189912) เวลา 10.00 – 19.00 น.